คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 273

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำกรรมเดียวกัน: คดีความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าและขายของหลอกลวง ศาลยกฟ้องเนื่องจากเคยมีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 273และ 275 ระบุว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 28กรกฎาคม 2531 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ส่วนในคำฟ้องคดีเดิม โจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 ดังนี้ เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกัน เพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่ 19 มกราคม 2531 เวลากลางวัน ดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด 2 กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกัน ซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกัน เป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรม ที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตาม ป.อ.มาตรา271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้าง หากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า แม้ต่างเวลา-สถานที่ หากเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน สิทธิฟ้องระงับ
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 273 และ 275 ระบุว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 วันเวลาใดไม่ปรากฎชัด ส่วนในคำฟ้องคดีเดิม โจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 ดังนี้ เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกัน เพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่ 19 มกราคม 2531 เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด 2 กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกัน ซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกัน เป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้างหากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ – ความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายสินค้าปลอม – คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดโดยร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวันของบริษัทผู้เสียหายและร่วมกันจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายปลอมดังกล่าวแก่ประชาชนเมื่อระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531วันเวลาใดไม่ปรากฎชัดส่วนในคำฟ้องคดีเดิมระบุว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันเห็นได้ว่าเวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมเป็นเวลาเดียวกันเพราะแม้คำฟ้องคดีนี้จะระบุว่าเวลากระทำผิดเป็นระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531แต่ก็ระบุว่าวันเวลาใดไม่ปรากฎชัดจึงอาจเป็นวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้และการกระทำของจำเลยทั้งสองในความผิด2กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวก็เป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าตราดอกทานตะวันของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกันซึ่งใช้กับสินค้าใบชากลิ่นมะลิเหมือนกันและร่วมกันจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าใบชาที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งปรากฎในคำฟ้องคดีเดิมว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเสนอจำหน่ายสินค้าดังกล่าวต่อร้านต่างๆทั่วไปในกรุงเทพมหานครซึ่งคำฟ้องคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าเกิดที่กรุงเทพมหานครเช่นเดียวกันดังนี้ความผิด2กรรมที่โจทก์ทั้งสองคดีฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดได้เกิดขึ้นในเวลาและสถานที่เดียวกันทั้งเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกันความผิด2กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีเดิมเมื่อฟังได้ความว่าคดีอาญาเดิมศาลแขวงดุสิตได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้วดังนั้นเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วโจทก์จึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ - กรรมเดียว - ปลอมเครื่องหมายการค้า - ศาลยกฟ้อง - เหตุผลความผิดกรรมเดียวกับคดีก่อน
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา273และ275ระบุว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531วันเวลาใดไม่ปรากฎชัดส่วนในคำฟ้องคดีเดิมโจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่19มกราคม2531ดังนี้เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกันเพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด2กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกันซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกันเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด2กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิมและเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิตราดอกทานตะวันโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมจำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดดังนั้นเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4) สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา271ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้นเมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้างหากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเองจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าวกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4150/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์แจ้งความเท็จและละเมิดสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา: การกระทำโดยสุจริตเพื่อรักษาสิทธิของตนเอง
จำเลยที่1ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ที่1ในข้อหาเอารูปและรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของจำเลยที่1มาใช้หรือทำให้ปรากฎที่สินค้าหีบห่อวัตถุที่ใช้ห่อหุ้มเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของจำเลยที่1อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา272(1)เท่านั้นจำเลยที่1ไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ที่1ในความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา273และมาตรา274อันเป็นความผิดเกี่ยวด้วยเครื่องหมายการค้าในอันที่จะต้องพิจารณาว่าจำเลยที่1ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายแล้วหรือไม่เมื่อจำเลยที่1มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้ารูปและรอยประดิษฐ์ตราม้าดาวแล้วแม้จำเลยที่1จะไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปและรอยประดิษฐ์ตราม้าดาวตามกฎหมายจำเลยที่1ก็ย่อมมีสิทธิ์ร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ที่1ในข้อหาเอารูปและรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของจำเลยที่1มาใช้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ รองเท้าฟ้องน้ำตราม้าดาวของจำเลยที่1และตราหมีสู้งูของโจทก์ที่1ต่างมีรูปดาวห้าแฉกอยู่ภายในวงกลมเล็กและวงกลมเล็กอยู่ภายในวงกลมใหญ่อีกชั้นหนึ่งระหว่างวงกลมทั้งสองมีอักษรโรมันอยู่ด้านบนและมีอักษรไทยอยู่ด้านล่างเหมือนกันตัวอักษรดังกล่าวและวงกลมเล็กกับวงกลมใหญ่มีขนาดเท่าๆกันการวางตำแหน่งรูปและรอยประดิษฐ์ดังกล่าวมีลักษณะเหมือนกันจะผิดกันก็แต่เฉพาะรูปสัตว์ที่อยู่ในดาวห้าแตกกับตัวอักษรโรมันและอักษรไทยเท่านั้นส่วนหูรองเท้านั้นนอกจากจะมีรูปและรอยประดิษฐ์ที่คล้ายคลึงกันแล้วหูรองเท้าที่โจทก์ที่1ผลิตยังมีรูปเกือกม้าเช่นเดียวกับของจำเลยซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวม้าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวหมีและงูที่เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์อีกทั้งถุงพลาสติกที่ใช้บรรจุรองเท้าของโจทก์ทั้งสี่ก็มีลายเส้นและลวดลายเหมือนกันและโค้งไปทางเดียวกันขนาดเส้นโค้งก็โตเท่ากันกับของจำเลยที่1สีของลายเส้นก็เหมือนกันยิ่งสนับสนุนถึงมูลเหตุที่มีน้ำหนักพอทำให้จำเลยที่2และที่3ในฐานะผู้มีอำนาจทำแทนจำเลยที่1เชื่อโดยสุจริตใจว่าโจทก์ทั้งสี่ได้นำรูปและรอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของจำเลยที่1ไปใช้กับรองเท้าฟ้องน้ำที่โจทก์ทั้งสี่ผลิตขึ้นเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของจำเลยที่1การที่จำเลยที่1โดยจำเลยที่2และที่3ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสี่จึงเป็นการกระทำเพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ในการประกอบกิจการค้าของตนโดยสุจริตมาได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสี่ส่วนขั้นตอนหลังจากที่จำเลยไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้วเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนผู้รับการร้องทุกข์ที่จะใช้ดุลพินิจในการดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่จำเลยไม่มีส่วนหรือไม่มีสิทธิเข้ามาเกี่ยวข้องกับการปฎิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนการกระทำของจำเลยที่1ถึงที่3จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินค้าติดเครื่องหมายการค้าปลอม แม้มีเครื่องหมายการค้าของจำเลย ก็ยังคงเป็นสินค้าปลอมตามกฎหมาย
การที่ถุงเท้าของกลางมีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้เสียหายติดอยู่ แม้จะมีเครื่องหมายการค้าของจำเลยติดอยู่ด้วย ก็หาทำให้เครื่องหมายการค้าปลอมที่ติดอยู่กลับเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงไม่ และถุงเท้าดังกล่าวย่อมถือเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าปลอม แม้มีเครื่องหมายการค้าของจำเลย ก็ไม่ทำให้เครื่องหมายการค้าปลอมกลายเป็นของแท้
ถุงเท้าที่มีการนำตราเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้เสียหายติดอยู่บริเวณข้อเท้า ถือได้ว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 273 แล้ว ถึงแม้จะมีตราฉลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยติดอยู่ด้วย ก็หาทำให้เครื่องหมายการค้าปลอมของผู้เสียหายที่ติดอยู่กลับเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3576/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า EDWIN และจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรโรมัน EDWINและมีข้อความเป็นคำขวัญกำกับข้างล่างว่า SOLDONLYATTHEFINESTSTORES ที่ประเทศญี่ปุ่น ก่อนจำเลยที่ 2 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันว่า EDWIN ในประเทศไทย 3 ปี การที่จำเลยที่ 2 ผลิตกางเกงยีนออกจำหน่ายในประเทศไทยโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า EDWIN มีลักษณะเป็นการเขียนแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนไว้ แต่กางเกงยีนที่จำเลยที่ 2 ผลิตใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันมีลักษณะการเขียนเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ทั้งยังมีข้อความว่า SOLDONLYATTHEFINESTSTORES ด้วย เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และคำขวัญกำกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการ นอกจากนี้กระดาษป้ายฉลากที่ติดอยู่กับกางเกงยีนดังกล่าวมีแบบ ขนาด สีสัน และข้อความเหมือนกันทุกประการ รวมทั้งที่ป้ายบอกขนาดและราคาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของจำเลยที่ 2ก็มีคำว่า "EDWIN" อยู่ใต้ข้อความที่เป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งคำว่า"EDWIN" นี้ตรงกับที่ปรากฏอยู่ในป้ายบอกขนาดและราคาซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของโจทก์อันหมายถึงว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า"EDWIN" เป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ดังนี้แสดงให้เห็นแจ้งชัดถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 ในการปลอมเครื่องหมายการค้า EDWIN ของโจทก์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวเป็นของโจทก์ที่ประเทศญี่ปุ่นและบริษัทโจทก์อยู่ในประเทศนั้นถือว่าเป็นการปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักร และเป็นการเอาชื่อรูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์มาใช้เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าของจำเลยที่ 2 เป็นสินค้าของโจทก์กับเป็นการจำหน่ายซึ่งสินค้าอันเป็นสินค้าที่มีชื่อรูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นและเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการค้าขายสินค้ากางเกงยีนด้วยการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นและนำมาใช้กับสินค้าของตนในรูปของการตั้งเป็นโรงงานผลิตสินค้าดังกล่าวออกจำหน่ายแก่ประชาชนเป็นเวลานานถึงประมาณ 8 ปี กางเกงยีนและกระโปรงยีนที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของกลางมีจำนวนถึง 2,277 ตัว และกระดาษป้ายฉลากเครื่องหมายการค้าปลอมที่เตรียมไว้ใช้ติดกับสินค้ากางเกงยีนและกระโปรงยีนมีจำนวนถึง 28,880 แผ่น ทั้งโจทก์ได้บอกให้จำเลยที่ 2ระงับการผลิตกางเกงยีนโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2531 ก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะไปตรวจค้นโรงงานของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2532 เป็นเวลาถึงประมาณ 1 ปีแต่จำเลยที่ 2 ก็ยังไม่ยอมหยุดผลิตกางเกงยีนดังกล่าว พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ยังไม่มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2831/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงนอกเหนือคำให้การรับสารภาพ และยืนยันความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้ากับผลิตอาหารปลอมเป็นคนละกระทง
คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ก็ตาม ข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับอนุญาตให้ฎีกาได้นั้น ก็จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงจะวินิจฉัยได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันผลิตอาหารปลอมจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การรับสารภาพ จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 กระทำผิดตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง จำเลยที่ 2 และที่ 3จะโต้เถียงข้อเท็จจริงให้เป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ ที่จำเลยที่ 2และที่ 3 ฎีกาว่า อาหารที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันผลิตไม่ใช่อาหารปลอม เพราะได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นผู้ประกอบกิจการผลิตอาหารแล้ว จึงไม่มีความผิดนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากคำให้การรับสารภาพและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้ากับความผิดฐานผลิตอาหารปลอมลักษณะของการกระทำผิดแยกจากกัน เมื่อมีการปลอมเครื่องหมายการค้าและนำไปใช้ก็เป็นความผิดสำเร็จกระทงหนึ่งแล้ว เมื่อนำอาหารที่มีส่วนประกอบซึ่งไม่ใช่สูตรของอาหารที่แท้จริงมาปิดเครื่องหมายการค้าที่ทำปลอมขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคหรือประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นอาหารที่แท้จริง ก็เป็นความผิดฐานผลิตอาหารปลอมอีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นความผิดสองกระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าและผลิตวัตถุมีพิษโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงการปลอมแปลงข้อมูลผู้ผลิต
จำเลยเป็นผู้สั่งทำถุงพลาสติกของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้แล้วของบริษัทผู้เสียหาย แม้จำเลยจะไม่ได้เป็นผู้ทำถุงพลาสติกของปลอมขึ้นด้วยตนเอง แต่การที่จำเลยสั่งให้ผู้อื่นเป็นผู้จัดทำของปลอมนั้นขึ้น จำเลยก็มีความผิดในข้อหาปลอมเครื่องหมายการค้าแล้ว และเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่จำเลยจัดให้มีการปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหาย
จำเลยผลิตยากำจัดวัชพืช มีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษธรรมดาเจือปนเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 มาตรา 11, 36 และผลิตยาฆ่าปูมีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษร้ายแรงเจือปนเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษพ.ศ. 2510 มาตรา 12, 37 เป็นการผลิตวัตถุมีพิษต่างชนิดกันคือเป็นวัตถุมีพิษธรรมดากับวัตถุมีพิษร้ายแรง กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน ความผิดสองฐานนี้จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน
จำเลยผลิตยากำจัดวัชพืชมีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษธรรมดาเจือปนเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิตวัตถุมีพิษธรรมดาดังกล่าวปลอมโดยได้แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิตซึ่งมิใช่เป็นความจริงนั้นเป็นกรณีที่จำเลยผลิตวัตถุมีพิษธรรมดาชนิดเดียวกันปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบท ส่วนที่จำเลยผลิตยาฆ่าปู มีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษร้ายแรงเจือปนเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิตวัตถุมีพิษร้ายแรงดังกล่าวปลอมโดยได้แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิตซึ่งมิใช่เป็นความจริง เป็นกรณีที่จำเลยผลิตวัตถุมีพิษร้ายแรงชนิดเดียวกันปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบท.
of 6