พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และผลของการพิพากษา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 บัญญัติให้บุตรผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดาและให้อำนาจปกครองอยู่กับมารดาในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายโดยบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร และมาตรา 1556 ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างเด็กเป็นผู้เยาว์ถ้าเด็กอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เด็กหญิงธ.ผู้เยาว์อายุได้ 11 เดือนเศษ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรจึงมีอำนาจฟ้องแทนได้ และมาตรา 1565 บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ด้วยว่านอกจากอัยการจะฟ้องร้องแทนแล้ว ให้บิดาหรือมารดานำคดีขึ้นว่ากล่าวได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งให้รับผู้เยาว์เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าฟ้องคดีในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จึงชอบแล้ว และฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยรับผู้เยาว์เป็นบุตรไม่เป็นคดีอุทลุม เพราะเป็นการฟ้องตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ จำเลยเป็นรองศาสตราจารย์และมีรายได้อื่นอีก ส่วนโจทก์ยังไม่มีอาชีพและรายได้ ผู้เยาว์จะต้องศึกษาเล่าเรียนสูงขึ้นตามวัยศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ตามวันอายุของผู้เยาว์เหมาะสมดีแล้ว เว้นแต่ที่กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตั้งแต่วันคลอดนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาล มีผลนับแต่วันศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เนื่องจากการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557(3)จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง ธ. เป็นบุตรทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20บัญญัติว่า เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู
ป.พ.พ. มาตรา 1566 บัญญัติให้บุตรผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ในอำนาจปกครองของบิดามารดาและให้อำนาจปกครองอยู่กับมารดาในกรณีที่บุตรเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย และยังมิได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายโดยบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร และมาตรา 1556 ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างเด็กเป็นผู้เยาว์ถ้าเด็กอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เด็กหญิง ธ.ผู้เยาว์อายุได้ 11 เดือนเศษ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรจึงมีอำนาจฟ้องแทนได้ และมาตรา 1565 บัญญัติเกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ด้วยว่านอกจากอัยการจะฟ้องร้องแทนแล้ว ให้บิดาหรือมารดานำคดีขึ้นว่ากล่าวได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งให้รับผู้เยาว์เป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าฟ้องคดีในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์จึงชอบแล้ว และฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยรับผู้เยาว์เป็นบุตรไม่เป็นคดีอุทลุม เพราะเป็นการฟ้องตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ
จำเลยเป็นรองศาสตราจารย์และมีรายได้อื่นอีก ส่วนโจทก์ยังไม่มีอาชีพและรายได้ ผู้เยาว์จะต้องศึกษาเล่าเรียนสูงขึ้นตามวัย ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ตามวัยอายุของผู้เยาว์เหมาะสมดีแล้ว เว้นแต่ที่กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตั้งแต่วันคลอดนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาล มีผลนับแต่วันศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
เนื่องจากการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557 (3) จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง ธ.เป็นบุตร ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 20บัญญัติว่า เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้
จำเลยเป็นรองศาสตราจารย์และมีรายได้อื่นอีก ส่วนโจทก์ยังไม่มีอาชีพและรายได้ ผู้เยาว์จะต้องศึกษาเล่าเรียนสูงขึ้นตามวัย ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ตามวัยอายุของผู้เยาว์เหมาะสมดีแล้ว เว้นแต่ที่กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตั้งแต่วันคลอดนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาล มีผลนับแต่วันศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
เนื่องจากการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557 (3) จึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง ธ.เป็นบุตร ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 20บัญญัติว่า เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนการโอนมรดก: ผู้จัดการมรดกในฐานะส่วนตัว vs. กองมรดก และอายุความ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของมารดาโจทก์ แม้จำเลยที่ 1เป็นยาย ของโจทก์ แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการที่จำเลยที่ 1โอนทรัพย์มรดกของมารดาโจทก์ให้ตนเองและให้จำเลยที่ 2 นั้น เป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับกองมรดกของผู้ตาย ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก หาได้ฟ้องในฐานะส่วนตัวที่จำเลยที่ 1 เป็นยาย อันจะพึงถือว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างหลานกับยาย ไม่ แม้จำเลยที่ 1ได้ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทน ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์กลายเป็นฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว จึงไม่ต้องห้ามตามป.พ.พ. มาตรา 1562. โจทก์เป็นทายาทของผู้ตาย ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าจัดการมรดกโดยไม่ชอบขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของผู้ตาย จำเลยที่ 1 ตกอยู่ ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหมด จึงไม่อาจยกอายุความมรดก1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ทรัพย์พิพาทมิใช่มรดกของผู้ตาย เพราะจำเลยที่ 1 และสามีซื้อทรัพย์พิพาททั้งสองแปลง โดยใส่ชื่อผู้ตายและบุคคลอื่นไว้แทนแต่จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ การกำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับหรือไม่ อยู่ในดุลพินิจ ของศาลที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคู่ความหลังจำเลยถึงแก่กรรม และการฟ้องคดีเกี่ยวกับจัดการมรดก
ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1ผู้มรณะนั้นคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ผู้มรณะได้ เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์จึงให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังไปแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสั่งคำร้องของโจทก์ที่ 1 ที่ขอให้เรียกจำเลยที่ 2เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 เสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง
การจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่เป็นมรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกก็ไม่มีผลต่อไป แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกโดยมิชอบนั้นมิใช่เป็นการเฉพาะตัวย่อมตกทอดแก่ทายาทในส่วนนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ย่อมเข้าเป็นคู่ความแทนได้ จึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ผู้มรณะเฉพาะกรณีพิพาทตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของผู้ตายเพราะจำเลยที่ 1 จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับกองมรดกของผู้ตายซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวที่จำเลยที่ 1 เป็นยายของโจทก์อันจะพึงถือว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างหลานกับยายไม่ แม้จำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมไปในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายกลายเป็นฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562
โจทก์เป็นทายาทฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าจัดการมรดกโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหมด จะยกอายุความมรดก1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
การจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่เป็นมรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกก็ไม่มีผลต่อไป แต่ความรับผิดของผู้จัดการมรดกอันเกิดจากการจัดการมรดกโดยมิชอบนั้นมิใช่เป็นการเฉพาะตัวย่อมตกทอดแก่ทายาทในส่วนนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ย่อมเข้าเป็นคู่ความแทนได้ จึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ผู้มรณะเฉพาะกรณีพิพาทตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นมรดกของผู้ตายเพราะจำเลยที่ 1 จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เป็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับกองมรดกของผู้ตายซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวที่จำเลยที่ 1 เป็นยายของโจทก์อันจะพึงถือว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างหลานกับยายไม่ แม้จำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมไปในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายกลายเป็นฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562
โจทก์เป็นทายาทฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าจัดการมรดกโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาททั้งหมด จะยกอายุความมรดก1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6181/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการสละกรรมสิทธิ์: คดีไม่เป็นอุทลุมเมื่อเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย
คำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์เป็นการร้องขอเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิของตนตามที่กฎหมายกำหนดไว้มิใช่กรณีที่ผู้ร้องมีคำขออย่างใดอย่างหนึ่งในทางที่จะเป็นการบังคับเอากับผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุพการี แม้ผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาก็เป็นการกระทำของผู้คัดค้านเอง มิใช่การกระทำของผู้ร้อง ดังนั้น คดีของผู้ร้องจึงไม่เป็นอุทลุม ผู้คัดค้านแสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องและผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินนับแต่ที่ผู้คัดค้านได้แสดงเจตนาสละกรรมสิทธิ์ให้จึงเป็นการเข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของนับแต่วันนั้น เมื่อผู้ร้องได้ครอบครองมาโดยสงบและเปิดเผยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีดังนี้ ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6181/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และข้อยกเว้นอุทลุมเกี่ยวกับการฟ้องบุพการี
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นั้น เป็นการร้องขอเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิของตนตามกฎหมาย มิใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องมีคำขออย่างใดอย่างหนึ่งในทางที่จะเป็นการบังคับเอาแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุพการี และถึงแม้ว่าผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาก็เป็นการกระทำของผู้คัดค้านเอง มิใช่การกระทำของผู้ร้อง และการที่ผู้คัดค้านเข้ามานั้นก็มีผลเพียงทำให้คดีของผู้ร้องเดิมกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทขึ้นเท่านั้นจึงไม่อยู่ในความหมายที่จะเรียกได้ว่าเป็นการฟ้องบุพการีอันจักต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด คดีของผู้ร้องจึงไม่เป็นอุทลุม
แม้บันทึกที่ผู้คัดค้านแสดงเจตนายกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องจะไม่มีผลเป็นการยกให้ตามกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่แสดงข้อเท็จจริงให้เห็นตามคำเบิกความของผู้ร้องและพยานผู้ร้องว่า ผู้คัดค้านได้สละกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นให้เป็นของผู้ร้องแล้วนับแต่วันที่ได้แสดงเจตนานั้นออกมา การที่ผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่วันดังกล่าว จึงเป็นการเข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อผู้ร้องครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
แม้บันทึกที่ผู้คัดค้านแสดงเจตนายกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องจะไม่มีผลเป็นการยกให้ตามกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่แสดงข้อเท็จจริงให้เห็นตามคำเบิกความของผู้ร้องและพยานผู้ร้องว่า ผู้คัดค้านได้สละกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นให้เป็นของผู้ร้องแล้วนับแต่วันที่ได้แสดงเจตนานั้นออกมา การที่ผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่วันดังกล่าว จึงเป็นการเข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อผู้ร้องครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและสินสมรส โดยผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องแทนทายาทได้ ไม่เป็นอุทลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเป็นภรรยาเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งสินสมรสและมรดกของผู้ตายแก่โจทก์ในฐานะคู่สมรส ทายาทและผู้จัดการมรดก เพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไปหาใช่ฟ้องในฐานะภรรยาหรือทายาทอย่างเดียวไม่ และโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งมรดกแก่บุตรผู้เยาว์ซึ่งเป็นทายาทได้กรณีไม่เป็นการฟ้องคดีแทนบุตรอันจะเป็นอุทลุม ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์สินพิพาทให้โจทก์โดยมิได้ระบุว่าแบ่งให้โจทก์ในฐานะอะไรบ้างนั้น ยังไม่ชอบเพราะอาจเกิดความเสียหายแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองคนของผู้ตายอันเป็นทายาทได้ ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไข.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก, ที่ดิน, ตึกแถว, สิทธิในฐานะผู้จัดการมรดกและคู่สมรส, ค่าเสียหายจากการเช่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นมรดกของผู้ตาย โดยตึกแถวพิพาทเป็นสินสมรสของผู้ตายกับโจทก์ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2527 จำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งสินสมรสและมรดกของผู้ตายแก่โจทก์ เช่นนี้โจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ อีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้วคำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม และตามคำฟ้อง โจทก์ฟ้องแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายทั้งในฐานะที่โจทก์เป็นภรรยามีส่วนแบ่งในสินสมรสของผู้ตาย ในฐานะที่โจทก์เป็นทายาทของผู้ตายและในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ซึ่งไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้ฟ้องในฐานะต่าง ๆ ดังกล่าวรวมกันมาโจทก์ย่อมฟ้องรวมกันมาได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยา เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งสินสมรสและมรดกของผู้ตายแก่โจทก์ในฐานะคู่สมรสทายาทและผู้จัดการมรดก เพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไป เช่นนี้ หาใช่ฟ้องในฐานะภรรยาหรือทายาทแต่อย่างเดียวไม่ และโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งมรดกแก่บุตรผู้เยาว์ซึ่งเป็นทายาทได้ กรณีไม่เป็นการฟ้องคดีแทนบุตรอันจะเป็นอุทลุมแต่อย่างไร เมื่อบิดาของผู้ตายถึงแก่กรรม ผู้ตายยังเป็นผู้เยาว์ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายได้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของบิดาผู้ตายต่อมา ย่อมเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ตาย และเมื่อผู้ตายบรรลุนิติภาวะแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยมิได้แบ่งปันกัน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงโดยแจ้งชัดต่อผู้ตายว่ามีเจตนาจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ตายตลอดมา ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 7 กันยายน 2527 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่สินสมรส หาได้ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินเดิมไม่ เช่นนี้ ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 หรือไม่ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาว่าตึกแถวพิพาทจะให้เช่าได้เดือนละเท่าไรนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และใบเสร็จรับเงินค่าเช่ามิใช่เอกสารที่จะต้องฟังเป็นยุติว่าทรัพย์สินนั้นให้เช่าได้เดือนละเท่าไร ศาลมีอำนาจวินิจฉัยพยานหลักฐานต่าง ๆ แล้วฟังว่าค่าเสียหายเป็นเงินเดือนเท่าไรได้ โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินพิพาทอันเป็นสินสมรสและมรดกของผู้ตายทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไป แต่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์สินพิพาทให้โจทก์โดยมิได้ระบุว่าแบ่งให้โจทก์ในฐานะอะไรบ้างเป็นการไม่ชอบ เพราะอาจเกิดความเสียหายแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายอันเป็นทายาทได้ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขโดยระบุให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและที่ดินพิพาท การครอบครองแทนทายาท การคิดค่าเสียหายจากทรัพย์สิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ที่ดินและตึกแถวพิพาทเป็นมรดกของผู้ตาย โดยตึกแถวพิพาทเป็นสินสมรสของผู้ตายกับโจทก์ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2527 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งสินสมรสและมรดกของผู้ตายแก่โจทก์ เช่นนี้โจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ อีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม และตามคำฟ้อง โจทก์ฟ้องแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายทั้งในฐานะที่โจทก์เป็นภรรยามีส่วนแบ่งในสินสมรสของผู้ตาย ในฐานะที่โจทก์เป็นทายาทของผู้ตายและในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ซึ่งไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้ฟ้องในฐานะต่าง ๆ ดังกล่าวรวมกันมาโจทก์ย่อมฟ้องรวมกันมาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยา เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งสินสมรสและมรดกของผู้ตายแก่โจทก์ในฐานะคู่สมรสทายาทและผู้จัดการมรดก เพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไป เช่นนี้ หาใช่ฟ้องในฐานะภรรยาหรือทายาทแต่อย่างเดียวไม่ และโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งมรดกแก่บุตรผู้เยาว์ซึ่งเป็นทายาทได้ กรณีไม่เป็นการฟ้องคดีแทนบุตรอันจะเป็นอุทลุมแต่อย่างไร
เมื่อบิดาของผู้ตายถึงแก่กรรม ผู้ตายยังเป็นผู้เยาว์ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายได้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของบิดาผู้ตายต่อมา ย่อมเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ตาย และเมื่อผู้ตายบรรลุนิติภาวะแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยมิได้แบ่งปันกัน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงโดยแจ้งชัดต่อผู้ตายว่ามีเจตนาจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ตายตลอดมา ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 7 กันยายน2527 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่สินสมรส หาได้ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินเดิมไม่ เช่นนี้ ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 หรือไม่ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่าตึกแถวพิพาทจะให้เช่าได้เดือนละเท่าไรนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และใบเสร็จรับเงินค่าเช่ามิใช่เอกสารที่จะต้องฟังเป็นยุติว่าทรัพย์สินนั้นให้เช่าได้เดือนละเท่าไร ศาลมีอำนาจวินิจฉัยพยานหลักฐานต่าง ๆ แล้วฟังว่าค่าเสียหายเป็นเงินเดือนเท่าไรได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินพิพาทอันเป็นสินสมรสและมรดกของผู้ตาย ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไป แต่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์สินพิพาทให้โจทก์โดยมิได้ระบุว่าแบ่งให้โจทก์ในฐานะอะไรบ้างเป็นการไม่ชอบ เพราะอาจเกิดความเสียหายแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายอันเป็นทายาทได้ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขโดยระบุให้ถูกต้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นภรรยา เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล ขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งสินสมรสและมรดกของผู้ตายแก่โจทก์ในฐานะคู่สมรสทายาทและผู้จัดการมรดก เพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไป เช่นนี้ หาใช่ฟ้องในฐานะภรรยาหรือทายาทแต่อย่างเดียวไม่ และโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งมรดกแก่บุตรผู้เยาว์ซึ่งเป็นทายาทได้ กรณีไม่เป็นการฟ้องคดีแทนบุตรอันจะเป็นอุทลุมแต่อย่างไร
เมื่อบิดาของผู้ตายถึงแก่กรรม ผู้ตายยังเป็นผู้เยาว์ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายได้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของบิดาผู้ตายต่อมา ย่อมเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ตาย และเมื่อผู้ตายบรรลุนิติภาวะแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยมิได้แบ่งปันกัน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงโดยแจ้งชัดต่อผู้ตายว่ามีเจตนาจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ตายตลอดมา ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 7 กันยายน2527 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่สินสมรส หาได้ต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินเดิมไม่ เช่นนี้ ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 หรือไม่ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่าตึกแถวพิพาทจะให้เช่าได้เดือนละเท่าไรนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง และใบเสร็จรับเงินค่าเช่ามิใช่เอกสารที่จะต้องฟังเป็นยุติว่าทรัพย์สินนั้นให้เช่าได้เดือนละเท่าไร ศาลมีอำนาจวินิจฉัยพยานหลักฐานต่าง ๆ แล้วฟังว่าค่าเสียหายเป็นเงินเดือนเท่าไรได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินพิพาทอันเป็นสินสมรสและมรดกของผู้ตาย ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อแบ่งปันแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายต่อไป แต่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์สินพิพาทให้โจทก์โดยมิได้ระบุว่าแบ่งให้โจทก์ในฐานะอะไรบ้างเป็นการไม่ชอบ เพราะอาจเกิดความเสียหายแก่บุตรผู้เยาว์ของผู้ตายอันเป็นทายาทได้ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขโดยระบุให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรับรองบุตรและการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยเด็กผู้เยาว์
ป.พ.พ. มาตรา 1556 วรรคสอง ให้อำนาจเด็กฟ้องคดีให้รับรองเด็กเป็นบุตรได้เองโดยเฉพาะ ขณะยื่นฟ้องเด็กซึ่งเป็นโจทก์ก็ยังไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย คดีของโจทก์จึงไม่เป็นคดีอุทลุมไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 ส่วนฟ้องของโจทก์ในเรื่องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งเป็นผลหลังจากที่มีการรับรองความเป็นบุตรของโจทก์แล้ว และเป็นเรื่องต่อเนื่องจากการรับรองบุตร โจทก์จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูด้วย.