คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1713

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 500 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: อำนาจศาลในการถอดถอน/แต่งตั้งผู้จัดการมรดกใหม่เมื่อมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง
แม้จะมีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ตั้งผู้ร้องที่1ถึงที่4เป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสี่ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกแล้วเมื่อปรากฏต่อมาในภายหลังว่าพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปศาลมีอำนาจถอดถอนหรือสั่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลเพิ่มเติมได้เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก แม้ศาลยกคำร้องของค. ที่ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกแล้วแต่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกคนอื่นร้องขอต่อศาลให้ตั้งค.เป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นสิทธิที่จะกระทำได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713 การที่บุคคลใดเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษมิใช่เหตุที่จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อทายาทอาจถูกตัดสิทธิมรดก และผลกระทบต่อผู้สืบสันดาน
ผู้ร้องถูกเจ้าพนักงานตำรวจ จับกล่าวหาว่า ผู้ร้องเป็นผู้ยิงเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ต่อมาผู้ร้องถูกส่งฟ้องต่อศาลในข้อหาดังกล่าวซึ่งผู้ร้องให้การปฏิเสธ คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ดังนั้น ถ้าหากต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ร้องได้เจตนากระทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องก็เป็นบุคคลที่ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606(1) ซึ่งเป็นการถูกกำจัดมิให้รับมรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตายกรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639ที่ผู้สืบสันดานของผู้ร้องจะมีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้ร้อง ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมเพียงคนเดียวของเจ้ามรดกและมรดกของผู้ตายก็มีเฉพาะที่ดินแปลงเดียว ทั้งการที่ผู้ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ความประสงค์ก็เพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกแปลงเดียวดังกล่าวมาเป็นของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายอาจถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ที่ผู้ร้องขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นคือผู้สืบสันดานของผู้ร้องซึ่งอาจเป็นผู้ที่เสียประโยชน์จากการเป็นผู้รับมรดกแทนที่ผู้ร้องอันมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ดังนั้นจึงไม่มีเหตุสมควรตั้งผู้สืบสันดานของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ประกอบกับไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่า การขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ นอกจากเพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกของผู้ตายแก่ผู้ร้องแล้ว จำเป็นต้องมีการกระทำการอย่างใด ๆ แก่ที่ดินมรดกดังกล่าวอีกจึงไม่มีความจำเป็นรีบด่วนในการตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามผู้ร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ต้องสงสัยคดีอาญา และผลกระทบต่อการรับมรดก
ผู้ร้องถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกล่าวหาว่า ผู้ร้องเป็นผู้ยิงเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ต่อมาผู้ร้องถูกส่งฟ้องต่อศาลในข้อหาดังกล่าวซึ่งผู้ร้องให้การปฏิเสธ คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ดังนั้น ถ้าหากต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ร้องได้เจตนากระทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องก็เป็นบุคคลที่ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606 (1) ซึ่งเป็นการถูกกำจัดมิให้รับมรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639 ที่ผู้สืบสันดานของผู้ร้องจะมีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมเพียงคนเดียวของเจ้ามรดกและมรดกของผู้ตายก็มีเฉพาะที่ดินแปลงเดียว ทั้งการที่ผู้ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ความประสงค์ก็เพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกแปลงเดียวดังกล่าวมาเป็นของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายอาจถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ที่ผู้ร้องขอให้ตั้งเป็นผูัจัดการมรดกของผูัตายนั้นคือผู้สืบสันดานของผู้ร้องซึ่งอาจเป็นผู้ที่เสียประโยชน์จากการเป็นผู้รับมรดกแทนที่ผู้ร้องอันมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรตั้งผู้สืบสันดานของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ประกอบกับไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ นอกจากเพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกของผู้ตายแก่ผู้ร้องแล้ว จำเป็นต้องมีการกระทำการอย่างใด ๆ แก่ที่ดินมรดกดังกล่าวอีกจึงไม่มีความจำเป็นรีบด่วนในการตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามที่ผู้ร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7521/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดก: ผู้ไม่มีสิทธิโดยตรงและผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้ร้องเป็นบุตรของ ส.กับ อ. เมื่อ อ.ถึงแก่กรรม ส.ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. ต่อมา ช.ถึงแก่กรรม ผู้ร้องจึงร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ดังนี้ เมื่อ ช.ถึงแก่กรรม กองมรดกของ ช.ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยชอบธรรมหรือโดยพินัยกรรม ผู้ร้องเป็นบุตรของ ส.กับ อ. มิได้เป็นบุตรของ ช.เจ้ามรดกไม่ปรากฏว่า ช.จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของ ช.โดยตรง อีกทั้ง ช.มีทายาทที่จะรับมรดกโดยตรงอยู่แล้ว ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
การที่ ส.มารดาของผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของ ช.คงเพียงแต่ก่อให้เกิดสิทธิที่ผู้ร้องจะฟ้องขอแบ่งโดยอ้างว่ามีส่วนของ ส. มารดาผู้ร้องร่วมด้วยเท่านั้น ซึ่งผู้ร้องชอบไปว่ากล่าวเป็นอีกส่วนหนึ่ง
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านระบุว่า อ.ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของนางสาว ช.ผู้เยาว์ และข้อความในคำคัดค้านบรรยายว่า ผู้คัดค้านในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้งสามเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ฟังได้ว่าเป็นคำคัดค้านของผู้เยาว์ทั้งสามโดยมารดาคัดค้านแทน ดังนั้น แม้ต่อมานางสาว ช.ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ และ อ.ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไป ก็ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีแทนในขณะยื่นคำคัดค้าน แต่เมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว อ.ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไป ศาลฎีกาสมควรตั้งนางสาว ช.เป็นผู้จัดการมรดกของ ช.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7521/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการมรดก: การพิสูจน์ส่วนได้เสียของผู้ร้องและผู้คัดค้าน รวมถึงการตั้งผู้จัดการมรดกที่ถูกต้อง
ผู้ร้องเป็นบุตรของส. กับอ. เมื่ออ. ถึงแก่กรรมส. ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับช. ต่อมาช. ถึงแก่กรรมผู้ร้องจึงร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของช. ดังนี้เมื่อช.ถึงแก่กรรมกองมรดกของช. ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยชอบธรรมหรือโดยพินัยกรรมผู้ร้องเป็นบุตรของส. กับอ. มิได้เป็นบุตรของช. เจ้ามรดกไม่ปรากฎว่าช. จดทะเบียนร้องผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของช.โดยตรงอีกทั้งช. มีทายาทที่จะรับมรดกโดยตรงอยู่แล้วผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ การที่ส. มารดาของผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของช. คงเพียงแต่ก่อให้เกิดสิทธิที่ผู้ร้องจะฟ้องขอแบ่งโดยอ้างว่ามีส่วนของส. มารดาผู้ร้องร่วมด้วยเท่านั้นซึ่งผู้ร้องชอบไปว่ากล่าวเป็นอีกส่วนหนึ่ง ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านระบุว่าอ. ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของนางสาว ช. ผู้เยาว์และข้อความในคำคัดค้านบรรยายว่าผู้คัดค้านในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้งสามเป็นผู้มีส่วนได้เสียฟังได้ว่าเป็นคำคัดค้านของผู้เยาว์ทั้งสามโดยมารดาคัดค้านแทนดังนั้นแม้ต่อมานางสาวช. ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะและอ. ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไปก็ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีแทนในขณะยื่นคำคัดค้านแต่เมื่อปรากฎว่าผู้เยาว์ได้บรรลุนิติภาวะแล้วล. ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไปศาลฎีกาสมควรตั้งนางสาวช.เป็นผู้จัดการมรดกของช.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีมรดก: พินัยกรรม, ใบมอบอำนาจ, ผู้จัดการมรดก, และการรับฟังพยานหลักฐาน
เนื้อหาของเอกสารพิพาทเป็นจดหมายที่ผู้ตายแจ้งให้ส. ทราบว่าผู้ตายทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ล. โดยขอให้ส.เป็นพยานคนที่สองด้วยและเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ขอให้ ส. ช่วยดูแลให้ ล.เก็บรักษาทรัพย์สินส่วนใหญ่ของผู้ตายไว้ให้เด็กชาย บ.ด้วยเท่ากับเป็นการฝากฝังให้ ส. ช่วยดูแลทรัพย์สินตามพินัยกรรมที่ทำไว้แล้วให้แก่เด็กชายบ. ตามเอกสารพิพาทนี้แสดงว่ามีพินัยกรรมอยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้ ส. ช่วยเป็นพยานในพินัยกรรมอีกคนหนึ่ง ดังนั้น แม้จะฟังว่าผู้ตายเขียนเอกสารพิพาทขึ้นเองทั้งฉบับก็ตามลำพังเอกสารดังกล่าวหาใช่เป็นพินัยกรรมของผู้ตายไม่เป็นเพียงการแจ้งให้ ส.ทราบว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ ล. และขอให้ ส.ช่วยดูแลด้วยเท่านั้น แม้ผู้ร้องเพิ่งจะอ้างเอกสารที่อ้างว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้ร้องเพิ่งค้นพบภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคดีนี้มาท้ายอุทธรณ์เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังได้ เอกสารพิพาทมีข้อความระบุว่าเป็นใบมอบอำนาจเขียนขึ้นด้วยลายมือผู้ตายเอง แสดงเจตนาขอยกทรัพย์ทุกอย่างที่มีอยู่ให้แก่ ส. ผู้เป็นภริยา และว่า นิติกรรมอันใดที่ ส. กระทำให้ถือว่าผู้ตายได้กระทำเองโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น และลงชื่อผู้ตายไว้นั้นเอกสารดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นพินัยกรรม เพราะมิได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆอันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย ดังนั้นแม้จะฟังว่าผู้ตายทำเอกสารดังกล่าวขึ้นไว้ก็ตามก็ไม่มีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 กล่าวถึงว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้ผู้คัดค้านที่ 1และกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 1ว่ามีบุตรด้วยกัน 2 คน ขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายในฐานะผู้รับพินัยกรรมหรือในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรทั้งสอง คำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่เป็นการขัดกันหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงขนาดที่จะพิจารณาคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ได้ คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเพียงแต่บรรยายให้ศาลเห็นว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายและมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก เพื่อแสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนทรัพย์มรดกและทายาทมีอยู่อย่างไรเป็นขั้นตอนในชั้นจัดการมรดก แม้คำร้องขอระบุทรัพย์มรดกและทายาทของผู้ตายไม่ครบถ้วน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการไม่สุจริตไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรม การจัดการมรดก และความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับพินัยกรรมและทายาท
เนื้อหาของเอกสารพิพาทเป็นจดหมายที่ผู้ตายแจ้งให้ ส.ทราบว่าผู้ตายทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ ล.โดยขอให้ ส.เป็นพยานคนที่สองด้วยและเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ขอให้ ส.ช่วยดูแลให้ ล.เก็บรักษาทรัพย์สินส่วนใหญ่ของผู้ตายไว้ให้เด็กชาย บ.ด้วย เท่ากับเป็นการฝากฝังให้ ส.ช่วยดูแลทรัพย์สินตามพินัยกรรมที่ทำไว้แล้วให้แก่เด็กชาย บ. ตามเอกสารพิพาทนี้แสดงว่ามีพินัยกรรมอยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้ ส.ช่วยเป็นพยานในพินัยกรรมอีกคนหนึ่ง ดังนั้น แม้จะฟังว่าผู้ตายเขียนเอกสารพิพาทขึ้นเองทั้งฉบับก็ตาม ลำพังเอกสารดังกล่าวหาใช่เป็นพินัยกรรมของผู้ตายไม่ เป็นเพียงการแจ้งให้ ส.ทราบว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ ล.และขอให้ ส.ช่วยดูแลด้วยเท่านั้น
แม้ผู้ร้องเพิ่งจะอ้างเอกสารที่อ้างว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้ร้องเพิ่งค้นพบภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคดีนี้มาท้ายอุทธรณ์เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังได้
เอกสารพิพาทมีข้อความระบุว่าเป็นใบมอบอำนาจเขียนขึ้นด้วยลายมือผู้ตายเอง แสดงเจตนาขอยกทรัพย์ทุกอย่างที่มีอยู่ให้แก่ ส.ผู้เป็นภริยา และว่า นิติกรรมอันใดที่ ส.กระทำให้ถือว่าผู้ตายได้กระทำเองโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆทั้งสิ้น และลงชื่อผู้ตายไว้นั้น เอกสารดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นพินัยกรรม เพราะมิได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการตาง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย ดังนั้น แม้จะฟังว่าผู้ตายทำเอกสารดังกล่าวขึ้นไว้ก็ตาม ก็ไม่มีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 กล่าวถึงว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้ผู้คัดค้านที่ 1 และกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 1 ว่ามีบุตรด้วยกัน 2 คน ขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายในฐานะผู้รับพินัยกรรมหรือในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรทั้งสอง คำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่เป็นการขัดกันหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงขนาดที่จะพิจารณาคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ได้
คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเพียงแต่บรรยายให้ศาลเห็นว่า ผู้ร้องมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายและมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก เพื่อแสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนทรัพย์มรดกและทายาทมีอยู่อย่างไรเป็นขั้นตอนในชั้นจัดการมรดก แม้คำร้องขอระบุทรัพย์มรดกและทายาทของผู้ตายไม่ครบถ้วน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการไม่สุจริตไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์และสิทธิของผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมไม่ลงวัน เดือน ปี ในการทำพินัยกรรมจึงมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ ย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705 ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งมิได้มีการทำพินัยกรรมไว้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ท.บิดาผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรของผู้ตายได้ตายก่อนผู้ตายผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกแทนที่บิดา จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1711 และ 1713 ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 แต่ผู้เดียวก็ตามก็ยังไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่ลงวันเดือนปีเป็นโมฆะ ทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดก ผู้จัดการมรดกเดิมไม่ต้องถูกเพิกถอน
พินัยกรรมไม่ลงวันเดือนปีในการทำพินัยกรรมจึงมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1705ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งมิได้มีการทำพินัยกรรมไว้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าท.บิดาผู้คัดค้านที่1เป็นบุตรของผู้ตายได้ตายก่อนผู้ตายผู้คัดค้านที่1ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกแทนที่บิดาจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1711และ1713ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่2แต่ผู้เดียวก็ตามก็ยังไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่1จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1727

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดก ผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมไม่ลงวัน เดือน ปี ในการทำพินัยกรรมจึงมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายบัญญัติไว้ ย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705 ทรัพย์มรดกของผู้ตายจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งมิได้มีการทำพินัยกรรมไว้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ท.บิดาผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรของผู้ตายได้ตายก่อนผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกแทนที่บิดา จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1711 และ 1713ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าเจ้าของมรดกได้ทำพินัยกรรมทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 แต่ผู้เดียวก็ตามก็ยังไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727
of 50