พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13129/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแบ่งมรดก: ทายาทถึงแก่ความตายพร้อมกัน ไม่มีสิทธิรับมรดก
ธ. ซึ่งเป็นบุตรของ ก. และ ก. ตายพร้อมกัน ต่างไม่เป็นทายาทที่จะรับมรดกของกันและกัน เพราะในขณะที่บุคคลหนึ่งถึงแก่ความตายอีกบุคคลหนึ่งไม่มีสภาพบุคคลที่มีความสามารถที่จะมีสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 15 และมาตรา 1604 วรรคหนึ่ง และกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1639 เนื่องจาก ธ. ทายาทไม่ได้ตายก่อน ก. เจ้ามรดกอันจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ธ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ธ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกของ ก. ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8661/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การได้มาซึ่งที่ดินโดยการยกจากผู้ตาย สิทธิทายาท การครอบครองแทน และการโอนสิทธิ
ป. ซึ่งเป็นเจ้ามรดกและ บ. อยู่กินฉันสามีภริยากันโดยเปิดเผยเป็นที่รับรู้ของบุคคลอื่นทั่ว ๆ ไป และมีบุตรด้วยกันก่อนโจทก์แล้วคนหนึ่งซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ป. ถึงแก่ความตายขณะ บ. ตั้งครรภ์โจทก์ พฤติการณ์ของ ป. และบ. ที่ปฏิบัติต่อกันแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า ป. ยกย่อง บ. เป็นภริยาและยอมรับว่าเด็กที่เกิดจาก บ. เป็นบุตร บ. ตั้งครรภ์โจทก์ขณะที่ ป. ยังไม่ถึงแก่ความตายและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นให้เห็นว่าป. ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับว่าเด็กในครรภ์ บ. ไม่ใช่เป็นบุตรของ ป. จึงต้องถือว่า ป. ได้รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรและต้องถือว่า ป. ได้รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรตั้งแต่อยู่ในครรภ์ บ. แล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ป. และเป็นทายาทของ ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และมาตรา 1604
เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกของป. ที่จะตกทอดไปยังทายาทของ ป. ตามกฎหมาย บ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ป. โดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายจึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ป. โจทก์จึงเป็นทายาทของ ป. แต่เพียงผู้เดียว ที่ดินพิพาทจึงตกได้แก่โจทก์ซึ่งยังเป็นเด็กเล็กและอาศัยอยู่กับ บ. มารดา ดังนั้น จึงต้องถือว่า บ. ครอบครองดูแลที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์มาตลอด แม้ต่อมา บ. จะได้ ส. เป็นสามีและรับ ส. เข้ามาอยู่ร่วมกันในที่ดินพิพาทก็ตามแต่ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า บ. และ ส. ครอบครองที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่าไม่มีเจตนายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป บ. และส. จึงไม่เกิดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและยังต้องถือว่าบุคคลทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์มาตลอดเมื่อ บ. โอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีไปกว่า บ. ผู้ครอบครองที่ดินแทนโจทก์ จำเลยจึงเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ตามหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนเท่านั้น
เมื่อ ป. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกของป. ที่จะตกทอดไปยังทายาทของ ป. ตามกฎหมาย บ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ป. โดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายจึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ป. โจทก์จึงเป็นทายาทของ ป. แต่เพียงผู้เดียว ที่ดินพิพาทจึงตกได้แก่โจทก์ซึ่งยังเป็นเด็กเล็กและอาศัยอยู่กับ บ. มารดา ดังนั้น จึงต้องถือว่า บ. ครอบครองดูแลที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์มาตลอด แม้ต่อมา บ. จะได้ ส. เป็นสามีและรับ ส. เข้ามาอยู่ร่วมกันในที่ดินพิพาทก็ตามแต่ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า บ. และ ส. ครอบครองที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่าไม่มีเจตนายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป บ. และส. จึงไม่เกิดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและยังต้องถือว่าบุคคลทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์มาตลอดเมื่อ บ. โอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีไปกว่า บ. ผู้ครอบครองที่ดินแทนโจทก์ จำเลยจึงเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ตามหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมาย: ความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาและการแสดงออกถึงการยอมรับว่าเป็นบิดา ทำให้บุตรมีสิทธิได้รับมรดก
ชายไปอยู่กินกับหญิง และแสดงความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาในที่ต่าง ๆ อย่างเปิดเผยเป็นการยอมรับว่าหญิงเป็นภริยา มีการจัดเลี้ยงฉลองการตั้งครรภ์ เป็นการแสดงออกถึงการรับรองว่าโจทก์ซึ่งเป็นทารกในครรภ์มารดาเป็นบุตรของตน โจทก์จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกตามมาตรา 1629(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้สถานที่สักการะ: ผู้รับต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีสิทธิได้ตามกฎหมาย
ในเรื่องมรดกนั้นเมื่อบุคคลใดตาย ทรัพย์สินของผู้ตายย่อมตกทอดแก่ทายาท(ทายาทโดยชอบธรรม, ผู้รับพินัยกรรม) ถ้าไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของผู้นั้นจะตกทอดแก่แผ่นดิน พินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยให้บุคคลใดอยู่ในภาระติดพันที่จะต้องก่อตั้งมูลนิธิ เมื่อมีการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรมเป็นนิติบุคคลแล้ว จึงให้ถือว่าทรัพย์สินนั้นตกเป็นของมูลนิธินิติบุคคลนั้นตั้งแต่เวลาซึ่งพินัยกรรมมีผล พินัยกรรมที่สั่งจัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 81 เช่น เพื่อบำเพ็ญทาน การศาสนา ฯลฯ ผู้รับตามพินัยกรรมนั้นจะต้องเป็นบุคคลสามารถมีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมายเพราะถ้าผู้รับมิใช่บุคคล ไม่สามารถมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน ทรัพย์สินนั้นจะเป็นทรัพย์สินอันไม่มีเอกชนเป็นเจ้าของจะตกทอดแก่แผ่นดิน ในกรณีที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่สถานที่สักการะบรรพบุรุษ(ซื่อตึ๊ง) เมื่อสถานที่สักการะบรรพบุรุษมิใช่บุคคล จึงไม่อาจเป็นผู้ทรงสิทธิเหนือทรัพย์สินได้ ดังนั้น ข้อกำหนดตามพินัยกรรมจึงไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ไม่ว่าในฐานะพินัยกรรมธรรมดาหรือพินัยกรรมก่อตรั้งทรัสต์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินให้สถานที่สักการะบรรพบุรุษซึ่งมิใช่บุคคล ทำให้ข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นโมฆะ ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน
ในเรื่องมรดกนั้นเมื่อบุคคลใดตาย ทรัพย์สินของผู้ตายย่อมตกทอดแก่ทายาท (ทายาทโดยธรรมผู้รับพินัยกรรม) ถ้าไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรมมรดกของผู้นั้นจะตกทอดแก่แผ่นดินพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยให้บุคคลใดอยู่ในภาระติดพันที่จะต้องก่อตั้งมูลนิธิ เมื่อมีการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรมเป็นนิติบุคคลแล้วจึงให้ถือว่าทรัพย์สินนั้นตกเป็นของมูลนิธินิติบุคคลนั้นตั้งแต่เวลาซึ่งพินัยกรรมมีผลพินัยกรรมที่สั่งจัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 81 เช่น เพื่อบำเพ็ญทานการศาสนา ฯลฯ ผู้รับตามพินัยกรรมนั้นจะต้องเป็นบุคคลสามารถมีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย เพราะถ้าผู้รับมิใช่บุคคล ไม่สามารถมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน ทรัพย์สินนั้นจะเป็นทรัพย์สินอันไม่มีเอกชนเป็นเจ้าของจะตกทอดแก่แผ่นดิน ในกรณีที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่สถานที่สักการะบรรพบุรุษ (ชื่อตึ๊ง) เมื่อสถานที่สักการะบรรพบุรุษมิใช่บุคคล จึงไม่อาจเป็นผู้ทรงสิทธิเหนือทรัพย์สินได้ดังนั้น ข้อกำหนดตามพินัยกรรมจึงไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ไม่ว่าในฐานะพินัยกรรมธรรมดาหรือพินัยกรรมก่อตั้งทรัสต์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทของทารกในครรภ์ และการนับอายุความฟ้องร้องมรดก เริ่มเมื่อคลอด
ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาขณะที่บิดาตายมีสิทธิเป็นทายาทได้ถ้าหากภายหลังได้เกิดมารอดอยู่ และโดยมีพฤติการณ์ที่บิดารับรองทารกในครรภ์ว่าเป็นบุตรของตน
อายุความฟ้องเรียกมรดกหนึ่งปีตามมาตรา 1754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น จำแนกไว้สองประการคือนับแต่เจ้ามรดกตายประการหนึ่ง หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกอีกประการหนึ่ง ฉะนั้น การที่เด็กผู้เป็นทายาทเกิดภายหลังที่บิดาตายแล้วอายุความฟ้องร้องเรียกมรดกจึงเริ่มนับตั้งแต่เด็กนั้นคลอดเป็นต้นไป
อายุความฟ้องเรียกมรดกหนึ่งปีตามมาตรา 1754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น จำแนกไว้สองประการคือนับแต่เจ้ามรดกตายประการหนึ่ง หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกอีกประการหนึ่ง ฉะนั้น การที่เด็กผู้เป็นทายาทเกิดภายหลังที่บิดาตายแล้วอายุความฟ้องร้องเรียกมรดกจึงเริ่มนับตั้งแต่เด็กนั้นคลอดเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทของทารกในครรภ์ และการเริ่มนับอายุความฟ้องเรียกมรดก
ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาขณะที่บิดาตายมีสิทธิเป็นทายาทได้ ถ้าหากภายหลังได้เกิดมารอดอยู่ และโดยมีพฤติการณ์ที่บิดารับรองทายกในครรภ์ว่าเป็นบุตรของตน
อายุความฟ้องเรียกมรดกหนึ่งปีตามมาตรา 1754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น จำแนกไว้สองประการ คือ นับแต่เจ้ามรดกตายประการหนึ่ง หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก อีกประการหนึ่ง ฉะนั้น การที่เด็กผู้เป็นทายาทเกิดภายหลังที่บิดาตายแล้วอายุความฟ้องเรียกมรดกจึงเริ่มนับตั้งแต่เด็กนั้นคลอดเป็นต้นไป
อายุความฟ้องเรียกมรดกหนึ่งปีตามมาตรา 1754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น จำแนกไว้สองประการ คือ นับแต่เจ้ามรดกตายประการหนึ่ง หรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก อีกประการหนึ่ง ฉะนั้น การที่เด็กผู้เป็นทายาทเกิดภายหลังที่บิดาตายแล้วอายุความฟ้องเรียกมรดกจึงเริ่มนับตั้งแต่เด็กนั้นคลอดเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง รวมถึงทารกในครรภ์ขณะบิดาเสียชีวิต
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองตาม มาตรา1627 นั้นย่อมหมายตลอดถึงทารกซึ่งยังอยู่ในครรภ์มารดาในขณะที่บิดาตายมีสิทธิเป็นทายาทได้ ถ้าหากภายหลังได้เกิดและรอดอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยคดีมรดก: ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่คู่ความยกขึ้นเท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยอ้างว่าเป็นบุตรอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเช่นนี้ ศาลย่อมจะวินิจฉัยไปถึงว่า โจทก์เป็นบุตรที่บิดาได้รับรองแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1627 จึงมีสิทธิได้รับมรดกตาม มาตรา1533 ด้วยไม่ได้ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้แห่งคดี
คำสั่งศาลว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย นั้นมีผลตั้งแต่วันที่คดีถึงที่สุดแต่ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทในทันทีที่เจ้ามรดกตายฉะนั้นเมื่อศาลสั่งว่าโจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายภายหลังเจ้ามรดกตายแล้วจึงไม่มีทรัพย์มรดกเหลืออยู่ โจทก์ไม่มีทางได้รับส่วนแบ่ง
คำสั่งศาลว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย นั้นมีผลตั้งแต่วันที่คดีถึงที่สุดแต่ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทในทันทีที่เจ้ามรดกตายฉะนั้นเมื่อศาลสั่งว่าโจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายภายหลังเจ้ามรดกตายแล้วจึงไม่มีทรัพย์มรดกเหลืออยู่ โจทก์ไม่มีทางได้รับส่วนแบ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทเรื่องสิทธิในมรดกและการตกได้ซึ่งทรัพย์มรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
โจทย์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยอ้างว่าเป็นบุตรอันชอบด้วย ก.ม.ของเจ้ามรดกเช่นนี้ศาลย่อมจะวินิจฉัยไปถึงโจทก์เป็นบุตรที่บิดาได้รับรองแล้วตาม ป.พ.พ.ม. 1627 จึงมีสิทธิได้รับมรดกตาม ม.1533 ด้วยไม่ได้ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้แห่งคดี
คำสั่งศาลว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วย ก.ม.นั้นมีผลตั้งแต่วันที่คดีถึงที่สุด แต่ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทในทันทีที่เจ้ามรดกดตาย ฉะนั้นเมื่อศาลสั่งว่าโจทก์เป็นบุตร์โดยชอบด้วย ก.ม.ภายหลังเจ้ามรดกตายแล้ว จึงไม่มีทรัพย์มรดกเหลืออยู่ โจทก์ไม่มีทางได้รับส่วนแบ่ง
คำสั่งศาลว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วย ก.ม.นั้นมีผลตั้งแต่วันที่คดีถึงที่สุด แต่ทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทในทันทีที่เจ้ามรดกดตาย ฉะนั้นเมื่อศาลสั่งว่าโจทก์เป็นบุตร์โดยชอบด้วย ก.ม.ภายหลังเจ้ามรดกตายแล้ว จึงไม่มีทรัพย์มรดกเหลืออยู่ โจทก์ไม่มีทางได้รับส่วนแบ่ง