คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 319

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองก่อนบังคับคดีล้มละลาย: ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น แม้มีการขายสิทธิเรียกร้อง
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเป็นการรวบรวมทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 มิใช่การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ในคดีนี้เมื่อยังไม่มีการขายทอดตลาดที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ซึ่งติดจำนองอยู่แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงชอบที่จะอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองได้ก่อนเอาที่ดินนั้นออกขายทอดตลาดในคดีนี้ การจัดทำบัญชีรับ - จ่าย ในการบังคับคดีล้มละลายของโจทก์นั้นไม่เกี่ยวกับคดีนี้ กรณีไม่ใช่เรื่องที่จำเลยจะยกขึ้นอ้างเพื่อมิให้ผู้ร้องเข้ามาขอรับชำระหนี้หรือสวมสิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยในคดีนี้แทนโจทก์ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18196/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุริมสิทธิของผู้จัดการมรดกเหนือทรัพย์สินที่ถูกยึดบังคับคดี การใช้สิทธิก่อนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ก. ซึ่งออกเงินค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันของกองมรดก จึงเป็นผู้มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของกองมรดกที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อขายทอดตลาด การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมไม่อาจกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แต่ผู้ร้องจะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อมีการบังคับคดีโดยนำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองก่อน ทั้งบุริมสิทธิของผู้ร้องไม่ปรากฏทางทะเบียน ดังนี้ ผู้ร้องย่อมสามารถร้องขอให้บังคับตามสิทธิของตนได้ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 318 ถึง 321

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บัญชีส่วนเฉลี่ยบังคับคดี: คำสั่งศาลชั้นต้นยกคำร้องคัดค้านถือเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย อันเป็นบัญชีส่วนเฉลี่ยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 319 แล้ว ผู้ร้องยื่นคำแถลงคัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ยดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งยืนยันตามบัญชีส่วนเฉลี่ยดังกล่าว ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งนั้นต่อศาลชั้นต้น ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 320 วรรคสี่ ในตอนท้ายบัญญัติให้คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุดนั้น ย่อมหมายถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นที่เกี่ยวด้วยคำร้องคัดค้านของผู้ร้องที่ยื่นไว้ตามบทบัญญัติในวรรคสี่นั่นเอง มิใช่ถึงที่สุดแต่เพียงคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องเพราะเห็นว่าเจ้าหนี้ไม่ไปตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่ผู้ร้องฎีกาเท่านั้น ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องคัดค้านคำสั่งของผู้ร้อง คดีของผู้ร้องที่คัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงถึงที่สุดและต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8171/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งมรดก: สิทธิทายาทที่มิได้ร้องสอดคดี ไม่สามารถใช้ ม.287 ป.วิ.พ. ในชั้นบังคับคดีได้
การร้องขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จะต้องเป็นกรณีที่มีการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่คดีเรื่องนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีมรดกและศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ต. แก่โจทก์ทั้งห้าตามส่วน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ทั้งห้าจึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันตามคำพิพากษา อันเป็นการดำเนินการเพื่อแบ่งทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวมที่ได้รับมรดกร่วมกันเท่านั้น โจทก์ทั้งห้าและจำเลยหาใช่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกันไม่ และมิใช่เป็นการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อบังคับเอาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแต่อย่างใด ดังนั้น หากผู้ร้องเป็นทายาทคนหนึ่งของ ต. จริง ก็ชอบที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อขอรับส่วนแบ่งทรัพย์มรดกเสียตั้งแต่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1749 กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอกันส่วนในชั้นบังคับคดีได้ ส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์มรดกของ ต. ส่วนที่ตกได้แก่จำเลย ซึ่งผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องมีสิทธิได้รับ 1 ใน 9 ส่วน เนื่องจากจำเลยถึงแก่ความตายนั้น ก็เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องจัดทำบัญชีส่วนเฉลี่ยและจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งห้าและกองมรดกของจำเลยต่อไปตามนัยที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 319 ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอรับส่วนแบ่งเงินดังกล่าวในชั้นนี้โดยอาศัย ป.วิ.พ. มาตรา 287 ไม่ได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักส่วนได้ใช้แทนในบังคับคดีและการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินของจำเลยได้จากการขายทอดตลาด และโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย การที่โจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทน หมายถึงการที่โจทก์มีหน้าที่ต้องวางเงินชำระ ราคาค่าซื้อที่ดินในฐานะผู้ซื้อ และโจทก์มีสิทธิรับเงินจากการขายทอดตลาดที่โจทก์นำมาวางชำระค่าที่ดินในฐานะ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาที่ต้องชำระ และศาลอนุญาต โจทก์จึงไม่ต้องนำเงินค่าที่ดินที่ต้องชำระมาวางและโจทก์ก็ไม่ต้องรับเงินจากการขายทอดตลาดไป แต่ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ซื้อและได้ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้รับเงินไปแล้วนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทน แม้จำเลยจะร้องคัดค้านการขายทอดตลาด โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคน ได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในมาตรา 318 ถึง 322 แห่ง ป.วิ.พ. เป็นแต่เพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว ก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
โจทก์นำยึดที่ดินของจำเลยเพิ่ม เนื่องจากบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณ ไม่ถูกต้อง ส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้จ่ายให้โจทก์รับไปตามหนี้จำนองที่โจทก์มีอยู่เหนือที่ดินที่ขายทอดตลาดดังกล่าวครบถ้วนตามหนี้จำนองและเงินส่วนที่เหลือได้คืนให้จำเลย รับไปแล้ว เมื่อกรณียังไม่เป็นการแน่ชัดว่า เมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือ ที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่ เพียงใด ศาลฎีกาเห็นควรให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยพอชำระหนี้โจทก์พร้อม ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยตามสิทธิของแต่ละฝ่าย และเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่โจทก์นำยึดเพิ่มต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4038/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากการบังคับคดี: คำนวณถึงวันขายทอดตลาด และจำเลยไม่ต้องรับผิดเมื่อบัญชีส่วนเฉลี่ยล่าช้า
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามหมายบังคับคดี โดยทำการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง รวมทั้งรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้เพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษา เป็นการกระทำในฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 278 กรณีต้องถือว่าเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดเป็นเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยถึงวันขายทอดตลาดเท่านั้น
เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยเสร็จล่าช้าไปหลายปีนับแต่วันขายทอดตลาดเพราะมีผู้เข้าสู้ราคาคัดค้านการขายทอดตลาด และโจทก์คัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ย จำเลยหาได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยเสร็จล่าช้าไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์หลังจากวันขายทอดตลาดทรัพย์จำนองอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4038/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจำนอง: คำนวณถึงวันขายทอดตลาด ไม่ใช่ถึงวันทำบัญชีส่วนเฉลี่ย
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามหมายบังคับคดีโดยทำการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง รวมทั้งรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้เพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษา เป็นการกระทำในฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 278 กรณีต้องถือว่าเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดเป็นเงินที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยถึงวันขายทอดตลาดเท่านั้น
เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยเสร็จล่าช้าไปหลายปีนับแต่วันขายทอดตลาดเพราะมีผู้เข้าสู้ราคาคัดค้านการขายทอดตลาดและโจทก์คัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ย จำเลยหาได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนทำให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยเสร็จล่าช้าไม่จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์หลังจากวันขายทอดตลาดทรัพย์จำนองอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกดอกเบี้ยจากการจำนอง: อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาและลำดับการชำระหนี้
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ก็คือการฟ้องขอให้บังคับจำนองนั่นเอง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715(1) ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับดอกเบี้ยด้วยโดยในส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อหนี้จำนองเป็นหนี้เงินจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กล่าวคือเมื่อถึงกำหนดที่จะต้องชำระหนี้จำนอง ลูกหนี้ไม่ชำระก็ต้องถือว่าลูกหนี้ผิดนัดลูกหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่มีข้อยกเว้นว่าถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น เมื่อตามสัญญาจำนองจำเลยที่ 3 ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องร้อยละ 15 ต่อปีผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆในดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยแสดงจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแต่ละคนเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 319

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจำนองสูงกว่าอัตราตามกฎหมาย: การบังคับจำนองและการชำระหนี้
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามป.วิ.พ. มาตรา 289 ก็คือการฟ้องขอให้บังคับจำนองนั่นเอง และตาม ป.พ.พ.มาตรา 715 (1) ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับดอกเบี้ยด้วยโดยในส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อหนี้จำนองเป็นหนี้เงินจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กล่าวคือเมื่อถึงกำหนดที่จะต้องชำระหนี้จำนอง ลูกหนี้ไม่ชำระก็ต้องถือว่าลูกหนี้ผิดนัด ลูกหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่มีข้อยกเว้นว่าถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น เมื่อตามสัญญาจำนองจำเลยที่ 3 ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องร้อยละ 15 ต่อปี ผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ในดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยแสดงจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแต่ละคนเสร็จตาม ป.วิ.พ.มาตรา 319

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการบังคับคดีต้องยื่นภายใน 8 วันนับแต่ทราบการฝ่าฝืน หรือก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น
การร้องคัดค้านการบังคับคดีจะต้องร้องคัดค้านภายในแปดวันนับแต่ทราบการฝ่าฝืน แต่ต้องกระทำเสียก่อนที่การบังคับคดีได้เสร็จลงหากการบังคับคดีได้เสร็จลงไปแล้วแม้เพิ่งทราบการฝ่าฝืนก็ร้องคัดค้านอีกไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา296 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ฎีกาอ้างว่าหมายบังคับคดีให้ยึดทรัพย์จำเลยที่ 1แต่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เป็นการกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยที่ 2 โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีนั่นเอง กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งจำเลยที่ 2 จะต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้นเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2แล้วจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับรักษาทรัพย์ที่ยึดไว้เองตั้งแต่วันที่5 มีนาคม 2531 โดยไม่โต้แย้งคัดค้าน จนกระทั่งมีการขายทอดตลาดจนเจ้าพนักงานบังคับคดีแบ่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้โจทก์เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2535 ซึ่งถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วจำเลยที่ 2 เพิ่งยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2535ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเพื่อให้เพิกถอนการยึดและการขายทอดตลาดได้
of 3