คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1713

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 500 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก แม้มิใช่ทายาทโดยตรง
ผู้ร้องไม่ได้เป็นบุตรของ ส.แต่ส.จดทะเบียนสมรสกับล. และมีชื่อร่วมกันในที่ดินตามใบจอง (น.ส.2) หลังจาก ส.ตายแล้ว ล.จึงตาย ผู้ร้องในฐานะบุตรของ ล.จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินดังกล่าว ผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะทายาทโดยธรรมหรือในทางพินัยกรรมของผู้ตายโดยตรง เมื่อกองมรดกของ ส.ตกเป็นของผู้ร้องอยู่ด้วยผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของส.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียไม่จำต้องเป็นทายาทโดยตรง
ผู้ร้องไม่ได้เป็นบุตรของ ส. แต่ ส.จดทะเบียนสมรสกับ ล. และมีชื่อร่วมกันในที่ดินตามใบจอง (น.ส.2) หลังจาก ส.ตายแล้ว ล.จึงตาย ผู้ร้องในฐานะบุตรของ ล.จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินดังกล่าว
ผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะทายาทโดยธรรมหรือในทางพินัยกรรมของผู้ตายโดยตรง เมื่อกองมรดกของ ส.ตกเป็นของผู้ร้องอยู่ด้วย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมต้องกระทำต่อหน้าพยาน
ผู้ตายไม่ได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานทั้งสองคนแม้ขณะพยานทั้งสองลงลายมือชื่อเป็นพยาน ผู้ตายและพยานทั้งสองจะอยู่พร้อมหน้ากันก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ พินัยกรรมดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705 ผู้คัดค้านในฐานะผู้รับพินัยกรรมจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายไม่มีสิทธิขอตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิทายาทโดยชอบธรรมของบุตรที่เกิดจากการสมรสที่ตกเป็นโมฆะ และอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษา
แม้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้ตายจะตกเป็นโมฆะแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ก็บัญญัติว่าให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเกิดขณะที่ผู้คัดค้านที่ 1เป็นภริยาของผู้ตาย เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องไม่นำสืบหรือมีพยานมาหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย จึงต้องฟังว่าผู้คัดค้านที่ 2 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 การที่ศาลชั้นต้นตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง แต่ได้ระบุฐานะของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้คัดค้านที่ 2 นั้นเกินคำขอท้ายคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านที่ 2 มิได้อุทธรณ์ไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยเฉพาะความสมควรในการตั้งผู้จัดการมรดก ไม่ก้าวล่วงข้อพิพาทเรื่องทรัพย์สิน
การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยเพียงว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องขอหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ผู้คัดค้านยกขึ้นโต้เถียงว่าที่นา 2 แปลงที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้ตายได้ยกให้ผู้คัดค้านในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่แล้วนั้นศาลยังไม่อาจก้าวล่วงไปวินิจฉัยได้ ผู้คัดค้านชอบที่จะไปดำเนินคดีเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกโดยบุตรที่ได้รับการรับรอง และการพิสูจน์สถานะความเป็นบุตรจากเอกสารมหาชน
สำเนาทะเบียนบ้านเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับรองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่ถูกต้องของเอกสาร เมื่อไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักเพียงพอมาสืบหักล้างจึงต้องถือว่าสำเนาทะเบียนบ้านนั้นถูกต้องแล้ว ผู้ตายได้รับรองว่าต.เป็นบุตรของตนต.จึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเมื่อต.ตายก่อนผู้ตาย ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ต.จึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายแทนที่ ต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายรับรองมีสิทธิมรดกเช่นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก
ผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายรับรองแล้วจึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายในลำดับที่ 1ตามมาตรา 1629 หาจำต้องฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำสั่งศาลว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่ ผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่น้องร่วมบิดามารดากับผู้ตายไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกหรือร่วมกับ บ. ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมิได้สั่งและศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาประโยชน์กองมรดก, เจตนาเจ้ามรดก, และความเหมาะสมของผู้จัดการ
ในคดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีมีว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่เท่านั้น เมื่อทรัพย์มรดกของผู้ตายยังแบ่งปันไม่เสร็จสิ้น ยังมีทรัพย์มรดกที่จะต้องจัดการต่อไป จึงเป็นเหตุที่จะต้องตั้งผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคท้าย การตั้งผู้จัดการมรดกนั้นให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร แม้ศาลอุทธรณ์จะยังมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย แต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้สืบพยานจนเสร็จสำนวนแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวได้ พฤติการณ์ของผู้ร้องและผู้คัดค้านมีข้อโต้แย้งกันเกี่ยวกับการแบ่งปันทรัพย์มรดก การจะให้จัดการมรดกร่วมกันไม่อาจทำได้ต้องตั้งผู้ที่มีความเหมาะสมมากกว่าเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดก: ทายาทผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิมากกว่าทายาทโดยธรรมเมื่อมรดกมีผู้รับพินัยกรรมชัดเจน
ทายาทที่มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกนั้นได้แก่ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมซึ่งมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก แม้ผู้ร้องที่ 2 จะเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่มีสิทธิรับมรดก แต่มรดกที่ผู้ร้องที่ 2 ขอเป็นผู้จัดการนั้นมีพินัยกรรมระบุยกให้แก่ ส. ผู้ร้องที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับมรดกดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกและการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
คำว่าผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 ที่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกนั้น หาจำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะทายาทโดยธรรม หรือทางพินัยกรรมของผู้มรณะโดยตรง บุคคลใดก็ตามที่มีส่วนได้เสียในกองมรดกก็ชอบที่จะร้องขอได้ การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ให้ตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์คือควรตั้งทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ใกล้ชิดกับเจ้ามรดกมากที่สุดและมีความประพฤติดี ในคดีแพ่งนั้นศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่และแม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม
of 50