คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1713

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 500 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ถอนจำนำที่ดินเมื่อผู้จำนำและผู้รับจำนำถึงแก่ความตาย และการขอเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการ
ซ.จำนำที่ดินให้แก่ ข. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2458 กรณีต้องบังคับตามประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ. 118 เมื่อยังไม่มีการไถ่ถอนจำนำและที่ดินยังไม่หลุดเป็นสิทธิแก่ ข.เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่า ซ.ยินยอมหรือศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้นถ้าหาก ซ.และ ข.ยังมีชีวิตอยู่ ซ.ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนจำนำได้ และ ข.ก็มีหน้าที่ให้ไถ่ถอนจำนำ แต่เมื่อ ซ.และ ข.ถึงแก่ความตายลัทธิและหน้าที่ของ ซ.และ ข.ซึ่งถือว่าเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599และ 1600 ผู้ร้องเป็นทายาท ซ.สิทธิและหน้าที่ของซ. ในการไถ่ถอนจำนำย่อมตกแก่ผู้ร้องด้วย เมื่อกองมรดกของ ข.ไม่มีทายาทกองมรดกของ ข.ย่อมตกแก่แผ่นดิน แต่แผ่นดินไม่ใช่ทายาท ของ ข.ดังนี้ ทายาทของ ซ.ผู้จำนำ จึงไม่สามารถทำการไถ่ถอนจำนำได้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ข.ขึ้นและตราบใดที่กองมรดกของ ข.ยังไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้จำนำก็ไม่มีทางไถ่ถอนจำนำได้เลย การที่ผู้ร้องจะไถ่ถอนจำนำ จากกองมรดกของ ข. จึงขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกของ ข. มีผู้จัดการมรดกเสียก่อน ในกรณีนี้จึงต้องถือว่าผู้ร้องซึ่ง มีสิทธิไถ่ถอนจำนำเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอต่อศาล ให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ข. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5130/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: การพิสูจน์ทายาทและการเปิดเผยทรัพย์สินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ที่ผู้ร้องยื่นคำแก้ฎีกาว่า หลังจากการพิจารณาคดีนี้ผู้ร้องพบว่า ส. น้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วมีบุตรซึ่งยังมีชีวิตอยู่อีก 3 คนบุคคลทั้งสามคนดังกล่าวเป็นทายาทมรดกแทนที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในลำดับก่อนผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้น เมื่อมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย แม้ผู้ร้องจะมิได้ระบุในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตาย ก็ยังถือ ไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทายาทหรือปิดบังทรัพย์มรดก การที่ผู้ร้องมิได้ระบุว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องดังกล่าวนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมดและตามคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายของผู้ร้องก็ระบุเพียงว่าผู้ร้องไปขอเบิกเงิน จากธนาคารออมสิน แต่ธนาคารแจ้งว่าจ่ายเงินให้ผู้ร้องไม่ได้และแนะนำให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน อันเป็นการที่ผู้ร้องอ้างเหตุที่ไม่สามารถถอนเงินที่ผู้ตายฝากไว้กับธนาคารออมสินเป็นข้ออ้างที่ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ผู้ร้องหาได้ระบุว่านอกจากเงินฝากในธนาคารออมสินแล้ว ผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นอีกแต่อย่างใดไม่ และหากศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายใน 1 เดือน และแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดก ดังนั้น การที่ผู้ร้องมิได้อ้างถึงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ของผู้ตาย จึงมิใช่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น อันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกกำจัด มิให้ได้มรดกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605 กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้อง จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5130/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดเผยทายาทและทรัพย์มรดก: ผู้จัดการมรดกไม่ต้องระบุทรัพย์สินทั้งหมดในคำร้อง
ที่ผู้ร้องยื่นคำแก้ฎีกาว่า หลังจากการพิจารณาคดีนี้ผู้ร้องพบว่าส.น้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วมีบุตรซึ่งยังมีชีวิตอยู่อีก 3 คน บุคคลทั้งสามคนดังกล่าวเป็นทายาทมรดกแทนที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในลำดับก่อนผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้นเมื่อมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
แม้ผู้ร้องจะมิได้ระบุในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทายาทหรือปิดบังทรัพย์มรดก
การที่ผู้ร้องมิได้ระบุว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องดังกล่าวนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด และตามคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายของผู้ร้องก็ระบุเพียงว่าผู้ร้องไปขอเบิกเงินจากธนาคารออมสิน แต่ธนาคารแจ้งว่าจ่ายเงินให้ผู้ร้องไม่ได้และแนะนำให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน อันเป็นการที่ผู้ร้องอ้างเหตุที่ไม่สามารถถอนเงินที่ผู้ตายฝากไว้กับธนาคารออมสินเป็นข้ออ้างที่ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้นผู้ร้องหาได้ระบุว่านอกจากเงินฝากในธนาคารออมสินแล้ว ผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอี่นอีกแต่อย่างใดไม่ และหากศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายใน 1 เดือน และแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกดังนั้น การที่ผู้ร้องมิได้อ้างถึงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงมิใช่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น อันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 1605 กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4886/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับพินัยกรรมและผู้จัดการมรดกในการเป็นผู้จัดการมรดกของคู่สมรส
ศ.ภริยาของ ช. ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้ผู้ร้องและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ. ส่วนผู้คัดค้านมิใช่บุตรของ ศ. มิใช่ทายาทโดยธรรม และไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ช.และ ศ.ในอันที่จะยื่นคำร้องคัดค้านและขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ เมื่อผู้ร้องเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรมของ ศ.ทั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ.ซึ่งมีทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมกับ ช.ในที่ดินโฉนดเลขที่13566 เมื่อ ศ.ถึงแก่กรรม ที่ดินส่วนที่ ศ.มีกรรมสิทธิ์รวมย่อมตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมทันที ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 ดังนี้ ผู้ร้องย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าว และถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์มรดกของ ช.ด้วย ตามป.พ.พ.มาตรา 1713 ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4886/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้รับพินัยกรรมและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
ศ.ภริยาของช. ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้ผู้ร้องและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของศ.ส่วนผู้คัดค้านมิใช่บุตรของศ.มิใช่ทายาทโดยธรรมและไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ช.และศ.ในอันที่จะยื่นคำร้องคัดค้านและขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ เมื่อผู้ร้องเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรมของ ศ. ทั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ศ. ซึ่งมีทรัพย์สิน ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมกับช.ในที่ดินโฉนดเลขที่13566เมื่อศ. ถึงแก่กรรม ที่ดินส่วนที่ศ. มีกรรมสิทธิ์รวมย่อมตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมทันที ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 ดังนี้ ผู้ร้องย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าวและถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์มรดกของช. ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของช. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดก: ผู้มีส่วนได้เสียคือทายาทตามลำดับกฎหมาย การครอบครองภายหลังมรณะไม่ทำให้มีสิทธิ
คำว่า ผู้มีส่วนได้เสีย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 วรรคหนึ่งมีความหมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาแต่ต้นในขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ร.มารดาของเจ้ามรดกแม้จะมีอายุถึง 95 ปี แต่เมื่อ ร.ยังมีชีวิตอยู่ ร.จึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 วรรคหนึ่ง ส่วนผู้ร้องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก เป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 3 อันเป็นลำดับถัดลงมา ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง และการที่ผู้ร้องเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามความหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกสงวนไว้สำหรับทายาทตามลำดับกฎหมาย การครอบครองทำประโยชน์ภายหลังการเสียชีวิตไม่ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
คำว่า ผู้มีส่วนได้เสีย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง มีความหมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรง มาแต่ต้นในขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ร. มารดาของเจ้ามรดกแม้จะมีอายุถึง 95 ปี แต่เมื่อ ร.ยังมีชีวิตอยู่ร. จึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 วรรคหนึ่ง ส่วนผู้ร้องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก เป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 3 อันเป็นลำดับถัดลงมา ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1630 วรรคหนึ่งและการที่ผู้ร้องเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามความหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้มีส่วนได้เสียในการขอเป็นผู้จัดการมรดก แม้มิใช่ทายาทโดยธรรม
คำว่า "ผู้มีส่วนได้เสีย" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 หาจำต้องเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมโดยตรงทุกกรณีไม่ การที่ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับส. ผู้ตายในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จึงมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในที่ดินดังกล่าวร่วมกับผู้ตายถือได้ว่ามีส่วนได้เสียแล้ว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้มีส่วนได้เสียในมรดก: กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินเป็นเหตุให้มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง คำว่า ผู้มีส่วนได้เสียหาจำต้องเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมโดยตรงทุกกรณีไม่
ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันกับผู้ตายในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จึงมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในที่ดินดังกล่าวร่วมกับผู้ตาย ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่ใช่ทายาทโดยธรรม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่งคำว่า ผู้มีส่วนได้เสียหาจำต้องเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมโดยตรงทุกกรณีไม่ ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันกับผู้ตายในที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์จึงมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในที่ดินดังกล่าวร่วมกับผู้ตาย ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วน ได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้
of 50