พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทฟ้องเรียกร้องหนี้สินกองมรดก แม้มีผู้จัดการมรดก
แม้มรดกจะมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้ว ทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้องร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้สินของกองมรดกอันเป็นการรักษาสิทธิอันจะพึงตกแก่กองมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก: ทายาทควบคุมดูแลได้ แต่สั่งการโดยตรงไม่ได้
ผู้จัดการมรดกที่ศาลมีคำสั่งตั้งมิใช่ตัวแทนของทายาท เพราะอำนาจหน้าที่และความรับผิดของผู้จัดการมรดกต่อทายาทเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายผู้จัดการมรดกจึงมีฐานะเป็นผู้แทนตามกฎหมายของทายาทในอันที่จะต้องจัดการมรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท
ทายาทไม่มีอำนาจที่จะสั่งการให้ผู้จัดการมรดกกระทำการใดได้เพียงแต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทโดยกฎหมายอนุโลมให้นำบทบัญญัติบางมาตราของลักษณะตัวแทนมาใช้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 และทายาทย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ควบคุมจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกให้อยู่ในขอบอำนาจที่พินัยกรรมและกฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งมีอำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1727
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726, 1727 วรรคสอง,1729,1731 และ 1732 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลเป็นผู้ดูแลให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย
การที่ผู้ร้องที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทที่ตั้งตามพินัยกรรมเข้าบริหารทรัพย์สินของกองมรดกแทนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย เป็นวิธีการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะกระทำเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และ 1723 ดังนี้ ทายาทย่อมไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำการดังกล่าวได้ และมิใช่อำนาจของศาลที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำเช่นกัน
ทายาทไม่มีอำนาจที่จะสั่งการให้ผู้จัดการมรดกกระทำการใดได้เพียงแต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทโดยกฎหมายอนุโลมให้นำบทบัญญัติบางมาตราของลักษณะตัวแทนมาใช้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 และทายาทย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ควบคุมจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกให้อยู่ในขอบอำนาจที่พินัยกรรมและกฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งมีอำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1727
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726, 1727 วรรคสอง,1729,1731 และ 1732 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลเป็นผู้ดูแลให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย
การที่ผู้ร้องที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทที่ตั้งตามพินัยกรรมเข้าบริหารทรัพย์สินของกองมรดกแทนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย เป็นวิธีการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะกระทำเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และ 1723 ดังนี้ ทายาทย่อมไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำการดังกล่าวได้ และมิใช่อำนาจของศาลที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก vs. สิทธิควบคุมของทายาท: ผู้จัดการมรดกจัดการเอง ทายาทสั่งการไม่ได้
ผู้จัดการมรดกที่ศาลมีคำสั่งตั้งมิใช่ตัวแทนของทายาท เพราะอำนาจหน้าที่และความรับผิดของผู้จัดการมรดกต่อทายาทเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายผู้จัดการมรดกจึงมีฐานะเป็นผู้แทนตามกฎหมายของทายาทในอันที่จะต้องจัดการมรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท
ทายาทไม่มีอำนาจที่จะสั่งการให้ผู้จัดการมรดกกระทำการใดได้เพียงแต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทโดยกฎหมายอนุโลมให้นำบทบัญญัติบางมาตราของลักษณะตัวแทนมาใช้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1720 และทายาทย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ควบคุมการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกให้อยู่ในขอบอำนาจที่พินัยกรรมและกฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งมีอำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1727
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1726, 1727 วรรคสอง, 1729,1731 และ 1732 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลเป็นผู้ดูแลให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย
การที่ผู้ร้องที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทที่ตั้งตามพินัยกรรมเข้าบริหารทรัพย์สินของกองมรดกแทนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย เป็นวิธีการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะกระทำเองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 และ 1723 ดังนี้ทายาทย่อมไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำการดังกล่าวได้ และมิใช่อำนาจของศาลที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำเช่นกัน
ทายาทไม่มีอำนาจที่จะสั่งการให้ผู้จัดการมรดกกระทำการใดได้เพียงแต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทโดยกฎหมายอนุโลมให้นำบทบัญญัติบางมาตราของลักษณะตัวแทนมาใช้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1720 และทายาทย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ควบคุมการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกให้อยู่ในขอบอำนาจที่พินัยกรรมและกฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งมีอำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1727
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1726, 1727 วรรคสอง, 1729,1731 และ 1732 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลเป็นผู้ดูแลให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย
การที่ผู้ร้องที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทที่ตั้งตามพินัยกรรมเข้าบริหารทรัพย์สินของกองมรดกแทนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย เป็นวิธีการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะกระทำเองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 และ 1723 ดังนี้ทายาทย่อมไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำการดังกล่าวได้ และมิใช่อำนาจของศาลที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคนต้องอาศัยเสียงข้างมากในการดำเนินการบังคับคดี
โจทก์ทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. ได้ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากตึกแถวพิพาทจนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ทั้งสามเป็นฝ่ายชนะคดีและได้มีการบังคับคดีในเวลาต่อมา โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1และที่ 2 ไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ กรณีเป็นเรื่องมีผู้จัดการมรดกหลายคน โจทก์ทั้งสามแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้ การกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องถือเอาเสียงข้างมาก ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2คัดค้านคำร้อง ของ โจทก์ที่ 3 ที่ขอให้งดการบังคับคดีกรณีต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1726 โจทก์ที่ 3 ไม่อาจกระทำได้โดยลำพัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6057/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกกรณีถอนตัวจากฟ้องร่วม และการอุทธรณ์ข้ามทุนทรัพย์
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามคำสั่งศาลโจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียวโดยลำพังฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์มรดกโดยโจทก์ที่ 2 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726แต่ เมื่อคดีนี้เป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกโจทก์ทั้งสองมีความเห็นต้องกันให้ฟ้องขับไล่ผู้อาศัยคือจำเลย และโจทก์ทั้งสองจึงยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ อำนาจฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้กระทำโดยชอบตั้งแต่ต้น แม้ในระหว่างพิจารณา โจทก์ที่ 2 ขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ โดยอ้างว่าไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไปและจำเลยไม่คัดค้านศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ถอนตัวได้ตามคำขอแต่ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาศาลชั้นต้นว่าโจทก์ที่ 2 แถลงถึงสาเหตุที่ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยว่า เพราะจำเลยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจึงยื่นคำร้องขอถอนตัวออกจากการเป็นโจทก์เท่านั้นไม่ใช่เพราะมีความเห็นแตกต่างกับโจทก์ที่ 1 ในการจัดการมรดก และไม่ได้คัดค้านการดำเนินคดีต่อไปของโจทก์ที่ 1เท่ากับโจทก์ที่ 2 ยินยอมให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไปโดยปริยาย โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจดำเนินคดีขอให้ขับไล่จำเลยต่อไปตามสิทธิและหน้าที่ผู้จัดการมรดกได้ เดิมโจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลชั้นต้นตีราคาทุนทรัพย์ที่พิพาทเป็นเงิน3,648,000 บาท และวินิจฉัยว่า จำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแทนทายาทอื่น จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ คิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 25,000 บาท จำเลยไม่ติดใจอุทธรณ์ ในประเด็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จำนวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงมีเพียงประมาณ 25,000 บาทซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6057/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีมรดกและการถอนตัวโจทก์, การอุทธรณ์คดีที่ทุนทรัพย์น้อยกว่าเกณฑ์
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามคำสั่งศาล แม้โจทก์ที่ 1แต่ผู้เดียวโดยลำพังฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์มรดกโดยโจทก์ที่ 2 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย ตามป.พ.พ.มาตรา 1726 ก็ตาม คดีนี้เป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกโจทก์ทั้งสองมีความเห็นต้องกันให้ฟ้องขับไล่ผู้อาศัยคือจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ อำนาจฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้กระทำโดยชอบตั้งแต่ต้น แต่ในระหว่างพิจารณา โจทก์ที่ 2 ขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ โดยอ้างว่าไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไปและจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ถอนตัวได้ตามคำขอแต่ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาศาลชั้นต้น ว่า โจทก์ที่ 2 แถลงถึงสาเหตุที่ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไปว่า เพราะจำเลยเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจึงยื่นคำร้องขอถอนตัวออกจากการเป็นโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่เพราะมีความเห็นแตกต่างกับโจทก์ที่ 1 ในการจัดการมรดก และไม่ได้คัดค้านการดำเนินคดีต่อไปของโจทก์ที่ 1เท่ากับโจทก์ที่ 2 ยินยอมให้โจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไปโดยปริยาย โจทก์ที่ 1ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีขอให้ขับไล่จำเลยต่อไปตามสิทธิและหน้าที่ผู้จัดการมรดกได้
เดิมโจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลชั้นต้นตีราคาทุนทรัพย์ที่พิพาทเป็นเงิน 3,648,000 บาท และวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ว่า จำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแทนทายาทอื่นไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ คิด ถึงวันฟ้อง เป็นเงินประมาณ 25,000 บาท ในชั้นอุทธรณ์จำเลยไม่ติดใจอุทธรณ์ในประเด็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงมีเพียงประมาณ 25,000บาท ซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้ทำความเห็นแย้งไว้ หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
เดิมโจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลชั้นต้นตีราคาทุนทรัพย์ที่พิพาทเป็นเงิน 3,648,000 บาท และวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ว่า จำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแทนทายาทอื่นไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ คิด ถึงวันฟ้อง เป็นเงินประมาณ 25,000 บาท ในชั้นอุทธรณ์จำเลยไม่ติดใจอุทธรณ์ในประเด็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงมีเพียงประมาณ 25,000บาท ซึ่งไม่เกิน 50,000 บาท เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้ทำความเห็นแย้งไว้ หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน สัญญาซื้อขายที่ดินทำโดยผู้จัดการคนหนึ่งมีผลผูกพันทายาทได้หากได้รับความยินยอม
ศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยที่ 1 และ ท. เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ร่วมกัน และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1726 ก็มิได้มีความหมายว่าการกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหลายคนนั้น ต้องร่วมกันทำหรือร่วมกันลงชื่อในนิติกรรมทุกคน ดังนั้น การที่ ท. ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกเพียงผู้เดียวหากได้รับความยินยอมพร้อมใจของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งแล้วก็ต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันแล้ว ขณะที่ ท. ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป. ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ร่วมกับ ท. ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่า ท. ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ นอกจากนี้หลังจาก ป. ถึงแก่กรรมท. ได้ไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนบุตรทุกคนและได้เรียกประชุมทายาท ประกอบทั้งบรรดาทายาทของ ป. ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านการที่ ท. ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์เลยนับตั้งแต่วันทำสัญญาจนกระทั่ง ท. ถึงแก่กรรมเป็นเวลาถึง 6 ปีเศษ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมของ ป. ร่วมรู้เห็นและทราบมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ท.ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์ ทั้งก่อนจะทำสัญญาดังกล่าว ท. ได้ปรึกษากับบรรดาทายาทแล้วกรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมพร้อมใจให้ ท.ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์ ซึ่งต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1726 แล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงผูกพันจำเลยจำเลยที่ 1 และทายาทของ ป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน: การยินยอมและผลผูกพันสัญญา
ศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยที่ 1 และ ท.เป็นผู้จัดการมรดกของ ป.ร่วมกัน และตาม ป.พ.พ.มาตรา 1726 ก็มิได้มีความหมายว่าการกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหลายคนนั้น ต้องร่วมกันทำหรือร่วมกันลงชื่อในนิติกรรมทุกคน ดังนั้นการที่ ท.ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกเพียงผู้เดียวหากได้รับความยินยอมพร้อมใจของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งแล้วก็ต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันแล้ว
ขณะที่ ท.ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป.ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ป.ร่วมกับ ท.ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่า ท.ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ นอกจากนี้หลังจาก ป.ถึงแก่กรรม ท.ได้ไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนบุตรทุกคนและได้เรียกประชุมทายาท ประกอบทั้งบรรดาทายาทของ ป.ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านการที่ ท.ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์เลยนับตั้งแต่วันทำสัญญาจนกระทั่ง ท.ถึงแก่กรรมเป็นเวลาถึง 6 ปีเศษ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมของ ป.ร่วมรู้เห็นและทราบมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ท. ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์ ทั้งก่อนจะทำสัญญาดังกล่าว ท.ได้ปรึกษากับบรรดาทายาทแล้ว กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมพร้อมใจให้ ท. ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์ ซึ่งต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันตาม ป.พ.พ มาตรา 1726 แล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงผูกพันจำเลยจำเลยที่ 1 และทายาทของ ป.
ขณะที่ ท.ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป.ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ป.ร่วมกับ ท.ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่า ท.ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ นอกจากนี้หลังจาก ป.ถึงแก่กรรม ท.ได้ไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนบุตรทุกคนและได้เรียกประชุมทายาท ประกอบทั้งบรรดาทายาทของ ป.ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านการที่ ท.ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์เลยนับตั้งแต่วันทำสัญญาจนกระทั่ง ท.ถึงแก่กรรมเป็นเวลาถึง 6 ปีเศษ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมของ ป.ร่วมรู้เห็นและทราบมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ท. ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์ ทั้งก่อนจะทำสัญญาดังกล่าว ท.ได้ปรึกษากับบรรดาทายาทแล้ว กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมพร้อมใจให้ ท. ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทแก่โจทก์ ซึ่งต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันตาม ป.พ.พ มาตรา 1726 แล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงผูกพันจำเลยจำเลยที่ 1 และทายาทของ ป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5843/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกต้องใช้เสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก สัญญาเช่าที่ทำโดยผู้จัดการมรดกคนเดียวไม่ผูกพันกองมรดก
ผู้จัดการมรดกของ พ.มีสามคน คือ อ. ช. และจำเลย ขณะจำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ในคดีนี้ อ.และ ช.ผู้จัดการมรดกอีกสองคนถึงแก่กรรมแล้ว ดังนี้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวย่อมไม่มีอำนาจจัดการมรดกต่อไปตามลำพัง เพราะในกรณีมีผู้จัดการมรดกหลายคนจะต้องจัดการโดยถือเอาเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดกร่วมกัน สัญญาเช่าที่พิพาทจึงไม่ผูกพันกองมรดก การที่ศาลตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการ-มรดกแต่เพียงผู้เดียวในภายหลังไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าที่พิพาทผูกพันกองมรดก
โจทก์ฎีกาอ้างเพียงว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่า ทายาทของ พ.ได้เชิดจำเลยให้แสดงออกว่าจำเลยเป็นตัวแทนจัดการทรัพย์มรดกของ พ.แต่เพียงผู้เดียว โดยโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาอ้างเพียงว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่า ทายาทของ พ.ได้เชิดจำเลยให้แสดงออกว่าจำเลยเป็นตัวแทนจัดการทรัพย์มรดกของ พ.แต่เพียงผู้เดียว โดยโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5843/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ทำกับผู้จัดการมรดกที่ไม่มีอำนาจ ผู้จัดการมรดกต้องจัดการโดยเสียงข้างมาก สัญญาไม่ผูกพันกองมรดก
ผู้จัดการมรดกของ พ.มีสามคนคืออ.ช. และจำเลยขณะจำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ในคดีนี้ อ.และช.ผู้จัดการมรดกอีกสอบคนถึงแก่กรรมแล้ว ดังนี้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวย่อมไม่มีอำนาจจัดการมรดกต่อไปตามลำพัง เพราะในกรณีมีผู้จัดการมรดกหลายคนจะต้องจัดการโดยถือเอาเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดกร่วมกัน สัญญาเช่าที่พิพาทจึงไม่ผูกพันกองมรดก การที่ศาลตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียวในภายหลังไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าที่พิพาทผูกพันกองมรดก โจทก์ฎีกาอ้างเพียงว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่าทายาทของ พ. ได้เชิดจำเลยให้แสดงออกว่าจำเลยเป็นตัวแทนจัดการทรัพย์มรดกของ พ.แต่เพียงผู้เดียวโดยโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย