คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 104

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 629 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถูกจำกัดด้วยคำพิพากษาฎีกาเดิม ห้ามฟ้องคดีใหม่ที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาเดิม
ในคดีที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมระหว่างโจทก์กับ จ.เป็นหนี้สมยอมกัน ทำขึ้นโดยมิได้เป็นหนี้กันจริง เพื่อช่วยเหลือมิให้โจทก์และเจ้าหนี้อื่นบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของ จ. ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ จ. ซึ่งตรงกับประเด็นพิพาทในคดีนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก โจทก์จะฟ้องเป็นคดีใหม่อ้างการได้มาซึ่งที่ดินตามฟ้องโดยอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าวของศาลชั้นต้น อันเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีไม่จำต้องสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องรับผิดค่าธรรมเนียมล่วงเวลาเติมน้ำมันอากาศยาน หากมิใช่ 'นายเรือ' ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
พ.ร.บ.ศุลกากรบัญญัติให้นายเรือ ซึ่งหมายถึงผู้บังคับบัญชาหรือผู้ควบคุมเรือ หรืออากาศยาน หรือตัวแทน หรือทั้งสองคนร่วมกันเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับค่าธรรมเนียมล่วงเวลาในการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่อากาศยาน ไม่มีบทกฎหมายกำหนดให้ผู้ยื่นคำขอทำการไว้ต่อโจทก์เป็นผู้รับผิด
จำเลยเป็นบริษัทผู้ค้าน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่บริษัทสายการบินเพื่อใช้เติมให้แก่อากาศยาน มิใช่เป็นนายเรือหรือตัวแทนนายเรือตามบทบัญญัติข้างต้น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาแก่โจทก์
แม้ศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 4 ประเด็นและให้คู่ความนำสืบครบทุกประเด็นแล้ว แต่เมื่อเห็นสมควร ศาลก็มีอำนาจหยิบยกประเด็นข้อใดขึ้นวินิจฉัยได้ และเมื่อได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีข้อใดแล้ว ทำให้คดีเสร็จเด็ดขาดไป ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยละเลยหน้าที่ยื่นขออนุญาตโอนที่ดินในเขตจัดรูปที่ดิน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลพิพากษายืนตามศาลล่าง
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันในราคา230,000บาทโจทก์ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่1ไปทั้งสิ้น205,000บาทคงเหลืออยู่อีก15,000บาทนับว่าเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินที่โจทก์ได้ชำระให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วแม้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งขณะที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและวันครบกำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทยังอยู่ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนแต่มีข้อยกเว้นว่าจะโอนได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทจะต้องยื่นคำขออนุญาตต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจำเลยที่1เบิกความรับว่าจำเลยที่1กับโจทก์ไม่เคยไปติดต่อที่สำนักงานจัดรูปที่ดินแสดงว่าจำเลยที่1ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตโอนที่ดินพิพาทต่อคณะกรรมการจัดการรูปที่ดินถือได้ว่าจำเลยที่1ละเลยประกอบกับพยานคนกลางผู้ไกล่เกลี่ยกรณีของโจทก์กับจำเลยทั้งสองเบิกความว่าโจทก์ประสงค์จะรับโอนที่ดินพิพาทแต่จำเลยทั้งสองจะขอซื้อที่ดินพิพาทคืนจึงตกลงกันไม่ได้พยานหลักฐานของ โจทก์มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่าย ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองหนี้แทนผู้อื่น: น้ำหนักพยานหลักฐานโจทก์เชื่อถือได้กว่าพยานจำเลย แม้ไม่ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อ
ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาหรือไม่เมื่อพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักดีกว่าจำเลยก็รับฟังได้การที่โจทก์ไม่ส่งไปตรวจพิสูจน์หาใช่เป็นข้อพิรุธไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6535/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องกันส่วนของทายาทเมื่อการโอนมรดกไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำนองโดยสุจริตก็ไม่อาจยันได้
ในชั้นพิจารณาร้องขอกันส่วนคดีนี้ ผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3ได้เข้าเบิกความในฐานะพยานของผู้ร้องทั้งสี่และเบิกความยืนยันว่าผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้เบิกความเป็นพยานไว้ในคดีที่ผู้ร้องที่ 1 ร้องขัดทรัพย์ตามคำให้การในสำนวนคดีร้องขัดทรัพย์อีกสำนวนหนึ่งซึ่งโจทก์เป็นคู่ความด้วย ทั้งผู้ร้องทั้งสี่ได้ระบุอ้างสำนวนคดีร้องขัดทรัพย์นั้นเป็นพยานของผู้ร้องทั้งสี่ เมื่อข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เบิกความเป็นข้อเท็จจริงเดียวกับที่ได้เบิกความไว้ในคดีร้องขัดทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องทั้งสี่จะต้องนำสืบ การนำสืบพยานของผู้ร้องทั้งสี่จึงเป็นไปโดยชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชอบที่จะหยิบยกคำเบิกความของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในคดีที่ผู้ร้องที่ 1ร้องขัดทรัพย์มาวินิจฉัยในคดีร้องขอกันส่วน คดีนี้ได้ หาใช่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานโดยไม่ชอบแต่อย่างใดไม่ ส่วนการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่า ย. ได้ปลอมหนังสือสละมรดกนั้น ก็เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานของทั้งฝ่ายผู้ร้องทั้งสี่และฝ่ายโจทก์แล้วเชื่อข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของผู้ร้องทั้งสี่ที่นำสืบมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาที่ว่าผู้ร้องทั้งสี่มีสิทธิร้องขอกันส่วนในที่ดินพิพาทหรือไม่ อันเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้โดยตรง หาใช่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 หยิบยกหรือฟังข้อเท็จจริงตามสำนวนคดีที่ผู้ร้องที่ 1 ร้องขัดทรัพย์ซึ่งมีประเด็นพิพาทคนละอย่างต่างกันมารับฟังในคดีร้องขอกันส่วนคดีนี้อันจะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ ย. ได้ปลอมหนังสือสละมรดกของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และว.มารดาผู้ร้องที่3แล้วย. ได้นำไปขอรับมรดกที่ดินพิพาทเป็นของตนแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลย จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และ ว.มารดาผู้ร้องที่ 3 มาโดยมิชอบ ย่อมไม่มีสิทธินำที่ดินส่วนของผู้ร้องทั้งสี่ไปจำนองแก่โจทก์ ดังนั้นการจำนองไม่มีผลผูกพันที่ดินพิพาทในส่วนของผู้ร้องทั้งสี่ แม้โจทก์จะได้รับจำนองไว้โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วก็ไม่อาจยันผู้ร้องทั้งสี่ได้ ผู้ร้องทั้งสี่มีสิทธิร้องกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท โจทก์เป็นเจ้าหนี้ซึ่งรับจำนองที่ดินพิพาทในส่วนของผู้ร้องทั้งสี่โดยมิชอบ โจทก์จึงมิใช่บุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทอันจะมีสิทธิยกอายุความหนึ่งปีขึ้นต่อสู้ผู้ร้องทั้งสี่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทน, การแก้ไขคำฟ้อง, และการพิสูจน์หนี้: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการฟ้องร้องและการแก้ไขคำฟ้องในคดีหนี้สิน
หนังสือมอบอำนาจระบุให้ อ. ดำเนินคดีทางศาลแทนโจทก์ได้ทั่วไปในคดีทุกชนิด ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีล้มละลาย จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป แม้โจทก์จะได้มอบอำนาจโดยมิได้ระบุให้ฟ้องผู้ใดเป็นจำเลย และมอบอำนาจไว้นานเพียงใด อ. ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์โดยไม่จำต้องมีหนังสืออนุญาตจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยอีก
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์แจ้งชัดพอที่จำเลยจะเข้าใจแล้ว ส่วนโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอย่างไร จากยอดเงินใด ระยะเวลาเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาและแสดงหลักฐานต่าง ๆ ประกอบข้อเท็จจริงในฟ้องได้ หาทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยยังติดค้างหนี้โจทก์เฉพาะต้นเงินยังไม่รวมดอกเบี้ยจำนวน 2,703,000 บาทเศษ แม้จำเลยจะยังโต้เถียงอยู่ว่าโจทก์คำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
โจทก์ขอแก้ไขจำนวนหนี้ในฟ้องให้ถูกต้องตามความเป็นจริงเมื่อแก้แล้วจำนวนหนี้โดยเฉพาะต้นเงินก็ยังไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ตามเดิมและในเรื่องนี้ศาลฎีกาก็วินิจฉัยไว้เพียงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในต้นเงินไม่น้อยกว่า500,000 บาท โดยมิได้ชี้ชัดในชั้นนี้ว่ายอดหนี้ทั้งหมดที่ถูกต้องเป็นเท่าใด เพราะจะต้องไปว่ากันในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่แล้ว ฉะนั้นฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องหรือไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยคงมีแต่พยานบุคคลมาสืบต่อสู้ว่าชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโดยไม่ปรากฏว่าได้อ้างอิงพยานเอกสารแสดงถึงการชำระหนี้ หากให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบอีกในประเด็นนี้ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตัดพยานบุคคลของจำเลยที่จะนำสืบในประเด็นดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจทั่วไป, การฟ้องล้มละลาย, หนี้สิน, การแก้ไขคำฟ้อง, พยานหลักฐาน
หนังสือมอบอำนาจระบุให้ อ. ดำเนินคดีทางศาลแทนโจทก์ได้ทั่วไปในคดีทุกชนิด ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีล้มละลายจึงเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป แม้โจทก์จะได้มอบอำนาจโดยมิได้ระบุให้ฟ้องผู้ใดเป็นจำเลย และมอบอำนาจไว้นานเพียงใด อ. ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์โดยไม่จำต้องมีหนังสืออนุญาตจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยอีก ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์แจ้งชัดพอที่จำเลยจะเข้าใจแล้ว ส่วนโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอย่างไรจากยอดเงินใด ระยะเวลาเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาและแสดงหลักฐานต่าง ๆ ประกอบข้อเท็จจริงในฟ้องได้หาทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยยังติดค้างหนี้โจทก์เฉพาะต้นเงินยังไม่รวมดอกเบี้ยจำนวน 2,703,000 บาทเศษ แม้จำเลยจะยังโต้เถียงอยู่ว่า โจทก์คำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท โจทก์ขอแก้ไขจำนวนหนี้ในฟ้องให้ถูกต้องตามความเป็นจริงเมื่อแก้แล้วจำนวนหนี้โดยเฉพาะต้นเงินก็ยังไม่น้อยกว่า 500,000 บาทตามเดิมและในเรื่องนี้ศาลฎีกาก็วินิจฉัยไว้เพียงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในต้นเงินไม่น้อยกว่า 500,000 บาท โดยมิได้ชี้ขัดในชั้นนี้ว่ายอดหนี้ทั้งหมดที่ถูกต้องเป็นเท่าใด เพราะจะต้องไปว่ากันในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่แล้ว ฉะนั้นฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องหรือไม่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยคงมีแต่พยานบุคคลมาสืบต่อสู้ว่าชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโดยไม่ปรากฏว่าได้อ้างอิงพยานเอกสารแสดงถึงการชำระหนี้หากให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบอีกในประเด็นนี้ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตัดพยานบุคคลของจำเลยที่จะนำสืบในประเด็นดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6159/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินร่วม: ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงจากการสืบพยานก่อนตัดสิน
ฟ้องโจทก์อ้างว่า ที่ดินพิพาท ส.บิดาโจทก์ จำเลย และบุคคลอื่นมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จำเลยครอบครองโฉนดที่ดินไว้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ต้องการโฉนดที่ดินเพื่อแบ่งแยกที่ดินให้แก่ทายาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า ส.ได้ยกที่ดินส่วนของตนให้จำเลย จำเลยได้ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีจึงได้กรรมสิทธิ์ และคดีโจทก์ขาดอายุความมรดกแล้ว ประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยก่อนจึงมีว่าที่ดินส่วนของ ส.ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์แล้วหรือไม่ หากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังจำเลยให้การต่อสู้โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกโฉนดที่ดินดังกล่าวคืนจากจำเลย ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การจำเลยจึงยังไม่พอวินิจฉัยคดีได้ สมควรที่ศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความให้สิ้นกระแสความเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6071/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาด จำเลยมีสิทธิพิสูจน์ว่าโจทก์ทราบการครอบครองก่อนซื้อ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3.) ที่ได้มาจากการขายทอดตลาดของศาลชั้นต้น จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลโดยไม่สุจริตและด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมาเช่นนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาทและโจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทในขณะที่ซื้อทรัพย์จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทมาโดยสุจริตหรือไม่ซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาท จำเลยมีสิทธินำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยในประเด็นเรื่องการครอบครองนั้นไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการงดสืบพยานและการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้ฟังเป็นยุติได้แล้ว ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 และอำนาจในการวินิจฉัยว่าตามคำฟ้อง คำให้การ และคำรับของคู่ความ ข้อเท็จจริงเป็นอันเพียงพอยุติได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาล เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าเพียงพอยุติได้แล้ว การฎีกาโต้เถียงว่ายังไม่ควรยุติเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนด จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การว่าไม่เคยเข้าไปกระทำการใดในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของจำเลยเองไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ครั้งแรกศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นการกำหนดตามข้ออ้างและข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การของโจทก์และจำเลย ซึ่งต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทหรือไม่ อันตรงกับประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดในครั้งแรกแล้วจึงวินิจฉัยตามข้ออ้างในฟ้องโจทก์ว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทหรือไม่ โดยต้องวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์และจำเลยว่าฝ่ายใดมีสิทธิดีกว่ากันด้วย ดังนี้ การวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดใหม่ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจากเดิม และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสองแล้ว
ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาทอย่างคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1(2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
of 63