พบผลลัพธ์ทั้งหมด 629 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4682/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาล: เหตุแห่งการคัดค้าน, ความชอบด้วยกฎหมาย, การไต่สวนพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศ.เป็นคนไร้ความสามารถและตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ผู้คัดค้านทั้งสามร้องคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ. เนื่องจากคำร้องของผู้ร้องที่ขอเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. และคำร้องขอเป็นผู้อนุบาลของ ศ.เป็นความเท็จ และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตปิดบังข้อเท็จจริง และปิดบังพินัยกรรมของบิดาผู้ร้องที่ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของนางสาวศรีสกุล ทั้งศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ.อยู่ก่อนที่ผู้ร้องจะขอเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. และคดีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ร้องคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวซึ่งศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี ประกอบกับคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านไม่ได้ขอถอนการเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1598/8 เนื่องจากมาตรา 28 วรรคสอง บัญญัติให้การแต่งตั้งผู้อนุบาลอำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาล และการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาลให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.นี้และมาตรา 1598/18 วรรคสอง บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับในกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือมิใช่คู่สมรสเป็นผู้อนุบาลให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนั้น การแต่งตั้งผู้อนุบาลจึงต้องอนุโลมตามการแต่งตั้งผู้ปกครองด้วย ดังนี้ เมื่อได้ความว่า หากปรากฏว่าบุคคลที่ศาลตั้งให้เป็นผู้อนุบาล เป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้อนุบาลตามมาตรา 1587 อยู่ในขณะที่ศาลตั้งให้เป็นผู้อนุบาล โดยปรากฏแก่ศาลเองหรือผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาลนั้นเสียอันเป็นกรณีร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาลที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมตามมาตรา1588 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งแล้ว จึงไม่ใช่กรณีที่ยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อล่วงเลยเวลาที่จะยื่นคำคัดค้านแล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีที่ขอถอนผู้อนุบาลตามมาตรา 1598/8ผู้คัดค้านจึงยื่นคำคัดค้านได้
ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสามมีข้อพิพาทกันอยู่แล้ว แต่คดียังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ ศ.โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้เพื่อให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์โดยไม่ชอบนั้น ผู้ร้องยอมรับอยู่ว่า คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2537 ตั้งผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ครั้นวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537 ผู้คัดค้านที่ 1 ร้องคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านเพราะยื่นล่วงเลยกำหนดเวลา ผู้คัดค้านที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และมีคำสั่งไปตามรูปคดี ต่อมาศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และในวันที่ 29 มกราคม 2539มีคำพิพากษาตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 ผู้ร้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น วันที่ 14 มกราคม 2540 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของผู้ร้องและคดีถึงที่สุด ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีนี้ ก็เพื่อให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลนางสาวศรีสกุลจึงไม่ใช่กรณีร้องซ้อน
ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุแห่งการคัดค้านหลายประการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จึงจำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยว่ามีเหตุควรเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ.หรือไม่ ชอบที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนพยานหลักฐานของผู้คัดค้านและผู้ร้องแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสามมีข้อพิพาทกันอยู่แล้ว แต่คดียังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ ศ.โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้เพื่อให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์โดยไม่ชอบนั้น ผู้ร้องยอมรับอยู่ว่า คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2537 ตั้งผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ครั้นวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537 ผู้คัดค้านที่ 1 ร้องคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านเพราะยื่นล่วงเลยกำหนดเวลา ผู้คัดค้านที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และมีคำสั่งไปตามรูปคดี ต่อมาศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และในวันที่ 29 มกราคม 2539มีคำพิพากษาตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 ผู้ร้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น วันที่ 14 มกราคม 2540 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของผู้ร้องและคดีถึงที่สุด ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีนี้ ก็เพื่อให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลนางสาวศรีสกุลจึงไม่ใช่กรณีร้องซ้อน
ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุแห่งการคัดค้านหลายประการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จึงจำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยว่ามีเหตุควรเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ.หรือไม่ ชอบที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนพยานหลักฐานของผู้คัดค้านและผู้ร้องแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท และสิทธิในที่ดินป่าสงวน
คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการยึดและขายทรัพย์สินโดยมิชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 284 วรรคสอง ซึ่งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/30 แห่ง ป.พ.พ. ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้ใช้ราคาซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อปรากกภายหลังงว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085 (พ.ศ.2527)ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยซึ่งกรมชลประทานก่อสร้างขึ้นซึ่งแต่เดิมที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดิน น.ส.3 ก.ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ ส. จำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ในมาตรา 12วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเดลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร ให้เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติทั้งแปลง กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา12 วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้องหรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงตรงกันข้าม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริงไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัย คดีจึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247
เมื่อปรากกภายหลังงว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085 (พ.ศ.2527)ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยซึ่งกรมชลประทานก่อสร้างขึ้นซึ่งแต่เดิมที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดิน น.ส.3 ก.ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ ส. จำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ในมาตรา 12วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเดลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร ให้เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติทั้งแปลง กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา12 วรรคสุดท้าย แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้องหรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงตรงกันข้าม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริงไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัย คดีจึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการรับผิดในกรณีที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดมีสิทธิเรียกร้องเงินคืนได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้รับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการ นำยึด และขายทรัพย์สินโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 284 วรรคสอง ซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อโจทก์ฟ้องคดี ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ได้ใช้ราคาซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อปรากฏภายหลังว่าที่ดินที่จำเลยคดีนี้ในฐานะเจ้าหนี้คำพิพากษาให้นำยึดและโจทก์เป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1,085(พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน2527 และปัจจุบันกลายเป็นอ่างเก็บน้ำที่กรมชลประทานก่อสร้างขึ้น แต่เดิมที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดิน น.ส.3 ก. ซึ่งทางราชการออกให้ไว้แก่ส. ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีที่มีการขายทอดตลาดดังกล่าวตั้งแต่ก่อนที่จะมีกฎกระทรวงกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ กรณีย่อมมีผลทำให้ ส.ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินนั้นอยู่ต่อไป ตามมาตรา 12 วรรคสุดท้ายแห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินไปจากการขายทอดตลาด แต่ไม่ได้ สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อมา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้ จำเลยผู้นำยึดคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นได้ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้บริเวณพื้นที่ตาม น.ส.3 ก.ที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นเขตป่าไม้ถาวร กรณียังต้องฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรณีสิทธิในที่ดินที่บุคคลมีอยู่ตามป.ที่ดิน กล่าวคือ น.ส.3 ก.รายนี้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 12 วรรคสุดท้าย แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 อันเป็นประเด็นที่รวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์มี อำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินตามฟ้อง หรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอันทำให้ผลคดี เปลี่ยนแปลง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานทำให้มีข้อเท็จจริง ไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยคดี จึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์ และจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ กรณีเป็นเรื่องที่มิได้ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง ทั้งสองตลอดจนคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาเฉพาะประเด็นดังกล่าวต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธหนี้ค่าจ้างในคำให้การ: ศาลฎีกาชี้การตีความผิดพลาด นำไปสู่การงดสืบพยานที่ไม่ถูกต้อง
ตามคำให้การของจำเลยมีข้อความระบุไว้ว่า "จำเลยเคยเสนอเหตุผลว่า จำเลยนี้ไม่เคยติดค้างค่าจ้างแก่โจทก์กับพวกดังที่กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง"ย่อมมีความหมายว่า จำเลยได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ ดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า ตามคำให้การของจำเลยไม่ปรากฏว่าจำเลยให้การปฎิเสธว่าไม่ได้ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ ต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่าค้างจ่ายค่าจ้างจริงตามที่โจทก์ฟ้อง จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย และพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ถูกต้อง กรณีมีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานในคดีแรงงาน: การตีความคำให้การของจำเลยว่าเป็นการยอมรับหนี้ค่าจ้าง
ตามคำให้การของจำเลยมีข้อความระบุไว้ว่า "จำเลยเคย เสนอเหตุผลว่า จำเลยนี้ไม่เคยติดค้างค่าจางแก่โจทก์กับพวก ดังที่กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง" ย่อมมีความหมายว่า จำเลยได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ ดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า ตามคำให้การของจำเลย ไม่ปรากฏว่าจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ ต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่าค้างจ่ายค่าจ้างจริงตามที่โจทก์ฟ้อง จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย และพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ถูกต้องกรณีมีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดในค่าจ้างลูกจ้างของผู้รับเหมาช่วง แม้จำเลยขาดนัดศาลก็วินิจฉัยได้จากเอกสาร
ในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน แม้ในกรณีจำเลยขาดนัดที่ให้ศาลชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้นหากศาลแรงงานเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การคำแถลงของคู่ความ และพยานหลักฐานอื่นที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของ โจทก์หรือจำเลย ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่งกำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานพิจารณาคดีขาดนัด & ความรับผิดร่วมของผูรับเหมาในค่าจ้าง & ดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย
ในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน แม้ในกรณีจำเลยขาดนัดที่ให้ศาลชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้น หากศาลแรงงานเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การคำแถลงของคู่ความ และพยานหลักฐานอื่นที่ปรากฏอยู่ในสำนวน คดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของโจทก์หรือจำเลย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการงดสืบพยาน, ค่าชดเชย, และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัย ว่า พยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ฉะนั้น เมื่อศาลแรงงานสอบโจทก์จำเลยแล้วแถลงรับข้อเท็จจริงกัน ศาลแรงงานก็ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจงดสืบพยานเสียได้ในเมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะฟังเป็นยุติและวินิจฉัยได้แล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลแรงงานเพื่อฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจนพอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายจึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานอันเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 หมายความว่า เงิน หรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้โดยคำณวน ตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ ดังนี้ แม้จำเลยจ่ายค่าเช่าบ้าน เดือนละ 30,000 บาท ค่าสาธารณูปโภคได้แก่ ค่าไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์เดือนละ 3,000 บาท ให้แก่โจทก์เท่ากันทุกเดือนพร้อมเงินเดือนโดยไม่ต้องมีใบเสร็จรับเงินมาแสดงก็ตาม แต่เมื่อเงินดังกล่าวเป็นเพียงสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่โจทก์ มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานของโจทก์ จึงไม่เป็นค่าจ้าง ย่อมนำมารวมเข้ากับ เงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นค่าชดเชยไม่ได้ อุทธรณ์จำเลยที่ว่า งานของโจทก์มีแต่หน้าที่ตรวจสอบการจ่ายเงิน ตรวจสอบการเสนอราคาให้แก่ที่ปรึกษาโครงการและตรวจสอบผลงานเฉพาะโครงการที่ได้รับมอบหมาย ทั้งโจทก์ไม่มีหน้าที่ทำงานในโครงการอื่น ๆ ที่จำเลยรับเหมาก่อสร้างอันเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลย และอุทธรณ์จำเลยที่ว่า จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเป็นเวลา 3 ปี โดยจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ดูแลงานเฉพาะแต่ละโครงการที่จำเลยเห็นว่าโจทก์มีความเชี่ยวชาญเท่านั้นซึ่งงานแต่ละโครงการที่โจทก์ดูแลจะมีกำหนดแล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปี กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น คดีนี้จำเลยให้การว่า สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนเป็นเวลา 3 ปี และลักษณะงานของโจทก์เป็นงานวิเคราะห์อันเป็นส่วนหนึ่ง ของงานจำเลย ซึ่งมิใช่เป็นงานในโครงการเฉพาะ แต่เป็นงานปกติ ของธุรกิจของจำเลย ข้ออ้างตามคำให้การของจำเลย จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว ย่อมไม่ทำให้ผลแห่งการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปจึงไม่เป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการงดสืบพยาน, ค่าจ้าง vs. สวัสดิการ, และข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 104 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ฉะนั้น เมื่อศาลแรงงานสอบโจทก์จำเลยแล้วแถลงรับข้อเท็จจริงกัน ศาลแรงงานก็ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจงดสืบพยานเสียได้ในเมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะฟังเป็นยุติและวินิจฉัยได้แล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลแรงงานเพื่อฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจนพอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานอันเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 หมายความว่า เงิน หรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ ดังนี้ แม้จำเลยจ่ายค่าเช่าบ้านเดือนละ 30,000 บาท ค่าสาธารณูปโภคได้แก่ ค่าไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์เดือนละ 3,000 บาท ให้แก่โจทก์เท่ากันทุกเดือนพร้อมเงินเดือนโดยไม่ต้องมีใบเสร็จรับเงินมาแสดงก็ตาม แต่เมื่อเงินดังกล่าวเป็นเพียงสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่โจทก์ มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานของโจทก์ จึงไม่เป็นค่าจ้าง ย่อมนำมารวมเข้ากับเงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นค่าชดเชยไม่ได้
อุทธรณ์จำเลยที่ว่า งานของโจทก์มีแต่หน้าที่ตรวจสอบการจ่ายเงิน ตรวจสอบการเสนอราคาให้แก่ที่ปรึกษาโครงการ และตรวจสอบผลงานเฉพาะโครงการที่ได้รับมอบหมาย ทั้งโจทก์ไม่มีหน้าที่ทำงานในโครงการอื่น ๆ ที่จำเลยรับเหมาก่อสร้างอันเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลย และอุทธรณ์จำเลยที่ว่า จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเป็นเวลา 3 ปี โดยจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ดูแลงานเฉพาะแต่ละโครงการที่จำเลยเห็นว่าโจทก์มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งงานแต่ละโครงการที่โจทก์ดูแลจะมีกำหนดแล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปี กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น คดีนี้จำเลยให้การว่า สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนเป็นเวลา 3 ปี และลักษณะงานของโจทก์เป็นงานวิเคราะห์อันเป็นส่วนหนึ่งของงานจำเลย ซึ่งมิใช่เป็นงานในโครงการเฉพาะ แต่เป็นงานปกติของธุรกิจของจำเลย ข้ออ้างตามคำให้การของจำเลยจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสามดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวย่อมไม่ทำให้ผลแห่งการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 หมายความว่า เงิน หรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ ดังนี้ แม้จำเลยจ่ายค่าเช่าบ้านเดือนละ 30,000 บาท ค่าสาธารณูปโภคได้แก่ ค่าไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์เดือนละ 3,000 บาท ให้แก่โจทก์เท่ากันทุกเดือนพร้อมเงินเดือนโดยไม่ต้องมีใบเสร็จรับเงินมาแสดงก็ตาม แต่เมื่อเงินดังกล่าวเป็นเพียงสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่โจทก์ มิใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานของโจทก์ จึงไม่เป็นค่าจ้าง ย่อมนำมารวมเข้ากับเงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นค่าชดเชยไม่ได้
อุทธรณ์จำเลยที่ว่า งานของโจทก์มีแต่หน้าที่ตรวจสอบการจ่ายเงิน ตรวจสอบการเสนอราคาให้แก่ที่ปรึกษาโครงการ และตรวจสอบผลงานเฉพาะโครงการที่ได้รับมอบหมาย ทั้งโจทก์ไม่มีหน้าที่ทำงานในโครงการอื่น ๆ ที่จำเลยรับเหมาก่อสร้างอันเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลย และอุทธรณ์จำเลยที่ว่า จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเป็นเวลา 3 ปี โดยจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ดูแลงานเฉพาะแต่ละโครงการที่จำเลยเห็นว่าโจทก์มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งงานแต่ละโครงการที่โจทก์ดูแลจะมีกำหนดแล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปี กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น คดีนี้จำเลยให้การว่า สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนเป็นเวลา 3 ปี และลักษณะงานของโจทก์เป็นงานวิเคราะห์อันเป็นส่วนหนึ่งของงานจำเลย ซึ่งมิใช่เป็นงานในโครงการเฉพาะ แต่เป็นงานปกติของธุรกิจของจำเลย ข้ออ้างตามคำให้การของจำเลยจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสามดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวย่อมไม่ทำให้ผลแห่งการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไปจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7225/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาหนี้สินล้มละลายของลูกหนี้ร่วมแต่ละราย และการโต้แย้งคำสั่งศาลที่ไม่ปฏิบัติตาม
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ร่วมคนใดล้มละลายหรือไม่ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคนไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่น
คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเพราะทนายความจำเลยทั้งสามไม่มาศาลและไม่มีพยานมาสืบเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 153 คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จึงจะอุทธรณ์ฎีกาได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2539 เวลา 10 นาฬิกาเมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งได้ แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้โต้แย้งไว้ ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและให้สืบพยานจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปอีกไม่ได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเพราะทนายความจำเลยทั้งสามไม่มาศาลและไม่มีพยานมาสืบเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 153 คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จึงจะอุทธรณ์ฎีกาได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2539 เวลา 10 นาฬิกาเมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งได้ แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้โต้แย้งไว้ ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและให้สืบพยานจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปอีกไม่ได้