คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 104

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 629 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7225/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัวและสิทธิในการสืบพยานของผู้ล้มละลาย
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ร่วมคนใดล้มละลายหรือไม่ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคนไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่น
คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเพราะทนายความจำเลยทั้งสามไม่มาศาลและไม่มีพยานมาสืบเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้จึงจะอุทธรณ์ฎีกาได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2539 เวลา 1 นาฬิกา เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งได้แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้โต้แย้งไว้ ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและให้สืบพยานจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7225/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาหนี้สินล้มละลายของลูกหนี้ร่วมแต่ละราย และการโต้แย้งคำสั่งศาลที่ไม่ปฏิบัติตาม
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ร่วมคนใดล้มละลายหรือไม่ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคนไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่น
คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเพราะทนายความจำเลยทั้งสามไม่มาศาลและไม่มีพยานมาสืบเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 153 คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จึงจะอุทธรณ์ฎีกาได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2539 เวลา 10 นาฬิกาเมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งได้ แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้โต้แย้งไว้ ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและให้สืบพยานจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมต้องเกิดจากการใช้สิทธิโดยเปิดเผย ต่อเนื่อง และโดยเจตนาท้าทายสิทธิเจ้าของที่ดิน มิใช่แค่การใช้ทางโดยได้รับอนุญาต
โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นจำต้องเผชิญสืบทางพิพาท แต่โจทก์มิได้กล่าวอ้างให้เห็นชัดแจ้งว่าขาดพยานหลักฐานสำคัญใดบ้างที่จะทำให้ฝ่ายโจทก์เสียเปรียบหรือไม่ได้รับความยุติธรรม ประกอบกับพยานหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์นำสืบก็เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว กรณีจึงไม่จำต้องเผชิญสืบทางพิพาทอีก
โจทก์ฟ้องขอเปิดทางภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 60880 แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว และได้สร้างกำแพงคอนกรีตในที่ดินนั้น ดังนี้ คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ โจทก์จึงย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
ห. เจ้าของที่ดินเดิมเพียงแต่อนุญาตให้ความยินยอมโจทก์บางรายเดินผ่านทางพิพาท เพราะเกี่ยวพันเป็นญาติกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นการใช้ทางพิพาทในลักษณะเอื้อเฟื้อต่อกัน ทั้ง ห. ก็ยังหวงแหนทางพิพาทอยู่ มิใช่เป็นการที่โจทก์ใช้ทางพิพาทในลักษณะปรปักษ์ ทางพิพาทจึงไม่ตกเป็นภารจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องภาระจำยอมต้องระบุเจ้าของที่ดินและพฤติการณ์แห่งการขัดขวางสิทธิ การใช้ทางพิพาทแบบเอื้อเฟื้อไม่ทำให้เกิดภาระจำยอม
โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นจำต้องเผชิญสืบทางพิพาท แต่โจทก์มิได้กล่าวอ้างให้เห็นชัดแจ้งว่าขาดพยานหลักฐานสำคัญใดบ้างที่จะทำให้ฝ่ายโจทก์เสียเปรียบหรือไม่ได้รับความยุติธรรม ประกอบกับพยานหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์นำสืบก็เพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว กรณีจึงไม่จำต้องเผชิญสืบทางพิพาทอีก
โจทก์ฟ้องขอเปิดทางภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 60880แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว และได้สร้างกำแพงคอนกรีตในที่ดินนั้น ดังนี้ คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ โจทก์จึงย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
