พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีระหว่างบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรม: ไม่เป็นอุทลุมตามกฎหมาย
บุตรบุญธรรมไม่ใช่ผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมจึงมีอำนาจฟ้องผู้รับบุตรบุญธรรมได้ ไม่เป็นอุทลุมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/28 ที่บัญญัติว่าบุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม...และในวรรคที่ 2 ที่บัญญัติว่า ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 2 แห่งบรรพนี้(ตั้งแต่มาตรา 1561 ถึงมาตรา 1584/1) มาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้น หมายความเพียงว่า ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรมาใช้บังคับแก่บุตรบุญธรรมโดยอนุโลมเท่านั้น ไม่ได้บังคับว่าจะต้องนำทุกมาตรามาใช้บังคับทั้งหมดส่วนบทบัญญัติในมาตรา 1562 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ นั้น เป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของบุคคล จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา28 ที่แก้ไขใหม่) ให้ความหมายของคำว่า ผู้บุพการีไว้ว่าหมายถึงบิดามารดา ปู่ย่าตายาย ทวด และผู้สืบสายโลหิตกันโดยตรงขึ้นไปตามความเป็นจริง จำเลยเป็นเพียงผู้รับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ใช่บิดาโจทก์ จึงไม่ใช่ผู้บุพการีของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา28 ที่แก้ไขใหม่) ให้ความหมายของคำว่า ผู้บุพการีไว้ว่าหมายถึงบิดามารดา ปู่ย่าตายาย ทวด และผู้สืบสายโลหิตกันโดยตรงขึ้นไปตามความเป็นจริง จำเลยเป็นเพียงผู้รับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ใช่บิดาโจทก์ จึงไม่ใช่ผู้บุพการีของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบุตรบุญธรรมต่อผู้รับบุตรบุญธรรม: การตีความ 'ผู้บุพการี' ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/28ที่บัญญัติว่าบุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมและในวรรคที่2ที่บัญญัติว่าให้นำบทบัญญัติในลักษณะ2หมวด2แห่งบรรพนี้(ตั้งแต่มาตรา1561ถึงมาตรา1584/1)มาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้นหมายความเพียงว่าให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรมาใช้บังคับแก่บุตรบุญธรรมโดยอนุโลมเท่านั้นไม่ได้บังคับว่าจะต้องนำทุนมาตรามาใช้บังคับทั้งหมดส่วนบทบัญญัติในมาตรา1562ที่บัญญัติว่าผู้ใดจะฟังบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้นั้นเป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของบุคคลจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา29เดิม(มาตรา28ที่แก้ไขใหม่)ให้ความหมายของคำว่าผู้บุพการีไว้ว่าหมายถึงบิดามารดาปู่ย่าตายายทวดและผู้สืบสายโลหิตกันโดยตรงขึ้นไปตามความเป็นจริงจำเลยเป็นเพียงผู้รับโจกท์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ใช่บิดาโจทก์จึงไม่ใช่ผู้บุพการีของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกเป็นโมฆะ ผู้รับซื้อฝากไม่มีสิทธิในทรัพย์สิน โจทก์มีสิทธิเรียกคืนได้
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเป็นการฟ้องบุพการีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562 ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุเฉพาะตัวระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วยไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ปัญหาเรื่องโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หรือไม่ จึงเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ไม่อาจยกเรื่องห้ามฟ้องจำเลยที่ 1 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ห. ย่อมเป็นตัวแทนของบรรดาทายาทในการจัดการมรดก มีหน้าที่ต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมและจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากพินัยกรรม และเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกแต่กลับโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองในฐานะส่วนตัว จึงเป็นการทำนิติกรรมให้ตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกอันเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722การโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นกองมรดกของ ห.อยู่ตามเดิม ส่วนบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินย่อมตกได้แก่โจทก์ทั้งสาม ไม่ตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากที่ดินพิพาทพร้อมบ้านไว้จากจำเลยที่ 1ย่อมไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามนิติกรรมขายฝาก ทั้งเป็นการกระทำที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสาม โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องเรียกที่ดินพิพาทพร้อมบ้านคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ เพราะเป็นการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และจะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฟ้องคดีระหว่างแม่ลูก: คดีอุทลุมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562
ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาโจทก์และเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับโจทก์ว่ายื่นคำร้องขอออก น.ส.3ทับที่ดินโจทก์อันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์นั้นเป็นการฟ้องในฐานะส่วนตัว หาใช่ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกไม่จึงเป็นคดีอุทลุม ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องแย้งขับไล่ไม่เคลือบคลุม และจำเลยมีอำนาจฟ้องแย้งได้ แม้ภริยาให้ความยินยอม
