คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 104

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 629 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จากการขายทอดตลาด: สิทธิของโจทก์ในการขับไล่จำเลยออกจากที่ดิน
ตามคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลย คู่ความรับกันข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินและบ้านของจำเลยถูกบังคับคดีโดยนำออกขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านของจำเลยจากการขายทอดตลาดดังกล่าวโดยมีคำโต้แย้งคัดค้านของจำเลยว่าการบังคับคดีกระทำโดยมิชอบ ขอให้เพิกถอน อันเป็นข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะนำมาวินิจฉัยชี้ขาดตามประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ว่า โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและบ้านที่โจทก์ซื้อมาได้หรือไม่ หากวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้ ศาลย่อมต้องพิพากษายกฟ้อง หากวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้ ศาลย่อมต้องวินิจฉัยในประเด็นต่อไปว่าโจทก์เสียหายเพียงใด ซึ่งค่าเสียหายในกรณีเช่นนี้ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้ตามความเหมาะสมแก่รูปคดี เนื่องจากโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เสียหายเดือนละ30,000 บาท โดยโจทก์คาดว่าหากนำที่ดินและบ้านออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 30,000 บาท และจำเลยให้การว่า โจทก์ไม่เสียหายหากเสียหายจริงก็ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท โดยต่างฝ่ายต่างมิได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่แน่นอนขึ้นสนับสนุนข้ออ้างและข้อเถียงของฝ่ายตน คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยนั้นชอบแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าสู้ราคาจนเป็นผู้ซื้อทอดตลาดได้ ในขณะที่ยังไม่มีข้อคัดค้านของจำเลยว่าการบังคับคดีดังกล่าวไม่ชอบ ต้องถือว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านโดยชอบแล้วเมื่อโจทก์ไม่อาจเข้าครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินพร้อมบ้านเนื่องจากจำเลยและบริวารยังคงอยู่ในที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวอันเป็นการขัดขวางโต้แย้งการใช้สิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากที่ดินและบ้านได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีดังกล่าวว่าไม่ชอบและขอให้เพิกถอนก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องนำสืบพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างคัดค้านของตนในคดีเดิมจนปรากฏเป็นความจริงและศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีดังกล่าวแล้วจึงจะมีผลให้การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านจากการขายทอดตลาดของโจทก์ถูกเพิกถอนไปด้วย ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีถึงที่สุด การที่จำเลยและบริวารยังอยู่ในที่ดินและบ้านหลังจากโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านจากการขายทอดตลาดแล้ว ถือได้ว่าจำเลยอยู่โดยละเมิดโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 5,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงประเด็นนี้ จึงถือว่าทรัพย์พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จากการซื้อที่ดินหลุดจำนอง การฟ้องขับไล่ผู้ครอบครอง
ตามคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยคู่ความรับกันข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินและบ้านของจำเลยถูกบังคับคดีโดยนำออกขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านของจำเลยจากการขายทอดตลาดดังกล่าวโดยมีคำโต้แย้งคัดค้านของจำเลยว่าการบังคับคดีกระทำโดยมิชอบขอให้เพิกถอนอันเป็นข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะนำมาวินิจฉัยชี้ขาดตามประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและบ้านที่โจทก์ซื้อมาได้หรือไม่หากวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้ศาลย่อมต้องพิพากษายกฟ้องหากวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้ศาลย่อมต้องวินิจฉัยในประเด็นต่อไปว่าโจทก์เสียหายเพียงใดซึ่งค่าเสียหายในกรณีเช่นนี้ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้ตามความเหมาะสมแก่รูปคดีเนื่องจากโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เสียหายเดือนละ30,000บาทโดยโจทก์คาดว่าหากนำที่ดินและบ้านออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ30,000บาทและจำเลยให้การว่าโจทก์ไม่เสียหายหากเสียหายจริงก็ไม่เกินเดือนละ5,000บาทโดยต่างฝ่ายต่างมิได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่แน่นอนขึ้นสนับสนุนข้ออ้างและข้อเถียงของฝ่ายตนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยนั้นชอบแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าสู้ราคาจนเป็นผู้ซื้อทอดตลาดได้ในขณะที่ยังไม่มีข้อคัดค้านของจำเลยว่าการบังคับคดีดังกล่าวไม่ชอบต้องถือว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านโดยชอบแล้วเมื่อโจทก์ไม่อาจเข้าครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินพร้อมบ้านเนื่องจากจำเลยและบริวารยังคงอยู่ในที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวอันเป็นการขัดขวางโต้แย้งการใช้สิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากที่ดินและบ้านได้แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีดังกล่าวว่าไม่ชอบและขอให้เพิกถอนก็ตามแต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องนำสืบพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างคัดค้านของตนในคดีเดิมจนปรากฏเป็นความจริงและศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีดังกล่าวแล้วจึงจะมีผลให้การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านจากการขายทอดตลาดของโจทก์ถูกเพิกถอนไปด้วยตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีถึงที่สุดการที่จำเลยและบริวารยังอยู่ในที่ดินและบ้านหลังจากโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านจากการขายทอดตลาดแล้วถือได้ว่าจำเลยอยู่โดยละเมิดโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆออกจากอสังหาริมทรัพย์เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ5,000บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงประเด็นนี้จึงถือว่าทรัพย์พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ5,000บาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์จากการซื้อทอดตลาด การฟ้องขับไล่ และค่าเสียหายจากการอยู่อาศัยโดยละเมิด
ตามคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลย คู่ความรับกันข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินและบ้านของจำเลยถูกบังคับคดีโดยนำออกขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านของจำเลยจากการขายทอดตลาดดังกล่าวโดยมีคำโต้แย้งคัดค้านของจำเลยว่าการบังคับคดีกระทำโดยมิชอบ ขอให้เพิกถอน อันเป็นข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะนำมาวินิจฉัยชี้ขาดตามประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ว่า โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและบ้านที่โจทก์ซื้อมาได้หรือไม่ หากวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยไม่ได้ ศาลย่อมต้องพิพากษายกฟ้อง หากวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้ ศาลย่อมต้องวินิจฉัยในประเด็นต่อไปว่าโจทก์เสียหายเพียงใด ซึ่งค่าเสียหายในกรณีเช่นนี้ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะกำหนดให้ตามความเหมาะสมแก่รูปคดี เนื่องจากโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เสียหายเดือนละ 30,000 บาท โดยโจทก์คาดว่าหากนำที่ดินและบ้านออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 30,000 บาท และจำเลยให้การว่า โจทก์ไม่เสียหาย หากเสียหายจริงก็ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาทโดยต่างฝ่ายต่างมิได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่แน่นอนขึ้นสนับสนุนข้ออ้างและข้อเถียงของฝ่ายตน คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยนั้นชอบแล้ว
โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าสู้ราคาจนเป็นผู้ซื้อทอดตลาดได้ในขณะที่ยังไม่มีข้อคัดค้านของจำเลยว่าการบังคับคดีดังกล่าวไม่ชอบ ต้องถือว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านโดยชอบแล้ว เมื่อโจทก์ไม่อาจเข้าครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินพร้อมบ้านเนื่องจากจำเลยและบริวารยังคงอยู่ในที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าว อันเป็นการขัดขวางโต้แย้งการใช้สิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากที่ดินและบ้านได้ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีดังกล่าวว่าไม่ชอบและขอให้เพิกถอนก็ตามแต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องนำสืบพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างคัดค้านของตนในคดีเดิมจนปรากฏเป็นความจริงและศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีดังกล่าวแล้วจึงจะมีผลให้การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านจากการขายทอดตลาดของโจทก์ถูกเพิกถอนไปด้วย ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีถึงที่สุด การที่จำเลยและบริวารยังอยู่ในที่ดินและบ้านหลังจากโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านจากการขายทอดตลาดแล้ว ถือได้ว่าจำเลยอยู่โดยละเมิดโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 5,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้เถียงประเด็นนี้ จึงถือว่าทรัพย์พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกหมายเรียกตรวจเลือกทหาร และกระบวนการตรวจเลือกตามกฎหมาย
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง และมาตรา 104 ศาลชั้นต้นมีอำนาจงดชี้สองสถานและงดสืบพยานหลักฐานได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถานแล้วพิพากษาคดีไปในวันนั้นโดยไม่สืบพยานโจทก์จำเลย จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการต้องกระทำให้ครบกระบวนการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 23ที่บัญญัติว่า การที่จะเรียกทหารกองเกินเข้ารับราชการกองประจำการเมื่อใด อายุใดบ้างและกี่ครั้งนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งได้มีกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ.2498) กำหนดว่า ทหารกองเกินซึ่งจะเรียกเข้ารับราชการกองประจำการตามมาตรา 23 คือ (2) ทหารกองเกินซึ่งมีอายุเกินกว่า 21 ปีบริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ากองประจำการซึ่ง (ก) ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกและตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 28 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่าหน้าที่ของกรรมการตรวจเลือกและวิธีการตรวจเลือกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 37 (พ.ศ.2518) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ.2518) กำหนดวิธีการตรวจเลือกไว้คือเรียกชื่อทหารกองเกินซึ่งถูกเรียกมาตรวจเลือก วัดขนาด ตรวจร่างกาย ถ้ามีทหารกองเกินมากกว่าจำนวนที่ต้องการก็ให้จับสลาก เมื่อโจทก์ยังไม่ได้จับสลากจึงยังไม่ครบกระบวนการการตรวจเลือก โจทก์ยังไม่พ้นจากหน้าที่ที่จะต้องปฎิบัติตามพ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 และกฎกระทรวงดังกล่าว จำเลยในฐานะนายอำเภอจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ให้มาตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกหมายเรียกตรวจเลือกทหารกองเกิน แม้เคยเข้ารับการตรวจเลือกแล้ว แต่กระบวนการไม่ครบถ้วน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา86วรรคสองและมาตรา104ศาลชั้นต้นมีอำนาจงดชี้สองสถานและงดสืบพยานหลักฐานได้เมื่อศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งดชี้สองสถานแล้วพิพากษาคดีไปในวันนั้นโดยไม่สืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว การตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการต้องกระทำให้ครบกระบวนการตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ.2497มาตรา23ที่บัญญัติว่าการที่จะเรียกทหารกองเกินเข้ารับราชการกองประจำการเมื่อใดอายุใดบ้างและกี่ครั้งนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งได้มีกฎกระทรวงฉบับที่9(พ.ศ.2498)กำหนดว่าทหารกองเกินซึ่งจะเรียกเข้ารับราชการกองประจำการตามมาตรา23คือ(2)ทหารกองเกินซึ่งมีอายุเกินกว่า21ปีบริบูรณ์ในปีที่จะเข้ากองประจำการซึ่ง(ก)ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกและตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ.2497มาตรา28ทวิวรรคสองบัญญัติว่าหน้าที่ของกรรมการตรวจเลือกและวิธีการตรวจเลือกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งได้มีกฎกระทรวงฉบับที่37(พ.ศ.2518)แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่47พ.ศ.2518กำหนดวิธีการตรวจเลือกไว้คือเรียกชื่อทหารกองเกินซึ่งถูกเรียกมาตรวจเลือกวัดขนาดตรวจร่างกายถ้ามีทหารกองเกินมากกว่าจำนวนที่ต้องการก็ให้จับสลากเมื่อโจทก์ยังไม่ได้จับสลากจึงยังไม่ครบกระบวนการการตรวจเลือกโจทก์ยังไม่พ้นจากหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ.2497และกฎกระทรวงดังกล่าวจำเลยในฐานะนายอำเภอจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ให้มาตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกหมายเรียกตรวจเลือกทหารซ้ำได้ หากกระบวนการตรวจเลือกเดิมไม่สมบูรณ์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองและมาตรา 104 ศาลชั้นต้นมีอำนาจงดชี้สองสถานและงดสืบพยานหลักฐานได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถานแล้วพิพากษาคดีไปในวันนั้นโดยไม่สืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว การตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการต้องกระทำให้ครบกระบวนการตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2497 มาตรา 23 ที่บัญญัติว่า การที่จะเรียกทหารกองเกินเข้ารับราชการกองประจำการเมื่อใด อายุใดบ้างและกี่ครั้งนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งได้มีกฎกระทรวงฉบับที่ 9(พ.ศ. 2498) กำหนดว่า ทหารกองเกินซึ่งจะเรียกเข้ารับราชการกองประจำการตามมาตรา 23 คือ (2) ทหารกองเกินซึ่งมีอายุเกินกว่า 21 ปีบริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ากองประจำการซึ่ง (ก) ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกและตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 28 ทวิ วรรคสองบัญญัติว่า หน้าที่ของกรรมการตรวจเลือกและวิธีการตรวจเลือกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 37(พ.ศ. 2518) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 พ.ศ. 2518 กำหนดวิธีการตรวจเลือกไว้คือเรียกชื่อทหารกองเกินซึ่งถูกเรียกมาตรวจเลือก วัดขนาดตรวจร่างกาย ถ้ามีทหารกองเกินมากกว่าจำนวนที่ต้องการก็ให้จับสลาก เมื่อโจทก์ยังไม่ได้จับสลากจึงยังไม่ครบกระบวนการการตรวจเลือก โจทก์ยังไม่พ้นจากหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 และกฎกระทรวงดังกล่าว จำเลยในฐานะนายอำเภอจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ให้มาตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การโอนสิทธิและผลกระทบต่อการฟ้องเพิกถอนใบจองเมื่อมีการโอนที่ดินไปแล้ว