ห.เจ้าของที่ดินเดิมเพียงแต่อนุญาตให้ความยินยอมโจทก์บางรายเดินผ่านทางพิพาท เพราะเกี่ยวพันเป็นญาติกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นการใช้ทางพิพาทในลักษณะเอื้อเฟื้อต่อกัน ทั้ง ห.ก็ยังหวงแหนทางพิพาทอยู่ มิใช่เป็นการที่โจทก์ใช้ทางพิพาทในลักษณะปรปักษ์ ทางพิพาทจึงไม่ตกเป็นภาระจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6247/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งแก้ไข/รื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จำเลยที่สั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาท โดยจำเลยอ้างเหตุว่าส่วนที่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นมีการดัดแปลงต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522 ข้อ 75, 76 (1) (4) แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องยืนยันว่าอาคารพิพาทไม่มีการดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครตามคำสั่งดังกล่าว ดังนี้ คดีไม่มีประเด็นว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจริงซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจอนุญาตให้ดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทในส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเช่นนั้นได้
เมื่อมีการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 (มาตรา 22 เดิม)เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอใบอนุญาตหรือให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522(ฉบับเดิม) มาตรา 40 และ 43 วรรคหนึ่ง และถ้าเจ้าของอาคารไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม และแม้ต่อมามีการแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ก็ยังคงบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีต่าง ๆดังกล่าวมาแล้วนั้นไว้เช่นเดิม โดยเพียงแต่แก้ไขนำไปบัญญัติเป็นข้อความในมาตรา40, 41 และ 42 เท่านั้น ดังนี้แม้เจ้าพนักงานเพิ่งตรวจพบในปี พ.ศ.2536 ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้โดยชอบ ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้กระทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทเองหรือไม่ก็ตาม และเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารพิพาทได้โดยชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์เพียงพอที่จะนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมายได้แล้ว คดีไม่จำเป็นต้องสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่กำหนดระยะเวลาให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จภายในกำหนดนั้นเมื่อไม่ได้กำหนดสภาพบังคับไว้ว่าถ้าวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้วถือเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ยังคงถือเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีประธานกรรมการไม่ได้เข้าประชุม ซึ่งที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานได้ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 17 ดังนี้ คำวินิจฉัยในการประชุมเช่นนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ชอบแล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ฉบับที่ใช้บังคับเดิมและพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ที่แก้ไขใหม่ ต่างก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารในส่วนที่เห็นสมควรได้ และเมื่อคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะอ้างบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ภายหลังการก่อสร้างอาคารพิพาท ก็มิใช่เหตุทำให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลายเป็นไม่ชอบแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6247/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งแก้ไข/รื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงไม่ถูกต้อง และการงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงเพียงพอ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์จำเลยที่สั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาท โดยจำเลยอ้างเหตุว่าส่วนที่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นมีการดัดแปลงต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 75,76(1)(4)แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องยืนยันว่าอาคารพิพาทไม่มีการดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครตามคำสั่งดังกล่าว ดังนี้คดีไม่มีประเด็นว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจริงซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจอนุญาตให้ดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทในส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเช่นนั้นได้ เมื่อมีการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21(มาตรา 22 เดิม) เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้ เจ้าของอาคารยื่นคำขอใบอนุญาตหรือให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522(ฉบับเดิม) มาตรา 40 และ 43 วรรคหนึ่ง และถ้าเจ้าของอาคารไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม และแม้ต่อมามีการแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ก็ยังคงบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้นไว้เช่นเดิม โดยเพียงแต่แก้ไขนำไปบัญญัติเป็นข้อความในมาตรา 40,41 และ 42 เท่านั้น ดังนี้แม้เจ้าพนักงานเพิ่งตรวจพบในปี พ.ศ. 2536 ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้โดยชอบไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้กระทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทเองหรือไม่ก็ตาม และเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารพิพาทได้โดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์เพียงพอที่จะนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมายได้แล้ว คดีไม่จำเป็นต้องสืบพยานศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 52ที่กำหนดระยะเวลาให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จภายในกำหนดนั้นเมื่อไม่ได้กำหนดสภาพบังคับไว้ว่าถ้าวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้วถือเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ยังคงถือเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีประธานกรรมการไม่ได้เข้าประชุม ซึ่งที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 14ดังนี้ คำวินิจฉัยในการประชุมเช่นนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ชอบแล้ว พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ฉบับที่ใช้บังคับเดิมและพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535ที่แก้ไขใหม่ ต่างก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารในส่วนที่เห็นสมควรได้ และเมื่อคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะอ้างบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ภายหลังการก่อสร้างอาคารพิพาท ก็มิใช่เหตุทำให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลายเป็นไม่ชอบแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5845/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักลอบขนย้ายน้ำตาลทรายขาวฝ่าฝืนระเบียบ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล, การพิสูจน์หลักฐานการขาดบัญชี
แม้การที่น้ำตาลทรายขาดบัญชีไปอาจเกิดจากตรวจนับชั่งน้ำหนัก หรือ การชำรุดของกระสอบก็ตาม แต่ขั้นตอนการ บรรจุเก็บรักษามีพนักงานของโจทก์และของบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทยจำกัด ตรวจนับและทำบัญชีบันทึกไว้ และการขนย้ายต้องได้รับอนุญาตจากบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด โดยมีพนักงานของโจทก์และของบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด ควบคุมตรวจนับตลอดเวลา จึงไม่น่าเชื่อว่าจะมีการคลาดเคลื่อนทางบัญชีมากดังที่โจทก์อ้าง การขาดบัญชีกรณีที่อ้างว่าเอาน้ำตาลทรายขาวธรรมดาไปส่งแก่ลูกค้าแทนน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ที่มีไม่เพียงพอหรืออ้างว่านำไปบริจาคแก่วัด โรงเรียน หน่วยราชการ และแจกแก่พนักงานโจทก์ในเทศกาล ต่าง ๆ ทำให้ไม่ตรงกับบัญชีก็เป็นกรณีขนย้ายที่ต้องได้รับอนุญาตเช่นกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจึงรับฟังไม่ได้ และการขนย้ายน้ำตาลทรายโดยมิได้รับอนุญาตก็ทำให้น้ำตาลทรายขาดบัญชีอยู่ในตัวโจทก์จะโต้เถียงว่าเป็นคนละกรณีกันหาได้ไม่ การที่ขาดบัญชีไปจึงน่าเชื่อว่ามีการลักลอบขนย้ายน้ำตาลทรายขาวอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยเบี้ยปรับฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ออกโดยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17 แล้วเป็นการออกโดยชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับต่อโจทก์ และเบี้ยปรับตามระเบียบดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญา เป็นการกำหนดความรับผิดทางแพ่งสำหรับผู้ฝ่าฝืนระเบียบไม่เป็นการเกินขอบเขตที่พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527มาตรา 70,71 ให้อำนาจไว้ การที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าเบี้ยปรับกรณีขนย้ายน้ำตาลทรายโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความรับผิดทางแพ่งต้องมีสัญญาผูกพันกันจึงจะบังคับได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงด้วยจึงบังคับโจทก์ไม่ได้นั้นเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีแรงงาน: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยพยานหลักฐานและใช้ดุลพินิจตามกฎหมาย โดยการรับฟังพยานหลักฐานต้องพิจารณาตามความน่าเชื่อถือ
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 38 และมาตรา 40มิได้บัญญัติให้การที่กรรมการแพทย์ผู้หนึ่งทำรายงานเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะเป็นการไม่ชอบ เพราะไม่มีบทบัญญัติว่าความเห็นของกรรมการการแพทย์จะต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการการแพทย์เสียก่อนจึงจะเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้ เพียงแต่เมื่อมีปัญหาจะต้องขอคำปรึกษาแนะนำจากคณะกรรมการการแพทย์ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจึงจะขอให้คณะกรรมการการแพทย์เสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 และเมื่อรายงานผลการสอบสวนอาการเจ็บป่วยของโจทก์มิใช่การดำเนินงานในการให้บริการทางการแพทย์ แต่เป็นรายงานการตรวจร่างกายโจทก์ที่นายแพทย์ส.กระทำขึ้นเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสารพิษในร่างกายของโจทก์ หากคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเห็นว่าความเห็นดังกล่าวเพียงพอที่จะวินิจฉัยคำร้องขอของโจทก์ได้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องนำเข้าปรึกษาคณะกรรมการการแพทย์ โดยนำรายงานดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้ และตามมาตรา 38 วรรคสอง บัญญัติให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่าง ๆดังนี้ เมื่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเห็นว่าเรื่องใดควรจะมอบหมายให้แพทย์ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในคณะกรรมการการแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคที่จะต้องวินิจฉัยว่ามีลักษณะอาการอย่างไรก็อาจจะนำความเห็นของแพทย์ผู้นั้นมาพิจารณาเพื่อประกอบการวินิจฉัยได้ ดังนั้นรายงานผลการสอบสวนอาการเจ็บป่วยที่ ส.ทำขึ้นและนำเสนอให้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนพิจารณาจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 40 ในประเด็นข้อที่ว่า มีเหตุที่จะเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนตามฟ้องหรือไม่ ศาลแรงงานได้วินิจฉัยพยานโจทก์แล้วเห็นว่าการที่โจทก์มีปริมาณสารอะลูมิน่าเพิ่มขึ้นเป็นปริมาณสูงหลังจากที่ไม่ได้สัมผัสกับสารเช่นนี้ไม่สอดคล้องด้วยเหตุผล อีกทั้งได้ความจาก ย.พยานศาลและนายแพทย์ส.ว่าสารอะลูมิน่านี้มีอยู่ทั่วไปในภาวะแวดล้อมหากเก็บตัวอย่างไม่ดีอาจมีการปนเปื้อนสารอะลูมิน่า จากภายนอกได้ง่าย การที่ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการปรากฏว่าโจทก์มีปริมาณสารอะลูมิน่าอยู่ในร่างกายสูงจนผิดไปจากปกติมากเช่นนี้จึงอาจเกิดจากการปนเปื้อนของสารอะลูมิน่าที่มีอยู่ในภาวะแวดล้อมในขณะจัดเก็บก็ได้ ลำพังผลการตรวจหาสารอะลูมิน่าในร่างกายของโจทก์ที่มีปริมาณสูงจนผิดปกติเพียงอย่างเดียว ไม่อาจยืนยันเด็ดขาดได้ว่าอาการป่วยของโจทก์เกิดจากสารอะลูมิน่าจากการทำงาน ส่วนพยานบุคคลที่จำเลยนำสืบล้วนแต่เป็นผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญเมื่อรับฟังประกอบกับเอกสารทางวิชาการของต่างประเทศเกี่ยวกับสารอะลูมิน่าตามเอกสารหมาย ล.35 และ ล.36 แล้วเห็นว่ามีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยโดยมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลียปวดตามข้อชาตามแขนและมือจริง แต่การเจ็บป่วยดังกล่าวไม่ได้เกิดจากสารอะลูมิน่าจากการทำงาน ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานได้นำข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายมาวินิจฉัยโดยละเอียด มิใช่ฟังเฉพาะเอกสารหมายล.35 และ ล.36 ที่เป็นภาษาต่างประเทศเท่านั้น การนำเอกสารทั้งสองฉบับมากล่างอ้างเป็นส่วนหนึ่งในเหตุผลแห่งการวินิจฉัยย่อมกระทำได้ ไม่ทำให้การวินิจฉัยในส่วนอื่นเสียไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าเห็นควรให้คู่ความฝ่ายที่ส่งเอกสารนั้นทำคำแปลที่เป็นภาษาไทย ซึ่งศาลอาจไม่สั่งให้ทำคำแปลก็ได้เช่นในกรณีที่เอกสารนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งแห่งพยานหลักฐานที่ฟังประกอบกับพยานหลักฐานอื่นที่เพียงพอต่อการวินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วจึงไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งให้คู่ความทำคำแปลเสมอไป การที่ศาลแรงงานมิได้สั่งให้จำเลยทำคำแปลเอกสารซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศการอ้างเอกสารดังกล่าวของฝ่ายจำเลยจึงไม่ขัดต่อกฎหมายและศาลแรงงานย่อมรับฟังเอกสารนั้นในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งแห่งพยานหลักฐานที่คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารนำสืบได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ซึ่งอนุโลมใช้ในคดีแรงงานด้วย บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้นอีกทั้งไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่ามิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่าหรือพยานแวดล้อมกรณี เพียงแต่มีหลักว่าให้ฟังประจักษ์พยานเป็นลำดับแรกแต่ถ้าประจักษ์พยานขัดต่อเหตุผลศาลก็อาจจะไม่รับฟังก็ได้ ส่วนพยานบอกเล่าและพยานแวดล้อมกรณีนั้น แม้จะมีน้ำหนักน้อยกว่าประจักษ์พยาน แต่ถ้าศาลเห็นว่าพยานหลักฐานที่เป็นประจักษ์พยานไม่น่าเชื่อถือ ศาลอาจฟังพยานหลักฐานอื่นได้ คดีนี้ประเด็นสำคัญที่จะต้องวินิจฉัยคือโจทก์เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานหรือไม่ แพทย์ผู้ทำการตรวจร่างกายโจทก์และให้ความเห็นล้วนแต่เป็นพยานโดยตรง นายแพทย์ส.พยานจำเลยเป็นผู้หนึ่งที่ได้ตรวจร่างกายโจทก์และให้ความเห็น แม้จะได้ทำการตรวจภายหลังจากที่แพทย์หญิงช.และแพทย์หญิงอ.ได้ตรวจร่างกายโจทก์ ก็ไม่ทำให้นายแพทย์ส. มิใช่พยานโดยตรง นอกจากนี้ภ.ก็เป็นประจักษ์พยานเพราะเป็นผู้เก็บตัวอย่างฝุ่นในสถานที่ทำงานของโจทก์ไปตรวจเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานส่วนนายแพทย์ธ.ก็ได้เบิกความให้ความเห็นทางวิชาการตรงกับความเห็นของแพทย์หญิงอ. เมื่อศาลแรงงานได้นำคำเบิกความของแพทย์ผู้ตรวจร่างกายโจทก์พร้อมทั้งความเห็นของพยานดังกล่าวมาพิจารณาประกอบกับพยานหลักฐานอื่นจึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบ และการที่ศาลแรงงานวินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายแล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ก็เป็นการวินิจฉัยที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยความเสียหายจากการทำงาน: หลักฐาน, ความเห็นแพทย์, และดุลพินิจศาล
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 38 และมาตรา 40มิได้บัญญัติให้การที่กรรมการการแพทย์ผู้หนึ่งทำรายงานเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะเป็นการไม่ชอบ เพราะไม่มีบทบัญญัติว่าความเห็นของกรรมการการแพทย์จะต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการการแพทย์เสียก่อนจึงจะเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้ เพียงแต่เมื่อมีปัญหาจะต้องขอคำปรึกษาแนะนำจากคณะกรรมการการแพทย์ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจึงจะขอให้คณะกรรมการการแพทย์เสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 และเมื่อรายงานผลการสอบสวนอาการเจ็บป่วยของโจทก์มิใช่การดำเนินงานในการให้บริการทางการแพทย์ แต่เป็นรายงานการตรวจร่างกายโจทก์ที่นายแพทย์ ส.กระทำขึ้นเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสารพิษในร่างกายของโจทก์ หากคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเห็นว่าความเห็นดังกล่าวเพียงพอที่จะวินิจฉัยคำร้องขอของโจทก์ได้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องนำเข้าปรึกษาคณะกรรมการการแพทย์ โดยนำรายงานดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้ และตามมาตรา 38 วรรคสองบัญญัติให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่าง ๆ ดังนี้ เมื่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเห็นว่าเรื่องใดควรจะมอบหมายให้แพทย์ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในคณะกรรมการการแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคที่จะต้องวินิจฉัยว่ามีลักษณะอาการอย่างไร ก็อาจจะนำความเห็นของแพทย์ผู้นั้นมาพิจารณาเพื่อประกอบการวินิจฉัยได้ ดังนั้นรายงานผลการสอบสวนอาการเจ็บป่วยที่ ส.ทำขึ้นและนำเสนอให้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนพิจารณาจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 40
ในประเด็นข้อที่ว่า มีเหตุที่จะเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนตามฟ้องหรือไม่ ศาลแรงงานได้วินิจฉัยพยานโจทก์แล้วเห็นว่าการที่โจทก์มีปริมาณสารอะลูมิน่าเพิ่มขึ้นเป็นปริมาณสูงหลังจากที่ไม่ได้สัมผัสกับสารเช่นนี้ ไม่สอดคล้องด้วยเหตุผล อีกทั้งได้ความจาก ย.พยานศาล และนายแพทย์ส.ว่าสารอะลูมิน่านี้มีอยู่ทั่วไปในภาวะแวดล้อม หากเก็บตัวอย่างไม่ดีอาจมีการปนเปื้อนสารอะลูมิน่าจากภายนอกได้ง่าย การที่ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการปรากฏว่าโจทก์มีปริมาณสารอะลูมิน่าอยู่ในร่างกายสูงจนผิดไปจากปกติมากเช่นนี้จึงอาจเกิดจากการปนเปื้อนของสารอะลูมิน่าที่มีอยู่ในภาวะแวดล้อมในขณะจัดเก็บก็ได้ ลำพังผลการตรวจหาสารอะลูมิน่าในร่างกายของโจทก์ที่มีปริมาณสูงจนผิดปกติเพียงอย่างเดียว ไม่อาจยืนยันเด็ดขาดได้ว่าอาการป่วยของโจทก์เกิดจากสารอะลูมิน่าจากการทำงาน ส่วนพยานบุคคลที่จำเลยนำสืบล้วนแต่เป็นผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญเมื่อรับฟังประกอบกับเอกสารทางวิชาการของต่างประเทศเกี่ยวกับสารอะลูมิน่าตามเอกสารหมาย ล.35 และ ล.36 แล้วเห็นว่า มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยโดยมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลียปวดตามข้อ ชาตามแขนและมือจริง แต่การเจ็บป่วยดังกล่าวไม่ได้เกิดจากสารอะลูมิน่าจากการทำงาน ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานได้นำข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายมาวินิจฉัยโดยละเอียด มิใช่ฟังเฉพาะเอกสารหมาย ล.35 และ ล.36 ที่เป็นภาษาต่างประเทศเท่านั้น การนำเอกสารทั้งสองฉบับมากล่าวอ้างเป็นส่วนหนึ่งในเหตุผลแห่งการวินิจฉัยย่อมกระทำได้ ไม่ทำให้การวินิจฉัยในส่วนอื่นเสียไป
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าเห็นควรให้คู่ความฝ่ายที่ส่งเอกสารนั้นทำคำแปลที่เป็นภาษาไทย ซึ่งศาลอาจไม่สั่งให้ทำคำแปลก็ได้เช่นในกรณีที่เอกสารนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งแห่งพยานหลักฐานที่ฟังประกอบกับพยานหลักฐานอื่นที่เพียงพอต่อการวินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้ว จึงไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งให้คู่ความทำคำแปลเสมอไป การที่ศาลแรงงานมิได้สั่งให้จำเลยทำคำแปลเอกสารซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศ การอ้างเอกสารดังกล่าวของฝ่ายจำเลยจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย และศาลแรงงานย่อมรับฟังเอกสารนั้นในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งแห่งพยานหลักฐานที่คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารนำสืบได้
ป.วิ.พ.มาตรา 104 ซึ่งอนุโลมใช้ในคดีแรงงานด้วย บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่ามิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่าหรือพยานแวดล้อมกรณี เพียงแต่มีหลักว่าให้ฟังประจักษ์พยานเป็นลำดับแรกแต่ถ้าประจักษ์พยานขัดต่อเหตุผลศาลก็อาจจะไม่รับฟังก็ได้ ส่วนพยานบอกเล่าและพยานแวดล้อมกรณีนั้น แม้จะมีน้ำหนักน้อยกว่าประจักษ์พยาน แต่ถ้าศาลเห็นว่าพยานหลักฐานที่เป็นประจักษ์พยานไม่น่าเชื่อถือ ศาลอาจฟังพยานหลักฐานอื่นได้
