คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 319

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีร่วมกันของลูกหนี้ร่วม และสิทธิในการร้องคัดค้านการแบ่งส่วนเฉลี่ยหนี้
โจทก์และธนาคาร ก. ต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 และ ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินเพื่อเอาเงินแบ่งส่วนเฉลี่ยให้โจทก์และธนาคารเจ้าหนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดส่วนเฉลี่ยแบ่งให้โจทก์ไม่ถูกต้อง โจทก์ย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านการแบ่งส่วนเฉลี่ยนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 320 เพราะโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงจากการแบ่งส่วนเฉลี่ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ผู้ร้องมีกรรมสิทธิในที่ดินที่ขายทอดตลาดร่วมกับจำเลยที่ 2 อยู่ 1 ใน 3 ส่วนและจำเลยที่ 2 มี 2 ใน 3 ส่วน แต่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลอื่นต่อธนาคาร โดยมิได้แบ่งส่วนความรับผิดไว้ ต่อมาได้จำนองที่ดินที่ขายทอดตลาดนั้นให้เป็นประกันแก่ธนาคารด้วย เมื่อธนาคารฟ้องผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ยังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมร่วมกันชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้แก่ธนาคาร จึงถือได้ว่าผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 เจ้าพนักงานบังคับคดีจะคิดส่วนเฉลี่ยให้ผู้ร้องรับผิดเพียง 1 ใน 3 ตามส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมกันต้องรับผิดชอบหนี้เท่าเทียมกัน แม้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่เท่ากัน
โจทก์และธนาคาร ก. ต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 และ ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินเพื่อเอาเงินแบ่งส่วนเฉลี่ยให้โจทก์และธนาคารเจ้าหนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดส่วนเฉลี่ยแบ่งให้โจทก์ไม่ถูกต้อง โจทก์ย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านการแบ่งส่วนเฉลี่ยนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 320เพราะโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงจากการแบ่งส่วนเฉลี่ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ขายทอดตลาดร่วมกับจำเลยที่ 2อยู่ 1 ใน 3 ส่วน และจำเลยที่ 2 มี 2 ใน 3 ส่วน แต่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลอื่นต่อธนาคาร โดยมิได้แบ่งส่วนความรับผิดไว้ ต่อมาได้จำนองที่ดินที่ขายทอดตลาดนั้นให้เป็นประกันแก่ธนาคารด้วย เมื่อธนาคารฟ้องผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ยังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมร่วมกันชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้แก่ธนาคาร จึงถือได้ว่าผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 เจ้าพนักงานบังคับคดีจะคิดส่วนเฉลี่ยให้ผู้ร้องรับผิดเพียง 1 ใน 3 ตามส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยหนี้เจ้าหนี้หลายราย: ค่าฤชาธรรมเนียมคือหนี้ธรรมดา ไม่ใช่บุริมสิทธิ
ค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329นั้น หมายถึงค่าฤชาธรรมเนียมที่ลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่รัฐส่วนจำนวนเงินที่ลูกหนี้จะต้องใช้แทนเจ้าหนี้ สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมที่เจ้าหนี้ได้เสียให้แก่รัฐไปแล้วนั้นแม้จะเรียกว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียม แต่แท้จริงก็เป็นจำนวนเงินที่ใช้แทนกันตามธรรมดา หาใช่ค่าฤชาธรรมเนียมอันลูกหนี้จะต้องเสียให้แก่รัฐไม่จึงถือได้ว่าเป็นหนี้จำนวนหนึ่งอันลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามธรรมดานั่นเอง
ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลายคนการเฉลี่ยส่วนได้ของเจ้าหนี้ได้มีวิธีการกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 319 ว่าเมื่อหักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีไว้แล้ว ก็ให้ชำระหนี้ที่มีบุริมสิทธิเสียก่อน แล้วจึงเฉลี่ยตามส่วนของหนี้สินให้แก่เจ้าหนี้ที่ขอเฉลี่ย เมื่อค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องคดีของเจ้าหนี้ไม่เป็นบุริมสิทธิ จึงต้องรวมเฉลี่ยให้เช่นเดียวกับหนี้สินธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียม: แยกค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้รัฐกับเงินทดแทนเจ้าหนี้
ค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 นั้น หมายถึง ค่าฤชาธรรมเนียมที่ลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่รัฐส่วนจำนวนเงินที่ลูกหนี้จะต้องใช้แทนเจ้าหนี้สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมที่เจ้าหนี้ได้เสียให้แก่รัฐไปแล้วนั้น แม้จะเรียกว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียม แต่แท้จริงก็เป็นจำนวนเงินที่ใช้แทนกันตามธรรมดา หาใช่ค่าฤชาธรรมเนียมอันลูกหนี้จะต้องเสียให้แก่รัฐไม่ จึงถือได้ว่าเป็นหนี้จำนวนหนึ่งอันลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามธรรมดานั่นเอง
ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลายคน การเฉลี่ยส่วนได้ของเจ้าหนี้ได้มีวิธีการกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 319 ว่า เมื่อหักค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีไว้แล้ว ก็ให้ชำระหนี้ที่มีบุริมสิทธิเสียก่อน แล้วจึงเฉลี่ยตามส่วนของหนี้สินให้แก่เจ้าหนี้ที่ขอเฉลี่ย เมื่อค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องคดีของเจ้าหนี้ไม่เป็นหนี้มีบุริมสิทธิ จึงต้องรวมเฉลี่ยให้เช่นเดียวกับหนี้สินธรรมดา
of 3