คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 104

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 629 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1766-1771/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชยเมื่อนายจ้างหยุดกิจการ โดยการโอนย้ายลูกจ้างไปทำงานที่อื่นไม่ถือเป็นการยินยอม
ศาลแรงงานพิเคราะห์คำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลย อีกทั้งคำแถลงรับของคู่ความแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานและใช้ดุลพินิจรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานรับฟังข้อเท็จจริงโดยไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่แน่ชัดเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การเลิกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง มีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปอันมีผลตลอดไปเป็นการถาวร ประการที่สอง นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง และประการที่สาม สาเหตุเนื่องมาจากสัญญาจ้างสิ้นสุดหรือเหตุอื่นใด
นายจ้างหยุดกิจการเป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่ได้ทำงานกับนายจ้าง แม้นายจ้างจะโอนย้ายลูกจ้างให้ไปทำงานกับบุคคลภายนอกก็ต้องให้ลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 577 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วยจึงต้องถือว่านายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานอันมีผลตลอดไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเนื่องจากนายจ้างหยุดกิจการอันเป็นเหตุอื่นใด จึงเป็นกรณีเลิกจ้าง นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 เมื่อนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า นายจ้างจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 582 ด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทผู้เป็นนายจ้าง จำเลยซึ่งมีหน้าที่จัดการใช้หนี้เงินของบริษัทนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท การพิพากษานอกฟ้อง และการพิสูจน์การยกทรัพย์สินให้แก่ผู้อื่น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับ ป. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว เนื่องจาก ป. ได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นเรือนหอก่อนแล้ว จำเลยให้การว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ป. ซึ่งได้ยกให้จำเลยโดยได้จดทะเบียนถูกต้องและ ป. ยังทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้จำเลยเพียงผู้เดียวคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ป. และไม่ได้ยกให้แก่โจทก์หรือจำเลยแล้วพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกลับคืนเป็นชื่อของ ป. ตามเดิม จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้อยู่กินร่วมกันในบ้านพิพาทมาตลอดหากเพียงแต่พักอาศัยอยู่ลักษณะเป็นการชั่วคราว ดังจะเห็นได้จากที่โจทก์แยกครอบครัวไปอยู่ที่อื่นหลังจากนั้นไม่นาน ประกอบกับไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ทั้งได้ความจากปลัดอำเภอผู้จัดทำหนังสือมอบอำนาจจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ ป. ว่า ป.ต้องการแบ่งที่ดินพิพาทส่วนที่ไม่มีบ้านให้จำเลย ส่วนที่ดินพิพาทบริเวณที่มีบ้านจะเก็บไว้ก่อน เช่นนี้พอชี้ชัดได้ว่า ป. มิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นสิทธิเด็ดขาด พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาประกันภัย: ภาระการพิสูจน์อยู่ที่จำเลยหากอ้างว่าไม่ใช่ลายมือชื่อผู้เอาประกัน
จำเลยรับว่าได้รับประกันชีวิตให้แก่ผู้ขอเอาประกันภัยในนาม "ส."แล้วแต่กล่าวอ้างว่าผู้ขอเอาประกันภัยตามคำขอเอกสารหมาย จ.15 และจ.16 ไม่ใช่ ส. ลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวมิใช่ลายมือชื่อของ ส.ภาระการพิสูจน์ประเด็นนี้จึงตกแก่จำเลย เมื่อปรากฏว่าพยานจำเลยมีเพียงพนักงานของจำเลยเบิกความว่าจำเลยปฏิเสธคำขอเอาประกันภัยของ ส. ไปแล้ว ลายมือชื่อในคำขอเอาประกันภัยมิใช่ลายมือชื่อของ ส.โดยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบแล้ว แต่จำเลยมิได้นำผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความยืนยันความเห็นดังกล่าวต่อศาล ความเห็นเกี่ยวกับลายมือชื่อจึงมีเพียงคำเบิกความลอย ๆ ศาลฎีกาตรวจพิเคราะห์ลายมือชื่อในคำขอเอาประกันภัยเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของ ส. ในเอกสารอื่นหลายฉบับแล้ว ปรากฏว่าแม้แต่ลายมือชื่อที่แท้จริงของ ส. ในเอกสารแต่ละฉบับดังกล่าวยังไม่เหมือนกันเสียทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงยากที่จะชี้ชัดลงไปได้ว่ามิใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ เพราะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เฉพาะด้านทำการตรวจพิสูจน์ แต่จำเลยก็หาได้นำผู้เชี่ยวชาญที่อ้างมานำสืบต่อศาลไม่ ส่วนข้อเท็จจริงอื่นที่อ้างว่าเป็นพิรุธ เช่น โจทก์จดทะเบียนสมรสกับ ส. ได้เพียงสองวันก่อนการขอเอาประกันชีวิตหรือฐานะของโจทก์และ ส. เป็นต้น ก็ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอให้รับฟังว่าส. มิได้เป็นผู้เอาประกันชีวิตต่อจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: จำเลยประมาทแต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้ตายไม่มีส่วนประมาท
แม้ขณะก่อนเกิดเหตุ ผู้ตายขับรถด้วยความเร็ว 70-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก็ตาม หากรถที่จำเลยขับไม่เสียหลักมาขวางถนนในช่องทางเดินรถของผู้ตายในระยะกระชั้นชิด เหตุเฉี่ยวชนคงจะไม่เกิดขึ้นดังปรากฏตามแผนที่เกิดเหตุแสดงให้เห็นว่าผู้ตายขับรถด้วยความระมัดระวังอย่างดีแล้วและได้พยายามหักหลบไปทางซ้าย แต่ไม่สามารถหลบได้พ้นรถเทรลเลอร์ที่จำเลยขับ พร้อมส่วนพ่วงมีความยาวทั้งหมด 11 ถึง 12 เมตร มีน้ำหนักมากทั้งสภาพเป็นทางขึ้นเนินหากจำเลยขับรถด้วยความเร็วประมาณ 30 ถึง 40กิโลเมตรต่อชั่วโมงอาจจะไม่สามารถขึ้นเนินได้ เชื่อได้ว่าจำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูง เมื่อห้ามล้อกะทันหันจึงเสียหลักขวางถนนเข้าไปในช่องทางเดินรถของผู้ตาย เหตุที่รถยนต์ทั้งสองคันเฉี่ยวชนกันเกิดจากความประมาทของจำเลยแต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้ตายมิได้มีส่วนร่วมประมาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่และการพิสูจน์ภาระหน้าที่ของจำเลยในคดีสัญญากู้ยืมเงิน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับชำระหนี้เงินตามสัญญากู้ยืมเงินและคืน น.ส.3 ก. ที่ให้เป็นประกัน ดังนี้ เมื่อจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องจริง แต่อ้างว่าได้เปลี่ยนสัญญากู้ยืมเงินกันใหม่อีก 2 ครั้ง จึงเป็นการกล่าวอ้างว่า คู่กรณีได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้คือจำนวนเงินที่กู้ยืม หากเป็นจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้าง หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องย่อมระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 โจทก์ย่อมขอชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวอีกมิได้ เหตุนี้ จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ว่ามีการแปลงหนี้ใหม่จริงหรือไม่
เมื่อกรณีเป็นที่ยุติแล้วว่า หากโจทก์ชนะคดีก็ได้เพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของตนคืนเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจให้จำเลยส่งมอบที่นาและห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่นาโจทก์รวมทั้งไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในกรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา เพราะมิใช่การฟ้องขับไล่จำเลยที่โจทก์ต้องดำเนินการเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการซื้อขายอาคารเวนคืน สัญญาเป็นโมฆียะ
จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์เสนอขายอาคาร 5 ชั้นพร้อมที่จอดรถใต้ดิน แต่ไปยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร 4 ชั้นต่อสำนักงานเขตประเวศ ต่อมาจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทกับโจทก์ระบุว่าอาคารพิพาทเป็นอาคาร 5 ชั้นพร้อมรายการประกอบแบบโดยทั่วไป ซึ่งผิดไปจากแบบที่จำเลยยื่นขออนุญาตไว้ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการปิดบังมิให้โจทก์ทราบความจริงว่าจำเลยขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาทไว้เพียง 4 ชั้น นอกจากนี้ จำเลยได้ทำบันทึกการขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาทฯ รับทราบว่าอาคารพิพาทที่จำเลยยื่นขออนุญาตก่อสร้างอยู่ในบริเวณที่ดินที่จะสำรวจเพื่อเวนคืน