จำเลยรับว่าใบจองตามที่ถูกโจทก์ฟ้อง จำเลยออกทับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ ซึ่งจำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) แล้ว และก่อนฟ้องจำเลยได้โอนขายให้ ก.ไปแล้ว ส่วนโจทก์แถลงรับว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.2 ใบจองเดิมของจำเลยได้โอนขายให้ ก.ไปแล้วจริง ดังนี้ หากที่ดินพิพาทตามฟ้องโจทก์กับที่ดินตามใบจองของจำเลยเป็นคนละแปลงกัน จำเลยก็ไม่ได้ออกใบจองทับที่ดินของโจทก์โจทก์ย่อมไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือได้รับความเสียหายใด ๆ จากการที่จำเลยออกใบจองและโจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยไปยื่นคำร้องขอเพิกถอนสิทธิครอบครองตามใบจองได้ ที่ศาลชั้นต้นงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยและเห็นว่าเมื่อจำเลยได้จดทะเบียนโอนขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ดังกล่าวให้แก่ ก.ไปแล้ว ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิหรืออำนาจใด ๆ ที่จะไปยื่นเรื่องขอเพิกถอนสิทธิครอบครองใบจอง (น.ส.2) ตามคำขอท้ายฟ้องได้ และพิพากษายกฟ้องโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุไม้สน, คุณภาพตามสัญญา, การขัดขวางการตัดไม้ และผลกระทบต่อภาระหน้าที่ชำระหนี้
หลักวิชาการเป็นเพียงทฤษฎีโดยทั่วไปเท่านั้นการเจริญเติบโตของต้นไม้ชนิดต่างๆรวมทั้งไม้สนพิพาทจะต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นอีกหลายประการเช่นความสมบูรณ์ของพื้นดินที่ปลูกการให้ปุ๋ยน้ำภูมิอากาศฯลฯดังนี้เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการที่โจทก์อ้างอิงจึงไม่ใช่พยานหลักฐานที่บ่งบอกได้โดยแน่นอนว่าไม้สนพิพาทของจำเลยที่1มีอายุไม่ถึง6ปีเมื่อจำเลยที่1และที่3มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารสืบแสดงได้ว่าจำเลยที่1ปลูกไม้สนพิพาทในที่ดินมาตั้งแต่ปี2522นับถึงวันที่จำเลยที่3ขายไม้สนดังกล่าวให้แก่โจทก์ไม้สนพิพาทมีอายุเกิน6ปีแล้วพยานหลักฐานของจำเลยที่1และที่3มีน้ำหนักรับฟังได้มากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ส่วนข้อตำหนิที่ว่าไม้สนที่โจทก์ซื้อและตัดจากที่ดินของจำเลยที่1มีขนาดเล็กกว่าปกตินั้นก็คงเนื่องมาจากพื้นดินที่ปลูกเป็นดินเปรี้ยวและแม้โจทก์จะนำสืบโต้เถียงว่าไม้สนพิพาทในที่ดินของจำเลยที่1ยังโตไม่ได้ขนาดที่โจทก์ต้องการจะซื้อแต่โจทก์รับว่าโจทก์ได้ตัดไม้สนในที่ดินแปลงนั้นหมดทั้งแปลงและขนไปลงเรือส่งไปขายยังต่างประเทศแล้วแสดงว่านอกจากอายุของไม้สนที่จะต้องถึง6ปีแล้วโจทก์มิได้ถือเอาขนาดของไม้สนที่ต้องการจะซื้อเป็นสาระสำคัญของสัญญาฉะนั้นแม้ไม้สนพิพาทที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่3ซึ่งตัดจากที่ดินของจำเลยที่1จะมีขนาดของลำต้นเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึง6นิ้วแต่เป็นต้นไม้สนที่มีอายุ6ปีแล้วไม้สนพิพาทจึงเป็นไม้สนที่มีคุณภาพตรงตามสัญญาจำเลยที่1และที่3หาได้ประพฤติผิดสัญญาด้วยการขายไม้สนที่มีอายุไม่ถึง6ปีให้แก่โจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการวินิจฉัยพยานหลักฐานและการงดสืบพยาน อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา104ให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีให้เป็นไปตามนั้นซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวอนุโลมใช้กับคดีแรงงานด้วยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา31ฉะนั้นการที่ศาลแรงงานกลางสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้ววินิจฉัยคดีตามที่คู่ความรับกันถือได้ว่าศาลแรงงานกลางได้ใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานแล้วข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางพิจารณาเพียงบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยนั้นจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงิน สัญญาค้ำประกัน และหลักฐานการชำระหนี้ที่ไม่สมบูรณ์
แม้พยานโจทก์มีตัวโจทก์เพียงปากเดียวเบิกความยืนยันว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารสัญญากู้ก็มีน้ำหนักและเหตุผลน่าเชื่อว่าพยานจำเลยซึ่งเบิกความขัดต่อเหตุผลและเป็นการผิดวิสัยส่วนที่จำเลยอ้างว่าได้ชำระเงินกู้ให้แก่โจทก์แล้วโดยโจทก์ทำหลักฐานให้ไว้ก็เห็นว่าเอกสารดังกล่าวไม่มีข้อความระบุว่าเป็นเงินอะไรทั้งไม่มีลายมือชื่อของโจทก์ในเอกสารนั้นแม้โจทก์ยอมรับว่าได้ทำเอกสารดังกล่าวจริงแต่ก็ปฏิเสธว่าเป็นการชำระหนี้รายอื่นเอกสารนั้นจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653วรรคสอง
of 63