คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 167

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีฟอกเงิน: การดำเนินคดีแพ่ง, หน้าที่นำส่งสำเนาอุทธรณ์, และการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
การดำเนินคดีเกี่ยวกับการร้องขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินซึ่งเป็นคดีแพ่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 บังคับให้ยื่นต่อศาลแพ่ง และจะต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับในการดำเนินกระบวนพิจารณา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านนำส่งสำเนาอุทธรณ์ ผู้คัดค้านจึงมีหน้าที่ดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง ให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงในการดำเนินคดีเกี่ยวกับการร้องขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดิน แต่เมื่อถือว่าเป็นคดีแพ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินโดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมจึงไม่ชอบ เพราะแม้ไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดและแม้จะให้เป็นพับกันไป ก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องสั่งค่าฤชาธรรมเนียมเมื่อจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยล้มละลาย แม้โจทก์ขอถอนฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย และบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และภาระที่โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 ศาลฎีกาจึงคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4351/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะส่วนที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย แม้มีส่วนโมฆะ และคำพิพากษาไม่กระทบสิทธิบุคคลภายนอก
โจทก์ทั้งสามและจำเลยมีข้อพิพาทระหว่างกันทั้งคดีแพ่งและอาญา การที่ต่อมาโจทก์ทั้งสามและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยระบุให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดินด้วย ข้อตกลงให้ถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่สัญญาประนีประนอมยอมความยังมีข้อตกลงอื่น ๆ อีกหลายประการ แสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าประสงค์ให้ข้อตกลงอื่นนอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญา คงมีผลผูกพันคู่กรณีทั้งสองฝ่ายอยู่ และข้อตกลงอื่นไม่ต้องห้ามโดยกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามพฤติการณ์แห่งกรณีจึงสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะ ข้อตกลงส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญาคงมีผลผูกพันคู่กรณีอยู่
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสาม โดยปลอดภาระจำยอม ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมให้นั้น คำพิพากษาดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมให้หลังจากทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสามแล้ว เพราะมิได้พิพากษาบังคับให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์จะบังคับเอาแก่จำเลยตามคำพิพากษาโดยลำพังเท่านั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001-4002/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การยึดถือเพื่อตน แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน โอนสิทธิให้ผู้รับโอนไม่ได้
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ที่ 1 แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยยอมให้โจทก์ที่ 1 เข้าครอบครองที่ดินพิพาท และจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทนับเป็นการสละเจตนาครอบครองและไม่ยึดถือที่ดินพิพาทต่อไป การที่โจทก์ที่ 1 ครอบครองต่อมาและชำระภาษีบำรุงท้องที่มาตลอดจึงเป็นการยึดถือโดยเจตนาจะยึดเพื่อตน โจทก์ที่ 1 ย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว แม้จะมีชื่อจำเลยที่ 2 ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในฐานะผู้รับโอน ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
เมื่อคดีทั้งสองสำนวนศาลชั้นต้นสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยไม่แยกเป็นรายสำนวนนั้นไม่ถูกต้อง เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นคู่ความในสำนวนแรก และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้เป็นคู่ความในสำนวนหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2611/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนการชำระเงิน และการนำสืบหักล้างพยานเอกสาร
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3968 กับจำเลยทั้งห้าในราคา 2,000,000 บาท ต่อมาโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงอื่นให้จำเลยทั้งห้าแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 3968 โดยจำเลยทั้งห้ายอมรับไว้ จึงเป็นการที่เจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งห้าไปเพียงบางส่วน เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท เท่านั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ค่าที่ดินในส่วนที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระอีก 640,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อจะขายเดิมได้
แม้สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินจะระบุว่า จำเลยทั้งห้าชำระค่าที่ดินครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานจำเลยทั้งห้าและข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินดังกล่าวแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 3968 โดยมีข้อสัญญาว่าจำเลยทั้งห้าต้องชำระค่าที่ดินที่เหลือ แต่จำเลยทั้งห้ายังไม่ได้ชำระ กรณีถือได้ว่า โจทก์ได้นำสืบถึงความไม่ถูกต้องแห่งพยานเอกสารนั้น อันเป็นการนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 แล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องแย้งชั้นอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 ที่กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12207/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์อาการป่วยเพื่อขอเลื่อนคดี ศาลมีอำนาจตรวจอาการและไม่อนุญาตเลื่อนหากไม่พิสูจน์ได้
เมื่อศาลสงสัยว่าทนายจำเลยมีอาการป่วยร้ายแรงถึงกับจะมาศาลไม่ได้หรือไม่ ศาลมีอำนาจที่จะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปทำการตรวจดูว่าทนายจำเลยป่วยจริงตามคำร้องขอเลื่อนคดีหรือไม่ การที่ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจทนายจำเลย โดยให้แพทย์ตรวจอาการแสดงว่า ศาลมีความสงสัยตามควรแล้วว่าทนายจำเลยจะป่วยเจ็บตามคำร้องถึงกับจะมาศาลไม่ได้จริงหรือไม่ เมื่อทนายจำเลยมีภาระพิสูจน์แต่มิได้พิสูจน์ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนการนั่งพิจารณาและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป จึงชอบแล้ว
ชั้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ พยานจำเลยซึ่งคือตัวจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องว่ามีเหตุขัดข้องว่ามีเหตุอันควรอย่างไรจึงมาศาลไม่ได้ จำเลยไม่มีพยานมาสืบโจทก์จึงไม่มีอะไรให้ต้องสืบคัดค้าน คดีเสร็จการพิจารณาและเมื่อศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจึงต้องงดไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่และให้ยกคำร้อง เพราะการไต่สวนคำร้องต่อไปจะเท่ากับเป็นการอนุญาตให้ฝ่ายจำเลยเลื่อนคดี
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาสั่งให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ 167

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: การเรียกเก็บเงินค่าทดรองและผลกระทบต่อการบังคับสิทธิ
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความในศาลชั้นต้น 500 บาท แทนโจทก์ต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้ แม้จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาในปัญหาอื่น ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดก เจ้าของรวมสิทธิใช้ร่วมกัน การแบ่งแยกทรัพย์สินและอายุความ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดที่ดิน มีจำเลยที่ 1 พ. และ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกัน และเจ้าของรวมคนอื่นๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 ตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัด การที่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดเข้าครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินก็ต้องถือว่าครอบครองที่ดินส่วนนั้นๆ ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งเท่านั้น หาก่อให้เริ่มเกิดสิทธิที่จะอ้างว่าตนครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเสียแต่คนเดียวไม่ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ผู้สืบสิทธิจาก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท หาทำให้จำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ไม่ เว้นเสียแต่จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยัง ก. เจ้าของรวมว่า ไม่มีเจตนาจะยึดถือทรัพย์แทน ก. อีกต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 เมื่อจำเลยทั้งห้ามมิได้บอกกล่าว จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงฐานะยึดถือแทน ก. ผู้มีสิทธิครอบครองได้และไม่อาจถือได้ว่ามีการแย่งการครอบครอง
อุทธรณ์โจทก์ทั้งสองมิได้ขอให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ในศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่ฝ่ายที่ชนะคดี ไม่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะมีคำขอหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 จึงไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินร่วม: ต้องเปลี่ยนลักษณะการยึดถือและแจ้งเจ้าของรวม มิฉะนั้นไม่เกิดสิทธิ
จำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ม. แบ่งที่ดินมรดกแก่จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทของ ม. โดยให้เป็นของจำเลยที่ 1 จำนวน 2 ไร่ 3 งาน5 ตารางวา และของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จำนวน 3 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา คิดเป็นเงินรวม313,833.32 บาท แม้จำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แยกกันเพราะเป็นเรื่องจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งห้าตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมีราคา 313,833.32 บาท ที่ดินแต่ละส่วนที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องแย้งจึงมีราคาไม่เกิน 20,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่ละส่วนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งห้าได้ให้การในตอนต้นว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. เจ้ามรดกแต่ผู้เดียว แต่จำเลยทั้งห้าก็ให้การอีกตอนหนึ่งว่าจำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในส่วนของ ก. ด้วยการครอบครองปรปักษ์ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ว่าม. ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคนเดียวมิใช่ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยทั้งห้า ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งมีจำเลยที่ 1 พ. และ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกันและเจ้าของรวมคนอื่น ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามมาตรา 1360 ตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัด การที่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดเข้าครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินก็ต้องถือว่าครอบครองที่ดินส่วนนั้น ๆ ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งเท่านั้น หาก่อให้เริ่มเกิดสิทธิที่จะอ้างว่าตนครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเสียแต่คนเดียวไม่ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ทายาทผู้สืบสิทธิจาก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท หาทำให้จำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ไม่ เว้นเสียแต่จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้บอกกล่าวไปยัง ก. ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์สินแทน ก. อีกต่อไปตามมาตรา 1381 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงฐานะยึดถือแทนผู้มีสิทธิครอบครองได้ และไม่อาจถือได้ว่ามีการแย่งการครอบครอง
ท้ายอุทธรณ์โจทก์ทั้งสองมิได้ขอให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่ฝ่ายที่ชนะคดีไม่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะมีคำขอหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 และมาตรา 167 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักลดหย่อนภาษีบุตรที่ศึกษาในสถาบันที่เทียบเท่ามหาวิทยาลัย และการกำหนดค่าทนายความ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 47 มิได้ให้ความหมายของคำว่ามหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษาไว้เป็นพิเศษ ต้องถือความหมายตามพจนานุกรม ทั้งกฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะแบ่งเบาภาระภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งมีบุตรที่ไม่ได้เป็นผู้เยาว์และอายุยังไม่เกิน 25 ปีแต่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาใด ๆ ในระดับที่สูงกว่ามัธยมศึกษาอันเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศมีระดับการศึกษาสูงขึ้น ดังนั้น เมื่อสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาเป็นสถาบันที่เนติบัณฑิตยสภาก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสิทธิ์ประสาทและส่งเสริมการศึกษานิติศาสตร์และความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายโดยเฉพาะมิใช่มหาวิทยาลัยแต่ก็เป็นสถาบันการศึกษาในระดับที่สูงกว่ามัธยมศึกษาจึงเป็นชั้นอุดมศึกษาตามความหมายของมาตรา 47โจทก์จึงมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรซึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่สถาบันดังกล่าวได้
การกำหนดค่าทนายความว่าควรจะให้ผู้แพ้คดีใช้แทนผู้ชนะคดีมากน้อยเพียงใดเป็นการใช้ดุลพินิจอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงอุทธรณ์ของโจทก์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าทนายความของศาล จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 แต่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้โจทก์ใช้แทนจำเลยจำนวน 1,000 บาท เกินอัตราขั้นสูงของตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในกรณีที่ทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 2,000 บาท จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 15