คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 87 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิประทานบัตรทำเหมืองแร่ และสิทธิในที่ดิน การขาดนัดยื่นคำให้การทำให้จำเลยไม่อาจยกประเด็นใหม่ได้
เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์เท่านั้นจำเลยไม่มีสิทธิ์อ้างข้อเท็จจริงเป็นประเด็นขึ้นมาใหม่คงมีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์เพื่อที่จะหักล้างพยานหลักฐานโจทก์เท่านั้นการเบิกความของจำเลยในข้อที่ไม่ได้เป็นประเด็นในคดีจึงรับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครื่องหมายการค้า: การพิพาทระหว่างเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศกับการใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันในไทย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ อ. ฟ้องคดีเป็นใบมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศ โดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ 2 คนลงชื่อต่อหน้าโนตารีปัปลิก และมีรองกงสุลไทย ณ เมืองนั้นลงชื่อเป็นพยาน ใบมอบอำนาจของโจทก์จึงเชื่อได้ว่าเป็นใบมอบอำนาจอันแท้จริง ไม่มีเหตุอันควรสงสัยใบมอบอำนาจดังกล่าวแต่อย่างใดดังนั้น แม้ อ. จะไม่เคยเดินทางไปบริษัทโจทก์ที่ประเทศมาเลเซียและโจทก์ไม่ได้นำกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ 2 คนมาเบิกความเป็นพยาน แต่จำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น หนังสือมอบอำนาจนั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และแม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะได้ทำขึ้นก่อนโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคดีนี้แต่ข้อความในใบมอบอำนาจมีว่าโจทก์มอบอำนาจให้ อ. มีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับการป้องกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และดำเนินการจนถึงที่สุดในศาลไทยได้ อ. จึงมีอำนาจฟ้องคดีผู้โต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ ข้อที่จำเลยฎีกาว่าใบมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้นั้น แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในเมืองต่างประเทศ มีโนตารีปัปลิก และกงสุลไทย ณ เมืองนั้น รับรองอีกขึ้นหนึ่งว่าลายมือชื่อและตราที่ประทับเป็นลายมือชื่อและตราที่ประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริง เป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศดังกล่าวแล้วไม่อยู่ในบังคับที่จะต้อง ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ห้ามศาลมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีเรื่องเดิมนั้นในศาลเดียวกันต่อไปอีกทั้งคดีหรือเฉพาะประเด็นบางเรื่องซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งครั้งหนึ่งและศาลนั้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นอีก จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเดิมในศาลเดียวกัน ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีของศาลแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 143673 ที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ดีกว่าจำเลยที่ 2 ห้ามการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ตามคำขอเลขที่ 139116ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2527 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2530 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอเลขที่ 134038 จึงทราบว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปขอจดทะเบียนอีก 2 คำขอ คือคำขอเลขที่ 142555 ซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วสำหรับสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวก และคำขอเลขที่ 163600 ซึ่งยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเลขที่ 16360 ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทในคดีเดิมจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 143373 ดีกว่าจำเลยตามคำขอเลขที่ 139116 หรือไม่ส่วนคดีนี้ประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 164038 ดีกว่าจำเลยตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 142555 และ 163600 หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอเลขที่ 163600 หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีเดิมกับคดีนี้จึงอาศัยข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่แตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม เพราะมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตราม้าทองคำพิพาทซึ่งได้จดทะเบียนที่ประเทศมาเลเซีย สำหรับสินค้าลูกมะกอก(ลูกหนำเลี้ยบ) ในน้ำเกลือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 โดยได้รับโอนจากฉ.และท.เมื่อพ.ศ.2522ได้สั่งสินค้าลูกมะกอก(ลูกหนำเลียบ)ในน้ำเกลือของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ก่อนจำเลยและบริษัท ล. ของบิดาจำเลยจะผลิตสินค้าอย่างเดียวกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทออกจำหน่ายใน พ.