พบผลลัพธ์ทั้งหมด 629 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นผิดนัด: พฤติการณ์แสดงเจตนาไม่ประสงค์จะอยู่กินเป็นสามีภริยา ทำให้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยผิดสัญญา
พยานโจทก์และพยานจำเลยเบิกความยันกันแต่จากพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยังประสงค์จะอยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์ส่วนโจทก์กลับไม่ประสงค์เช่นนั้นจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์อันจะเป็นการผิดสัญญาหมั้นดังฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9355/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่หลังคดีแพ่งถึงที่สุด ศาลรับฟังสำนวนคดีเดิมเป็นพยานได้ แม้ไม่ได้ยื่นต่อศาล
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ว่าที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่4015เป็นของโจทก์จำเลยที่2ขายให้โจทก์แล้วผิดสัญญาไม่โอนให้โจทก์แต่ได้โอนให้จำเลยที่1โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองให้โอนที่ดินดังกล่าวซึ่งศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและคดีถึงที่สุดแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาทจึงฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา104ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้นดังนั้นเมื่อศาลได้สอบถามและคู่ความได้แถลงยอมรับว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่786/2530ของศาลชั้นต้นและคดีถึงที่สุดแล้วศาลย่อมมีอำนาจสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองได้และมีอำนาจรับฟังสำนวนคดีดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นต่อศาลและให้คู่ความตรวจพิจารณาก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9355/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำพิพากษาคดีถึงที่สุด และการรับฟังสำนวนคดีเก่าเป็นพยานหลักฐาน
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ว่า ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4015เป็นของโจทก์ จำเลยที่ 2 ขายให้โจทก์แล้วผิดสัญญาไม่โอนให้โจทก์ แต่ได้โอนให้จำเลยที่ 1 โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองให้โอนที่ดินดังกล่าว ซึ่งศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี และคดีถึงที่สุดแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาท จึงฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสอง คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ดังนั้น เมื่อศาลได้สอบถามและคู่ความได้แถลงยอมรับว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่786/2530 ของศาลชั้นต้น และคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ และมีอำนาจรับฟังสำนวนคดีดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นต่อศาลและให้คู่ความตรวจพิจารณาก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90ก็ตาม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ดังนั้น เมื่อศาลได้สอบถามและคู่ความได้แถลงยอมรับว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่786/2530 ของศาลชั้นต้น และคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ และมีอำนาจรับฟังสำนวนคดีดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นต่อศาลและให้คู่ความตรวจพิจารณาก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานเอกสารเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์: หลักการความบกพร่องในการนำสืบพยาน
พยานเอกสารที่ผู้ร้องขอให้ศาลอุทธรณ์รับฟังเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์นั้นเป็นพยานเอกสารที่ผู้ร้องสามารถนำมาสืบในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นได้ เมื่อผู้ร้องไม่ระบุพยานและนำมาสืบในตอนนั้น นับได้ว่าเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเองซึ่งหากยอมรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวย่อมจะไม่เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความอีกฝ่าย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับฟังจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6166/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางพิพาทมิใช่ทางสาธารณะ การใช้ทางเป็นเพียงความเอื้อเฟื้อ การลงชื่อในบันทึกไม่ถือเป็นการสละสิทธิ
โจทก์ฟ้องอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ แต่พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ห้ามจำเลยขัดขวางโจทก์ในการใช้ทางพิพาท จำเลยอุทธรณ์ โจทก์มิได้อุทธรณ์แต่กล่าวแก้ในคำแก้อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ดังนั้นประเด็นเรื่องทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่จึงยังไม่ยุติ ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ โจทก์ก็ย่อมฎีกาได้
ทางพิพาทมีสภาพเป็นคันดินกว้าง 1.50 เมตร ยาวเพียง160 เมตร และเป็นทางตัน อยู่ในแนวเขตโฉนดที่ดินของจำเลย การที่โจทก์กับญาติหรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะเป็นเรื่องความเอื้อเฟื้อถ้อยทีถ้อยอาศัยของชาวชนบท หาใช่เป็นการสละสิทธิทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะไม่การที่จำเลยลงชื่อในบันทึกตามคำบอกหรือคำแนะนำของกำนันยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่เป็นผลให้ทางพิพาทกลับเป็นทางสาธารณะและไม่เป็นการสละสิทธิให้เป็นทางสาธารณะ
บันทึกที่จำเลยลงชื่อยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะจะไม่กีดขวางโจทก์และราษฎรอีก 4 ครัวเรือนในการใช้เส้นทางร่วมกันเป็นเพียงข้อเท็จจริงประกอบที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยก็ทราบดีว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะเท่านั้น มิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นสิทธิบังคับให้จำเลยเปิดทางพิพาทและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ หาได้มีประเด็นเรื่องผลบังคับตามข้อตกลงในบันทึกไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกประเด็นข้อตกลงในบันทึกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็น
ทางพิพาทมีสภาพเป็นคันดินกว้าง 1.50 เมตร ยาวเพียง160 เมตร และเป็นทางตัน อยู่ในแนวเขตโฉนดที่ดินของจำเลย การที่โจทก์กับญาติหรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะเป็นเรื่องความเอื้อเฟื้อถ้อยทีถ้อยอาศัยของชาวชนบท หาใช่เป็นการสละสิทธิทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะไม่การที่จำเลยลงชื่อในบันทึกตามคำบอกหรือคำแนะนำของกำนันยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่เป็นผลให้ทางพิพาทกลับเป็นทางสาธารณะและไม่เป็นการสละสิทธิให้เป็นทางสาธารณะ
บันทึกที่จำเลยลงชื่อยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะจะไม่กีดขวางโจทก์และราษฎรอีก 4 ครัวเรือนในการใช้เส้นทางร่วมกันเป็นเพียงข้อเท็จจริงประกอบที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยก็ทราบดีว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะเท่านั้น มิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นสิทธิบังคับให้จำเลยเปิดทางพิพาทและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ หาได้มีประเด็นเรื่องผลบังคับตามข้อตกลงในบันทึกไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกประเด็นข้อตกลงในบันทึกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6166/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทางจำกัดใช้ ทางสาธารณะ การครอบครองที่ดิน และผลของบันทึกข้อตกลง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะแต่พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีห้ามจำเลยขัดขวางโจทก์ในการใช้ทางพิพาทจำเลยอุทธรณ์โจทก์มิได้อุทธรณ์แต่กล่าวแก้ในคำแก้อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะดังนั้นประเด็นเรื่องทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่จึงยังไม่เป็นยุติชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะโจทก์ก็ย่อมฎีกาได้ ทางพิพาทมีสภาพเป็นคันดินกว้าง1.50เมตรยาวเพียง160เมตรและเป็นทางตันอยู่ในแนวเขตโฉนดที่ดินของจำเลยการที่โจทก์กับญาติหรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะเป็นเรื่องความเอื้อเฟื้อถ้อยทีถ้อยอาศัยของชาวชนบทหาใช่เป็นการสละสิทธิทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะไม่การที่จำเลยลงชื่อในบันทึกตามคำบอกหรือคำแนะนำของกำนันยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะไม่เป็นผลให้ทางพิพาทกลับเป็นทางสาธารณะและไม่เป็นการสละสิทธิให้เป็นทางสาธารณะ บันทึกที่จำเลยลงชื่อยอมรับทางพิพาทเป็นทางสาธารณะจะไม่กีดขวางโจทก์และราษฎรอีก4ครัวเรือนในการใช้เส้นทางร่วมกันเป็นเพียงข้อเท็จจริงประกอบที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยก็ทราบดีว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะเท่านั้นมิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นสิทธิบังคับให้จำเลยเปิดทางพิพาทและศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่หาได้มีประเด็นเรื่องผลบังคับตามข้อตกลงในบันทึกไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกประเด็นข้อตกลงในบันทึกขึ้นวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5972-5973/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมและความสามารถของผู้ทำพินัยกรรม การตั้งผู้จัดการมรดก
การนำสืบว่าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมในขณะที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์เป็นปกติหรือไม่นั้นเป็นการยากที่จะให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนำสืบด้วยประจักษ์พยานเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรู้เห็นของคู่ความฝ่ายที่ทำพินัยกรรมเพียงฝ่ายเดียวกรณีจำต้องอาศัยเหตุผลและพฤติการณ์แวดล้อมกรณีรวมทั้งความเป็นพิรุธของตัวเอกสารคือพินัยกรรมนั้นเองเป็นเครื่องชี้ว่าพินัยกรรมฉบับนั้นเจ้ามรดกทำในขณะที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5562/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด และหน้าที่ของหุ้นส่วนผู้จัดการ
บทบัญญัติตามมาตรา 1080 และมาตรา 1040แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญจะโอนหุ้นของตนให้บุคคลภายนอกหรือชักนำบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นหุ้นส่วน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นทั้งหมดไม่ได้ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวย่อมนำมาใช้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วยโดยอนุโลมสำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดที่จะโอนหุ้นของตนให้บุคคลภายนอกโดยไม่ได้รับความยินยอมจาก ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นไม่ได้ แต่สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้นอาจโอนหุ้นให้แก่บุคคลภายนอกได้โดยลำพัง ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นตามที่มาตรา 1091 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ ซึ่งเป็นกรณีเฉพาะเรื่องการโอนหุ้นเท่านั้นเพราะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมีสิทธิอำนาจหน้าที่และความรับผิดจำกัด และเนื่องจากมีสิทธิอำนาจหน้าที่ และความรับผิดจำกัดนี้เองคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจึงมิใช่สาระสำคัญ และการเป็นหุ้นส่วนจำพวกดังกล่าวไม่เป็นการเฉพาะตัว ทั้งการโอนหุ้นดังกล่าวก็หาใช่การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิม แห่งห้างหุ้นส่วนหรือประเภทแห่งกิจการตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1032 ไม่ เมื่อการโอนหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1091 โดยปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นก็อาจโอนได้ คำเบิกความของ ว. ที่ว่า จำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ไม่อาจโอนหุ้นได้โดยขาดความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นย่อมเป็นเพียงความเห็นของพยาน จึงหาจำต้องหยิบยกคำเบิกความของ ว. มาวินิจฉัยให้โดยเฉพาะอีกไม่เพราะที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะโอนหุ้นของตนโดยปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นก็โอนได้ เท่ากับศาลอุทธรณ์ ได้วินิจฉัยปัญหานี้โดยไม่เห็นด้วยกับคำเบิกความของ ว. ดังกล่าวอยู่ในตัวแล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่จะต้องดำเนินการขอจดทะเบียน แก้ไขเพิ่มเติมรายชื่อผู้ถือหุ้นให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5562/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด
บทบัญญัติตามมาตรา 1080 และมาตรา 1040 แห่ง ป.พ.พ.เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญจะโอนหุ้นของตนให้บุคคลภายนอกหรือชักนำบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นหุ้นส่วน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นทั้งหมดไม่ได้ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวย่อมนำมาใช้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วยโดยอนุโลม สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดที่จะโอนหุ้นของตนให้บุคคลภายนอกโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นไม่ได้ แต่สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้นอาจโอนหุ้นให้แก่บุคคลภายนอกได้โดยลำพัง ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นตามที่มาตรา 1091 แห่ง ป.พ.พ. บัญญัติไว้ ซึ่งเป็นกรณีเฉพาะเรื่องการโอนหุ้นเท่านั้น เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมีสิทธิ อำนาจหน้าที่และความรับผิดจำกัด และเนื่องจากมีสิทธิ อำนาจหน้าที่ และความรับผิดจำกัดนี้เองคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจึงมิใช่สาระสำคัญ และการเป็นหุ้นส่วนจำพวกดังกล่าวไม่เป็นการเฉพาะตัว ทั้งการโอนหุ้นดังกล่าวก็หาใช่การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิมแห่งห้างหุ้นส่วนหรือประเภทแห่งกิจการตาม ป.พ.พ.มาตรา1032 ไม่
เมื่อการโอนหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1091 โดยปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นก็อาจโอนได้ คำเบิกความของ ว.ที่ว่า จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ไม่อาจโอนหุ้นได้โดยขาดความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ย่อมเป็นเพียงความเห็นของพยาน จึงหาจำต้องหยิบยกคำเบิกความของ ว.มาวินิจฉัยให้โดยเฉพาะอีกไม่ เพราะที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะโอนหุ้นของตนโดยปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นก็โอนได้ เท่ากับศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยปัญหานี้โดยไม่เห็นด้วยกับคำเบิกความของ ว.ดังกล่าวอยู่ในตัวแล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่จะต้องดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายชื่อผู้ถือหุ้นให้ถูกต้อง
เมื่อการโอนหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1091 โดยปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นก็อาจโอนได้ คำเบิกความของ ว.ที่ว่า จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ไม่อาจโอนหุ้นได้โดยขาดความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ย่อมเป็นเพียงความเห็นของพยาน จึงหาจำต้องหยิบยกคำเบิกความของ ว.มาวินิจฉัยให้โดยเฉพาะอีกไม่ เพราะที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะโอนหุ้นของตนโดยปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นก็โอนได้ เท่ากับศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยปัญหานี้โดยไม่เห็นด้วยกับคำเบิกความของ ว.ดังกล่าวอยู่ในตัวแล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่จะต้องดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายชื่อผู้ถือหุ้นให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3276/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานวินิจฉัยจากคำรับของคู่ความได้หากพิจารณาพยานหลักฐานแล้ว การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความประกอบเอกสารในวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ววินิจฉัยคดีตามที่คู่ความรับกันถือว่าได้ใช้ดุลพินิจพิเคราะห์ พยานหลักฐานในการรับฟังข้อเท็จจริงแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา104ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา31การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการใช้ดุลพินิจดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา54