คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1715

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: การขอเป็นผู้จัดการมรดกโดยบุตรที่พินัยกรรมกำหนด และการไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อน มารดาของผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และผู้ร้องเป็นผู้คัดค้านคดีหลัง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกรายเดียวกัน และผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านคู่ความทั้งสองคดีมิใช่คู่ความเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้ผู้ร้องจะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในคดีหลังในระหว่างที่คดีก่อนยังพิจารณาอยู่ก็ไม่เป็นการฟ้องซ้อน เพราะผู้ร้องมิได้เคยร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ในคดีก่อนมาก่อน
พินัยกรรมของผู้ตายกำหนดตั้งบุตรห้าคนเป็นผู้จัดการมรดกแต่บุตรสองคนยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่สามารถจัดการมรดกได้และบุตรอีกคนหนึ่งไม่เต็มใจที่จะจัดการมรดก ดังนี้บุตรอีกสองคนซึ่งไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย ย่อมร้องขอต่อศาล ขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: สิทธิของผู้รับมรดกที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและการฟ้องซ้ำ
คดีก่อน มารดาของผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และผู้ร้องเป็นผู้คัดค้านคดีหลัง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกรายเดียวกัน และผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านคู่ความทั้งสองคดีมิใช่คู่ความเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้ผู้ร้องจะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในคดีหลังในระหว่างที่คดีก่อนยังพิจารณาอยู่ก็ไม่เป็นการฟ้องซ้อน เพราะผู้ร้องมิได้เคยร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ในคดีก่อนมาก่อน
พินัยกรรมของผู้ตายกำหนดตั้งบุตรห้าคนเป็นผู้จัดการมรดกแต่บุตรสองคนยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่สามารถจัดการมรดกได้และบุตรอีกคนหนึ่งไม่เต็มใจที่จะจัดการมรดก ดังนี้บุตรอีกสองคนซึ่งไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมาย ย่อมร้องขอต่อศาล ขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการมรดกกรณีศาลตั้งผู้จัดการหลายคนและการขอคำสั่งเปลี่ยนแปลง
ศาลตั้งให้โจทก์กับ อ. เป็นผู้จัดการมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม เมื่อ อ. ตายโจทก์ไม่มีอำนาจดำเนินการจัดการมรดกต่อไปตามลำพังไม่มีอำนาจเบิกเงินกองมรดกจากธนาคาร โดยที่ยังไม่มีคำสั่งศาลอนุญาตให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการมรดกกรณีศาลตั้งผู้จัดการหลายคน การเบิกจ่ายเงินจากธนาคารต้องรอคำสั่งศาล
ศาลตั้งให้โจทก์กับ อ. เป็นผู้จัดการมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม เมื่อ อ. ตาย โจทก์ไม่มีอำนาจดำเนินการจัดการมรดกต่อไปตามลำพังไม่มีอำนาจเบิกเงินกองมรดกจากธนาคาร โดยที่ยังไม่มีคำสั่งศาลอนุญาตให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404-1405/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดก, การจัดการทรัพย์มรดก, ฟ้องซ้ำ, และการนำสืบพยานในคดีแพ่ง
มาตรา 183 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้อำนาจศาลจะสั่งให้คู่ความฝ่ายใดนำสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้ ฉะนั้น เมื่อประเด็นที่จำเลยต่อสู้เป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งถ้าได้ความแล้วคดีอาจพิจารณาพิพากษาไปได้โดยไม่ต้องพิจารณาประเด็นข้ออื่นๆ แล้ว ศาลอาจสั่งให้จำเลยนำสืบก่อนทุกประเด็นก็ได้
พินัยกรรมก่อตั้งทรัสต์ก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 6 นั้น ไม่ขัดต่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลานั้น และพินัยกรรมที่กำหนดให้โจทก์มีอำนาจจัดการและเก็บค่าเช่านั้น คำว่า จัดการ ในที่นี้ย่อมหมายถึงการดำเนินการต่างๆ ตลอดจนการฟ้องร้องคดีด้วย
พินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกรวมสี่คน เมื่อเหลือโจทก์คนเดียวเพราะผู้จัดการมรดกสองคนถึงแก่กรรม และผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งลาออก เมื่อพินัยกรรมมิได้กำหนดให้จัดการมรดกพร้อมกันแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้
การจัดการมรดกไม่ใช่สิทธิเรียกร้อง ไม่มีอายุความเมื่อจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น ผู้จัดการมรดกย่อมมีอำนาจจัดการตลอดไปจนกว่าจะเสร็จสิ้น
โจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลย ศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะโจทก์แสดงอำนาจฟ้องไม่ถูกต้องนั้น ศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อต่อสู้เรื่องขับไล่ ฉะนั้น โจทก์จึงมาฟ้องขับไล่จำเลยได้ใหม่ โดยไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316-320/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกต้องทำร่วมกัน ผู้จัดการมรดกคนเดียวไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนกองมรดก
ผู้จัดการทรัพย์มรดกต้องจัดการร่วมกัน ผู้จัดการแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อศาลตั้งให้โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ที่ 2 จะลงชื่อฎีกาแต่ผู้เดียวย่อมไม่ได้ เพราะการดำเนินคดีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดก
หนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์นั้น รูปลักษณะและความประสงค์มุ่งไปในทางมอบอำนาจจัดการทางธุระการจึงไม่มีผลเป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีที่เกิดข้อพิพาทขึ้นในศาลแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316-320/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกต้องจัดการร่วมกัน การดำเนินคดีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดก การฎีกาโดยผู้จัดการคนเดียวเป็นฎีกาที่ไม่มีอำนาจ
ผู้จัดการทรัพยืมรดกต้องจัดการ่วมกัน ผู้จัดการแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อศาลตั้งให้โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ที่ 2 จะลงชื่อฎีกาแต่ผู้เดียวย่อมไม่ได้ เพราะการดำเนินคดีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดก
หนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์นั้น รูปลักษณะและความประสงค์มุ่งไปในทางมอบอำนาจจัดการทางธุระการ จึงไม่มีผลเป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินที่เกิดข้อพิพาทขึ้นในศาลแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคนต้องใช้เสียงข้างมาก และทายาทหมดสิทธิจัดการเมื่อศาลตั้งผู้จัดการแล้ว
เมื่อศาลตั้งผู้จัดการมรดกไว้หลายคน และมิได้กำหนดสิทธิและหน้าที่ของแต่ละคนไว้โดยเฉพาะ การทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นจึงต้องถือเอาเสียงข้างมาก และนับแต่วันศาลตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว บรรดาทายาททั้งหลายย่อมหมดสิทธิที่จะเข้าจัดการมรดก เพราะมิฉะนั้นจะเป็นการจัดการมรดกซ้อนอำนาจผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง
จำเลยเช่าที่ดินมรดกจากผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งคนหนึ่งโดยผู้จัดการมรดกร่วมคนอื่นมิได้รู้เห็นด้วย ดังนี้ถือว่าเป็นการเช่าจากบุคคลที่ไม่มีอำนาจให้เช่าได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงอ้างสิทธิการเช่านั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่า โดยระบุชัดถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และอำนาจฟ้อง
ล. เป็นบิดา ฉ.เป็นมารดาของภ.พ.และอ. เมื่อ ล. ตาย ตึกพิพาทก็ตกเป็นมรดกแก่ฉ.ภ.พ.และอ. ผลที่สุดเมื่อฉ. ตายอีก ก็ตกเป็นมรดกแก่ภ.พ.และอ. พ.และอ.มอบให้ภ. เป็นผู้จัดการภ.มอบอำนาจให้ส. เป็นผู้จัดการแทนอีกทอดหนึ่งหนังสือมอบอำนาจจะเขียนว่าตึกพิพาทเป็นมรดกของล.หรือฉ. ก็หามีความหมายผิดกันไม่ และการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มอบอำนาจทั่วไปแก่ ส. นี้ก็ไม่ใช่เรื่องผู้จัดการมรดก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1715 และ1358 ไม่ต้องกับรูปคดีนี้
เมื่อทำสัญญาเช่าก็เขียนชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ว่าเป็นเจ้าของบริษัทจำเลยที่ 2 เมื่อนำสืบก็รับว่ามีคนภายนอกถือหุ้นอยู่ด้วยไม่เกินร้อยละสิบ ที่ตั้งทำการของจำเลยที่ 2 ก็คือตึกรายพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าไปเป็นเหตุผลเพียงพอให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย โจทก์ระบุชัดในคำฟ้องเรียกบริษัทเป็นจำเลยที่ 2 โดยบรรยายด้วยว่าเป็นนิติบุคคล คำขอให้ขับไล่จำเลยย่อมหมายถึงจำเลยทั้งสอง
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกรายพิพาทในขณะที่ฟ้องขับไล่ ไม่จำต้องบรรยายฟ้องโดยละเอียดถึงความเป็นมาแห่งตึกนี้
คำฟ้องระบุชื่อจำเลยทั้งสองไว้ในตอนต้นแล้ว ตอนต่อๆไปแม้จะใช้คำว่าจำเลยก็มีความหมายว่าจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ผู้เช่า: เจ้าของกรรมสิทธิ์ฟ้องได้แม้มีการมอบอำนาจและมีผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
ล.เป็นบิดา ฉ. เป็นมารดาของ ภ.พ.และ อ. เมื่อ ล.ตายศึกพิพาทตกเป็นมรดกแก่ ฉ.ภ.พ. และ อ. ผลที่สุดเมื่อ ฉ. ตายอีกก็ตกเป็นมรดกแก่ ภ.พ. และอ. พ. และอ. มอบให้ ภ. เป็นผู้จัดการ ภ. มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้จัดการแทนอีกทอดหนึ่ง หนังสือมอบอำนาจจะเขียนว่าตึกพิพาทเป็นมรดกของ ล. หรือ ฉ. ก็หามีความหมายผิดกันไม่ และการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มอบอำนาจทั่วไปแก่ ส.นี้ก็ไม่ใช่เรื่องผู้จัดการมรดก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1715 และ 1358 ไม่ตรงกับรูปคดีนี้
เมื่อทำสัญญาเช่าก็เชียนชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ว่าเป็นเจ้าของบริษัทจำเลยที่ 2 เมื่อนำสืบก็รับว่ามีคนภายนอกถือหุ้นอยู่ด้วยไม่เกินร้อยละสิบ ที่ตั้งทำการของจำเลยที่ 2 ก็คือตึกรายพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าไป เป็นเหตุผลเพียงพอให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย โจทก์ระบุชัดในคำฟ้องเรียกบริษัทเป็นจำเลยที่ 2 โดยบรรยายด้วยว่าเป็นนิติบุคคล คำขอให้ขับไล่จำเลยย่อมหมายถึงจำเลยทั้งสอง
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกรายพิพาทในขณะที่ฟ้องขับไล่ ไม่จำต้องบรรยายฟ้องโดยละเอียดถึงความเป็นมาแห่งตึกนี้
คำฟ้องระบุชื่อจำเลยทั้งสองไว้ในตอนต้นแล้ว ตอนต่อๆ ไปแม้จะใช้คำว่าจำเลยก็มีความหมายว่าจำเลยทั้งสอง
of 5