จำเลยที่ 2 บรรยายฟ้องแย้งว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้ซื้อที่พิพาทแทนโจทก์ แต่ซื้อในนามของตนเอง ที่พิพาทจึงเป็นของจำเลยทั้งสองได้ให้โจทก์และครอบครัวอยู่อาศัยและทำประโยชน์เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแสดงเป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 จึงไม่ประสงค์ให้โจทก์และครอบครัวอยู่ในที่พิพาทตลอดไป ขอให้บังคับโจทก์และบริวารออกไปจากที่พิพาท ดังนี้ คำฟ้องแย้งแม้จะรวมมาในคำให้การ แต่ก็สามารถแยกแยะได้ว่าตอนไหนเป็นคำให้การตอนไหนเป็นคำฟ้องแย้งคำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172แล้ว คำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 2 เป็นบุตรเขยของโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่บุพการีของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรสาวโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นสามีฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากที่พิพาทอันเป็นสินสมรสได้ ก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 ฟ้องคดีด้วย เพราะจำเลยที่ 2 ฟ้องคดีในนามของตนเองไม่ได้ฟ้องแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 จำเลยที่ 2 มีอำนาจฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งของบุตรเขยและการยินยอมของบุตรสาวในการฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากสินสมรส
จำเลยที่ 2 เป็นบุตรเขยของโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่บุพการีของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรสาวโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นสามีฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากที่พิพาทอันเป็นสินสมรสได้ ก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 ฟ้องคดีด้วยเพราะจำเลยที่ 2ฟ้องคดีในนามของตนเอง ไม่ได้ฟ้องแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 จำเลยที่ 2 มีอำนาจฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งขับไล่: คำฟ้องแย้งไม่เคลือบคลุม และจำเลยมีอำนาจฟ้องแย้งได้ แม้เป็นสินสมรส
จำเลยที่ 2 บรรยายฟ้องแย้งว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้ซื้อที่พิพาทแทนโจทก์ แต่ซื้อในนามของตนเอง ที่พิพาทจึงเป็นของจำเลยทั้งสอง ได้ให้โจทก์และครอบครัวอยู่อาศัยและทำประโยชน์เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแสดงเป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 จึงไม่ประสงค์ให้โจทก์และครอบครัวอยู่ในที่พิพาทตลอดไป ขอให้บังคับโจทก์และบริวารออกไปจากที่พิพาท ดังนี้ คำฟ้องแย้งแม้จะรวมมาในคำให้การ แต่ก็สามารถแยกแยะได้ว่าตอนไหนเป็นคำให้การตอนไหนเป็นคำฟ้องแย้งคำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว คำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 เป็นบุตรเขยของโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่บุพการีของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรสาวโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นสามีฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากที่พิพาทอันเป็นสินสมรสได้ ก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 ฟ้องคดีด้วย เพราะจำเลยที่ 2 ฟ้องคดีในนามของตนเองไม่ได้ฟ้องแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 จำเลยที่ 2 มีอำนาจฟ้องแย้ง
จำเลยที่ 2 เป็นบุตรเขยของโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่บุพการีของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรสาวโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นสามีฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากที่พิพาทอันเป็นสินสมรสได้ ก็ไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 ฟ้องคดีด้วย เพราะจำเลยที่ 2 ฟ้องคดีในนามของตนเองไม่ได้ฟ้องแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 จำเลยที่ 2 มีอำนาจฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2187/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: แม้หย่าและศาลไม่ได้กำหนดให้จ่าย ก็ฟ้องได้ในฐานะผู้ปกครอง
บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ มีลักษณะเป็นหนี้ร่วมกันแม้โจทก์จำเลยจะหย่าขาดจากกัน และศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง จ. บุตรผู้เยาว์โดยไม่ได้กำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในนามตนเองได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นมารดาและผู้ใช้อำนาจปกครองไม่ใช่ฟ้องในนามของผู้เยาว์หรือในฐานะเป็นตัวแทนผู้เยาว์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1565 ไม่เป็นคดีอุทลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และผลของการพิพากษาถึงที่สุด
ธ. ผู้เยาว์เกิดจากโจทก์ซึ่งเป็นมารดาที่มิได้สมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นบิดา โจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของ ธ. ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบิดาให้รับ ธ. เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลยได้ ไม่เป็นคดีอุทลุม การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลนั้น มีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด ดังนั้น ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจะต้องกำหนดให้นับแต่วันดังกล่าว มิใช่นับแต่วันคลอด และศาลไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรอีก เพราะผู้มีส่วนได้เสียยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้ว ให้บันทึกในทะเบียนได้.