ศ. 2520 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเป็นคดีนี้ได้ แม้คำขอที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ก่อนฟ้องคดีนี้จะระบุชื่อสินค้าเฉพาะอย่างในจำพวก 42 คือ ลูกมะกอก(ลูกหนำเลี๊ยบ) ในน้ำเกลือ ส่วนคำขอของจำเลยระบุว่าจำพวก 42 ทั้งจำพวกก็ตาม เพราะเป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนดีกว่ากันตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ศาลชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอของจำเลยได้ เครื่องหมายการค้ารูปม้า 2 ตัว ของจำเลยคงมีม้าตัวใหญ่กับชื่อภาษาอังกฤษว่า GOLDENHORSEBRAND อยู่ข้างบน กับชื่ออักษรจีนอีก 3 ตัว อยู่ข้างล่างเหมือนเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ทุกประการคงมีต่างกันเฉพาะรูปม้าตัวเล็ก ๆ เพิ่มเติมที่มุมล่างด้านซ้ายในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเท่านั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด เพราะผู้ซื้อรูปม้าตัวใหญ่แล้วก็อาจเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ คงไม่ได้สังเกตรูปม้าตัวเล็กอีก จำเลยอาจเพิ่มเติมรูปม้าในเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นม้า 2 ตัว ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความให้แตกต่างกับเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ได้อีกหลายแบบเพื่อแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยหาได้ทำไม่ การแก้ไขเพิ่มเติมรูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวส่อให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่เจตนาจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีของศาลแพ่ง เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเสียด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ, สิทธิเครื่องหมายการค้า, การฟ้องซ้ำ, ความคล้ายคลึงเครื่องหมายการค้า, และความสุจริต
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ให้ อ.ฟ้องคดีเป็นใบมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศ โดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ 2 คน ลงชื่อต่อหน้าโนตารีปับลิก และมีรองกงสุลไทย ณ เมืองนั้นลงชื่อเป็นพยาน ใบมอบอำนาจของโจทก์จึงเชื่อได้ว่าเป็นใบมอบอำนาจอันแท้จริง ไม่มีเหตุอันควรสงสัยใบมอบ-อำนาจดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น แม้ อ.จะไม่เคยเดินทางไปบริษัทโจทก์ที่ประเทศมาเลเซีย และโจทก์ไม่ได้นำกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์2 คน มาเบิกความเป็นพยาน แต่จำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นหนังสือมอบอำนาจนั้นก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ และแม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะได้ทำขึ้นก่อนโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคดีนี้แต่ข้อความในใบมอบอำนาจมีว่าโจทก์มอบอำนาจให้ อ.มีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับการป้องกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และดำเนินการจนถึงที่สุดในศาลไทยได้อ.จึงมีอำนาจฟ้องคดีผู้โต้แย้งสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าใบมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้นั้น แม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
หนังสือมอบอำนาจทำขึ้นในเมืองต่างประเทศ มีโนตารีปับลิกและกงสุลไทย ณ เมืองนั้น รับรองอีกชั้นหนึ่งว่าลายมือชื่อและตราที่ประทับเป็นลายมือชื่อและตราที่ประทับของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจริง เป็นหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายของประเทศดังกล่าวแล้ว ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
ป.วิ.พ. มาตรา 144 ห้ามศาลมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีเรื่องเดิมนั้นในศาลเดียวกันต่อไปอีกทั้งคดีหรือเฉพาะประเด็นบางเรื่องซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่งครั้งหนึ่งและศาลนั้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นอีก จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเดิมในศาลเดียวกัน ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีของศาลแพ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 143673 ที่โจทก์ยื่นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ดีกว่าจำเลยที่ 2 ห้ามการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 ตามคำขอเลขที่ 139116 ซึ่งยื่นเมื่อวันที่15 พฤษภาคม 2527 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2530 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอเลขที่ 164038 จึงทราบว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปขอจดทะเบียนอีก 2 คำขอ คือคำขอเลขที่ 142555 ซึ่งได้รับการจดทะเบียนแล้วสำหรับสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกและคำขอเลขที่ 163600 