พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4615/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินประจำตำแหน่งและค่าตอบแทนรถประจำตำแหน่งข้าราชการ ไม่อยู่ในความรับผิดบังคับคดี
เงินประจำตำแหน่งเป็นเงินที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการขณะดำรงตำแหน่งตามที่ระบุ ส่วนเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่งข้าราชการ เป็นเงินที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับรถประจำตำแหน่งได้รับในลักษณะคงที่แน่นอนเช่นเดียวกับเงินเดือนและเป็นรายเดือน จึงเป็นรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันกับเงินเดือนของข้าราชการ ชึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมขอบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13302/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินประจำตำแหน่งและค่าตอบแทนข้าราชการตุลาการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี เนื่องจากมีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งและเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการถือได้ว่าเป็นรายได้อื่นลักษณะเดียวกันกับเงินเดือนของข้าราชการ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10444/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินประจำตำแหน่งข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี แม้ไม่ใช่เงินเดือน เหตุผลเพื่อการคำนวณบำเหน็จบำนาญ
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปศาลฎีกา ถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 50 วรรคห้า บัญญัติให้เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือนเพียงเพื่อไม่ให้นำเงินประจำตำแหน่งมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเฉกเช่นเงินเดือนเท่านั้น เงินประจำตำแหน่งเป็นเงินที่หน่วยงานราชการจ่ายให้แก่บุคคลนั้นขณะดำรงตำแหน่ง จึงถือเป็นรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันกับเงินเดือนของข้าราชการที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับคดีเอาจากเงินประจำตำแหน่งของจำเลยได้
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 50 วรรคห้า บัญญัติให้เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือนเพียงเพื่อไม่ให้นำเงินประจำตำแหน่งมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเฉกเช่นเงินเดือนเท่านั้น เงินประจำตำแหน่งเป็นเงินที่หน่วยงานราชการจ่ายให้แก่บุคคลนั้นขณะดำรงตำแหน่ง จึงถือเป็นรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันกับเงินเดือนของข้าราชการที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับคดีเอาจากเงินประจำตำแหน่งของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7548/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการชำระหนี้โดยหักเงินจากผู้จ่ายเงินของจำเลย ศาลไม่อาจบังคับได้หากบุคคลภายนอกไม่ใช่คู่สัญญา
ในสัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงว่า จำเลยยินยอมให้ผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่จ่ายเงินหักเงินได้รายเดือนของจำเลยตามจำนวนเงินงวดที่ต้องชำระส่งชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนี้ การบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ต้องดำเนินการตาม ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 ตั้งแต่มาตรา 271 ถึงมาตรา 323 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์กับจำเลยจะตกลงกันให้บังคับคดีโดยวิธีการอย่างอื่นไม่ได้ คำขอท้ายฟ้องโจทก์ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์มีสิทธิขอรับเงินได้รายเดือนจากผู้มีอำนาจจ่ายเงินเพื่อจ่ายให้โจทก์เป็นการชำระหนี้เงินกู้ยืมจนกว่าจะครบถ้วนนั้น เท่ากับยินยอมให้โจทก์ขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากผู้มีอำนาจหักเงินรายได้ของจำเลยได้โดยไม่ต้องขอหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีและไม่ต้องดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลย จึงขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดี ศาลฎีกาไม่อาจสั่งให้ได้
แม้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องตกลงวิธีการชำระหนี้กันไว้ล่วงหน้าโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย แต่ข้อตกลงเกี่ยวพันไปถึงบุคคลภายนอกผู้ทำหน้าที่หักเงินได้ ตราบใดที่โจทก์และจำเลยยังสมัครใจปฏิบัติต่อกันตามสัญญา บุคคลภายนอกก็ดำเนินการหักเงินได้ของจำเลยส่งให้โจทก์ ต่อมาเมื่อจำเลยเปลี่ยนใจไม่ยอมชำระหนี้ให้ บุคคลภายนอกก็ไม่ยอมหักเงินส่งให้โจทก์ แม้ข้อสัญญาดังกล่าวจะเป็นสิทธิของโจทก์และจำเลยที่จะตกลงกันเกี่ยวกับวิธีชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า แต่บุคคลภายนอกไม่ใช่คู่สัญญา จึงไม่ถูกผูกพันว่าจะต้องมีหน้าที่หักเงินส่งให้โจทก์ตลอดไป การที่จะบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติตามข้อสัญญาเป็นเรื่องวัตถุแห่งหนี้ที่คู่สัญญาตกลงกัน กรณีนี้วัตถุแห่งหนี้คือการบังคับให้จำเลยยินยอมชำระหนี้ต่อไปโดยบุคคลภายนอกดำเนินการหักเงินได้รายเดือนของจำเลยเพื่อจ่ายให้โจทก์ เป็นเรื่องที่ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้ต่อไปตามสัญญาได้ เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้น
แม้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องตกลงวิธีการชำระหนี้กันไว้ล่วงหน้าโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย แต่ข้อตกลงเกี่ยวพันไปถึงบุคคลภายนอกผู้ทำหน้าที่หักเงินได้ ตราบใดที่โจทก์และจำเลยยังสมัครใจปฏิบัติต่อกันตามสัญญา บุคคลภายนอกก็ดำเนินการหักเงินได้ของจำเลยส่งให้โจทก์ ต่อมาเมื่อจำเลยเปลี่ยนใจไม่ยอมชำระหนี้ให้ บุคคลภายนอกก็ไม่ยอมหักเงินส่งให้โจทก์ แม้ข้อสัญญาดังกล่าวจะเป็นสิทธิของโจทก์และจำเลยที่จะตกลงกันเกี่ยวกับวิธีชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า แต่บุคคลภายนอกไม่ใช่คู่สัญญา จึงไม่ถูกผูกพันว่าจะต้องมีหน้าที่หักเงินส่งให้โจทก์ตลอดไป การที่จะบังคับให้คู่สัญญาปฏิบัติตามข้อสัญญาเป็นเรื่องวัตถุแห่งหนี้ที่คู่สัญญาตกลงกัน กรณีนี้วัตถุแห่งหนี้คือการบังคับให้จำเลยยินยอมชำระหนี้ต่อไปโดยบุคคลภายนอกดำเนินการหักเงินได้รายเดือนของจำเลยเพื่อจ่ายให้โจทก์ เป็นเรื่องที่ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้ต่อไปตามสัญญาได้ เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินประจำตำแหน่งข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2)
เนื่องจาก พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.2538 มาตรา 12 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน ดังนั้น เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการจึงมิใช่เงินเดือนในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการบังคับคดี: ลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่ลูกจ้างรัฐบาล เงินบำนาญตกเป็นสินทรัพย์บังคับได้
ป.วิ.พ. มาตรา 286 เป็นข้อยกเว้นความรับผิดแห่งการบังคับคดีจะต้องตีความโดยเคร่งครัด การที่การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งก่อตั้งเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ได้แยกออกจากรัฐบาลเป็นเอกเทศต่างหาก เมื่อจำเลยเป็นลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อนหรือลดขั้นเงินเดือน และรับรายได้เป็นเดือนจากงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทย มิใช่จากเงินจัดสรรงบประมาณเหมือนข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาล จำเลยจึงหาใช่ลูกจ้างของรัฐบาลตามความหมายของป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) ไม่ เมื่อจำเลยมิใช่ลูกจ้างของรัฐบาล สิทธิเรียกร้องในเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ของจำเลยที่มีอยู่ต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้เป็นนายจ้าง จึงตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามป.วิ.พ. มาตรา 286 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าป่วยการของข้าราชการการเมืองมิใช่เงินเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) จึงบังคับคดีได้
เจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286(2) มุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองข้าราชการแห่งรัฐที่เลี้ยงชีพด้วยเงินเดือนอันเป็นรายได้ประจำเพียงอย่างเดียวที่แน่นอนตายตัว แต่เงินที่โจทก์ขออายัดเป็นเงินค่าป่วยการรายเดือน และเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งซึ่งเหมาจ่ายเป็นรายเดือนโดยคำนวณจากรายได้จริงตามประมาณทั่วไปที่เทศบาลจัดเก็บเองจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์ ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับและรายได้จากทรัพย์สินของเทศบาลของปีงบประมาณที่ผ่านมา จึงมีลักษณะไม่คงที่ อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามรายได้ของเทศบาล ซึ่งต่างจากเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการประจำที่มีลักษณะคงที่แน่นอนไม่ผันแปรโดยง่าย ดังนั้นเงินค่าป่วยการรายเดือนและเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งจึงมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "เงินเดือน" ของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) โจทก์ย่อมขอบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับเงินค่าป่วยการของข้าราชการ: เงินค่าป่วยการที่ไม่ใช่เงินเดือนและไม่อยู่ในข่ายได้รับการคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(2)
เจตนารมย์ของบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 286 (2) มุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองข้าราชการแห่งรัฐที่เลี้ยงชีพด้วยเงินเดือนอันเป็นรายได้ประจำเพียงอย่างเดียวที่แน่นอนตายตัว แต่เงินที่โจทก์ขออายัดเป็นเงินค่าป่วยการรายเดือน และเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งซึ่งเหมาจ่ายเป็นรายเดือนโดยคำนวณจากรายได้จริงตามงบประมาณทั่วไปที่เทศบาลจัดเก็บเองจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์ ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับและรายได้จากทรัพย์สินของเทศบาลของปีงบประมาณที่ผ่านมา จึงมีลักษณะไม่คงที่ อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามรายได้ของเทศบาล ซึ่งต่างจากเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการประจำที่มีลักษณะคงที่แน่นอนไม่ผันแปรโดยง่าย ดังนั้นเงินค่าป่วยการรายเดือนและเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งจึงมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "เงินเดือน" ของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมขอบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตข้าราชการ ไม่ตกเป็นทรัพย์สินที่บังคับคดีได้
เงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับจากโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตหรือเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้จะเรียกว่าเป็นเงินช่วยเหลือแต่ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ และเบี้ยหวัดของข้าราชการที่รัฐบาลได้จ่ายให้แก่ข้าราชการที่พ้นจากราชการไปแล้ว ตลอดจนคู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ของบุคคลนั้นซึ่งตามกฎหมายมีสิทธิได้รับเงินจำนวนนี้เพื่อเลี้ยงชีพ ย่อมไม่ตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินเดือน-บำเหน็จลูกหนี้ล้มละลายไม่อยู่ในความรับผิดบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(2)
เงินที่โจทก์นำยึดเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จของจำเลย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 22 และมาตรา 121โดยไม่ปรากฏว่าได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปปะปนกับเงินจำนวนอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกว่าเงินส่วนไหนเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จ เงินจำนวนดังกล่าวที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้จึงยังคงเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) โจทก์จะยึดมาชำระหนี้ไม่ได้ การอายัดเงินดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ทำให้เงินดังกล่าวแปรสภาพไปจนไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286(2) แต่อย่างใด
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ สำเนาให้โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ แม้จำเลยจะไม่ได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีอันจะถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่มีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ไว้แล้ว เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ จึงไม่ใช่คำสั่งที่ผิดระเบียบและการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยก็เป็นดุลพินิจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่า ศาลอุทธรณ์จะต้องจำหน่ายคดีหรือไม่มีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลย
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ สำเนาให้โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ แม้จำเลยจะไม่ได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีอันจะถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่มีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ไว้แล้ว เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ จึงไม่ใช่คำสั่งที่ผิดระเบียบและการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยก็เป็นดุลพินิจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่า ศาลอุทธรณ์จะต้องจำหน่ายคดีหรือไม่มีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลย