คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1713

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 500 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการมรดกเป็นของผู้จัดการมรดก หากมีข้อขัดแย้งต้องฟ้องร้องบังคับสิทธิ ไม่ใช่ยื่นคำร้องต่อศาล
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลกับทายาทบางคนมีความเห็นแตกต่างกันไม่สามารถตกลงแบ่งที่ดินมรดกได้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของผู้จัดการมรดกที่สามารถกระทำได้เอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 หากผู้ร้องไม่อาจจัดการมรดกได้เพราะเหตุทายาทบางคนขัดขวาง ก็เป็นเรื่องมีข้อโต้แย้งสิทธิในการจัดการแบ่งทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ร้องชอบที่จะไปดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเป็นอีกคดีหนึ่งบังคับให้ผู้ที่ขัดขวางกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้การจัดการมรดกดำเนินไปได้ตามสิทธิและหน้าที่ หาใช่มายื่นคำร้องในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6310/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดก, การยอมรับข้อเท็จจริง, ทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาหลังหย่า
แม้คดีเริ่มต้นด้วยคำร้องขออันเป็นการใช้สิทธิทางศาลซึ่งเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทแต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้าน จึงชอบที่จะต้องดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) เมื่อข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่ผู้ร้องยกขึ้นกล่าวอ้างในคำร้องขอนั้นผู้คัดค้านมิได้ปฏิเสธ จึงต้องถือว่าผู้คัดค้านยอมรับข้อเท็จจริงนี้แล้วและหาเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ผู้ร้องจะต้องนำสืบไม่
ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629(2) แม้จะปรากฏข้อกล่าวอ้างในทางนำสืบของผู้ร้องว่าทรัพย์สินบางรายการในบัญชีทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นของผู้ร้องซึ่งเพียงแต่ใส่ชื่อผู้ตายถือกรรมสิทธิ์แทน ก็จะถือว่าผู้ร้องกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตายอันเป็นพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสมหาได้ไม่ เพราะหากความจริงเป็นประการใดก็ย่อมจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องอีกทั้งเป็นเรื่องในชั้นจัดการแบ่งปันมรดกซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งและสำหรับผู้คัดค้านนั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าแม้ผู้คัดค้านและผู้ตายจดทะเบียนหย่าต่อกัน แต่ภายหลังก็อยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาจนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินที่มีอยู่จึงอาจเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างผู้คัดค้านกับผู้ตาย จึงชอบที่จะว่ากล่าวกันในชั้นจัดการแบ่งปันมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295-2296/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิภริยาในสินสมรส, ภาระหนี้สิน, และอำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก
การจัดการมรดกนั้นหาใช่ว่ามุ่งจะรับทรัพย์มรดกโดยถ่ายเดียวหาได้ไม่ หากผู้ตายมีหนี้สินก็มีหน้าที่ต้องรวบรวมทรัพย์มรดกใช้หนี้ด้วยเหลือจากการชำระหนี้เท่าใดจึงเป็นมรดกที่จะนำมาแบ่งกันได้ เหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายกับผู้คัดค้านซึ่งเป็นภริยาของผู้ตายตกลงกันไม่ได้เพราะทางฝ่ายผู้ร้องจะรับเฉพาะทรัพย์สิน ส่วนที่เป็นหนี้สินจะให้ทางฝ่ายผู้คัดค้านเป็นผู้รับไปฝ่ายเดียว ฉะนั้น หากให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีปัญหาในการจัดการมรดก ประการแรกคือ ผู้ร้องไม่อาจทราบได้ว่าผู้ตายมีทรัพย์สินอะไรและอยู่ที่ใดบ้างและประการที่สองคือเจ้าหนี้ก็มุ่งที่จะทวงหนี้ต่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นภริยาร่วมรู้เห็นในการสร้างหนี้กันมาในระหว่างสมรส จึงย่อมไม่สะดวกต่อการจัดการทรัพย์มรดก ผู้คัดค้านจึงสมควรที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกต้องไม่ระบุผู้รับประโยชน์เฉพาะเจาะจง ผู้ร้องมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
การสละมรดก หมายถึงการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้มรดกที่สละนั้นตกได้แก่บุคคลอื่นใด เพราะมิเช่นนั้นแล้วบทบัญญัติแห่งมาตรา 1615 วรรคสอง จะไม่มีผลบังคับ ดังนั้น หนังสือตามที่ผู้ร้องและผู้คัดค้าน ทำขึ้นโดยมีเจตนาจะไม่รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย โดยจะยกให้เด็กหญิง ด. แต่ผู้เดียว แต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านยังประสงค์จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอยู่ จึงมิใช่เป็นการสละมรดก ผู้ร้องซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทเรื่องผู้จัดการมรดกและการเป็นทายาทโดยธรรม ศาลต้องรับคำร้องคัดค้านเพื่อไต่สวนข้อเท็จจริง
ตามคำร้องขอของผู้คัดค้านอ้างว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม พินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเป็นพินัยกรรมปลอม หากเป็นจริงตามคำร้องคัดค้าน ผู้ร้องก็ไม่เป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม อันจะถือว่าผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ร้องก็ย่อมไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 มาแต่ต้น นอกจากนี้ ตามคำร้องคัดค้านก็อ้างว่าผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(1) ถึง (3)ส่วนผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629(4) หากเป็นจริง ผู้คัดค้านย่อมเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก นับว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1727ที่จะยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกเพราะกรณีมีเหตุอย่างอื่นที่สมควร ศาลชั้นต้นจึงต้องรับคำร้องคัดค้านไว้ไต่สวนเพื่อให้ได้ความจริงเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: สิทธิทายาทโดยธรรมและสถานะผู้มีส่วนได้เสีย
ตามคำร้องขอของผู้คัดค้านอ้างว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม พินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเป็นพินัยกรรมปลอม หากเป็นจริงตามคำร้องคัดค้าน ผู้ร้องก็ไม่เป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม อันจะถือว่าผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ร้องก็ย่อมไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 มาแต่ต้น นอกจากนี้ตามคำร้องคัดค้านก็อ้างว่าผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 (1)ถึง (3) ส่วนผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (4) หากเป็นจริงผู้คัดค้านย่อมเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก นับว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1727ที่จะยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกเพราะกรณีมีเหตุอย่างอื่นที่สมควร ศาลชั้นต้นจึงต้องรับคำร้องคัดค้านไว้ไต่สวนเพื่อให้ได้ความจริงเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน & สิทธิผู้มีส่วนได้เสียในมรดก เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้
สัญญาที่ผู้ตายต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้ร้องหลังจากออกโฉนดที่ดินแล้วเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย หากที่ดินของผู้ตายต้องห้ามไม่ให้โอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน ทำให้ผู้ตายหลุดพ้นจากการชำระหนี้ ผู้ตายก็หามีสิทธิได้รับชำระราคาที่ดินตอบแทนไม่ จึงต้องคืนเงินราคาที่ดินแก่ผู้ร้อง เมื่อผู้ตายยังไม่ได้คืนเงิน ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอให้ตั้งตนผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการขอตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อสัญญาซื้อขายตกเป็นพ้นวิสัยจากข้อจำกัดตามกฎหมายที่ดิน
การซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับผู้ตาย ผู้ตายจะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องหลังจากออกโฉนดที่ดินแล้ว จึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย หากการชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวตกเป็นพ้นวิสัย เนื่องจากที่ดินของผู้ตายที่ออกโฉนดในภายหลังต้องห้ามไม่ให้โอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน ทำให้ผู้ตายหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคแรก ไม่ต้องไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้อง แต่ผู้ตายหามีสิทธิได้รับชำระราคาที่ดินตอบแทนไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 372 วรรคแรก ผู้ตายจึงต้องคืนเงินราคาที่ดินให้แก่ผู้ร้อง เมื่อผู้ตายยังมิได้คืนเงิน ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย และมีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินแปลงดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย และกรณีมีเหตุจำเป็น ประกอบกับผู้ร้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต ไม่เคยถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนล้มละลายมาก่อน ทั้งไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2475/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกของคู่สมรส แม้ทรัพย์สินเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย
แม้ที่ดินที่ผู้ร้องขอจัดการมรดกจะเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนสมรสกับผู้ร้อง อันเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย แต่ผู้ร้องก็เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายผู้ร้องย่อมเป็นทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 วรรคสอง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713 และตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้จำกัดเฉพาะผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะร้องขอไม่ เมื่อผู้ร้องมิได้ถูกตัดมิให้รับมรดก ผู้ร้องจึงเป็นผู้ที่มีสิทธิรับมรดกย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ ในปัญหาข้อกฎหมายว่า ผู้ร้องมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ และขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2475/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของคู่สมรสผู้มีสิทธิรับมรดก แม้สินส่วนตัว
แม้ที่ดินที่ผู้ร้องขอจัดการมรดกจะเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนสมรสกับผู้ร้องอันเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย แต่ผู้ร้องก็เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายผู้ร้องย่อมเป็นทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629 วรรคสอง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713 และตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้จำกัดเฉพาะผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะร้องขอไม่ เมื่อผู้ร้องขอมิได้ถูกตัดมิให้รับมรดก ผู้ร้องจึงเป็นผู้ที่มีสิทธิรับมรดกย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ในปัญหาข้อกฎหมายว่าผู้ร้องมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ และข้อให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
of 50