คดีนี้ประเด็นสำคัญที่จะต้องวินิจฉัยคือโจทก์เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานหรือไม่ แพทย์ผู้ทำการตรวจร่างกายโจทก์และให้ความเห็นล้วนแต่เป็นพยานโดยตรง นายแพทย์ ส.พยานจำเลยเป็นผู้หนึ่งที่ได้ตรวจร่างกายโจทก์และให้ความเห็น แม้จะได้ทำการตรวจภายหลังจากที่แพทย์หญิง ช.และแพทย์หญิง อ.ได้ตรวจร่างกายโจทก์ ก็ไม่ทำให้นายแพทย์ ส.มิใช่พยานโดยตรง นอกจากนี้ ภ.ก็เป็นประจักษ์พยานเพราะเป็นผู้เก็บตัวอย่างฝุ่นในสถานที่ทำงานของโจทก์ไปตรวจเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนนายแพทย์ ธ.ก็ได้เบิกความให้ความเห็นทางวิชาการตรงกับความเห็นของแพทย์หญิง อ.เมื่อศาลแรงงานได้นำคำเบิกความของแพทย์ผู้ตรวจร่างกายโจทก์พร้อมทั้งความเห็นของพยานดังกล่าวมาพิจารณาประกอบกับพยานหลักฐานอื่นจึงเป็นการวินิจฉัยที่ชอบ และการที่ศาลแรงงานวินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายแล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ก็เป็นการวินิจฉัยที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกัน อายุความสะดุดหยุดจากรับสภาพหนี้ ผู้ค้ำประกันจำกัดความรับผิด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์เป็นข้อตกลงที่จะให้มีบัญชีเดินสะพัดต่อกัน มีกำหนด 12 เดือน นับแต่วันที่ 20 กันยายน 2526ซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 20 กันยายน 2527 จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2527 และหลังจากนั้นคงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนตลอดมา ทั้งยอดหนี้ในวันครบกำหนดสัญญาก็มีจำนวนสูงกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญา ประกอบกับสัญญาครบกำหนดแล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีอันแสดงว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน 1 ครั้งเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2530 แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชี เพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกันในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันนับแต่วันที่ 20 กันยายน 2527 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดที่จำเลยที่ 1จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 856 หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนไม่
การที่จำเลยที่ 1 โอนเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ในวันที่ 23เมษายน 2530 เป็นการรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1อายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา193/14 (มาตรา 172 เดิม) และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน2530 เป็นต้นไป หนี้รายนี้เป็นบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2537 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่เหตุที่อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดลงฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 ให้การยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ได้รับสภาพหนี้เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีได้ อันเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.ให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523ดังนี้ หลังจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี โดยไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์
สำหรับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำกัดวงเงินจำนวน 75,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ย แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 75,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ด้วยไม่เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์เพียงใดผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเงินจำนวน 75,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2527 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2527 และดอกเบี้ยไม่ทบต้นนับแต่วันที่ 21 กันยายน 2527 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
of 63