พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อการฟ้องร้องเรียกค่าภาษี และหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการชำระหนี้แทนลูกหนี้
ปรากฏตามคำฟ้องว่า ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1เด็ดขาดก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมหมดอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ อำนาจในการจัดการทรัพย์สินและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ตกเป็นของจำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ภาษีอากรได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 เมื่อที่ดินและโรงเรือนของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 มีอำนาจจัดการนั้นมี พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 7,35บัญญัติให้ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีหน้าที่เสียภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปีหรือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินแล้วแต่กรณี กับมี พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา8,38,40 บัญญัติให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินชำระค่าภาษีปีละครั้งภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมิน จำเลยที่ 2จึงมีหน้าที่ที่จะต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่และค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง แม้เป็นหนี้ที่เกิดภายหลังจากศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วก็ตาม การที่เจ้าพนักงานของกรุงเทพมหานครโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 มีหนังสือตอบว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะบังคับสิทธิเรียกร้องได้ก็แต่โดยการขอรับชำระหนี้ จำเลยที่ 2ไม่จำต้องยื่นแบบรายการเพื่อเสียภาษีแทนจำเลยที่ 1 นั้น หนังสือตอบของจำเลยที่ 2 เป็นเพียงความเห็นของจำเลยที่ 2 ในปัญหาว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจะใช้สิทธิเรียกค่าภาษีดังกล่าวได้โดยวิธีใด ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยเพื่อให้ศาลสั่งกลับหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องรอการประเมินภาษีและแจ้งรายการประเมินให้ลูกหนี้ทราบก่อน จึงจะบังคับชำระหนี้ได้
แม้ลูกหนี้จะมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นรายปีก็ตาม แต่จะต้องเสียเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินภาษีและแจ้งรายการประเมินให้ลูกหนี้ทราบแล้วตามความในภาค 3เรื่องวิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ซึ่งผู้รับการประเมินจะต้องเสียภาษีในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามมาตรา 38ฉะนั้นเมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้ประเมินภาษีและแจ้งให้ลูกหนี้ทราบจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย ลูกหนี้ก็ยังไม่ต้องชำระหนี้ภาษีดังกล่าวเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ภาษีนั้น พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 43บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระเงินค่าภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วว่า ผู้ค้างชำระจะต้องเสียเงินเพิ่มคิดเป็นร้อยละตามจำนวนค่าภาษีที่ค้างและมีอัตราเงินเพิ่มสูงขึ้นตามเวลาที่ค้างชำระ จึงคิดดอกเบี้ยซ้อนเข้าไปอีกในระหว่างผิดนัดไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ต้องชำระภาษีให้ครบก่อนยื่นฟ้อง แม้กำหนดชำระยังไม่ถึง
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 39 วรรคแรก โจทก์ผู้รับประเมินจะมีอำนาจฟ้องต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนแล้ว ไม่ว่ากำหนดระยะเวลาการชำระค่าภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ได้สิ้นสุดลงแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดี หรือจะสิ้นสุดลงในระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลก็ตาม แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษีตามมาตรา 38 ยังไม่สิ้นสุดลงก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลซึ่งมาตรา 39 บัญญัติให้โจทก์ต้องชำระเสียก่อนยื่นฟ้องคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งชำระค่าภาษีหลังจากยื่นฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: ผู้รับประเมินต้องชำระภาษีที่ถึงกำหนดก่อนยื่นฟ้อง
โจทก์มิได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินก่อนยื่นฟ้องโต้แย้งการประเมินของจำเลย แม้กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษียังไม่สิ้นสุดในขณะยื่นฟ้องก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล โจทก์จึงต้องชำระค่าภาษีก่อนยื่นฟ้อง เมื่อโจทก์เพิ่งชำระภายหลังจากยื่นฟ้องแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนฯ ต้องชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อนหรือระหว่างดำเนินคดี
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39วรรคแรก โจทก์ผู้รับประเมินจะมีอำนาจฟ้องต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนแล้วไม่ว่ากำหนดระยะเวลาการชำระค่าภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ได้สิ้นสุดลงแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดี หรือจะสิ้นสุดลงในระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลก็ตาม
แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษีตามมาตรา 38ยังไม่สิ้นสุดลงก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลซึ่งมาตรา39 บัญญัติให้โจทก์ต้องชำระเสียก่อนยื่นฟ้องคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งชำระค่าภาษีหลังจากยื่นฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษีตามมาตรา 38ยังไม่สิ้นสุดลงก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลซึ่งมาตรา39 บัญญัติให้โจทก์ต้องชำระเสียก่อนยื่นฟ้องคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งชำระค่าภาษีหลังจากยื่นฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4051/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนต้องชำระภาษีประเมินก่อนฟ้อง หากไม่ชำระ ศาลไม่รับฟ้อง
โจทก์ได้รับทราบคำชี้ขาดของจำเลยให้เสียภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินไว้แล้ว โจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลย แต่โจทก์ไม่ยอมชำระค่าภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินไว้ กลับนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลว่าการประเมินไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา31 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยดังกล่าวจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 39 คือโจทก์ต้องชำระค่าภาษีให้จำเลยไปก่อน เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าภาษีตามที่จำเลยประเมินไว้ก่อนฟ้องเช่นนี้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ศาลจะรับไว้พิจารณาไม่ได้ และศาลไม่อาจที่จะสั่งให้โจทก์นำค่าภาษีมาชำระหลังจากฟ้องแล้วได้ ถือได้ว่าโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4051/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: ต้องชำระภาษีประเมินก่อนฟ้อง
โจทก์ได้รับทราบคำชี้ขาดของจำเลยให้เสียภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินไว้แล้ว โจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลย แต่โจทก์ไม่ยอมชำระค่าภาษีตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินไว้ กลับนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลว่าการประเมินไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 31 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยดังกล่าวจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 39 คือโจทก์ต้องชำระค่าภาษีให้จำเลยไปก่อน เมื่อโจทก์ไม่ชำระค่าภาษีตามที่จำเลยประเมินไว้ก่อนฟ้องเช่นนี้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ศาลจะรับไว้พิจารณาไม่ได้ และศาลไม่อาจที่จะสั่งให้โจทก์นำค่าภาษีมาชำระหลังจากฟ้องแล้วได้ ถือได้ว่าโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการสินสมรสมีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนที่ได้จากการยื่นประเมินในฐานะผู้รับประเมิน แม้ภริยาเป็นผู้รับยกให้
จำเลยเป็นผู้ยื่นประเมินภาษีโรงเรือนต่อเทศบาลสำหรับโรงเรือนอันเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาจำเลย โดยมิได้ระบุว่าจำเลยกระทำการแทนผู้ใด เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมิน ยังยอมรับว่าค้างชำระค่าภาษีอยู่จริง โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้ง ถือว่าการประเมินภาษีนั้นถูกต้องแล้ว โรงเรือนนั้นเป็นสินสมรสจำเลยย่อมเป็นเจ้าของร่วมในโรงเรือนนั้นด้วย จำเลยอยู่ในฐานะผู้จัดการสินบริคณห์ และได้กระทำไปในฐานะเป็นผู้รับประเมิน จึงเป็นผู้มีหน้าที่พึงชำระค่าภาษีค้างชำระนั้นให้เทศบาล จะผลักภาระการชำระค่าภาษีให้ตกแก่ภริยาจำเลยหาได้ไม่ เพราะภริยาจำเลยไม่ใช่ผู้รับประเมินซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าภาษีต่อเทศบาล
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง มิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 40วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษี เท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง มิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 40วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษี เท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนของผู้จัดการสินสมรสและเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้รับประเมิน
จำเลยเป็นผู้ยื่นประเมินภาษีโรงเรือนต่อเทศบาลสำหรับโรงเรือนอันเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาจำเลย โดยมิได้ระบุว่าจำเลยกระทำการแทนผู้ใด เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมินยังยอมรับว่าค้างชำระค่าภาษีอยู่จริง โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งถือว่าการประเมินภาษีนั้นถูกต้องแล้ว โรงเรือนนั้นเป็นสินสมรสจำเลยย่อมเป็นเจ้าของร่วมในโรงเรือนนั้นด้วย จำเลยอยู่ในฐานะผู้จัดการสินบริคณห์ และได้กระทำไปในฐานะเป็นผู้รับประเมินจึงเป็นผู้มีหน้าที่พึงชำระค่าภาษีค้างชำระนั้นให้เทศบาลจะผลักภาระการชำระค่าภาษีให้ตกแก่ภริยาจำเลยหาได้ไม่เพราะภริยาจำเลยไม่ใช่ผู้รับประเมินซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าภาษีต่อเทศบาล
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 40 วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษีเท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 40 วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษีเท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีและการฟ้องคัดค้านการประเมิน: การชำระภาษีหลังได้รับคำชี้ขาดไม่ตัดสิทธิในการฟ้อง
มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475ที่บัญญัติให้ผู้รับประเมินชำระค่าภาษีแก่กรมการอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งทรัพย์นั้นตั้งอยู่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมินนั้น เป็นหลักปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับผู้รับประเมินจะไปชำระได้ที่ไหนเมื่อใดเท่านั้นหาใช่เป็นบทบังคับเด็ดขาดว่าจะต้องชำระค่าภาษีตามการประเมินเบื้องต้นเสมอไป เพราะตามมาตรา 25 และมาตรา 26 บัญญัติให้โอกาสแก่ผู้รับประเมินที่ไม่พอใจการประเมินเบื้องต้นร้องขอไปยังผู้มีอำนาจชี้ขาดการประเมินได้ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมินเพื่อให้มีการพิจารณาการประเมินนั้นใหม่ ทั้งค่าภาษีที่มิได้ชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 38 นั้น ตามมาตรา 42 บัญญัติให้ถือว่าเป็นเงินค่าภาษีค้างชำระอันจะต้องเสียเงินเพิ่มตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 43 และอาจถูกบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยพนักงานเก็บภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44 ต่อไปด้วย การไม่ชำระภาษีตามมาตรา 38 กฎหมายมิได้ถือเป็นการตัดสิทธิผู้รับประเมินในการฟ้องร้องคดีเพื่อโต้แย้งการประเมินภาษีแต่ประการใด
วันที่ 5 สิงหาคม 2508 โจทก์ได้รับใบแจ้งการประเมินภาษีจากจำเลยให้นำค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินไปชำระให้จำเลย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ประเมินภาษีใหม่เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2508 ต่อมาวันที่ 21 พฤษภาคม2512 โจทก์ได้รับคำชี้ขาดจากจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเท่าที่ประเมินไว้เดิมโจทก์จึงนำภาษีกับเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบไปชำระให้จำเลยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2512 แล้ววันรุ่งขึ้นโจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อแสดงว่าการประเมินภาษีไม่ถูกต้อง ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 31 เพราะโจทก์ได้ฟ้องภายใน 30 วันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดและฟ้องของโจทก์ไม่เป็นการต้องห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามมาตรา 39 เพราะก่อนฟ้องโจทก์ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นเสร็จแล้ว ทั้งนี้ ไม่จำต้องคำนึงว่าหนี้ค่าภาษีถึงกำหนดชำระหรือเลยกำหนดชำระขณะฟ้องหรือยัง
จำเลยประเมินภาษีจากรายได้ค่าเช่าห้องพักตามแบบ ภ.ร.ด.2ของโจทก์ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้รับประเมินจะต้องกรอกรายการตามความเป็นจริง ตามความในมาตรา 20 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิได้สั่งการให้แก้ไขรายการเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือว่าเป็นจำนวนค่าเช่าสุทธิสำหรับการประเมินภาษีเพราะตามมาตรา 8 บัญญัติว่า ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าท่านว่า ค่าเช่านั้นเป็นหลักคำนวณค่ารายปี ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอลดค่าภาษี ลงโดยอาศัยเทียบเคียงเสมอกับโรงแรมอื่นแต่อย่างใดจะฟังว่าการประเมินภาษีของจำเลยไม่เป็นการถูกต้องหาได้ไม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะตัดสินลดภาษีให้โจทก์ได้ (ฟ้องต้องห้ามตามมาตรา 39 หรือไม่วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2516)
วันที่ 5 สิงหาคม 2508 โจทก์ได้รับใบแจ้งการประเมินภาษีจากจำเลยให้นำค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินไปชำระให้จำเลย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ประเมินภาษีใหม่เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2508 ต่อมาวันที่ 21 พฤษภาคม2512 โจทก์ได้รับคำชี้ขาดจากจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเท่าที่ประเมินไว้เดิมโจทก์จึงนำภาษีกับเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบไปชำระให้จำเลยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2512 แล้ววันรุ่งขึ้นโจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อแสดงว่าการประเมินภาษีไม่ถูกต้อง ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 31 เพราะโจทก์ได้ฟ้องภายใน 30 วันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดและฟ้องของโจทก์ไม่เป็นการต้องห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามมาตรา 39 เพราะก่อนฟ้องโจทก์ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นเสร็จแล้ว ทั้งนี้ ไม่จำต้องคำนึงว่าหนี้ค่าภาษีถึงกำหนดชำระหรือเลยกำหนดชำระขณะฟ้องหรือยัง
จำเลยประเมินภาษีจากรายได้ค่าเช่าห้องพักตามแบบ ภ.ร.ด.2ของโจทก์ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้รับประเมินจะต้องกรอกรายการตามความเป็นจริง ตามความในมาตรา 20 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิได้สั่งการให้แก้ไขรายการเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือว่าเป็นจำนวนค่าเช่าสุทธิสำหรับการประเมินภาษีเพราะตามมาตรา 8 บัญญัติว่า ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าท่านว่า ค่าเช่านั้นเป็นหลักคำนวณค่ารายปี ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอลดค่าภาษี ลงโดยอาศัยเทียบเคียงเสมอกับโรงแรมอื่นแต่อย่างใดจะฟังว่าการประเมินภาษีของจำเลยไม่เป็นการถูกต้องหาได้ไม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะตัดสินลดภาษีให้โจทก์ได้ (ฟ้องต้องห้ามตามมาตรา 39 หรือไม่วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2516)