พบผลลัพธ์ทั้งหมด 629 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419-3420/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การมอบอำนาจไม่ถูกต้อง ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้
ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจขยายระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ ได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ โดยไม่ต้องมีองค์ประกอบของพฤติการณ์พิเศษหรือกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยอันเป็นการแตกต่างจาก ป.วิ.พ. มาตรา 23
มติคณะรัฐมนตรีในเรื่องการยุติการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ใช่กฎหมายที่จะตัดอำนาจฟ้องคดีของผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เมื่อตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องได้ และเมื่อตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าตู้โทรศัพท์สาธารณะของโจทก์ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ไม่ใช่กรณีที่โจทก์เห็นว่าจำนวนเงินที่ประเมินและตามคำชี้ขาดสูงเกินสมควรโจทก์จึงไม่ต้องนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาลดหน่อยค่ารายปีตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 31 วรรคท้าย
ตามคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 มี ส. ลงลายมือชื่อเป็นผู้ยื่นคำร้องแทนโจทก์โดยระบุว่าเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้านสื่อสารสาธารณะทำการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ท. และโจทก์อ้างในคำฟ้องว่าเป็นการกระทำในนามของโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามสำเนาคำสั่งของโจทก์ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 แต่ปรากฏว่าสำเนาคำสั่งดังกล่าวระบุชื่อโจทก์ว่าบริษัทที. ซึ่งตามหนังสือรับรองโจทก์จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัทที. เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่จึงกระทำก่อนที่โจทก์จะมอบอำนาจตามคำสั่งดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่ได้มอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ ส. ลงนามแทนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ ทั้งเป็นกรณีที่โจทก์ไม่อาจให้สัตยาบันในภายหลังได้กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ
มติคณะรัฐมนตรีในเรื่องการยุติการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ใช่กฎหมายที่จะตัดอำนาจฟ้องคดีของผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เมื่อตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องได้ และเมื่อตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าตู้โทรศัพท์สาธารณะของโจทก์ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ไม่ใช่กรณีที่โจทก์เห็นว่าจำนวนเงินที่ประเมินและตามคำชี้ขาดสูงเกินสมควรโจทก์จึงไม่ต้องนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาลดหน่อยค่ารายปีตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 31 วรรคท้าย
ตามคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 มี ส. ลงลายมือชื่อเป็นผู้ยื่นคำร้องแทนโจทก์โดยระบุว่าเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ด้านสื่อสารสาธารณะทำการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ท. และโจทก์อ้างในคำฟ้องว่าเป็นการกระทำในนามของโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามสำเนาคำสั่งของโจทก์ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 แต่ปรากฏว่าสำเนาคำสั่งดังกล่าวระบุชื่อโจทก์ว่าบริษัทที. ซึ่งตามหนังสือรับรองโจทก์จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัทที. เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่จึงกระทำก่อนที่โจทก์จะมอบอำนาจตามคำสั่งดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่ได้มอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ ส. ลงนามแทนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ ทั้งเป็นกรณีที่โจทก์ไม่อาจให้สัตยาบันในภายหลังได้กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144-1146/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิสูจน์การทำสัญญาซื้อขาย และการชำระราคาสินค้า
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยรวม 9 แปลง ชำระราคาครบถ้วนแล้วแต่จำเลยไม่โอนที่ดินให้โจทก์ จำเลยให้การในตอนแรกว่า โจทก์จำเลยไม่เคยตกลงซื้อขายที่ดินกัน สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอม แต่กลับให้การในอีกตอนหนึ่งว่า โจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญาตกลงกันเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2527 ว่า หนังสือสัญญาที่ทำไว้ก่อนหรือหลังสัญญาฉบับนี้ให้ถือว่าเป็นโมฆะ ฉะนั้นหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินท้ายฟ้องทั้งสามฉบับซึ่งทำขึ้นภายหลังหนังสือสัญญาดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวมาฟ้องบังคับจำเลยได้จึงเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม แต่คำให้การจำเลยเข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง และเป็นเพียงข้อเถียงข้อกล่าวหาของโจทก์ว่าจำเลยมิได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ตามคำฟ้องเท่านั้น จะแปลว่าเป็นคำให้การที่ต่อสู้ว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินท้ายฟ้องทั้งสามฉบับภายหลังทำหนังสือสัญญาฉบับลงวันที่ 12 มกราคม 2527 ไม่ได้ เพราะจำเลยให้การว่าโจทก์จำเลยไม่เคยตกลงซื้อขายที่ดินกัน
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาว่าปลอมสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสามฉบับในคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายทั้งสามฉบับดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีมูลคดีเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาดังกล่าว และโจทก์จำเลยในคดีแพ่งกับคดีอาญาเป็นคู่ความเดียวกัน จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อข้อเท็จจริงซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาทั้งสองเรื่องดังกล่าวถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237-5238/2539 การพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญาดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสี่ฉบับ (ซึ่งรวมถึงสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.11, จ.22 และ จ.25 ด้วย) เป็นเอกสารปลอม เมื่อรับฟังประกอบพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาว่าปลอมสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสามฉบับในคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายทั้งสามฉบับดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีมูลคดีเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาดังกล่าว และโจทก์จำเลยในคดีแพ่งกับคดีอาญาเป็นคู่ความเดียวกัน จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อข้อเท็จจริงซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาทั้งสองเรื่องดังกล่าวถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237-5238/2539 การพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญาดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสี่ฉบับ (ซึ่งรวมถึงสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.11, จ.22 และ จ.25 ด้วย) เป็นเอกสารปลอม เมื่อรับฟังประกอบพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานเกี่ยวกับจำนวนเงินกู้ยืมที่ไม่ตรงกับสัญญา การนำสืบเพื่อหักล้างความไม่สมบูรณ์ของหนี้
การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากโจทก์ไปเพียง 15,000 บาท แต่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน โดยระบุจำนวนเงินกู้ไว้ 40,000 บาท เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะดำเนินการฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินจำนวน 40,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญา การนำสืบของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงความไม่บริบูรณ์ของสัญญากู้ยืมเงิน ทั้งนี้เพราะสัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองจะบริบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 3 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินเต็มตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องจึงไม่ใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) แต่เป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยที่ 3 ย่อมนำสืบได้ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่จำเลยที่ 3 นำสืบดังกล่าวเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 และเชื่อว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 40,000 บาท จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้นำพยานหลักฐานของจำเลยที่ 3 มาวินิจฉัยเพื่อชั่งน้ำหนักกับพยานหลักฐานของโจทก์ว่าข้อเท็จจริงเชื่อฟังเป็นยุติอย่างไร ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ใช้อำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นฎีกานั้น จะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาปัญหาข้ออื่นโดยขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น ข้อฎีกาดังกล่าวมิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นฎีกานั้น จะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาปัญหาข้ออื่นโดยขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น ข้อฎีกาดังกล่าวมิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5125/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนลิขสิทธิ์เพลง: ศาลฎีกาวินิจฉัยโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เนื่องจากมีพฤติการณ์ยอมรับการโอนสิทธิ์
โจทก์กล่าวอ้างถึงสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงซึ่งมีรายชื่อเพลงพิพาทแนบท้ายโดยไม่ได้แสดงหลักฐานเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าว แต่กล่าวอ้างถึงบันทึกข้อตกลง แต่เมื่อฝ่ายจำเลยนำสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงมาถามค้าน โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้ง จึงฟังได้ในเบื้องต้นว่า สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงตามที่โจทก์กล่าวอ้างมีข้อความตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงที่จำเลยอ้าง ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีข้อความแสดงอยู่ว่า เป็นข้อตกลงในการโอนลิขสิทธิ์เพลงพิพาท โจทก์ทราบข้อความในเอกสารดีแล้ว จึงตกลงทำสัญญาด้วยการลงชื่อในเอกสารดังกล่าว ข้อกล่าวอ้างของโจทก์ในทำนองว่า โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงและเข้าใจผิดว่าเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิจึงมีน้ำหนักน้อย โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาประกอบกับคำเบิกความของโจทก์ที่ตอบทนายจำเลยทั้งสามถามค้านว่า โจทก์ประพันธ์และร้องเพลงให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ประมาณ 60 เพลง ห้างดังกล่าวเป็นผู้ลงทุนรวมทั้งจัดหานักดนตรี ห้องอัดเสียง และจัดจำหน่ายแผ่นเสียง โจทก์ทำหน้าที่เป็นนักร้องและดูแลให้การผลิตเพลงออกมาถูกต้องตามที่โจทก์ประพันธ์ หลังจากที่วางจำหน่ายและโฆษณาประชาสัมพันธ์เพลงเป็นที่นิยมแล้ว จะมีบุคคลว่าจ้างโจทก์ไปร้องเพลง ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า โจทก์ทราบถึงการดำเนินธุรกิจของห้างดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนที่มีการนำเพลงของโจทก์ไปใช้ประโยชน์มาตลอด สำหรับข้อนำสืบของโจทก์ที่ว่า โจทก์ได้ไปขึ้นทะเบียนรับทราบข้อมูลลิขสิทธิ์เพลง การที่โจทก์ขึ้นทะเบียนดังกล่าวยังไม่อาจรับฟังเป็นหลักฐานได้ว่า ลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทเป็นของโจทก์ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงกลับปรากฏต่อไปว่า หลังจากนั้นได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงขึ้น ซึ่งมีข้อความที่แสดงให้เห็นว่า โจทก์ยอมรับในการโอนลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทดังกล่าว แต่ในประเด็นนี้โจทก์เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยทั้งสามว่า โจทก์ไม่เคยเห็นและไม่ได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหมาย ล.3 ทั้งๆ ที่เอกสารดังกล่าวมีข้อความเช่นเดียวกับบันทึกข้อตกลงในการโอนลิขสิทธิ์เพลงพิพาท คำเบิกความของโจทก์จึงมีข้อพิรุธน่าสงสัย ทำให้ข้อกล่าวอ้างว่าโจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีน้ำหนักน้อยไม่น่าเชื่อถือ อนึ่ง ที่โจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสามถามค้านว่า สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในช่องผู้รับอนุญาตเป็นลายมือชื่อของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้เห็นข้อความนั้นเจือสมกับทางนำสืบของจำเลยทั้งสามที่ว่า โจทก์เคยมาขออนุญาตเพื่อใช้เพลงพิพาท อันเป็นการแสดงว่าโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทแล้ว พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมามีน้ำหนักน้อย และน่าเชื่อว่าโจทก์ได้ตกลงโอนลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทไปแล้ว โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานเพลงพิพาทอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถต่อการประมาทของลูกจ้าง และการระงับหนี้จากการชดใช้ค่าเสียหายบางส่วน
ในคดีแพ่งการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นเรื่องการชั่งน้ำหนักคำพยานว่า พยานหลักฐานของฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อกว่าอีกฝ่าย แม้จะไม่มีประจักษ์พยานเบิกความก็ไม่ได้หมายความว่าศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงไม่ได้ โจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์เก๋งคันที่ถูกบรรทุกชนมีพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุของโจทก์ เบิกความว่าได้ไปตรวจดูร่องรอยในที่เกิดเหตุและสอบถามพนักงานสอบสวนได้ความว่าผู้ขับรถบรรทุกขับรถโดยประมาทล้ำเข้าไปช่องเดินรถของรถยนต์เก๋ง หลังเกิดเหตุผู้ขับรถบรรทุกหลบหนีไป ส่วนจำเลยที่ 1 เจ้าของรถบรรทุกไม่นำสืบหักล้าง และยังทำบันทึกข้อตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ฝ่ายรถยนต์เก๋ง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ซึ่งเบิกความเพียงว่า ที่ต้องทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อนำรถบรรทุกออกไปใช้งานและเพื่อนของ ส. คนขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 มาขอยืมรถบรรทุกจากบุตรสาวจำเลยที่ 1 ไปขนไม้เพื่อใช้สร้างบ้านนั้นโดยไม่ปรากฏข้อท้วงติงในบันทึกดังกล่าวว่า เป็นการช่วยเหลือโดยเห็นแก่มนุษยธรรมเพิ่งกล่าวอ้างในภายหลัง จึงฟังได้ว่าผู้ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุขับรถโดยประมาท
ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์เก๋งมีข้อความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถบรรทุกจะซ่อมรถยนต์เก๋งคันที่ผู้ขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 ขับไปชนให้อยู่ในสภาพเดิมข้อตกลงในส่วนนี้ จึงไม่มีรายละเอียดและข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงิน วิธีชำระ ตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอนอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก และหาได้มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์คันเกิดเหตุ โดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้นแต่อย่างใดไม่ ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งที่เกิดเหตุดังกล่าวจึงยังไม่ระงับ ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถบรรทุกชดใช้เงินค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งนั้นเป็นเพียงการชดใช้ค่าเสียหายเพียงบางส่วนตามความรับผิดในสัญญาประกันภัย ไม่ทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับ
ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์เก๋งมีข้อความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถบรรทุกจะซ่อมรถยนต์เก๋งคันที่ผู้ขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 ขับไปชนให้อยู่ในสภาพเดิมข้อตกลงในส่วนนี้ จึงไม่มีรายละเอียดและข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงิน วิธีชำระ ตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอนอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก และหาได้มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์คันเกิดเหตุ โดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้นแต่อย่างใดไม่ ข้อความในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดในส่วนที่เกี่ยวกับค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งที่เกิดเหตุดังกล่าวจึงยังไม่ระงับ ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถบรรทุกชดใช้เงินค่าเสียหายของรถยนต์เก๋งนั้นเป็นเพียงการชดใช้ค่าเสียหายเพียงบางส่วนตามความรับผิดในสัญญาประกันภัย ไม่ทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9340/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงในคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้กับคดีอาญาซึ่งโจทก์ในคดีนี้เป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวมีประเด็นเป็นเรื่องเดียวกัน คือ จำเลยได้เบียดบังยักยอกทรัพย์ของโจทก์หรือไม่ และคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีพิพากษาคดีอาญา เมื่อคดีส่วนอาญาศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้เบียดบังยักยอกทรัพย์ คดีนี้จึงต้องถือข้อเท็จจริงตาม และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติหรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงในคดีนี้มีเพียงพอที่จะวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้วและมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6226/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: สัญญาเช่าและการซื้อขายที่ดินต้องมีหลักฐานชัดเจน การครอบครองแทนเจ้าของ
ที่ดินพิพาทมีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิครอบครองที่ดินซึ่งระบุชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากมีการตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจริง จำเลยก็น่าที่จะทำหลักฐานเป็นหนังสือว่าตนได้ตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทไว้แล้วเพื่อรักษาสิทธิของตนเองไว้ คงไม่ทำเพียงสัญญาเช่าอันเป็นการผูกมัดตนเองให้เสียหายผิดไปจากความเป็นจริง อีกทั้งเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมตำบล ม. ว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าที่ดินพิพาท จำเลยก็ไม่ได้ยกความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่จำเลยอ้างว่าได้ซื้อมาจากโจทก์ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำอุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการทำให้ไม่น่าเชื่อว่าได้มีการตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย และฟังได้ว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ ดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ การที่โจทก์ได้บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยไม่ยอมออกไปไม่อาจถือว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการครอบครองที่ดินพิพาทเป็นยึดถือเพื่อตนไปยังโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แล้วได้ และจำเลยก็ไม่อาจยกเอาเรื่องการครอบครองของตนหลังจากนั้นขึ้นอ้างว่าเป็นการแย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ได้ด้วย ที่ดินพิพาทจึงเป็นของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3621/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดปล่อยน้ำเสียโรงงานทำปลาตาย ศาลฎีกายืนโรงงานต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
เมื่อน้ำที่โจทก์สูบเข้าไปในบ่อตกปลาของโจทก์เป็นน้ำที่มีสารพิษอันเนื่องจากโรงงานของจำเลยปล่อยน้ำทิ้งลงสู่คูน้ำสาธารณะและเป็นเหตุให้ปลาในบ่อตกปลาของโจทก์ดังกล่าวตาย การที่จำเลยไม่อาจพิสูจน์ให้เห็นว่า น้ำจากโรงงานของจำเลยที่ระบายลงสู่ท่อน้ำทิ้งและไหลลงสู่คูน้ำสาธารณะดังกล่าวเป็นน้ำใสและปลอดจากสารเคมีซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต รวมทั้งปลาในบ่อตกปลาของโจทก์ ลำพังคำเบิกความลอยๆ ปราศจากพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนโดยเฉพาะพยานผู้เชี่ยวชาญ จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เหตุที่ปลาในบ่อตกปลาของโจทก์ตายเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย
แม้โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงความเสียหายได้แน่ชัด แต่รูปการณ์แห่งคดีที่โจทก์นำสืบแสดงความเสียหายของปลาในบ่อตกปลาของโจทก์ ศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์ให้เหมาะสมกับพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดได้
แม้โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงความเสียหายได้แน่ชัด แต่รูปการณ์แห่งคดีที่โจทก์นำสืบแสดงความเสียหายของปลาในบ่อตกปลาของโจทก์ ศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์ให้เหมาะสมกับพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8958/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมและการค้ำประกัน ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานและไม่ผูกมัดต้องส่งตรวจพิสูจน์เสมอไป
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดเป็นความเห็นอันหนึ่งเท่านั้น หาเป็นการผูกมัดศาลให้ต้องส่งเรื่องราวไปตรวจพิสูจน์เสมอไปไม่ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า ลายมือชื่อของจำเลยเท่าที่ปรากฏเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงปฏิเสธไม่ส่งลายมือชื่อของจำเลยไปตรวจพิสูจน์ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นตามที่เห็นสมควร การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีไปโดยไม่ได้ส่งลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองไปตรวจพิสูจน์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8287-8289/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีแรงงาน: การงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงคู่ความรับกันเพียงพอ ชี้ว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชอบแล้ว
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางว่า ศาลแรงงานกลางได้สอบข้อเท็จจริงจากโจทก์ทั้งสามและจำเลยประกอบเอกสารแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ซึ่งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวอนุโลมใช้กับคดีแรงงานด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานกลางสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความประกอบเอกสารในวันนัดกำหนดประเด็นและสืบพยานโจทก์ เมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับเพียงพอที่จะฟังเป็นยุติและพอวินิจฉัยได้แล้วจึงสั่งงดสืบพยาน แล้ววินิจฉัยคดีตามที่คู่ความรับกัน ถือได้ว่าศาลแรงงานกลางได้ใช้ดุลพินิจวิเคราะห์พยานหลักฐานในการรับฟังข้อเท็จจริงคดีนี้ จึงไม่มีกรณีที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้มีการสืบพยานที่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ข้อ 10 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดว่า "ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้มีการสืบพยาน ศาลจะสอบถามคู่ความแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้าง..." ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาชอบแล้ว