พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า และผลิตวัตถุมีพิษปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยเป็นผู้สั่งทำถุงพลาสติกของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้แล้วของบริษัทผู้เสียหาย แม้จำเลยจะไม่ได้เป็นผู้ทำถุงพลาสติกของปลอมขึ้นด้วยตนเอง แต่การที่จำเลยสั่งให้ผู้อื่นเป็นผู้จัดทำของปลอมนั้นขึ้น จำเลยก็มีความผิดในข้อหาปลอมเครื่องหมายการค้าแล้ว และเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่จำเลยจัดให้มีการปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหาย จำเลยผลิตยากำจัดวัชพืช มีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษธรรมดาเจือปนเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 มาตรา 11,36 และผลิตยาฆ่าปูมีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษร้ายแรงเจือปนเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษพ.ศ. 2510 มาตรา 12,37 เป็นการผลิตวัตถุมีพิษต่างชนิดกันคือเป็นวัตถุมีพิษธรรมดากับวัตถุมีพิษร้ายแรง กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน ความผิดสองฐานนี้จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน จำเลยผลิตยากำจัดวัชพืชมีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษธรรมดาเจือปนเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิตวัตถุมีพิษธรรมดาดังกล่าวปลอมโดยได้แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิตซึ่งมิใช่เป็นความจริงนั้นเป็นกรณีที่จำเลยผลิตวัตถุมีพิษธรรมดาชนิดเดียวกันปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบท ส่วนที่จำเลยผลิตยาฆ่าปู มีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษร้ายแรงเจือปนเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิตวัตถุมีพิษร้ายแรงดังกล่าวปลอมโดยได้แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิตซึ่งมิใช่เป็นความจริง เป็นกรณีที่จำเลยผลิตวัตถุมีพิษร้ายแรงชนิดเดียวกันปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเครื่องหมายการค้าและการตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาพิจารณาความร้ายแรงและเหตุผลในการรอการลงโทษ
จำเลยตั้ง โรงงานใช้ เครื่องจักรมีกำลังรวมทั้งหมดเป็นจำนวนถึง 52.2 แรงม้า ใช้ คนงานถึง 50 คน ทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นรวม 3 ราย ทำการผลิตเสื้อผ้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ถือ ได้ ว่าเป็นความผิดร้ายแรง ไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลย โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยว่ากระทำการปลอมเครื่องหมายการค้ามีชื่อ สำหรับกระดุม และพลาสติกสำหรับใช้แขวน ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ จึงริบกระดุมและพลาสติกสำหรับใช้ แขวนของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ได้ ส่วนผ้าที่ตัด เป็นตัว เสื้อแล้ว แต่ยังไม่ได้เย็บ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐาน ปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ผ้าดังกล่าวไม่เกี่ยวกับการปลอมเครื่องหมายการค้า จึงไม่อาจริบได้ และการที่โจทก์ขอให้ริบสิ่งของอื่นอีกหลายรายการของกลางนั้น เพียงเท่านี้ไม่อาจทราบว่าของกลางคืออะไรบ้างและเกี่ยวกับการกระทำความผิดอย่างไร จึงไม่อาจริบได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4575/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า: การผลิตตามคำสั่งลูกค้าเดิมก่อนจดทะเบียน ไม่ถือเป็นความผิด
โจทก์ร่วมและจำเลยต่างผลิตรองเท้าใช้เครื่องหมายการค้า ทามิมิโดยเปิดเผยตามแบบที่ลูกค้านอกราชอาณาจักรสั่งให้ทำมาก่อน โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว จนถึงเกิดเหตุ โดยไม่มีพฤติการณ์ให้ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบถึงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม เช่นนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า จำเลยต้องมีความรู้หรือควรรู้ว่าเครื่องหมายการค้าเป็นของผู้อื่น
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 'แฮร์รีส' ไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศอื่น โจทก์ร่วมมอบให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้านี้แต่ผู้เดียวในประเทศไทย เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเคยลงโฆษณาในวารสารที่จำเลยที่ 6 เป็นผู้จัดการฝ่ายโฆษณา จำเลยสั่งซื้อสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า 'แฮร์รีส' ไปจากตัวแทนของโจทก์ร่วมหลายครั้ง การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า 'แฮร์รีส'เข้ามาจากไต้หวัน ตามเหตุผลเป็นข้อที่ชวนให้สงสัยในพฤติการณ์ของจำเลยว่า น่าจะรู้ว่าเครื่องหมายการค้านี้ความจริงเป็นของผู้ใด มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไหน การสั่งสินค้าซึ่งเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจากไต้หวันเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย น่าจะเป็นหลักฐานเพียงพอให้ฟังได้แล้วว่าเป็นความผิด แต่เครื่องหมายการค้า 'แฮร์รีส' ที่ปรากฏในวารสารดังกล่าวและในใบส่งสินค้าที่ตัวแทนโจทก์ร่วมส่งมอบแก่จำเลยมิได้ระบุชัดถึงตัวผู้เป็นเจ้าของและแหล่งผลิตว่ามาจากประเทศใด ทั้งจำเลยก็ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้แล้วจนเกิดเป็นกรณีพิพาทในทางแพ่งกับโจทก์ร่วม ดังนั้นการที่จะถือเอาแต่ลำพังพฤติการณ์ตามที่ปรากฏแล้วสันนิษฐานว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดในทางอาญาจึงยังฟังไม่ถนัด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาพฤติการณ์โดยรวม ไม่สามารถสันนิษฐานจากหลักฐานที่ไม่ชัดเจนได้
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "แฮร์รีส" ไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศอื่น โจทก์ร่วมมอบให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้านี้แต่ผู้เดียวในประเทศไทย เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเคยลงโฆษณาในวารสารที่จำเลยที่ 6 เป็นผู้จัดการฝ่ายโฆษณา จำเลยสั่งซื้อสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า "แฮร์รีส" ไปจากตัวแทนของโจทก์ร่วมหลายครั้งการที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า "แฮร์รีส" เข้ามาจากไต้หวัน ตามเหตุผลเป็นข้อที่ชวนให้สงสัยในพฤติการณ์ของจำเลยว่าน่าจะรู้ว่าเครื่องหมายการค้านี้ความจริงเป็นของผู้ใด มีแหล่ง กำเนิดจากประเทศไหน การสั่งสินค้าซึ่งเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจากไต้หวันเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย น่าจะเป็นหลักฐานเพียงพอให้ฟังได้แล้วว่าเป็นความผิด แต่เครื่องหมายการค้า "แฮร์รีส"ที่ปรากฏในวารสารดังกล่าวและในใบส่งสินค้าที่ตัวแทนโจทก์ร่วมส่งมอบแก่จำเลยมิได้ระบุชัด ถึงตัวผู้เป็นเจ้าของและแหล่งผลิตว่ามาจากประเทศใด ทั้งจำเลยก็ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้แล้วจนเกิดเป็นกรณีพิพาทในทางแพ่งกับโจทก์ร่วม ดังนั้นการที่จะถือเอาแต่ลำพังพฤติการณ์ตามที่ปรากฏแล้วสันนิษฐานว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดในทางอาญาจึงยังฟังไม่ถนัด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ฉลากเครื่องหมายการค้าปลอม แม้ไม่เข้าข่ายปลอมแปลง แต่เข้าข่ายใช้เครื่องหมายการค้าผู้อื่นโดยมิชอบ
พยานหลักฐานโจทก์ซึ่งมีแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยว่าจำเลยซื้อเครื่องหมายการค้าปลอมจากผู้อื่น แล้วให้ลูกจ้างของจำเลยปิดฉลากเครื่องหมายการค้านั้นที่ขวดซีอิ๊ว เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 273 ตามที่โจทก์ฟ้อง แต่การกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ และข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272(1)แม้โจทก์มิได้ระบุขอให้ลงโทษตามมาตรานี้ แต่ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์พอจะถือได้ว่าได้บรรยายฟ้องรวมการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา272(1) ไว้ด้วยแล้ว ศาลลงโทษจำเลยตามมาตรา 272(1) ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 273 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และการกระทำผิดดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่น ๆ ที่มิได้ฎีกาด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตอาหารปลอมและใช้เครื่องหมายการค้าผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามกฎหมายอาญา
ซีอิ๊วของกลางส่วนหนึ่งที่ขวดปิดฉลากเครื่องหมายการค้าปลอมระบุว่าผลิตที่แห่งหนึ่ง แต่ความจริงผลิตที่อีกแห่งหนึ่งเช่นนี้เป็นการหลอกลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดในเรื่องสถานที่ที่ผลิต ซีอิ๊วของกลางจึงเป็นอาหารปลอม ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 27(4)
โจทก์มีแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยว่า จำเลยซื้อเครื่องหมายการค้าปลอมจากผู้อื่นแล้วให้ลูกจ้างปิดฉลากเครื่องหมายการค้านั้นที่ขวดซีอิ๊ว โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำปลอมขึ้น พฤติการณ์เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 273 แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการเอาชื่อรูป รอยประดิษฐ์และข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272(1) ซึ่งโจทก์มิได้ระบุขอให้ลงโทษ แต่ตามคำบรรยายฟ้องพอถือได้ว่าบรรยายฟ้องรวมการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 272(1) ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 272(1) ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 273 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย และการกระทำผิดดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกา.