ซึ่งยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเลขที่ 163600 ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทในคดีเดิมจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่143673 ดีกว่าจำเลยตามคำขอเลขที่ 139116 หรือไม่ ส่วนคดีนี้ประเด็นข้อพิพาทมีว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการพิพาทตามคำขอจดทะเบียนเลขที่164038 ดีกว่าจำเลยตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 142555 และ 163600หรือไม่ และโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 142555 และให้จำเลยถอนคำขอเลขที่ 163600 หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีเดิมกับคดีนี้จึงอาศัยข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่แตกต่างกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม เพราะมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตราม้าทองคำพิพาทซึ่งได้จดทะเบียนที่ประเทศมาเลเซีย สำหรับสินค้าลูกมะกอก (ลูกหนำเลี้ยบ)ในน้ำเกลือ ตั้งแต่ พ.ศ.2515 โดยได้รับโอนจาก ฉ. และ ท. เมื่อ พ.ศ.2522 ได้สั่งสินค้าลูกมะกอก (ลูกหนำเลี้ยบ) ในน้ำเกลือของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2519ก่อนจำเลยและบริษัท ล.ของบิดาจำเลยจะผลิตสินค้าอย่างเดียวกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทออกจำหน่ายใน พ.ศ.2520 โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเป็นคดีนี้ได้ แม้คำขอที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนไว้ก่อนฟ้องคดีนี้จะระบุชื่อสินค้าเฉพาะอย่างในจำพวก 42 คือลูกมะกอก (ลูกหนำเลี๊ยบ) ในน้ำเกลือ ส่วนคำขอของจำเลยระบุว่าจำพวก 42ทั้งจำพวกก็ตาม เพราะเป็นการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนดีกว่ากันตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ศาลชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามคำขอของจำเลยได้
เครื่องหมายการค้ารูปม้า 2 ตัว ของจำเลยคงมีม้าตัวใหญ่กับชื่อภาษาอังกฤษว่า GOLDEN HORSE BRAND อยู่ข้างบน กับชื่ออักษรจีนอีก3 ตัว อยู่ข้างล่างเหมือนเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ทุกประการคงมีต่างกันเฉพาะรูปม้าตัวเล็ก ๆ เพิ่มเติมที่มุมล่างด้านซ้ายในเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเท่านั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิด เพราะผู้ซื้อเห็นรูปม้าตัวใหญ่แล้วก็อาจเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ คงไม่ได้สังเกตรูปม้าตัวเล็กอีก จำเลยอาจเพิ่มเติมรูปม้าในเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นม้า 2 ตัวตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความให้แตกต่างกับเครื่องหมายการค้าพิพาทรูปม้าของโจทก์ได้อีกหลายแบบเพื่อแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยหาได้ทำไม่ การแก้ไขเพิ่มเติมรูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวส่อให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่เจตนาจะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีของศาลแพ่ง เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยเสียด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6535/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องกันส่วนของทายาทเมื่อการโอนมรดกไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำนองโดยสุจริตก็ไม่อาจยันได้
ในชั้นพิจารณาร้องขอกันส่วนคดีนี้ ผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3ได้เข้าเบิกความในฐานะพยานของผู้ร้องทั้งสี่และเบิกความยืนยันว่าผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้เบิกความเป็นพยานไว้ในคดีที่ผู้ร้องที่ 1 ร้องขัดทรัพย์ตามคำให้การในสำนวนคดีร้องขัดทรัพย์อีกสำนวนหนึ่งซึ่งโจทก์เป็นคู่ความด้วย ทั้งผู้ร้องทั้งสี่ได้ระบุอ้างสำนวนคดีร้องขัดทรัพย์นั้นเป็นพยานของผู้ร้องทั้งสี่ เมื่อข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เบิกความเป็นข้อเท็จจริงเดียวกับที่ได้เบิกความไว้ในคดีร้องขัดทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องทั้งสี่จะต้องนำสืบ การนำสืบพยานของผู้ร้องทั้งสี่จึงเป็นไปโดยชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชอบที่จะหยิบยกคำเบิกความของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในคดีที่ผู้ร้องที่ 1ร้องขัดทรัพย์มาวินิจฉัยในคดีร้องขอกันส่วน คดีนี้ได้ หาใช่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานโดยไม่ชอบแต่อย่างใดไม่ ส่วนการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่า ย. ได้ปลอมหนังสือสละมรดกนั้น ก็เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานของทั้งฝ่ายผู้ร้องทั้งสี่และฝ่ายโจทก์แล้วเชื่อข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของผู้ร้องทั้งสี่ที่นำสืบมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาที่ว่าผู้ร้องทั้งสี่มีสิทธิร้องขอกันส่วนในที่ดินพิพาทหรือไม่ อันเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้โดยตรง หาใช่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 หยิบยกหรือฟังข้อเท็จจริงตามสำนวนคดีที่ผู้ร้องที่ 1 ร้องขัดทรัพย์ซึ่งมีประเด็นพิพาทคนละอย่างต่างกันมารับฟังในคดีร้องขอกันส่วนคดีนี้อันจะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ ย. ได้ปลอมหนังสือสละมรดกของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และว.