พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13215/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย และสิทธิในการฟ้องขับไล่หลังบอกเลิกสัญญา
เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างชำระและไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภายในกำหนดโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจึงเป็นอันเลิกกัน การที่กรรมการโจทก์มีหนังสือแจ้ง น. ภายหลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วมีใจความว่า ตามที่ น. แจ้งความประสงค์จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ 485/10 โฉนดที่ดินเลขที่ 424 ตำบลคลองถนน อำเภอสายไหม กรุงเทพมหานคร ในโครงการสะพานใหม่วิลล์นั้น โจทก์ตกลงจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ น. ในราคา 1,040,000 บาท หาก น. พร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ได้ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2548 เท่านั้น หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นคำสนองรับคำเสนอของ น. แต่เป็นคำสนองที่มีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย ถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของ น. ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัวตาม ป.พ.พ. มาตรา 359 วรรคสอง น. ไม่สนองรับคำเสนอดังกล่าวโดยการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างภายในระยะเวลาที่โจทก์กำหนด คำเสนอของโจทก์ย่อมสิ้นผลไป ไม่ก่อให้เกิดข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างโจทก์กับ น. กรณีมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ หนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ระงับไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5343/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายข้าวสมบูรณ์ แม้จะไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน การกระทำเป็นตัวแทนเชิดผูกพันจำเลย
จำเลยมีคำเสนอขายข้าวสาร จำนวน 20,000 เมตริกตัน ส่งมอบเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2537 ไปยังโจทก์ โจทก์ตกลงให้จำเลยเป็นผู้ส่งข้าว คำเสนอและคำสนองดังกล่าวจึงถูกต้องตรงกัน ย่อมก่อให้เกิดสัญญาแล้ว แต่เมื่อจำเลยมีหนังสือขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระราคาและเสนอราคาใหม่ไปยังโจทก์ ถือว่าเป็นคำเสนอใหม่ โจทก์ตอบตกลงซื้อข้าวตามราคาที่เสนอมาใหม่และให้จำเลยไปทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ แสดงว่าคำเสนอคำสนองใหม่ถูกต้องตรงกันสัญญาเกิดขึ้นแล้ว มีผลเป็นการยกเลิกสัญญาเดิม และผูกพันกันตามสัญญาที่เกิดขึ้นใหม่ ต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบข้าวลงเรือในเดือนตุลาคม 2537 โดยไม่มีข้อความให้จำเลยมาทำสัญญาเป็นหนังสือ แต่กลับเร่งรัดให้จำเลยส่งมอบข้าวให้ทันกำหนดเวลา แสดงว่าโจทก์ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้สัญญามีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำสัญญาเป็นหนังสือก่อน การที่จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วมีหนังสือขอเลื่อนไปส่งมอบข้าวสารในเดือนธันวาคม 2537โดยไม่ได้ทักท้วงหรือโต้แย้งว่าสัญญายังไม่ได้ลงนามเนื่องจากยังไม่ได้ตกลงกันในเรื่องค่าเสียหาย การค้ำประกันและการส่งมอบ ทั้งปรากฏว่ากรมการค้าต่างประเทศเคยซื้อข้าวจากจำเลยโดยส่งประกาศรับซื้อไป จำเลยตอบรับ หลังจากนั้นจำเลยส่งมอบข้าวโดยไม่จำต้องทำสัญญาเป็นหนังสืออีกพฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยเองมิได้มุ่งที่จะให้การซื้อขายข้าวดังกล่าวนั้นจะต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือเช่นกัน ดังนั้นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว หาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยว่าสัญญาจะต้องทำเป็นหนังสือดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง แต่อย่างใดไม่
ส. เป็นกรรมการผู้จัดการบริหารงานของบริษัทจำเลยมีอำนาจในการติดต่อทำการค้าแทนจำเลย การที่ ส. ลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลย จึงเป็นการกระทำแทนบริษัทจำเลยมิใช่ทำเป็นส่วนตัว เมื่อ ส. เป็นผู้เสนอขายข้าวให้โจทก์ในนามของจำเลยและจำเลยเองก็นำสืบยอมรับความสมบูรณ์ของเอกสารอันเป็นคำเสนอขายข้าวโดยรับเอาประโยชน์ไว้เป็นของตน ทั้งต่อมาจำเลยยังให้ ส. เป็นตัวแทนในการทำหนังสือขอเลื่อนการส่งมอบข้าวสารด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยเชิด ส. เป็นตัวแทนของจำเลยหรือรู้แล้วยอมให้ ส. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการซื้อขายข้าวรายพิพาทจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 ทั้งการเป็นตัวแทนเชิดดังกล่าวหาใช่การตั้งตัวแทนตามปกติแต่อย่างใดไม่จึงไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทน
ส. เป็นกรรมการผู้จัดการบริหารงานของบริษัทจำเลยมีอำนาจในการติดต่อทำการค้าแทนจำเลย การที่ ส. ลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลย จึงเป็นการกระทำแทนบริษัทจำเลยมิใช่ทำเป็นส่วนตัว เมื่อ ส. เป็นผู้เสนอขายข้าวให้โจทก์ในนามของจำเลยและจำเลยเองก็นำสืบยอมรับความสมบูรณ์ของเอกสารอันเป็นคำเสนอขายข้าวโดยรับเอาประโยชน์ไว้เป็นของตน ทั้งต่อมาจำเลยยังให้ ส. เป็นตัวแทนในการทำหนังสือขอเลื่อนการส่งมอบข้าวสารด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยเชิด ส. เป็นตัวแทนของจำเลยหรือรู้แล้วยอมให้ ส. เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการซื้อขายข้าวรายพิพาทจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 ทั้งการเป็นตัวแทนเชิดดังกล่าวหาใช่การตั้งตัวแทนตามปกติแต่อย่างใดไม่จึงไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า: การเสนอสัญญา, คำสนอง, และผลของการไม่ตกลงกัน
ประกาศประกวดราคาเช่าสะพานท่าเทียบเรือของจำเลยที่1เป็นเพียงคำเชิญให้ทำคำเสนอโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาสูงสุดประสงค์จะเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่1มีหนังสือถึงจำเลยที่1ให้จำเลยที่1ทำสัญญาเช่าหนังสือดังกล่าวเป็นคำเสนอของโจทก์แต่จำเลยที่1ขอเลื่อนการทำสัญญาออกไปหนังสือของจำเลยที่1จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของโจทก์ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา359วรรคสองต่อมาโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่1ให้ทำสัญญาเช่าภายใน7วันหากทำสัญญาเช่าไม่ได้ให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาทันทีนับแต่วันครบกำหนดและต้องคืนเงินค่าประจำซองในการประมูลพร้อมค่าเสียหายให้โจทก์จำเลยที่1มีหนังสือถึงโจทก์ให้โจทก์ไปทำสัญญากับจำเลยที่1ภายใน15วันซึ่งโจทก์ยืนยันไม่ประสงค์จะเข้าทำสัญญากับจำเลยที่1อีกต่อไปเห็นได้ว่าการแสดงเจตนาระหว่างโจทก์กับจำเลยที1จะต้องบังคับให้เป็นไปตามเจตนาทำนิติกรรมสองฝ่ายเมื่อสัญญาเกิดขึ้นไม่ได้เพราะขาดความตกลงกันความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ย่อมสิ้นสุดลงจำเลยที่1ต้องคืนเงินประจำซองให้โจทก์จำเลยที่2และที่3ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการประมูลราคาจึงไม่ต้องมีส่วนร่วมในการคืนเงินด้วยและเมื่อยังไม่มีสัญญาเช่าต่อกันจำเลยที่1ก็ยังไม่มีความผูกพันตามสัญญาเช่าให้โจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่1ใช้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอราคาที่ไม่ตรงตามเงื่อนไขประกวดราคา ไม่ถือเป็นการยื่นเสนอราคาที่ถูกต้อง สัญญาจึงไม่เกิดขึ้น
เอกสารการยื่นเสนอราคากำหนดให้ยื่นซองเสนอราคาภายในเวลากำหนด แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นภายในเวลาดังกล่าว ทั้งมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการประกวดราคาที่กำหนดไว้ ไม่ได้ยื่นซองเสนอราคาที่กรอกข้อความในแบบฟอร์มเสนอราคาประมูลของโจทก์ และไม่มีหลักฐานแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงทะเบียนรับแบบและเอกสารไปจากโจทก์ การเสนอราคาของจำเลยที่ 1 มิได้เสนอตามเอกสารการยื่นเสนอราคา หากแต่เป็นคำเสนอขึ้นใหม่ มิใช่การยื่นเสนอราคาในการประกวดราคา จึงนำเงื่อนไขการประกวดราคาดังกล่าวมาบังคับไม่ได้
หนังสือเสนอราคาของจำเลยที่ 1 ได้เสนอเพื่อประสงค์จะเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศกับโจทก์ การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยไปทำสัญญา จึงเป็นคำสนองที่โจทก์ประสงค์จะทำสัญญากับจำเลย แต่คำสนองของโจทก์กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยต้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวงเงินค้ำประกันร้อยละ 10 ของมูลค่าตามสัญญาจ้างไปวางประกันด้วย ซึ่งเป็นเงื่อนไขในเอกสารการยื่นราคา คำสนองของโจทก์จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไข ถือได้ว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับและเป็นคำเสนอใหม่ของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและไม่ยอมทำสัญญากับโจทก์ คำเสนอใหม่ของโจทก์ดังกล่าวจึงสิ้นผล สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงริบหลักประกันการประกวดราคา โดยเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่ได้
แม้ศาลชั้นต้นจะตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยกระทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศตามที่ได้กระทำไว้ต่อโจทก์ดังฟ้องหรือไม่ก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยก่อนว่า จำเลยได้ยื่นเสนอประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศต่อโจทก์หรือไม่ เมื่อฟังว่าจำเลยไม่ได้ยื่นเสนอประกวดราคาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบงานดังกล่าวต่อโจทก์ หากแต่เป็นคำเสนอใหม่ต่างหาก จึงนำเงื่อนไขการประกวดราคามาใช้กับจำเลยไม่ได้ ฉะนั้น จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคาระบบปรับอากาศและระบายอากาศที่ทำไว้ต่อโจทก์หรือไม่ การวินิจฉัยดังกล่าวถือได้ว่ายังอยู่ในประเด็นแห่งคดีนั่นเอง
หนังสือเสนอราคาของจำเลยที่ 1 ได้เสนอเพื่อประสงค์จะเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศกับโจทก์ การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยไปทำสัญญา จึงเป็นคำสนองที่โจทก์ประสงค์จะทำสัญญากับจำเลย แต่คำสนองของโจทก์กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยต้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวงเงินค้ำประกันร้อยละ 10 ของมูลค่าตามสัญญาจ้างไปวางประกันด้วย ซึ่งเป็นเงื่อนไขในเอกสารการยื่นราคา คำสนองของโจทก์จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไข ถือได้ว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับและเป็นคำเสนอใหม่ของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและไม่ยอมทำสัญญากับโจทก์ คำเสนอใหม่ของโจทก์ดังกล่าวจึงสิ้นผล สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงริบหลักประกันการประกวดราคา โดยเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่ได้
แม้ศาลชั้นต้นจะตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยกระทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศตามที่ได้กระทำไว้ต่อโจทก์ดังฟ้องหรือไม่ก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยก่อนว่า จำเลยได้ยื่นเสนอประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศต่อโจทก์หรือไม่ เมื่อฟังว่าจำเลยไม่ได้ยื่นเสนอประกวดราคาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบงานดังกล่าวต่อโจทก์ หากแต่เป็นคำเสนอใหม่ต่างหาก จึงนำเงื่อนไขการประกวดราคามาใช้กับจำเลยไม่ได้ ฉะนั้น จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคาระบบปรับอากาศและระบายอากาศที่ทำไว้ต่อโจทก์หรือไม่ การวินิจฉัยดังกล่าวถือได้ว่ายังอยู่ในประเด็นแห่งคดีนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอราคาที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขประกวดราคา ถือเป็นคำเสนอใหม่ สัญญาจึงไม่เกิดขึ้น
เอกสารการยื่นเสนอราคากำหนดให้ยื่นซองเสนอราคาภายในเวลากำหนดแต่จำเลยที่1มิได้ยื่นภายในเวลาดังกล่าวทั้งมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการประกวดราคาที่กำหนดไว้ไม่ได้ยื่นซองเสนอราคาที่กรอกข้อความในแบบฟอร์มเสนอราคาประมูลของโจทก์และไม่มีหลักฐานแสดงว่าจำเลยที่1ได้ลงทะเบียนรับแบบและเอกสารไปจากโจทก์การเสนอราคาของจำเลยที่1มิได้เสนอตามเอกสารการยื่นเสนอราคาหากแต่เป็นคำเสนอขึ้นใหม่มิใช่การยื่นเสนอราคาในการประกวดราคาจึงนำเงื่อนไขการประกวดราคาดังกล่าวมาบังคับไม่ได้ หนังสือเสนอราคาของจำเลยที่1ได้เสนอเพื่อประสงค์จะเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศกับโจทก์การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยไปทำสัญญาจึงเป็นคำสนองที่โจทก์ประสงค์จะทำสัญญากับจำเลยแต่คำสนองของโจทก์กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยต้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวงเงินค้ำประกันร้อยละ10ของมูลค่าตามสัญญาจ้างไปวางประกันด้วยซึ่งเป็นเงื่อนไขในเอกสารการยื่นราคาคำสนองของโจทก์จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขถือได้ว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับและเป็นคำเสนอใหม่ของโจทก์เมื่อจำเลยไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและไม่ยอมทำสัญญากับโจทก์คำเสนอใหม่ของโจทก์ดังกล่าวจึงสิ้นผลสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่เกินขึ้นโจทก์จึงริบหลักประกันการประกวดราคาโดยเรียกให้จำเลยที่2ชำระเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะตั้งประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยกระทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศตามที่ได้กระทำไว้ต่อโจทก์ดังฟ้องหรือไม่ก็ตามแต่ศาลก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยก่อนว่าจำเลยได้ยื่นเสนอประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศต่อโจทก์หรือไม่เมื่อฟังว่าจำเลยไม่ได้ยื่นเสนอประกวดราคาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบงานดังกล่าวต่อโจทก์หากแต่เป็นคำเสนอใหม่ต่างหากจึงนำเงื่อนไขการประกวดราคามาใช้กับจำเลยไม่ได้ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคาระบบปรับอากาศและระบายอากาศที่ทำไว้ต่อโจทก์หรือไม่การวินิจฉัยดังกล่าวถือได้ว่ายังอยู่ในประเด็นแห่งคดีนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอราคาที่ไม่ตรงตามเงื่อนไขประกวดราคา ถือเป็นคำเสนอใหม่ สัญญาจึงไม่เกิด โจทก์ริบหลักประกันไม่ได้
เอกสารการยื่นเสนอราคากำหนดให้ยื่นซองเสนอราคาภายในเวลากำหนด แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นภายในเวลาดังกล่าวทั้งมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการประกวดราคาที่กำหนดไว้ไม่ได้ยื่นซองเสนอราคาที่กรอกข้อความในแบบฟอร์มเสนอราคาประมูลของโจทก์ และไม่มีหลักฐานแสดงว่าจำเลยที่ 1ได้ลงทะเบียนรับแบบและเอกสารไปจากโจทก์ การเสนอราคาของจำเลยที่ 1 มิได้เสนอตามเอกสารการยื่นเสนอราคา หากแต่เป็นคำเสนอขึ้นใหม่ มิใช่การยื่นเสนอราคาในการประกวดราคาจึงนำเงื่อนไขการประกวดราคาดังกล่าวมาบังคับไม่ได้ หนังสือเสนอราคาของจำเลยที่ 1 ได้เสนอเพื่อประสงค์จะเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศกับโจทก์ การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยไปทำสัญญาจึงเป็นคำสนองที่โจทก์ประสงค์จะทำสัญญากับจำเลย แต่คำสนองของโจทก์กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยต้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวงเงินค้ำประกันร้อยละ 10 ของมูลค่าตามสัญญาจ้างไปวางประกันด้วย ซึ่งเป็นเงื่อนไขในเอกสารการยื่นราคาคำสนองของโจทก์จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไข ถือได้ว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับและเป็นคำเสนอใหม่ของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและไม่ยอมทำสัญญากับโจทก์ คำเสนอใหม่ของโจทก์ดังกล่าวจึงสิ้นผล สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่เกินขึ้นโจทก์จึงริบหลักประกันการประกวดราคา โดยเรียกให้จำเลยที่ 2ชำระเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยกระทำผิดเงื่อนไข การประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศตามที่ได้กระทำไว้ต่อโจทก์ดังฟ้องหรือไม่ก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยก่อนว่าจำเลยได้ยื่นเสนอประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศต่อโจทก์หรือไม่ เมื่อฟังว่าจำเลยไม่ได้ยื่นเสนอประกวดราคาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบงานดังกล่าวต่อโจทก์ หากแต่เป็นคำเสนอใหม่ต่างหาก จึงนำเงื่อนไขการประกวดราคามาใช้กับจำเลยไม่ได้ ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคาระบบปรับอากาศและระบายอากาศที่ทำไว้ต่อโจทก์หรือไม่ การวินิจฉัยดังกล่าวถือได้ว่ายังอยู่ในประเด็นแห่งคดีนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินไม่สมบูรณ์หากเงื่อนไขสำคัญไม่เป็นไปตามตกลง สัญญาจึงยังไม่ผูกพันคู่กรณี
โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 16 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวทั้ง ๆ ที่คณะกรรมการสวัสดิการการพลังงานแห่งชาติเป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ทราบแน่นอนว่าที่ดินส่วนใดเป็นของคณะกรรมการ ดังนั้นในเบื้องต้นที่โจทก์ทั้งสองมีหนังสือเสนอขอซื้อที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาททั้งแปลงจำนวน 41 ไร่ 12 ตารางวา จากคณะกรรมการไปยังคณะกรรมการนั้น โจทก์ทั้งสองก็ยังไม่รู้ว่าที่ดินส่วนใดในโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นของคณะกรรมการคงได้แต่เสนอราคาและเงื่อนไขการจ่ายเงิน ซึ่งเมื่อคณะกรรมการได้รับคำเสนอของโจทก์ทั้งสองแล้ว คณะกรรมการได้มีหนังสือเอกสารหมาย จ.3ตอบมายังโจทก์ทั้งสองว่าตกลงขายที่ดินพิพาทในส่วนที่เป็นของคณะกรรมการจำนวน 20 ไร่ 206 ตารางวา ให้โจทก์ทั้งสองโดยมีเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญว่า "เมื่อได้ทำสัญญาตกลงซื้อขายกันแล้ว ขอให้ชำระเงินทั้งหมด และผู้ขายจะได้ดำเนินการโอนโฉนดที่ดินให้พร้อมกันทันที จึงเรียนมาเพื่อทราบ และหากท่านมีความประสงค์จะซื้อที่ดินดังกล่าว ขอให้แจ้งคณะกรรมการ สสพช.ทราบ"ซึ่งเมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือเอกสารหมาย จ.3 ดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองได้ตอบไปยังคณะกรรมการซึ่งมีสาระสำคัญว่า "ข้าพเจ้ามีรายนามข้างท้ายนี้ยินดีตกลงซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการ สสพช. จำนวน 20 ไร่ 206ตารางวา ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการ สสพช. แจ้งมาดังมีรายละเอียดตามหนังสือที่อ้างถึงข้อ 2. โดยขอให้คณะกรรมการ สสพช.แบ่งโฉนดที่ดินหมายเลข287 จำนวน 41 ไร่ 12 ตารางวา เป็น 2 ส่วน เท่า ๆ กัน ตามความยาวของพื้นที่โดยข้าพเจ้ายินดีจะรับซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการ สสพช.แปลงที่แบ่งเท่า ๆ กันแล้ว ตามความยาวของพื้นที่แปลงใดก็ได้ตามแต่ คณะกรรมการสสพช.จะแจ้งขายให้ข้าพเจ้า โดยข้าพเจ้ายินดีวางเงินมัดจำในการตกลงซื้อขายก่อนจำนวน 100,000 บาท และในวันโอนที่ดินดังกล่าวข้าพเจ้าจะจ่ายเงินสดส่วนที่เหลือทั้งหมดทันที จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขอได้โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบวันนัดหมายในการตกลงซื้อขายที่ดินในส่วนของคณะกรรมการ สสพช. จำนวน20 ไร่ 206 ตารางวา ให้ข้าพเจ้าทราบด้วยเพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป" ตามหนังสือเอกสารหมาย จ.4 ดังกล่าวแสดงว่าเงื่อนไขที่กำหนดให้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเพื่อให้ได้เนื้อที่ครึ่งหนึ่งเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กันก่อนแล้วจึงจะมีการตกลงทำสัญญาซื้อขายและชำระเงินค่าซื้อที่ดินทั้งหมดต่อกันนั้นเป็นสาระสำคัญที่คณะกรรมการกับโจทก์ทั้งสองตกลงกัน หนังสือเอกสารหมาย จ.4 จึงยังไม่เป็นคำสนองที่ตรงกับคำเสนอตามหนังสือเอกสารหมาย จ.3 แต่อย่างใด ส่วนหนังสือเอกสารหมายจ.9 ที่คณะกรรมการตอบมายังโจทก์ทั้งสองนั้นเป็นเพียงการแจ้งให้ทราบว่าคณะกรรมการไม่อาจแบ่งแยกโฉนดที่ดินได้ จึงขอยกเลิกคำเสนอขอซื้อที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสองเสียให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น และหนังสือลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2533ของคณะกรรมการเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 11 ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่า หากคดีที่คณะกรรมการฟ้องผู้บุกรุกที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาทสิ้นสุดลงเมื่อใด และโจทก์ทั้งสองยังสนใจจะซื้อที่ดินดังกล่าวต่อไป ก็ให้เสนอราคาขึ้นมาใหม่เท่านั้น จึงไม่ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ประกอบให้รับฟังว่าคำเสนอและคำสนองของทั้งสองฝ่ายตรงกันจนเกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วแต่อย่างใดฉะนั้น เมื่อยังไม่มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินและทำสัญญาซื้อขายกันระหว่างโจทก์ทั้งสองกับคณะกรรมการอันเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาที่คู่สัญญายังไม่อาจตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใด สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับคณะกรรมการจึงยังไม่เกิดขึ้นหรือยังมิได้มีต่อกัน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 366 โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องคณะกรรมการและจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 16 ให้ปฏิบัติตามหนังสือเอกสารหมาย จ.4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินต้องมีข้อตกลงสำคัญครบถ้วน การแบ่งแยกโฉนดเป็นสาระสำคัญ หากตกลงกันไม่ได้ สัญญายังไม่สมบูรณ์
โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยที่16เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวทั้งๆที่คณะกรรมการสวัสดิการการหลังงานแห่งชาติเป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ทราบแน่นอนว่าที่ดินส่วนใดเป็นของคณะกรรมการดังนั้นในเบื้องต้นที่โจทก์ทั้งสองมีหนังสือเสนอขอซื้อที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาททั้งแปลงจำนวน41ไร่12ตารางวาจากคณะกรรมการไปยังคณะกรรมการนั้นโจทก์ทั้งสองก็ยังไม่รู้ว่าที่ดินส่วนใดในโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นของคณะกรรมการคงได้แต่เสนอราคาและเงื่อนไขการจ่ายเงินซึ่งเมื่อคณะกรรมการได้รับคำเสนอของโจทก์ทั้งสองแล้วคณะกรรมการได้มีหนังสือเอกสารหมายจ.3ตอบมายังโจทก์ทั้งสองว่าตกลงขายที่ดินพิพาทในส่วนที่เป็นของคณะกรรมการจำนวน20ไร่206ตารางวาให้โจทก์ทั้งสองโดยมีเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญว่า"เมื่อได้ทำสัญญาตกลงซื้อขายกันแล้วขอให้ชำระเงินทั้งหมดและผู้ขายจะได้ดำเนินการโอนโฉนดที่ดินให้พร้อมกันทันทีจึงเรียนมาเพื่อทราบและหากท่านมีความประสงค์จะซื้อที่ดินดังกล่าวขอให้แจ้งคณะกรรมการสสพช.ทราบ"ซึ่งเมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือเอกสารหมายจ.3ดังกล่าวแล้วโจทก์ทั้งสองได้ตอบไปยังคณะกรรมการซึ่งมีสารสำคัญว่า"ข้าพเจ้ามีรายนามข้างท้ายนี้ยินดีตกลงซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการสสพช.จำนวน20ไร่206ตารางวาตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการสสพช.แจ้งมาดังมีรายละเอียดตามหนังสือที่อ้างถึงข้อ2.โดยขอให้คณะกรรมการสสพช.แบ่งโฉนดที่ดินหมายเลข287จำนวน41ไร่12ตารางวาเป็น2ส่วนเท่าๆกันตามความยาวของพื้นที่โดยข้าพเจ้ายินดีจะรับซื้อที่ดินในส่วนของคณะกรรมการสสพช.แปลงที่แบ่งเท่าๆกันแล้วตามความยาวของพื้นที่แปลงใดก็ได้ตามแต่คณะกรรมการสสพช.จะแจ้งขายให้ข้าพเจ้าโดยข้าพเจ้ายินดีวางเงินมัดจำในการตกลงซื้อขายก่อนจำนวน100,000บาทและในวันโอนที่ดินดังกล่าวข้าพเจ้าจะจ่ายเงินสดส่วนที่เหลือทั้งหมดทันทีจึงเรียนมาเพื่อทราบและขอได้โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบวันนัดหมายในการตกลงซื้อขายที่ดินในส่วนของคณะกรรมการสสพช.จำนวน20ไร่206ตารางวาให้ข้าพเจ้าทราบด้วยเพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป"ตามหนังสือเอกสารหมายจ.4ดังกล่าวแสดงว่าเงื่อนไขที่กำหนดให้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินเพื่อให้ได้เนื้อที่ครึ่งหนึ่งเป็น2ส่วนเท่าๆกันก่อนแล้วจึงจะมีการตกลงทำสัญญาซื้อขายและชำระเงินค่าซื้อที่ดินทั้งหมดต่อกันนั้นเป็นสาระสำคัญที่คณะกรรมการกับโจทก์ทั้งสองตกลงกันหนังสือเอกสารหมายจ.4จึงยังไม่เป็นคำสนองที่ตรงกับคำเสนอตามหนังสือเอกสารหมายจ.3แต่อย่างใดส่วนหนังสือเอกสารหมายจ.9ที่คณะกรรมการตอบมายังโจทก์ทั้งสองนั้นเป็นเพียงการแจ้งให้ทราบว่าคณะกรรมการไม่อาจแบ่งแยกโฉนดที่ดินได้จึงขอยกเลิกคำเสนอขอซื้อที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสองเสียให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้นและหนังสือลงวันที่29พฤษภาคม2533ของคณะกรรมการเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข11ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่าหากคดีที่คณะกรรมการฟ้องผู้บุกรุกที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาทสิ้นสุดลงเมื่อใดและโจทก์ทั้งสองยังสนใจจะซื้อที่ดินดังกล่าวต่อไปก็ให้เสนอราคาขึ้นมาใหม่เท่านั้นจึงไม่ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ประกอบให้รับฟังว่าคำเสนอและคำสนองของทั้งสองฝ่ายตรงกันจนเกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วแต่อย่างใดฉะนั้นเมื่อยังไม่มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินและทำสัญญาซื้อขายกันระหว่างโจทก์ทั้งสองกับคณะกรรมการอันเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาที่คู่สัญญายังไม่อาจตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใดสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับคณะกรรมการจึงยังไม่เกิดขึ้นหรือยังมิได้มีต่อกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366โจทก์ทั้งสองจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องคณะกรรมการและจำเลยที่1กับจำเลยที่16ให้ปฏิบัติตามหนังสือเอกสารหมายจ.4ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายข้าวทางโทรพิมพ์: หลักฐาน, การชำระหนี้ และผลบังคับใช้
สัญญาซื้อขายข้าวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้มีกฎหมายกำหนดแบบให้ต้องทำเป็นหนังสือ ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้ทำสัญญาซื้อขายกันเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยที่ 1 และโจทก์ได้ตกลงซื้อขายข้าวกันตามที่ได้เสนอสนองและตกลงกันได้ตามโทรพิมพ์ และสำเนาโทรพิมพ์ เมื่อคำเสนอและคำสนองของโจทก์และจำเลยที่ 1 ในการซื้อขายข้าวถูกต้องตรงกัน สัญญาขายข้าวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ย่อมเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1หาจำต้องทำสัญญาซื้อขายข้าวเป็นหนังสือไม่
สัญญาซื้อขายข้าวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่ตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไป เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อไว้ในโทรพิมพ์ดังกล่าวแต่อย่างใด สัญญาซื้อขายข้าวจึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดเป็นสำคัญ ทั้งไม่มีการวางประจำ และไม่มีการชำระหนี้บางส่วนโดยจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขายข้าวได้
การที่โจทก์ผู้ซื้อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้ขาย โดยโจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารต่างประเทศ มายังธนาคารในประเทศไทยนั้นต้องถือว่าธนาคารต่างประเทศเป็นเพียงตัวแทนของผู้ซื้อในต่างประเทศ และธนาคารในประเทศไทยเป็นตัวแทนของธนาคารต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง แม้ผู้ซื้อในต่างประเทศจะได้ชำระเงินเพื่อเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ก็เป็นเพียงการชำระเงินให้แก่ตัวแทนของตนเท่านั้น หาอาจจะถือว่าเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้ขายหรือตัวแทนของผู้ขายไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขายยังไม่ได้ไปรับเงินจากธนาคารตามเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระราคาสินค้าข้าวตามสัญญาซื้อขายข้าวให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว
สัญญาซื้อขายข้าวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่ตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไป เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อไว้ในโทรพิมพ์ดังกล่าวแต่อย่างใด สัญญาซื้อขายข้าวจึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดเป็นสำคัญ ทั้งไม่มีการวางประจำ และไม่มีการชำระหนี้บางส่วนโดยจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขายข้าวได้
การที่โจทก์ผู้ซื้อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้ขาย โดยโจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารต่างประเทศ มายังธนาคารในประเทศไทยนั้นต้องถือว่าธนาคารต่างประเทศเป็นเพียงตัวแทนของผู้ซื้อในต่างประเทศ และธนาคารในประเทศไทยเป็นตัวแทนของธนาคารต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง แม้ผู้ซื้อในต่างประเทศจะได้ชำระเงินเพื่อเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ก็เป็นเพียงการชำระเงินให้แก่ตัวแทนของตนเท่านั้น หาอาจจะถือว่าเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้ขายหรือตัวแทนของผู้ขายไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขายยังไม่ได้ไปรับเงินจากธนาคารตามเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระราคาสินค้าข้าวตามสัญญาซื้อขายข้าวให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว