พบผลลัพธ์ทั้งหมด 629 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์: ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ผู้เช่าย่อมผูกพันตามสัญญา
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 มิได้บังคับว่าผู้ให้เช่าจำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่า เพียงแต่ผู้ให้เช่ามีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่าซึ่งโจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน แม้ทรัพย์สินที่เช่าจะมิใช่ของโจทก์ แต่เมื่อจำเลยยอมรับทำสัญญาเช่ากับโจทก์ จำเลยย่อมต้องผูกพันตามสัญญา เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
สัญญาเช่ากำหนดไว้ 3 ปี สัญญาย่อมระงับเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลา โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวก่อน การที่จำเลยต่อสู้ว่าเมื่อครบกำหนดเวลาเช่าแล้ว จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่เช่าและชำระค่าเช่าแก่โจทก์ โจทก์ก็รับไว้โดยมิได้ทักท้วง ถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลานั้น หมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาไม่มีผลบังคับกันต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเดิมรวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย หากมีการต่อสัญญาเช่ากันจริงก็ไม่มีเหตุผลอันใดที่จำเลยจะชำระค่าเช่าสูงกว่าอัตราค่าเช่าตามที่ระบุในหนังสือสัญญาเช่าที่ดิน ข้อนำสืบของจำเลยเกี่ยวกับการชำระค่าเช่าจึงไม่มีน้ำหนักแก่การรับฟังและไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันใหม่ จำเลยจึงต้องออกไปจากที่ดินที่เช่าทันทีที่สิ้นสุดกำหนดเวลา โดยโจทก์ไม่จำต้องมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยก่อนฟ้อง
สัญญาเช่ากำหนดไว้ 3 ปี สัญญาย่อมระงับเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลา โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวก่อน การที่จำเลยต่อสู้ว่าเมื่อครบกำหนดเวลาเช่าแล้ว จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่เช่าและชำระค่าเช่าแก่โจทก์ โจทก์ก็รับไว้โดยมิได้ทักท้วง ถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลานั้น หมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาไม่มีผลบังคับกันต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเดิมรวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย หากมีการต่อสัญญาเช่ากันจริงก็ไม่มีเหตุผลอันใดที่จำเลยจะชำระค่าเช่าสูงกว่าอัตราค่าเช่าตามที่ระบุในหนังสือสัญญาเช่าที่ดิน ข้อนำสืบของจำเลยเกี่ยวกับการชำระค่าเช่าจึงไม่มีน้ำหนักแก่การรับฟังและไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันใหม่ จำเลยจึงต้องออกไปจากที่ดินที่เช่าทันทีที่สิ้นสุดกำหนดเวลา โดยโจทก์ไม่จำต้องมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยก่อนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ไม่ติดอากรแสตมป์ ใช้เป็นหลักฐานได้ หากเป็นเพียงเอกสารลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียวลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน จึงเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามความมุ่งหมายแห่ง ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 103,104 และ 118 แต่อย่างใด ดังนั้น แม้หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จ, ฟ้องเท็จ, การจับกุม, และการไต่สวนมูลฟ้อง: ศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานเพียงพอ
พฤติการณ์ของโจทก์ทั้งสามเกี่ยวกับการทำสัญญาจะขายที่ดินแก่จำเลยที่ 1 มีเหตุทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจได้ว่าโจทก์ทั้งสามร่วมกันหลอกลวงจำเลยที่ 1 ทั้งข้อความที่จำเลยที่ 1 แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนก็เป็นการแจ้งข้อความไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีมูลความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา และการที่จำเลยที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีที่พนักงานอัยการฟ้องโจทก์ทั้งสามเป็นจำเลยในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีมูลความผิดฐานฟ้องเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาเช่นกัน
เมื่อจำเลยที่ 1 แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสามในข้อหาฉ้อโกง และตามคำแจ้งความร้องทุกข์ของจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ต่าง ๆ ให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ทั้งสามร่วมกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทรัพย์ของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์ได้ดำเนินการและเมื่อสอบสวนแล้วได้ทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้อง จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานสอบสวนที่จะกระทำได้โดยชอบ ส่วนการออกหมายจับโจทก์ทั้งสามนั้นก็เป็นการออกหมายจับหลังจากที่โจทก์ทั้งสามไม่ไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกหลายครั้ง กรณีจึงมีเหตุที่จะออกหมายจับโจทก์ทั้งสามได้ ในการขอออกหมายจับ กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 เห็นชอบให้ออกหมายจับโจทก์ที่ 1 ถ้าโจทก์ที่ 1 มิได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 ส่วนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ให้สอบสวนต่อไป การที่ต่อมาวันที่ 31 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์ที่ 1 ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลที่เกิดเหตุได้ออกหมายจับโจทก์ทั้งสาม จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือผิดระเบียบข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยดังที่โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีมูลความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การจับโจทก์ที่ 1 ที่บ้านโดยมีหมายจับของเจ้าพนักงานตำรวจและหมายค้นของศาล ทั้งพฤติการณ์ในการตรวจค้นจับกุมก็ปรากฏว่า เจ้าพนักงานตำรวจไปที่บ้านโจทก์ที่ 1 เวลา 18.02 นาฬิกา เมื่อแสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและแสดงหมายค้น โจทก์ที่ 1 ซึ่งยืนอยู่บริเวณด้านในรั้วบ้านได้ปิดล็อกกุญแจรั้วหน้าบ้านแล้ววิ่งหนีเข้าบ้านไปปิดล็อกกุญแจบ้านด้านในอีกชั้นหนึ่งและไม่ยอมเปิดประตูโดยอ้างว่าจะไปมอบตัวในวันหลัง แสดงว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปจับกุม การที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปใช้ไม้กระแทกประตูบ้านที่ปิดล็อกกุญแจด้านในไว้จนเปิดออกแล้ว เข้าไปจับโจทก์ที่ 1 จึงเป็นกรณีจำเป็นซึ่งเจ้าพนักงาานตำรวจผู้จัดการตามหมายค้นมีอำนาจกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 94 วรรคสอง
โจทก์ทั้งสามถูกจับกุมไปที่สถานีตำรวจเมื่อเวลา 23 นาฬิกา เมื่อไปถึง พนักงานสอบสวนซึ่งรับตัวโจทก์ที่ 1 ย่อมจะต้องทำการสอบสวนและทำประวัติโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถูกจับกุมในเวลาต่อมา อีกทั้งในการสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของโจทก์ทั้งสามยังจะต้องพิจารณาข้อกล่าวหา พยานหลักฐาน พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีและความน่าเชื่อถือของหลักประกันด้วย ซึ่งจะต้องใช้เวลาตามสมควร การที่เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวโดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง จึงสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโจทก์ทั้งสามเช่นนี้เป็นการใช้เวลาตามสมควรแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีมูลความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อปรากฏว่าจากคำเบิกความของโจทก์ที่ 1 ซึ่งแม้จะเบิกความยังไม่จบคำถามค้านของทนายจำเลย ประกอบพยานเอกสารที่คู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างส่งศาล ข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้ว คดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องอีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้อง และศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องมานั้นชอบแล้ว
เมื่อจำเลยที่ 1 แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสามในข้อหาฉ้อโกง และตามคำแจ้งความร้องทุกข์ของจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ต่าง ๆ ให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ทั้งสามร่วมกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทรัพย์ของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์ได้ดำเนินการและเมื่อสอบสวนแล้วได้ทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้อง จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของจำเลยที่ 3 ในฐานะพนักงานสอบสวนที่จะกระทำได้โดยชอบ ส่วนการออกหมายจับโจทก์ทั้งสามนั้นก็เป็นการออกหมายจับหลังจากที่โจทก์ทั้งสามไม่ไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกหลายครั้ง กรณีจึงมีเหตุที่จะออกหมายจับโจทก์ทั้งสามได้ ในการขอออกหมายจับ กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 เห็นชอบให้ออกหมายจับโจทก์ที่ 1 ถ้าโจทก์ที่ 1 มิได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 ส่วนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ให้สอบสวนต่อไป การที่ต่อมาวันที่ 31 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์ที่ 1 ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลที่เกิดเหตุได้ออกหมายจับโจทก์ทั้งสาม จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือผิดระเบียบข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยดังที่โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีมูลความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การจับโจทก์ที่ 1 ที่บ้านโดยมีหมายจับของเจ้าพนักงานตำรวจและหมายค้นของศาล ทั้งพฤติการณ์ในการตรวจค้นจับกุมก็ปรากฏว่า เจ้าพนักงานตำรวจไปที่บ้านโจทก์ที่ 1 เวลา 18.02 นาฬิกา เมื่อแสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและแสดงหมายค้น โจทก์ที่ 1 ซึ่งยืนอยู่บริเวณด้านในรั้วบ้านได้ปิดล็อกกุญแจรั้วหน้าบ้านแล้ววิ่งหนีเข้าบ้านไปปิดล็อกกุญแจบ้านด้านในอีกชั้นหนึ่งและไม่ยอมเปิดประตูโดยอ้างว่าจะไปมอบตัวในวันหลัง แสดงว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปจับกุม การที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปใช้ไม้กระแทกประตูบ้านที่ปิดล็อกกุญแจด้านในไว้จนเปิดออกแล้ว เข้าไปจับโจทก์ที่ 1 จึงเป็นกรณีจำเป็นซึ่งเจ้าพนักงาานตำรวจผู้จัดการตามหมายค้นมีอำนาจกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 94 วรรคสอง
โจทก์ทั้งสามถูกจับกุมไปที่สถานีตำรวจเมื่อเวลา 23 นาฬิกา เมื่อไปถึง พนักงานสอบสวนซึ่งรับตัวโจทก์ที่ 1 ย่อมจะต้องทำการสอบสวนและทำประวัติโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถูกจับกุมในเวลาต่อมา อีกทั้งในการสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของโจทก์ทั้งสามยังจะต้องพิจารณาข้อกล่าวหา พยานหลักฐาน พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีและความน่าเชื่อถือของหลักประกันด้วย ซึ่งจะต้องใช้เวลาตามสมควร การที่เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวโดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง จึงสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโจทก์ทั้งสามเช่นนี้เป็นการใช้เวลาตามสมควรแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีมูลความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อปรากฏว่าจากคำเบิกความของโจทก์ที่ 1 ซึ่งแม้จะเบิกความยังไม่จบคำถามค้านของทนายจำเลย ประกอบพยานเอกสารที่คู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างส่งศาล ข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้ว คดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องอีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้อง และศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องมานั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการตรวจค้นโดยชอบด้วยกฎหมาย การใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงาน และการพิพากษาคดีอาญา
การจับ ส. ที่บ้านได้กระทำโดยมีหมายจับที่พันตำรวจเอก ร. ออกโดยชอบและหมายค้นของศาลจังหวัดมีนบุรี เมื่อแสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและแสดงหมายค้น ส. ซึ่งยืนอยู่ด้านในรั้วบ้านได้ปิดล็อกกุญแจรั้วหน้าบ้าน แล้ววิ่งหนีเข้าบ้านไปปิดล็อกกุญแจบ้านด้านในอีกชั้นหนึ่งและไม่ยอมเปิดประตูโดยอ้างว่าจะไปมอบตัวในวันหลัง แสดงว่า ส. ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปจับกุม การที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปใช้ไม้กระแทกประตูบ้านที่ปิดล็อกกุญแจด้านในไว้จนเปิดออกแล้วเข้าไปจับ ส. จึงเป็นกรณีจำเป็น ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้จัดการตามหมายค้นมีอำนาจกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 94 วรรคสอง
ตามสำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี เจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นจับกุมที่บ้าน ส. เวลา 18.02 นาฬิกา แสดงว่าลงมือตรวจค้นตั้งแต่เวลา 18.02 นาฬิกาซึ่งยังเป็นเวลากลางวัน เมื่อยังไม่เสร็จจึงมีอำนาจตรวจค้นจับกุมต่อไป ในเวลากลางคืนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96(1)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อคำเบิกความของ ส. ซึ่งแม้จะยังไม่จบคำถามค้านของทนายจำเลยประกอบพยานเอกสารที่คู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างส่งศาลข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้วคดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องต่อไป
ตามสำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี เจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นจับกุมที่บ้าน ส. เวลา 18.02 นาฬิกา แสดงว่าลงมือตรวจค้นตั้งแต่เวลา 18.02 นาฬิกาซึ่งยังเป็นเวลากลางวัน เมื่อยังไม่เสร็จจึงมีอำนาจตรวจค้นจับกุมต่อไป ในเวลากลางคืนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96(1)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อคำเบิกความของ ส. ซึ่งแม้จะยังไม่จบคำถามค้านของทนายจำเลยประกอบพยานเอกสารที่คู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างส่งศาลข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้วคดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5080/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในการบังคับใช้กฎหมายต้องเป็นไปตามกระบวนการทางศาล การกระทำโดยพลการถือเป็นการละเมิด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เข้าดำเนินงานสถานีบริการน้ำมันสวัสดิการค่ายสรรพสิทธิประสงค์ ในบริเวณมณฑลทหารบกที่ 22 โดยพลตรี น. ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22 ในขณะนั้นได้กระทำการในฐานะตัวแทนกองทัพบกจำเลยที่ 1 ให้โจทก์จัดจำหน่ายน้ำมัน 15 ปี โดยเสียค่าเช่า แต่จำเลยที่ 2 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22 คนต่อมาได้แจ้งให้โจทก์ขนย้ายสิ่งของออกจากสถานีบริการน้ำมัน หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 พร้อมผู้ใต้บังคับบัญชาตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ได้ปิดล้อม หน่วงเหนี่ยว กักขัง บุกรุกทำลายทรัพย์สินของโจทก์ในบริเวณสถานีบริการน้ำมัน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามหยุดการรบกวนการครอบครองของโจทก์ และชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งหากข้อเท็จจริงได้ความตามฟ้องโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสามก็ย่อมเป็นละเมิด คดีจึงจำต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความทั้งสองฝ่ายให้เสร็จสิ้นกระแสความเสียก่อน แม้หากจะฟังว่าการกระทำของพลตรี น. ไม่ผูกพันจำเลยทั้งสามก็ชอบที่จำเลยทั้งสามจะต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้โจทก์ออกไป ไม่มีอำนาจบังคับคดีเองโดยพลการ หากขืนทำไปก็ย่อมเป็นละเมิดต่อโจทก์ได้ ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยทั้งสามเสียจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4330/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากการขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดและการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่สมเหตุสมผล
การโอนทรัพย์สินหรือขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดที่จะทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนหรือราคาเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ทวิ(4)จะต้องเป็นการโอนทรัพย์สินหรือขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรการที่โจทก์ขายสินค้าต่ำกว่าราคาทุนเพียงเล็กน้อย แต่ทำให้มีส่วนในการส่งเสริมการขายของโจทก์ทำให้สินค้าของโจทก์รู้จักกันแพร่หลาย โจทก์มีรายได้และมีกำไรเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นการขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันสมควรการที่เจ้าพนักงานประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ
โจทก์ บริษัท ท. และบริษัท ร. ทำสัญญาเช่าและสัญญาการให้บริการสาธารณูปโภคกับบริษัท ส. ผู้ให้เช่าอาคาร โดยมีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท ท. และบริษัท ร. เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน ซึ่งความรับผิดตามสัญญาเช่าและสัญญาการให้บริการสาธารณูปโภคในระหว่างผู้เช่าด้วยกันโจทก์รับผิดเพียงหนึ่งในสามของค่าเช่าและค่าบริการต่าง ๆ มิใช่ต้องรับผิดทั้งหมดรายจ่ายส่วนที่โจทก์จ่ายแทนผู้เช่าอีก 2 บริษัท จึงเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี(13) ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่เจ้าพนักงานประเมินตัดรายจ่ายในส่วนนี้ออกสองในสามส่วนและประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มจึงชอบแล้ว
โจทก์ บริษัท ท. และบริษัท ร. ทำสัญญาเช่าและสัญญาการให้บริการสาธารณูปโภคกับบริษัท ส. ผู้ให้เช่าอาคาร โดยมีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท ท. และบริษัท ร. เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน ซึ่งความรับผิดตามสัญญาเช่าและสัญญาการให้บริการสาธารณูปโภคในระหว่างผู้เช่าด้วยกันโจทก์รับผิดเพียงหนึ่งในสามของค่าเช่าและค่าบริการต่าง ๆ มิใช่ต้องรับผิดทั้งหมดรายจ่ายส่วนที่โจทก์จ่ายแทนผู้เช่าอีก 2 บริษัท จึงเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี(13) ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่เจ้าพนักงานประเมินตัดรายจ่ายในส่วนนี้ออกสองในสามส่วนและประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ต้องรอคำพิพากษาถึงที่สุด
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/26 บัญญัติแสดงโดยแจ้งชัดว่าหากเจ้าหนี้ประสงค์ที่จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการจะต้องยื่นคำรับชำระหนี้ตามวิธีการที่กฎหมายได้ระบุไว้ โดยบทบัญญัติวรรคหนึ่งของมาตรานี้ส่วนท้ายแยกเป็น 2 กรณี คือ กรณีแรกเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา กรณีที่สองเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้ว แต่คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาซึ่งหมายถึงศาลยังไม่มีคำพิพากษา
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง ในกรณีแรก หากรอให้ศาลพิพากษาในชั้นที่สุดเสียก่อน เจ้าหนี้ก็ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ ทำให้เจ้าหนี้หมดสิทธิได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 90/61 การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการหรือไม่ จึงมิใช่เป็นเพราะหนี้นั้นเป็นมูลหนี้ตามคำพิพากษาเพียงประการเดียวแต่ต้องประกอบด้วยการพิสูจน์หนี้ของเจ้าหนี้ การสอบสวนและคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวมทั้งคำสั่งของศาลในกรณีที่มีผู้ยื่นคำร้องคัดค้านเป็นสำคัญ กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้มีผู้โต้แย้งมูลหนี้ดังกล่าวได้ แต่เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้วมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา และผู้บริหารแผนร้องคัดค้านต่อศาลล้มละลายหากศาลล้มละลายได้พิจารณาคำร้องคัดค้านคำคัดค้านของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหนี้แล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัย จึงให้งดไต่สวน ย่อมถือได้ว่าเป็นอำนาจของศาลล้มละลายที่กระทำได้โดยชอบ
ลูกหนี้อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลล้มละลายเรื่องขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงฉบับละ 25 บาท ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179(2) ประกอบด้วยมาตรา 90/2 วรรคสอง
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง ในกรณีแรก หากรอให้ศาลพิพากษาในชั้นที่สุดเสียก่อน เจ้าหนี้ก็ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ ทำให้เจ้าหนี้หมดสิทธิได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 90/61 การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการหรือไม่ จึงมิใช่เป็นเพราะหนี้นั้นเป็นมูลหนี้ตามคำพิพากษาเพียงประการเดียวแต่ต้องประกอบด้วยการพิสูจน์หนี้ของเจ้าหนี้ การสอบสวนและคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวมทั้งคำสั่งของศาลในกรณีที่มีผู้ยื่นคำร้องคัดค้านเป็นสำคัญ กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้มีผู้โต้แย้งมูลหนี้ดังกล่าวได้ แต่เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนแล้วมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา และผู้บริหารแผนร้องคัดค้านต่อศาลล้มละลายหากศาลล้มละลายได้พิจารณาคำร้องคัดค้านคำคัดค้านของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหนี้แล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัย จึงให้งดไต่สวน ย่อมถือได้ว่าเป็นอำนาจของศาลล้มละลายที่กระทำได้โดยชอบ
ลูกหนี้อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลล้มละลายเรื่องขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงฉบับละ 25 บาท ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179(2) ประกอบด้วยมาตรา 90/2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9105/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ทำให้ไม่มีสิทธิฎีกา
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานจำเลย ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นและให้สืบพยานจำเลยต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้สืบพยานจำเลยต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ โดยจำเลยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการมิชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7149-7150/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีและการพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์เลื่อนการสืบพยานหลายครั้งและทุกครั้งก็ได้กำชับโจทก์ให้เตรียมพยานมาให้พร้อมสืบ แต่โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม ครั้งสุดท้ายศาลชั้นต้นได้กำชับโจทก์อีกว่าหากมีเหตุขัดข้องเกี่ยวกับพยานจะถือว่าโจทก์ประวิงคดี แต่โจทก์ก็ขอเลื่อนคดีอีกโดยอ้างว่าทนายโจทก์ป่วย แต่เมื่อตรวจดูใบความเห็นแพทย์ท้ายคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์แล้ว ปรากฏว่าทนายโจทก์เป็นไข้หวัดและคออักเสบ เป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อย มิได้มีอาการหนักถึงกับไปศาลไม่ได้ ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องให้แพทย์ไปตรวจแล้วจึงมีคำสั่งดังโจทก์อ้าง อีกทั้งยังปรากฏอีกว่าโจทก์ไม่มีพยานไปศาลและโจทก์ไม่ได้ขอหมายเรียกพยานไว้ พฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่เหลือจึงชอบแล้ว
พยานโจทก์ทุกปากต่างเบิกความว่าไม่รู้เห็นและไม่อาจยืนยันได้ว่าลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ที่โจทก์อ้างเป็นพยานนั้นเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย พยานเอกสารของโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยได้ทำคำขอเปิดบัญชี สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาอื่นกับโจทก์ ฝ่ายจำเลยให้การปฏิเสธว่าลายมือชื่อในเอกสารของโจทก์มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย ผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญก็ลงความเห็นว่าลายมือชื่อในตัวอย่างและเอกสารของโจทก์ไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน พยานหลักฐานจำเลยจึงมีน้ำหนักในการรับฟังมากกว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยไม่ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์
พยานโจทก์ทุกปากต่างเบิกความว่าไม่รู้เห็นและไม่อาจยืนยันได้ว่าลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ที่โจทก์อ้างเป็นพยานนั้นเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย พยานเอกสารของโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยได้ทำคำขอเปิดบัญชี สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาอื่นกับโจทก์ ฝ่ายจำเลยให้การปฏิเสธว่าลายมือชื่อในเอกสารของโจทก์มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย ผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญก็ลงความเห็นว่าลายมือชื่อในตัวอย่างและเอกสารของโจทก์ไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน พยานหลักฐานจำเลยจึงมีน้ำหนักในการรับฟังมากกว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยไม่ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6373/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างสิ้นสุดเมื่อมีข้อตกลงใหม่ หรือยกเลิกข้อตกลงเดิม การจ่ายโบนัสตามข้อตกลงเดิม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง หมายความว่า ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นว่าคดีไม่อาจเจรจาตกลงประนีประนอมยอมความกันได้และจำเป็นต้องสืบพยานของคู่ความ ศาลแรงงานจึงจะดำเนินกระบวนพิจารณาโดยกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้นำพยานเข้าสืบก่อนหรือหลัง แต่หากศาลแรงงานเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่จำต้องสืบพยานของคู่ความแล้ว ศาลแรงงานก็ไม่จำต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
ศาลแรงงานไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยแล้ว แต่คู่ความตกลงกันไม่ได้และเมื่อฟังคำแถลงของคู่ความประกอบกับเอกสารที่คู่ความเสนอมาแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยและพิพากษาคดีไป กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานชอบแล้ว
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง และมาตรา 12 วรรคสอง หมายความว่า เมื่อสถานประกอบกิจการใดจัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นแล้ว หากระยะเวลาการบังคับใช้ที่กำหนดไว้ในข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงโดยมิได้มีการเจรจาตกลงกันใหม่ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นจะมีผลใช้บังคับต่อ ๆ ไป อีกคราวละหนึ่งปี ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนี้จะสิ้นผลใช้บังคับต่อเมื่อนายจ้างและลูกจ้างทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นใหม่เท่านั้น
ศาลแรงงานไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยแล้ว แต่คู่ความตกลงกันไม่ได้และเมื่อฟังคำแถลงของคู่ความประกอบกับเอกสารที่คู่ความเสนอมาแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยและพิพากษาคดีไป กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานชอบแล้ว
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง และมาตรา 12 วรรคสอง หมายความว่า เมื่อสถานประกอบกิจการใดจัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นแล้ว หากระยะเวลาการบังคับใช้ที่กำหนดไว้ในข้อตกลงดังกล่าวสิ้นสุดลงโดยมิได้มีการเจรจาตกลงกันใหม่ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นจะมีผลใช้บังคับต่อ ๆ ไป อีกคราวละหนึ่งปี ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนี้จะสิ้นผลใช้บังคับต่อเมื่อนายจ้างและลูกจ้างทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นใหม่เท่านั้น