มารดาผู้ร้องที่3แล้วย. ได้นำไปขอรับมรดกที่ดินพิพาทเป็นของตนแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลย จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ ว.มารดาผู้ร้องที่ 3 มาโดยมิชอบ ย่อมไม่มีสิทธินำที่ดินส่วนของผู้ร้องทั้งสี่ไปจำนองแก่โจทก์ ดังนั้นการจำนองไม่มีผลผูกพันที่ดินพิพาทในส่วนของผู้ร้องทั้งสี่ แม้โจทก์จะได้รับจำนองไว้โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วก็ไม่อาจยันผู้ร้องทั้งสี่ได้ ผู้ร้องทั้งสี่มีสิทธิร้องกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท โจทก์เป็นเจ้าหนี้ซึ่งรับจำนองที่ดินพิพาทในส่วนของผู้ร้องทั้งสี่โดยมิชอบ โจทก์จึงมิใช่บุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทอันจะมีสิทธิยกอายุความหนึ่งปีขึ้นต่อสู้ผู้ร้องทั้งสี่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6248/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายมีผลเมื่อมีเจตนาทำสัญญา หากรับของเพื่อทดลองใช้ก่อนยังไม่ถือเป็นการซื้อขาย
จำเลยทั้งสองได้ให้การไว้แล้วว่า ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ จึงไม่มีหนี้ซึ่งจะต้องชำระให้แก่โจทก์ ทั้งศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นคู่สัญญาซื้อขายตามที่โจทก์อ้างหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า จำเลยที่ 2 รับของไปจากโจทก์เพื่อทดลองใช้ดูก่อนหากเป็นที่พอใจจะได้ตกลงทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันในภายหลังจึงเป็นการนำสืบและวินิจฉัยในประเด็นโดยตรงว่า จำเลยทั้งสองเป็นคู่สัญญาซื้อขายตามที่โจทก์อ้างหรือไม่นั่นเอง กรณีหาใช่การรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6248/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นคู่สัญญาซื้อขาย: การนำสืบต้องตรงประเด็นข้อพิพาท
จำเลยทั้งสองได้ให้การไว้แล้วว่า ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ จึงไม่มีหนี้ซึ่งจะต้องชำระให้แก่โจทก์ ทั้งศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยทั้งสองเป็นคู่สัญญาซื้อขายตามที่โจทก์อ้างหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า จำเลยที่ 2 รับของไปจากโจทก์เพื่อทดลองใช้ดูก่อน หากเป็นที่พอใจจะได้ตกลงทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันในภายหลัง จึงเป็นการนำสืบและวินิจฉัยในประเด็นโดยตรงว่า จำเลยทั้งสองเป็นคู่สัญญาซื้อขายตามที่โจทก์อ้างหรือไม่นั่นเอง กรณีหาใช่การรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5522/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธข้อกล่าวหาและการพิจารณาพยานหลักฐาน ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานที่ถูกต้อง จึงต้องย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายที่ดินให้โจทก์โดยตกลงกันเอง โจทก์มอบเงินให้จำเลยและจำเลยมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครอง จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ขายที่ดินให้โจทก์และโจทก์มิได้ครอบครองเพื่อตนเอง คำให้การดังกล่าวของจำเลยจึงมีเพียงปฏิเสธฟ้องโจทก์เท่านั้น โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องส่วนจำเลยไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การถึงเหตุแห่งการปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์จึงไม่มีประเด็นที่จะสืบถึงรายละเอียดว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์และมอบที่ดินให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย แม้ศาลจะให้จำเลยนำสืบในรายละเอียดเหล่านี้ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานในประเด็นแห่งคดีไม่ได้
เมื่อคดียังจะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบและพฤติการณ์แห่งคดีว่า จะรับฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังไม่ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานเฉพาะที่นำสืบมาโดยถูกต้องและคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท การวินิจฉัยของศาล-อุทธรณ์ภาค 1 อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จึงให้ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่นำสืบมาโดยชอบต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5413/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกวดราคาซื้อเครื่องจักร: ความล่าช้าในการทำสัญญาและการแก้ไขข้อตกลง ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
การประกวดราคาซื้อเครื่องจักรพิพาทมีการเปิดซองประกวดราคาตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2528 แต่คณะกรรมการโจทก์เพิ่งประชุมและมีมติให้จัดซื้อจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2528ก่อนสิ้นกำหนดการยืนราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 แจ้งไว้ในการประกวดราคาเพียง 2 วัน และข้อกำหนดต่าง ๆ ในสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียวก็ไม่ได้มีอยู่ในเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิขอให้แก้ไขข้อสัญญาเหล่านั้นได้ เมื่อโจทก์แก้ไขสัญญาล่าช้า จนกระทั่งเลยกำหนดเวลาในการยื่นราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 ขยายให้และผู้ขายต่างประเทศบอกเลิกการขายแก่จำเลยที่ 1 โจทก์ก็ยังแก้ไขสัญญาไม่เสร็จความล่าช้าในการทำสัญญาจึงไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงไม่ผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ยื่นซองประกวดราคาขายเครื่องจักรให้โจทก์ แล้วไม่ยอมทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ เป็นการผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขและข้อตกลงเองซึ่งตรงประเด็นตามคำฟ้อง และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคาขายเครื่องจักรให้โจทก์หรือไม่ โดยไม่ได้นำคำให้การของที่ 1 ที่ปฏิเสธว่าไม่ได้ยื่นซองประกวดราคามากำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทเพราะเห็นว่าเป็นข้อต่อสู้ที่ไม่เป็นสาระ โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการชี้สองสถานไว้ ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 นำสืบตามประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวและรับฟังพยานของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว หาใช่กรณีที่คำให้การจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันจึงไม่มีประเด็นที่จำเลยที่ 1จะนำสืบตามที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5413/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความล่าช้าในการทำสัญญาหลังประกวดราคา: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากโจทก์เป็นฝ่ายล่าช้า
การประกวดราคาซื้อเครื่องจักรพิพาทมีการเปิดซองประกวดราคาตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2528 แต่คณะกรรมการโจทก์เพิ่งประชุมและมีมติให้จัดซื้อจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2528 ก่อนสิ้นกำหนดการยืนราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1แจ้งไว้ในการประกวดราคาเพียง 2 วัน และข้อกำหนดต่าง ๆ ในสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียวก็ไม่ได้มีอยู่ในเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1จึงมีสิทธิขอให้แก้ไขข้อสัญญาเหล่านั้นได้ เมื่อโจทก์แก้ไขสัญญาล่าช้า จนกระทั่งเลยกำหนดเวลาในการยืนราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 ขยายให้และผู้ขายต่างประเทศบอกเลิกการขายแก่จำเลยที่ 1 โจทก์ก็ยังแก้ไขสัญญาไม่เสร็จ ความล่าช้าในการทำสัญญาจึงไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ยื่นซองประกวดราคาขายเครื่องจักรให้โจทก์ แล้วไม่ยอมทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ เป็นการผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขและข้อตกลงเอง ซึ่งตรงประเด็นตามคำฟ้อง และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1ผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคาขายเครื่องจักรให้โจทก์หรือไม่ โดยไม่ได้นำคำให้การของที่ 1 ที่ปฏิเสธว่าไม่ได้ยื่นซองประกวดราคามากำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทเพราะเห็นว่าเป็นข้อต่อสู้ที่ไม่เป็นสาระ โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการชี้สองสถานไว้ ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 นำสืบตามประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวและรับฟังพยานของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว หาใช่กรณีที่คำให้การจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันจึงไม่มีประเด็นที่จำเลยที่ 1 จะนำสืบตามที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐาน – หนังสือมอบอำนาจ – ประเด็นข้อพิพาท – การวินิจฉัยคดี
การที่โจทก์นำสืบถึงหนังสือมอบอำนาจเป็นการนำสืบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงในประเด็นที่พิพาท เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์เป็นประเด็นไว้แล้ว แม้จะไม่ให้การปฏิเสธหนังสือมอบอำนาจซึ่งโจทก์ได้กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง ก็จะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยย่อมนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ เพราะเป็นการนำสืบโต้เถียงในประเด็นเดียวกัน หาใช่เป็นการนำสืบนอกเหนือคำให้การไม่ และกรณีก็มิใช่เรื่องการคัดค้านการนำเอกสารมาสืบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125
เมื่อโจทก์แพ้คดีในประเด็นข้อสำคัญแล้ว ประเด็นอื่นที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีโจทก์ก็ไม่จำต้องได้รับการวินิจฉัยจากศาลอีก ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยคดีทุกประเด็น
of 7