แต่จำเลยยังมีความประสงค์จะก่อสร้างโดยจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องเอาเงินค่าทดแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนี้ ที่ดินและอาคารพิพาทมีราคาสูงถึง 15,000,000 บาท หากโจทก์ทราบหรือแม้แต่เพียงสงสัยว่าจะมีการเวนคืน โจทก์ย่อมจะไม่ยอมทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยอย่างแน่นอน เพราะเงินค่าทดแทนที่จะได้รับจากการถูกเวนคืนนั้นไม่คุ้มกับจำนวนเงินที่จะต้องชำระให้แก่จำเลย การที่จำเลยปิดบังข้อเท็จจริงเรื่องการเวนคืนที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพียง 4 ชั้นล้วนแต่เป็นกลฉ้อฉลของจำเลยซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า หากจำเลยไม่ใช้กลฉ้อฉลดังกล่าว โจทก์ก็คงจะไม่แสดงเจตนาทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทกับจำเลย การแสดงเจตนาของโจทก์จึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 ประกอบด้วยมาตรา 162 เมื่อโจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวแล้วสัญญาจะซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คประกันการชำระหนี้ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค หากมีเจตนาผ่อนชำระหนี้
เช็คพิพาทระบุวันสั่งจ่ายล่วงหน้าถึงสองปีเศษ จำนวนเงินในเช็คตรงกับจำนวนหนี้พร้อมดอกเบี้ยของการผ่อนชำระหนี้ค่าสินค้ารวม 27 งวดผู้รับมอบอำนาจโจทก์ตอบคำถามค้านว่า หากจำเลยชำระหนี้ครบถ้วนโจทก์จะคืนเช็คพิพาทให้จำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวมาเชื่อว่า จำเลยไม่ได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระค่าสินค้าตามฟ้อง แต่เป็นการออกเช็คเพื่อประกันการชำระหนี้ค่าสินค้าดังกล่าวกรณีไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7172/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชน สันนิษฐานถูกต้อง ผู้กล่าวอ้างต้องพิสูจน์ความไม่ถูกต้อง
สำเนาโฉนดที่ดินที่มีเจ้าหน้าที่ที่ดินรับรองความถูกต้องมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์คนเดียว จำเลยย่อมได้รับการสันนิษฐานจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทคนเดียว การที่โจทก์อ้างว่า ย. มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าโฉนดที่ดินไม่ถูกต้องอย่างไรการที่โจทก์มีเพียงโจทก์ที่ 6 เบิกความว่าทราบเรื่อง ย. ร่วมซื้อที่ดินกับจำเลยเมื่อปี 2524 แต่ก็ได้ความจากที่ทนายโจทก์ทั้งหกถามติงและทนายจำเลยถามค้านว่าตั้งแต่ปี 2524 ย. ไปอยู่บ้านจำเลย โจทก์ที่ 6 ไม่เคยไปบ้านจำเลยดังนั้น โจทก์ที่ 6 อาจไม่ได้พบ ย. เลย ที่โจทก์ที่ 6 เบิกความว่ารู้เรื่อง ย. ร่วมกับจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจึงไม่น่าเชื่อ คำเบิกความนอกจากนั้นเป็นการเบิกความลอย ๆ คำเบิกความของโจทก์ที่ 6 ยังไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังว่าโฉนดที่ดินพิพาทไม่ถูกต้องจึงต้องฟังตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าโฉนดที่ดินเป็นเอกสารที่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นและข้อจำกัดในการขอพิจารณาใหม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษา จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่กลับมายื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ทั้งที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีเพราะเหตุขาดนัด รูปคดีจึงไม่มีทางขอให้พิจารณาใหม่ได้ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมายของจำเลยเป็นประการใดก็ตาม คดีของจำเลยย่อมจะไม่มีทางขอให้พิจารณาใหม่ได้เช่นเดิม ฎีกาของจำเลยเช่นนี้ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดสืบพยานและคำขอพิจารณาใหม่ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากจำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษาจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่กลับมายื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ทั้งที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีเพราะเหตุขาดนัดรูปคดีจึงไม่มีทางขอให้พิจารณาใหม่ได้ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมายของจำเลยเป็นประการใดก็ตาม คดีของจำเลยย่อมจะไม่มีทางขอให้พิจารณาใหม่ได้เช่นเดิม ฎีกาของจำเลยเช่นนี้ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
of 63