โจทก์มีแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยว่า จำเลยซื้อเครื่องหมายการค้าปลอมจากผู้อื่นแล้วให้ลูกจ้างปิดฉลากเครื่องหมายการค้านั้นที่ขวดซีอิ๊ว โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำปลอมขึ้น พฤติการณ์เพียงเท่านี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 273 แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการเอาชื่อรูป รอยประดิษฐ์และข้อความในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272(1) ซึ่งโจทก์มิได้ระบุขอให้ลงโทษ แต่ตามคำบรรยายฟ้องพอถือได้ว่าบรรยายฟ้องรวมการกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 272(1) ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 272(1) ซึ่งมีโทษเบากว่ามาตรา 273 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย และการกระทำผิดดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานผลิตอาหารปลอมและปลอมเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฟ้องชัดเจนครบถ้วน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบังอาจผลิตอาหารปลอม โดยผลิตซอสน้ำมันหอยที่ผสมปรุงแต่ง และทำขึ้นเทียมซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่ อ.ผลิตทำขึ้น และทำออกจำหน่ายเป็นอาหารแท้อย่างนั้น ซอสน้ำมันหอยที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นมีคุณภาพและมาตรฐานไม่ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินมาตรฐานที่กำหนด และใช้กรดเบนโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณกำหนด จนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภค และจำเลยได้นำอาหารที่ผลิตขึ้นนั้นแบ่งบรรจุขวด แล้วนำฉลากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำปลอมขึ้นปิดที่ขวด เพื่อ ลวง หรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ และประโยชน์ว่า อาหารดังกล่าวเป็นซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่แท้จริงที่ อ.ผลิตขึ้น คำบรรยายฟ้องดังกล่าว จึงครบถ้วนตามความหมายของอาหารปลอม ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 27 (2), (5) และ (4) แล้ว และได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ พอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นฟ้องที่สมบูรณ์.
ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยผลิตอาหารโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินกำหนดมาตรฐานและใช้กรดเบ็นโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีจำนวนจุลินทรีย์เท่าใดและใช้กรดเบ็นโซอิคจำนวนเท่าใดเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ
ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดฐานผลิตอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหาร เป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับและแยกจากกันได้ แม้จำเลยจะกระทำในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรม
ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยผลิตอาหารโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินกำหนดมาตรฐานและใช้กรดเบ็นโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีจำนวนจุลินทรีย์เท่าใดและใช้กรดเบ็นโซอิคจำนวนเท่าใดเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ
ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดฐานผลิตอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหาร เป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับและแยกจากกันได้ แม้จำเลยจะกระทำในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าและผลิตอาหารปลอมเป็นความผิดคนละกรรม แม้กระทำพร้อมกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยบังอาจผลิตอาหารปลอมโดยผลิตซอสน้ำมันหอยที่ผสมปรุงแต่งและทำขึ้นเทียมซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่อ.ผลิตทำขึ้นและทำออกจำหน่ายเป็นอาหารแท้อย่างนั้นซอสน้ำมันหอยที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นมีคุณภาพและมาตรฐานไม่ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินมาตรฐานที่กำหนดและใช้กรดเบนโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณกำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคและจำเลยได้นำอาหารที่ผลิตขึ้นนั้นแบ่งบรรจุขวดแล้วนำฉลากเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำปลอมขึ้นปิดที่ขวดเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพปริมาณและประโยชน์ว่าอาหารดังกล่าวเป็นซอสน้ำมันหอยตราชาวประมงที่แท้จริงที่อ.ผลิตขึ้นคำบรรยายฟ้องดังกล่าวจึงครบถ้วนตามความหมายของอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหารพ.ศ.2522มาตรา27(2),(5)และ(4)แล้วและได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่างๆพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเป็นฟ้องที่สมบูรณ์. ฟ้องโจทก์กล่าวว่าจำเลยผลิตอาหารโดยมีจำนวนจุลินทรีย์เกินกำหนดมาตรฐานและใช้กรดเบ็นโซอิคเป็นวัตถุกันเสียเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดโทษและอันตรายแก่ผู้บริโภคได้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีจำนวนจุลินทรีย์เท่าใดและใช้กรดเบ็นโซอิคจำนวนเท่าใดเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ. ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดฐานผลิตอาหารปลอมตามพระราชบัญญัติอาหารเป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับและแยกจากกันได้แม้จำเลยจะกระทำในเวลาเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3516/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีอาญา ความผิดอันยอมความได้ สิทธิในการฟ้องระงับ
ในคดีความผิดอันยอมความกันได้ ผู้เสียหายแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้ทำสัญญาประนีประนอม โดยได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลย จนเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยทั้งหมด และจำเลยทั้งสี่กับผู้เสียหายได้ลงชื่อไว้ในท้ายรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นแสดงว่าผู้เสียหายและจำเลยได้ยอมความกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272, 273 ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 273 ซึ่งเป็นบทหนักเมื่อปรากฏว่าความผิดตามมาตรา 272 เป็นความผิดอันยอมความได้ และได้มีการยอมความกันโดยถูกต้องจนสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแล้วศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ให้ยกฟ้องในความผิดตามมาตรา 272 คงให้ลงโทษตามมาตรา 273 เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272, 273 ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 273 ซึ่งเป็นบทหนักเมื่อปรากฏว่าความผิดตามมาตรา 272 เป็นความผิดอันยอมความได้ และได้มีการยอมความกันโดยถูกต้องจนสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแล้วศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ให้ยกฟ้องในความผิดตามมาตรา 272 คงให้ลงโทษตามมาตรา 273 เท่านั้น