พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14466/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
หนังสือบอกเลิกจ้าง ไม่ปรากฏว่าโจทก์ระบุข้อเท็จจริงตามที่อ้างในฟ้องว่า ธ. เจตนาจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) ไว้ด้วย โจทก์จึงยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง) จึงไม่มีประเด็นดังกล่าวให้จำเลยต้องรับวินิจฉัย การที่ศาลแรงงานภาค 1 ไม่วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวตามฟ้องของโจทก์จึงชอบแล้ว
การพิจารณาว่าโจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง และ ป.พ.พ. มาตรา 583 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าถ้านายจ้างไม่ได้แจ้งเหตุผลในการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะเลิกจ้างแล้วนายจ้างจะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง) มาใช้บังคับแก่กรณีการบอกกล่าวล่วงหน้า ดังนั้นแม้โจทก์ไม่ได้ระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้าง โจทก์ก็ย่อมยกเหตุผลในการเลิกสัญญาจ้างขึ้นอ้างในภายหลังเพื่อเป็นข้อต่อสู้ในส่วนของค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ การที่ศาลแรงงานภาค 1 พิพากษาโดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานภาค 1 ฟังยุติและข้อเท็จจริงในสำนวนที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งได้ความว่า ธ. เล่นเกมคอมพิวเตอร์ในระหว่างทำงาน โดยมีโปรแกรมเกมออนไลน์ Yol Gang อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ธ. การกระทำของ ธ. จึงเป็นการเอาเวลาทำงานไปกระทำกิจการอื่น อันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต โจทก์จึงเลิกจ้าง ธ. ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง)
การพิจารณาว่าโจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง และ ป.พ.พ. มาตรา 583 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าถ้านายจ้างไม่ได้แจ้งเหตุผลในการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะเลิกจ้างแล้วนายจ้างจะยกเหตุแห่งการเลิกจ้างขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง) มาใช้บังคับแก่กรณีการบอกกล่าวล่วงหน้า ดังนั้นแม้โจทก์ไม่ได้ระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้าง โจทก์ก็ย่อมยกเหตุผลในการเลิกสัญญาจ้างขึ้นอ้างในภายหลังเพื่อเป็นข้อต่อสู้ในส่วนของค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ การที่ศาลแรงงานภาค 1 พิพากษาโดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานภาค 1 ฟังยุติและข้อเท็จจริงในสำนวนที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งได้ความว่า ธ. เล่นเกมคอมพิวเตอร์ในระหว่างทำงาน โดยมีโปรแกรมเกมออนไลน์ Yol Gang อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ธ. การกระทำของ ธ. จึงเป็นการเอาเวลาทำงานไปกระทำกิจการอื่น อันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต โจทก์จึงเลิกจ้าง ธ. ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14260/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างก่อนครบกำหนดสัญญาจ้าง ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
นายจ้างจะบอกเลิกสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างแก่ลูกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าต้องเป็นกรณีที่มีการจ้างกันครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง) เท่านั้น
สัญญาจ้างกำหนดระยะเวลาการจ้าง 11 เดือน นับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2549 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เมษายน 2549 อันเป็นการเลิกจ้างก่อนครบกำหนดตามสัญญาจ้าง เป็นกรณีจำเลยไม่ถือเอาระยะเวลาตามสัญญาจ้างเป็นสาระสำคัญ จำเลยจึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าและจำเลยจะจ่ายค่าจ้างตามจำนวนที่ต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาและให้โจทก์ออกจากงานทันทีก็ได้ตามมาตรา 17 วรรคสองและวรรคสี่ (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง)
กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 10 ของเดือน วันที่ 21 เมษายน 2549 จำเลยออกประกาศเลิกจ้างโจทก์โดยให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เมษายน 2549 เป็นกรณีจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างเป็นหนังสือก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างในวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 จึงมีผลเป็นการเลิกสัญญาในวันที่ 10 มิถุนายน 2549 จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2549 จนถึงวันเลิกสัญญาคือวันที่ 10 มิถุนายน 2549 แต่จำเลยจ่ายค่าจ้างของเดือนเมษายน 2549 ให้โจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านับจากวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2549
สัญญาจ้างกำหนดระยะเวลาการจ้าง 11 เดือน นับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2549 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เมษายน 2549 อันเป็นการเลิกจ้างก่อนครบกำหนดตามสัญญาจ้าง เป็นกรณีจำเลยไม่ถือเอาระยะเวลาตามสัญญาจ้างเป็นสาระสำคัญ จำเลยจึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าและจำเลยจะจ่ายค่าจ้างตามจำนวนที่ต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาและให้โจทก์ออกจากงานทันทีก็ได้ตามมาตรา 17 วรรคสองและวรรคสี่ (ที่ใช้บังคับในขณะเลิกจ้าง)
กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 10 ของเดือน วันที่ 21 เมษายน 2549 จำเลยออกประกาศเลิกจ้างโจทก์โดยให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เมษายน 2549 เป็นกรณีจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างเป็นหนังสือก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างในวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 จึงมีผลเป็นการเลิกสัญญาในวันที่ 10 มิถุนายน 2549 จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2549 จนถึงวันเลิกสัญญาคือวันที่ 10 มิถุนายน 2549 แต่จำเลยจ่ายค่าจ้างของเดือนเมษายน 2549 ให้โจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านับจากวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2549
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างด้วยวาจาและการแจ้งเหตุเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหากแจ้งเหตุตามกฎหมาย
การบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกสัญญาจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ใช้ในขณะเกิดเหตุนั้น นายจ้างสามารถที่จะเลิกจ้างลูกจ้างโดยทำเป็นหนังสือหรือบอกเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจาก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าหากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธการจ่ายค่าชดเชยนายจ้างจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้ลูกจ้างทราบขณะเลิกจ้าง ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจานายจ้างจะต้องระบุหรือแจ้งเหตุผลนั้นให้ลูกจ้างทราบขณะบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาด้วย ในขณะที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างด้วยวาจาโจทก์ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าเกิดจากการที่โจทก์กับพวกได้จัดตั้งบริษัททำกิจการค้าแข่งกับจำเลย ถือว่าเป็นกรณีที่จำเลยได้ระบุเหตุตามมาตรา 119 (2) (4) แก่โจทก์ในขณะบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาแล้ว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 17 วรรคสาม