คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1713

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 500 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8018/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมเขียนเองสมบูรณ์ แม้มีพยานลงชื่อ ทายาทถูกตัดสิทธิหากไม่ได้ประโยชน์จากพินัยกรรม
การทำพินัยกรรมอาจทำได้หลายแบบ เมื่อผู้ตายเขียนพินัยกรรมเองทั้งฉบับโดยมีข้อความครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ ป.พ.พ. มาตรา 1657 กำหนด แม้จะให้พยานลงชื่อแต่ก็เป็นส่วนเกินที่ไม่ทำให้พินัยกรรมแบบเขียนขึ้นเองทั้งฉบับต้องเสียไป พินัยกรรมนั้นย่อมสมบูรณ์ โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าเป็นโมฆะตามรูปแบบนินัยกรรมชนิดอื่นอีกหรือไม่ เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องเช่นนี้ ถือว่าทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคท้าย ผู้คัดค้านทั้งสองจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องคัดค้านและขอตั้งผู้จัดการมรดก ตามมาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องตั้งผู้จัดการมรดก แม้เป็นคนล้มละลาย ไม่ขัดต่อกฎหมายล้มละลาย
การยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องที่ผู้ร้องในฐานะผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจกระทำเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก มิใช่เรื่องการจัดการทรัพย์สิน การฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดอันเกี่ยวกับทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย จึงไม่เป็นการกระทำของคนล้มละลายที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22, 24 และ 25 ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องได้ แม้เป็นคนล้มละลาย หรือไม่ได้เป็นทายาทโดยตรง
การยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องที่ผู้ร้องในฐานะผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจกระทำเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก มิใช่เรื่องการจัดการทรัพย์สิน การฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดอันเกี่ยวกับทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย จึงไม่เป็นการกระทำของคนล้มละลายที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22, 24 และ 25 ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัว ระงับด้วยความตายของผู้ร้องและผู้คัดค้าน
สิทธิในการร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกและการคัดค้านการขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ยื่นคำร้องและของผู้ยื่นคำคัดค้าน หากผู้ยื่นคำร้องหรือคำคัดค้านไว้แล้ว ต่อมาถึงแก่ความตาย สิทธินั้นไม่ตกไปยังทายาท เมื่อปรากฎว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องและผู้คัดค้านถึงแก่กรรมทั้งคู่ สิทธิของผู้ร้องในการยื่นคำร้องและสิทธิของผู้คัดค้านในการยื่นคำคัดค้านจึงเป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้ร้องและผู้คัดค้าน ต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้รับมรดกแทนทายาทเดิม โดยมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 บัญญัติว่า ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ดังนั้น ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามมาตราดังกล่าวหาจำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตายทุกกรณีไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกของ ก. แทนที่ ช. บิดาผู้ร้อง และหลังจากที่ ก. ถึงแก่ความตาย ที่ดินของ ก. และ ส. ยังมิได้จัดแบ่งตามกรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของรวม ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยส่วนหนึ่งและถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ในที่ดินโฉนดดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก แม้ไม่เป็นทายาทโดยตรง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 บัญญัติว่าทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ดังนั้น ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1713 หาจำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตายทุกกรณีไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกของ ก. แทนที่ ช. บิดาผู้ร้อง และหลังจากที่ ก. ถึงแก่ความตายยังมิได้จัดแบ่งที่ดินตามกรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของรวมระหว่าง ก. กับ ส. ผู้ตายทั้งสอง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยส่วนหนึ่ง ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันเป็นมรดกของ ส. ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะที่ดินอันเป็นมรดกของ ส. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกสำหรับทรัพย์สินที่ได้มาจากการอยู่ร่วมกันและสิทธิทายาทลำดับที่ 2
ผู้ร้องที่ 2 และผู้คัดค้านต่างขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายคดีจึงมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยเพียงว่าสมควรตั้งผู้ร้องที่ 2 หรือผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่โต้เถียงกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้นศาลไม่อาจก้าวล่วงไปวินิจฉัยได้ ผู้ร้องที่ 2 และผู้คัดค้านชอบที่จะไปดำเนินคดีเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ทั้งนี้ทายาทที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1713 หมายความถึงทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกหรือผู้มีส่วนได้เสีย แม้ผู้ร้องที่ 2 เป็นภริยาไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแต่ได้อยู่กินร่วมกันจนผู้ตายถึงแก่ความตาย เมื่อมีทรัพย์สินได้มาในระหว่างนั้น ย่อมถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้ร้องที่ 2 จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1713 ส่วนผู้คัดค้นซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายเป็นทายาทลำดับที่ 2 แต่ก็มีสิทธิรับมรดกเสมือนทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1630 วรรคสอง ศาลจึงตั้งบุคคลทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน เพื่อความเป็นธรรมแก่ทายาททุกฝ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7636/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย ต้องมีการจดทะเบียนตามขั้นตอนที่ถูกต้อง มิเช่นนั้นไม่ถือเป็นทายาท
เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 บรรพ 5 และบรรพ 6 แล้ว แม้จะมีบทบัญญัติมาตรา 1586 บัญญัติว่า "บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม ฯลฯ" และมาตรา 1627 บัญญัติไว้ด้วยว่า "? บุตรบุญธรรมให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้" ก็ตาม แต่บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติดังกล่าวก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1585 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น การที่ผู้ตายรับผู้คัดค้านที่ 1 มาเลี้ยงอย่างบุตรบุญธรรมทั้งไปแจ้งต่อกำนันว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2498 ว่า เป็นบุตร แม้จะกระทำก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แต่ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 ทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมนั้น จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 การที่ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งการเกิดของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าเป็นบุตรต่อกำนันตำบลโคกปีบ จึงมิใช่เป็นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย อันจะถือว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ทายาทหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6433/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม แม้มีการแก้ไขเพิ่มเติม และสิทธิของผู้รับพินัยกรรมเมื่อไม่มีทรัพย์สินตกทอดแก่วัด
เอกสารนี้ผู้ตายเขียนขึ้นเองทั้งฉบับ มีการลงวัน เดือน ปี และลงลายมือชื่อผู้ตายไว้ครบถ้วนเป็นพินัยกรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657 วรรคหนึ่งแล้ว การที่ผู้ตายเขียนข้อความเพิ่มเติมต่อไปว่า "และสมุดฝากในธนาคารต่างๆ ด้วย" แม้จะไม่ชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657 วรรคสอง เพราะผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ก็ตาม ก็มีผลเพียงว่าไม่มีเพิ่มเติมข้อความที่ว่า "และสมุดฝากในธนาคารต่างๆ ด้วย" เท่านั้น ส่วนข้อความอื่นในพินัยกรรมยังคงมีผลสมบูรณ์ หามีผลทำให้พินัยกรรมที่สมบูรณ์อยู่แล้วตกเป็นโมฆะแต่อย่างใด
เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ตายมีทรัพย์สินอันจะตกเป็นสมบัติแก่วัดผู้คัดค้านเพราะผู้ตายได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 1623 ผู้คัดค้านจึงไม่เป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย อันจะยื่นคำร้องคัดค้านการร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกต้องมีทรัพย์มรดกจริง การไม่มีทรัพย์สินไม่อาจเป็นเหตุให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 กำหนดเหตุในการร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกไว้ 3 กรณี คือ (1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายหรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์ (2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดก (3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ เหตุในการขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ร้องเป็นการอ้างว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือแบ่งปันมรดก แต่ปรากฏว่าที่ดินที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้น ผู้ตายได้โอนให้บุคคลอื่นไปแล้วในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ จึงไม่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนเงินฝากในบัญชี ผู้มีอำนาจในการถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ปิดบัญชีไปก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นการดำเนินการโดยชอบตามเงื่อนไขในคำขอเปิดบัญชีเงินฝากที่ทำไว้กับธนาคารจึงไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือแบ่งปันมรดกของผู้ตายเพราะไม่มีทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องจัดการ กฎหมายมิได้กำหนดเหตุให้ตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อสืบหาทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อนำมาจัดการแต่อย่างใด กรณีไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ผู้ร้องจะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้
of 50