คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1713

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 500 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลพิจารณาประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกเป็นหลัก แม้ผู้คัดค้านใกล้ชิดผู้ตายแต่ไม่ได้หมายความเหมาะสมเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว
การตั้งผู้จัดการมรดกศาลย่อมใช้ดุลพินิจคำนึงถึงความเหมาะสมประกอบกับพฤติการณ์ที่จะให้ประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกการที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ตายไม่ทราบว่ามีทรัพย์มรดกอะไรบ้างทั้งไม่ทราบเจตนาของผู้ตายว่าประสงค์จะยกทรัพย์มรดกส่วนใดให้แก่ผู้ใดส่วนผู้คัดค้านอยู่ใกล้ชิดกับผู้ตายรู้ว่าทรัพย์มรดกอยู่แห่งใดและทราบความประสงค์ของผู้ตายว่าต้องการยกทรัพย์มรดกส่วนใดให้แก่ผู้ใดนั้นไม่ใช่เหตุผลที่แสดงถึงความเหมาะสมที่ผู้คัดค้านจะเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียวผู้ร้องไม่เป็นผู้ต้องห้ามตามกฎหมายที่จะเป็นผู้จัดการมรดกการให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้จัดการมรดกร่วมกันน่าจะเป็นประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกมากกว่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างก็อ้างว่าตนสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและขอให้ศาลตั้งให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้นคดีไม่มีประเด็นว่าทรัพย์สินใดเป็นมรดกของผู้ตายการที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่มรดกของผู้ตายจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำขอและนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก กรณีผู้ขอเดิมถึงแก่กรรมระหว่างดำเนินการ ศาลต้องรับคำร้องใหม่
การที่ ป. ยื่นคำคัดค้านการที่ผู้ร้องขอเป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตายไว้แต่ต่อมาถึงแก่ความตายในระหว่างไต่สวน อ. บุตรของ ป. จึงยื่นคำร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียวโดยอ้างว่ามี ส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดย รับมรดกแทนที่ต่อจาก ป. นั้นกรณีเป็นเรื่องที่ อ. คัดค้านคำร้องของผู้ร้องและขอให้ตั้งตนเองเป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตายเข้ามาใหม่มิใช่เป็นการขอเข้าเป็นคู่ความแทน ป. ต้องรับคำร้องของ อ.ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกกรณีผู้คัดค้านเสียชีวิตระหว่างดำเนินการ - บุตรผู้คัดค้านขอเป็นผู้จัดการมรดกแทน
ในระหว่างไต่สวนพยานของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านถึงแก่กรรม อ.บุตรของผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้คัดค้าน มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยรับมรดกแทนที่ต่อจากผู้คัดค้าน ขอให้มีคำสั่งตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว เป็นเรื่องที่ อ.ยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องของผู้ร้องและขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเข้ามาใหม่ มิใช่การขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในกองมรดก: ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 มีสิทธิเหนือทายาทลำดับที่ 3 แม้มีการประนีประนอมยอมความ
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่1อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายและผู้คัดค้านที่2เป็นบุตรของผู้ตายซึ่งเกิดจากผู้คัดค้านที่1ขอให้ยกคำร้องขอและตั้งผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกนั้นแม้ต่อมาผู้คัดค้านทั้งสองจะขอถอนคำคัดค้านก็เพียงทำให้ข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านระงับไปหาทำให้คำคัดค้านทั้งหมดรวมตลอดถึงเอกสารที่แนบมาไม่มีผลต่อคดีไม่เพราะผู้คัดค้านไม่ได้ยอมรับด้วยว่าคำคัดค้านพร้อมเอกสารที่เสนอต่อศาลไม่ถูกต้องทั้งเอกสารหลักฐานต่างๆที่ผู้คัดค้านทั้งสองเสนอต่อศาลภายหลังยื่นคำคัดค้านก็ไม่ได้มีการเพิกถอนจึงรับฟังประกอบการพิจารณาคำร้องขอของผู้ร้องได้ แม้ผู้คัดค้านที่2จะเพิ่งคลอดและศาลมีคำสั่งภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ8เดือนว่าผู้คัดค้านที่2เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตามผู้คัดค้านที่2ก็มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1558วรรคแรกและเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่1ผู้ร้องเป็นเพียงน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกเพราะผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้นขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายหาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทโดยธรรมและการเกิดหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย รวมถึงการตีความ 'ผู้มีส่วนได้เสีย' ในมรดก
ผู้คัดค้านเพิ่งคลอดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องของผู้คัดค้าน ภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ8 เดือนว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายซึ่งกรณีถือได้ว่าเป็นการยื่นคำร้องภายในอายุความมรดก ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1558 วรรคแรก สิทธิดังกล่าวมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ผู้ร้องซึ่งเป็นน้องร่วมบิดามารดากับผู้ตายทายาทโดยธรรมลำดับที่ 3 อันเป็นลำดับถัดลงมาไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ มาตรา 1629, 1630
คำว่าผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้น คือขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายหาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีดังเช่นในคดีนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6008/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้มีส่วนได้เสียทางอ้อม แม้มิใช่ทายาทโดยตรง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 นั้น ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงไม่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นมารดาของ ส. และเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ส.ส่วนส.ก็เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของธ. ผู้ตาย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของธ.ที่จะตกได้แก่ส. และยังมิได้แบ่งปันกัน อันต้องถือว่าเป็นทรัพย์มรดกที่ทายาทยังมีสิทธิร่วมกันอยู่ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการมรดกและการตัดสิทธิทายาทโดยพินัยกรรม
ผู้ร้องทั้งสองเป็นบิดามารดาของผู้ตาย ส่วนผู้คัดค้านที่ 1เป็นบุตรของผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร้างกันในเวลาต่อมาโดยตาย กับผู้คัดค้านที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินร่วมกันจากนั้นผู้ตายถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลได้รับเงินรางวัลและผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องทั้งสอง, ส.,ล., จ. และตั้งให้ผู้ร้องทั้งสองหรือคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ดังนี้ ผู้คัดค้านที่ 2 จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินร่วมกันกับผู้ตาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย จึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 นั้น แม้จะเป็นบุตรที่ผู้ตายได้รับรองแล้วมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรม แต่เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ถูกผู้ตายตัดมิให้รับมรดกโดยพินัยกรรมประการหนึ่ง กับเมื่อผู้ตายได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดแล้วถือว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้ได้รับมรดกอีกประการหนึ่ง ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะมาร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกพระภิกษุ: เจตนาสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมไม่ผูกพันทางกฎหมาย มรดกตกเป็นของวัด
แม้เจ้ามรดกจะมีความประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่จะนำทรัพย์สินที่ชาวบ้านมาถวายไปสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมม่อนธาตุก็ตามแต่เจ้ามรดกก็ไม่ได้ทำพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ เพียงแต่แสดงเจตนาไว้เท่านั้น ดังนั้น ความประสงค์หรือเจตนารมณ์ของเจ้ามรดกที่จะสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมม่อนธาตุหลังจากมรณภาพแล้วจึงไม่เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมาย และด้วยเหตุนี้ทรัพย์สินทุกอย่างไม่ว่าจะได้มาโดยทางใดรวมทั้งทรัพย์สินที่ชาวบ้านถวายเพื่อทำบุญสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมม่อนธาตุก็เป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาเพราะเป็นพระภิกษุโดยตรง เมื่อเจ้ามรดกมรณภาพในขณะเป็นพระภิกษุโดยมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ใคร ทรัพย์สินของเจ้ามรดกนั้นย่อมตกได้แก่วัดผู้ร้องที่พระภิกษุนั้นมีภูมิลำเนา เมื่อผู้คัดค้านถอนเงินมรดกของเจ้ามรดกซึ่งตามกฎหมายจะต้องตกได้แก่วัดผู้ร้องโดยผู้คัดค้านมิได้นำไปให้วัดผู้ร้องแต่กลับนำไปสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมม่อนธาตุ เมื่อผู้ร้องทวงถามในฐานะเป็นเจ้าของผู้คัดค้านไม่ยอมส่งมอบ ทั้งไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเป็นการละเลยต่อหน้าที่จึงสมควรถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกพระภิกษุ & ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม: ทรัพย์สินตกแก่วัดเมื่อไม่มีพินัยกรรม
แม้เจ้ามรดกจะมีความประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่จะนำทรัพย์สินที่ชาวบ้านมาถวายไปสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมม่อนธาตุก็ตาม แต่เจ้ามรดกก็ไม่ได้ทำพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ เพียงแต่แสดงเจตนาไว้เท่านั้น ดังนั้น ความประสงค์หรือเจตนารมณ์ของเจ้ามรดกที่จะสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมม่อนธาตุหลังจากมรณภาพแล้วจึงไม่เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมาย และด้วยเหตุนี้ทรัพย์สินทุกอย่างไม่ว่าจะได้มาโดยทางใดรวมทั้งทรัพย์สินที่ชาวบ้านถวายเพื่อทำบุญสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมม่อนธาตุก็เป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาเพราะเป็นพระภิกษุโดยตรง เมื่อเจ้ามรดกมรณภาพในขณะเป็นพระภิกษุโดยมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ใคร ทรัพย์สินของเจ้ามรดกนั้นย่อมตกได้แก่วัดผู้ร้องที่พระภิกษุนั้นมีภูมิลำเนา เมื่อผู้คัดค้านถอนเงินมรดกของเจ้ามรดกซึ่งตามกฎหมายจะต้องตกได้แก่วัดผู้ร้อง โดยผู้คัดค้านมิได้นำไปให้วัดผู้ร้องแต่กลับนำไปสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมม่อนธาตุ เมื่อผู้ร้องทวงถามในฐานะเป็นเจ้าของผู้คัดค้านไม่ยอมส่งมอบ ทั้งไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเป็นการละเลยต่อหน้าที่ จึงสมควรถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2981/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตซักค้านพยานในคดีผู้จัดการมรดก ศาลมีดุลพินิจในการวินิจฉัยคดีและตั้งผู้จัดการมรดก
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นมีเพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ การที่จะซักค้านพยานผู้ร้องในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการมรดกเดิมและการจะจัดการมรดกต่อไปอย่างไรนั้น จึงไม่เป็นประโยชน์แก่การวินิจฉัยคดี ประกอบกับการที่ศาลจะตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกเป็นดุลพินิจของศาลโดยเฉพาะ ดังนั้น ที่ศาลไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านซักค้านพยานผู้ร้องในเรื่องดังกล่าวนั้นชอบแล้ว
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านซักค้านพยานผู้ร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้โต้แย้งคำสั่งไว้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบมาตรา 247
of 50