พบผลลัพธ์ทั้งหมด 629 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและคำขอพิจารณาใหม่: จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยานและไม่มีเหตุขอพิจารณาใหม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2541และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 26 พฤศจิกายน 2541 จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่กลับมายื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ทั้งที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีเพราะเหตุขาดนัด รูปคดีจึงไม่มีทางขอให้พิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5408/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในคดีสัญญากู้เงิน จำเลยปฏิเสธ ลายมือชื่อไม่ตรง พยานหลักฐานโจทก์อ่อนแอ
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่เคยทำหนังสือสัญญากู้เงินและรับเงินจากโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ผู้ใดไปจดทะเบียนจำนองที่ดิน ลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม ภาระการพิสูจน์จึงตกอยู่แก่โจทก์ที่มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความตามประเด็นที่กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง แต่ ย. พยานโจทก์กลับเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่าพยานไม่ได้รู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทำสัญญากู้เงิน ไม่ทราบว่าจำเลยลงชื่อสัญญากู้เงินและรับเงินที่กู้หรือไม่ และไม่ทราบว่าลายมือชื่อผู้มอบอำนาจให้จำนองที่ดินพิพาทเป็นลายมือชื่อจำเลยหรือไม่ ส่วน ป. พยานโจทก์อีกปากหนึ่งก็เบิกความทำนองเดียวกันว่าจำเลยไม่ได้ลงชื่อผู้กู้ต่อหน้าพยานจึงไม่ยืนยันว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยหรือไม่ ส่วน น. ผู้ช่วยผู้จัดการสาขาของโจทก์ซึ่งเป็นประจักษ์พยานโดยตรง โจทก์กลับไม่นำมาเบิกความยืนยันตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์ พยานหลักฐานโจทก์เพียงเท่าที่นำสืบจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่า ลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินและลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลพิพากษายืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยให้การว่าไม่เคยแบ่งขายที่ดินและรับเงินค่าที่ดินจากโจทก์ ทั้งไม่เคยมอบการครอบครองที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริง จำเลยให้การปฏิเสธ ภาระการพิสูจน์ตกโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84
ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบอ้างว่าจำเลยขายที่ดินให้โจทก์ แต่การซื้อขายที่ดินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่มีหลักฐานการรับเงิน จำวันที่ที่ตกลงซื้อขายไม่ได้ จำนวนเงินที่ตกลงซื้อขาย 50,000 บาท เป็นเงินจำนวนมากพอสมควร เมื่อพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของโจทก์และจำเลยตามพฤติการณ์แห่งคดีแล้วข้ออ้างของโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยขายที่ดินพิพาทและมอบการครอบครองตามฟ้องให้โจทก์
ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบอ้างว่าจำเลยขายที่ดินให้โจทก์ แต่การซื้อขายที่ดินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่มีหลักฐานการรับเงิน จำวันที่ที่ตกลงซื้อขายไม่ได้ จำนวนเงินที่ตกลงซื้อขาย 50,000 บาท เป็นเงินจำนวนมากพอสมควร เมื่อพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของโจทก์และจำเลยตามพฤติการณ์แห่งคดีแล้วข้ออ้างของโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยขายที่ดินพิพาทและมอบการครอบครองตามฟ้องให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลส่วนบุคคลในข้อสอบ: ไม่เข้าข่ายข้อมูลที่ต้องคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ
คำว่า "ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล" ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 4 มีความหมายโดยสรุปว่า หมายถึง สิ่งที่แสดงถึงเรื่องราวความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด อันเป็นเรื่องราวเฉพาะตัวของบุคคลผู้นั้น ซึ่งจำแนกให้เห็นความแตกต่างจากเรื่องราวของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะบันทึกหรือทำให้ปรากฏในเอกสารหรือวัตถุใด ๆ
กระดาษคำตอบข้อสอบคัดเลือกเข้าเรียนในสถานศึกษาของทางราชการเป็นเพียงเอกสารที่ผู้เข้าสอบแข่งขันจัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สถานศึกษากำหนดขึ้น เพื่อแสดงถึงภูมิความรู้และใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัดความรู้ความสามารถของผู้เข้าสอบแข่งขันแต่ละคน โดยนำกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของแต่ละคนไปพิจารณาเปรียบเทียบกัน เพื่อสรรหาผู้ที่สามารถแสดงภูมิความรู้ได้ดีกว่าผู้อื่นเป็นผู้ผ่านการสอบแข่งขัน กระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของผู้เข้าสอบแข่งขันจึงมิใช่เรื่องราวความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ อันเป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์ จึงไม่เป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลอันได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่ให้เปิดเผย
เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องเกี่ยวกับกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของผู้เข้าสอบแข่งขันเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิตมีรายละเอียดเพียงพอให้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของคู่ความ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 15 , 24
แม้ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 37 วรรคสอง บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นที่สุดก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร หรือไม่รับฟังคำคัดค้านมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นประการใดแล้ว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับคำวินิจฉัยนั้นจะโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยนั้นต่อไปอีกไม่ได้ แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามคณะกรรมการชุดดังกล่าวพิจารณาทบทวนและเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำวินิจฉัยนั้น นอกจากนี้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารยังเป็นคำสั่งทางปกครอง ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 ซึ่งตามมาตรา 49 บัญญัติว่า "เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 51 มาตรา 52 และมาตรา 53..." การที่คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารพิจารณาทบทวนคำวินิจฉัยเดิมและมีคำวินิจฉัยใหม่ให้จำเลยที่ 8 เปิดเผยกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของโจทก์ถือว่าเป็นการกระทำภายในกรอบของกฎหมายแล้ว
กระดาษคำตอบข้อสอบคัดเลือกเข้าเรียนในสถานศึกษาของทางราชการเป็นเพียงเอกสารที่ผู้เข้าสอบแข่งขันจัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สถานศึกษากำหนดขึ้น เพื่อแสดงถึงภูมิความรู้และใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัดความรู้ความสามารถของผู้เข้าสอบแข่งขันแต่ละคน โดยนำกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของแต่ละคนไปพิจารณาเปรียบเทียบกัน เพื่อสรรหาผู้ที่สามารถแสดงภูมิความรู้ได้ดีกว่าผู้อื่นเป็นผู้ผ่านการสอบแข่งขัน กระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของผู้เข้าสอบแข่งขันจึงมิใช่เรื่องราวความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ อันเป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์ จึงไม่เป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลอันได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่ให้เปิดเผย
เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องเกี่ยวกับกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของผู้เข้าสอบแข่งขันเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิตมีรายละเอียดเพียงพอให้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของคู่ความ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 15 , 24
แม้ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 37 วรรคสอง บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นที่สุดก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร หรือไม่รับฟังคำคัดค้านมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นประการใดแล้ว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับคำวินิจฉัยนั้นจะโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยนั้นต่อไปอีกไม่ได้ แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามคณะกรรมการชุดดังกล่าวพิจารณาทบทวนและเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำวินิจฉัยนั้น นอกจากนี้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารยังเป็นคำสั่งทางปกครอง ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 ซึ่งตามมาตรา 49 บัญญัติว่า "เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 51 มาตรา 52 และมาตรา 53..." การที่คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารพิจารณาทบทวนคำวินิจฉัยเดิมและมีคำวินิจฉัยใหม่ให้จำเลยที่ 8 เปิดเผยกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของโจทก์ถือว่าเป็นการกระทำภายในกรอบของกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลสอบคัดเลือกไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เปิดเผยได้ ศาลยืนตามคำวินิจฉัยเดิม
คำว่า "ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล" ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 4 หมายถึง สิ่งที่แสดงถึงเรื่องราวความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดอันเป็นเรื่องราวเฉพาะตัวของบุคคลผู้นั้นซึ่งจำแนกให้เห็นความแตกต่างจากเรื่องราวของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะบันทึกหรือทำให้ปรากฏในเอกสารหรือวัตถุใด ๆ
กระดาษคำตอบข้อสอบคัดเลือกเข้าเรียนในสถานศึกษาของทางราชการ เป็นเพียงเอกสารที่ผู้เข้าสอบแข่งขันจัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สถานศึกษากำหนดขึ้น เพื่อแสดงถึงภูมิความรู้และใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัดความรู้ความสามารถของผู้เข้าสอบแข่งขันแต่ละคนโดยนำกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของแต่ละคนไปพิจารณาเปรียบเทียบกันเพื่อสรรหาผู้ที่สามารถแสดงภูมิความรู้ได้ดีกว่าผู้อื่นเป็นผู้ผ่านการสอบแข่งขัน กระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของผู้เข้าสอบแข่งขันจึงมิใช่เรื่องราวความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่อันเป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์ จึงไม่เป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลอันได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่ให้เปิดเผย
ข้อเท็จจริงที่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าบรรยายมาในคำฟ้องเกี่ยวกับกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของผู้เข้าสอบแข่งขันเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีรายละเอียดเพียงพอให้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของคู่ความ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 15,24
แม้ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540มาตรา 37 วรรคสอง ที่บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลเป็นที่สุด แต่บทบัญญัติดังกล่าวมีความหมายเพียงว่าเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร หรือไม่รับฟังคำคัดค้านมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นประการใดแล้ว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับคำวินิจฉัยนั้นจะโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยนั้นต่อไปอีกไม่ได้ แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามคณะกรรมการชุดดังกล่าวพิจารณาทบทวนและเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำวินิจฉัยนั้น คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5ซึ่งตามมาตรา 49 บัญญัติว่า "เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 51 มาตรา 52และมาตรา 53" การที่คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารพิจารณาทบทวนคำวินิจฉัยเดิมและมีคำวินิจฉัยใหม่จึงเป็นการกระทำภายในกรอบของกฎหมาย
กระดาษคำตอบข้อสอบคัดเลือกเข้าเรียนในสถานศึกษาของทางราชการ เป็นเพียงเอกสารที่ผู้เข้าสอบแข่งขันจัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สถานศึกษากำหนดขึ้น เพื่อแสดงถึงภูมิความรู้และใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัดความรู้ความสามารถของผู้เข้าสอบแข่งขันแต่ละคนโดยนำกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของแต่ละคนไปพิจารณาเปรียบเทียบกันเพื่อสรรหาผู้ที่สามารถแสดงภูมิความรู้ได้ดีกว่าผู้อื่นเป็นผู้ผ่านการสอบแข่งขัน กระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของผู้เข้าสอบแข่งขันจึงมิใช่เรื่องราวความเป็นมาที่เกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่อันเป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์ จึงไม่เป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลอันได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไม่ให้เปิดเผย
ข้อเท็จจริงที่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าบรรยายมาในคำฟ้องเกี่ยวกับกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของผู้เข้าสอบแข่งขันเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีรายละเอียดเพียงพอให้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของคู่ความ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 15,24
แม้ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540มาตรา 37 วรรคสอง ที่บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลเป็นที่สุด แต่บทบัญญัติดังกล่าวมีความหมายเพียงว่าเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร หรือไม่รับฟังคำคัดค้านมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นประการใดแล้ว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับคำวินิจฉัยนั้นจะโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยนั้นต่อไปอีกไม่ได้ แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามคณะกรรมการชุดดังกล่าวพิจารณาทบทวนและเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำวินิจฉัยนั้น คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5ซึ่งตามมาตรา 49 บัญญัติว่า "เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 51 มาตรา 52และมาตรา 53" การที่คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารพิจารณาทบทวนคำวินิจฉัยเดิมและมีคำวินิจฉัยใหม่จึงเป็นการกระทำภายในกรอบของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของและหลักฐานสนับสนุน
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยโดยรับมรดกมาจาก ม. ถ.ล.และมล. ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลย แม้ว่าจำเลยจะให้การยอมรับว่า ม. ถ. ล.และ มล. เคยมีสิทธิในที่ดินพิพาทมาก่อน แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติโดยไม่มีฝ่ายใดโต้เถียงว่าขณะฟ้องคดีนี้จำเลยเป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายเป็นคุณว่าจำเลยยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1369 เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลย โจทก์ย่อมมีภาระการพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
โจทก์และจำเลยต่างอ้างข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการครอบครองและการสละสิทธิครอบครองอันอยู่ในความรู้เห็นของ ม. ถ.ล.และมล. ซึ่งถึงแก่กรรมมาหลายสิบปีแล้ว ทั้งเป็นเรื่องภายในหมู่ญาติซึ่งบุคคลภายนอกอาจไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย ดังนั้น การวินิจฉัยปัญหาว่าโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยหรือไม่จำต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งคดีตลอดจนลักษณะแห่งการครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทและพยานแวดล้อมเป็นสำคัญ เมื่อคำเบิกความของพยานโจทก์ขัดแย้งกันเอง มีพิรุธไม่น่ารับฟัง ที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ทั้งสี่ยังครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ส่วนจำเลยมี พ.ซึ่งเคยเป็นผู้ใหญ่บ้านในท้องที่พิพาทและว. ซึ่งเคยเป็นกำนันท้องที่พิพาท และต่างมีภูมิลำเนาอยู่ใกล้เคียงกับที่ดินพิพาท ตามพฤติการณ์น่าเชื่อว่าพยานมีโอกาสรู้เห็นถึงความเป็นมาของที่ดินพิพาทได้ดี ประกอบกับพยานมีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีอยู่ในฐานะคนกลางมีน้ำหนักน่ารับฟัง พยานหลักฐานของจำเลยจึงมีน้ำหนักดีกว่า และเชื่อว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดยโจทก์มีสิทธิครอบครอง
โจทก์และจำเลยต่างอ้างข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการครอบครองและการสละสิทธิครอบครองอันอยู่ในความรู้เห็นของ ม. ถ.ล.และมล. ซึ่งถึงแก่กรรมมาหลายสิบปีแล้ว ทั้งเป็นเรื่องภายในหมู่ญาติซึ่งบุคคลภายนอกอาจไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย ดังนั้น การวินิจฉัยปัญหาว่าโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกับจำเลยหรือไม่จำต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งคดีตลอดจนลักษณะแห่งการครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทและพยานแวดล้อมเป็นสำคัญ เมื่อคำเบิกความของพยานโจทก์ขัดแย้งกันเอง มีพิรุธไม่น่ารับฟัง ที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ทั้งสี่ยังครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ส่วนจำเลยมี พ.ซึ่งเคยเป็นผู้ใหญ่บ้านในท้องที่พิพาทและว. ซึ่งเคยเป็นกำนันท้องที่พิพาท และต่างมีภูมิลำเนาอยู่ใกล้เคียงกับที่ดินพิพาท ตามพฤติการณ์น่าเชื่อว่าพยานมีโอกาสรู้เห็นถึงความเป็นมาของที่ดินพิพาทได้ดี ประกอบกับพยานมีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีอยู่ในฐานะคนกลางมีน้ำหนักน่ารับฟัง พยานหลักฐานของจำเลยจึงมีน้ำหนักดีกว่า และเชื่อว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดยโจทก์มีสิทธิครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารที่ไม่ส่งสำเนาให้คู่ความ และการอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยาน
เอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 เป็นเอกสารโต้ตอบกันระหว่างโจทก์และจำเลย ระบุถึงความชำรุดบกพร่องของรองเท้าพิพาทและการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องโดยตัวแทนของโจทก์และจำเลย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับโจทก์ส่งมอบรองเท้าพิพาทไม่ตรงตามแบบที่จำเลยกำหนด จึงเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีอันเป็นข้อที่ทำให้แพ้ชนะระหว่างคู่ความ แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่จำเลยได้ใช้เอกสารดังกล่าวในการถามค้านพยานปากแรกของโจทก์ โจทก์ย่อมมีโอกาสที่จะหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งเอกสารดังกล่าวได้ การไม่ส่งสำเนาเอกสารของจำเลยไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2)
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสารดังกล่าวถูกต้องศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติมซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่งไม่รวม อ. ด้วยอันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานจำเลยไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งเป็นการที่จำเลยกลับใจนำ อ. ซึ่งได้เคยระบุอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งสองเข้าเบิกความต่อไปเท่านั้น ซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสารดังกล่าวถูกต้องศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติมซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่งไม่รวม อ. ด้วยอันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานจำเลยไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งเป็นการที่จำเลยกลับใจนำ อ. ซึ่งได้เคยระบุอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งสองเข้าเบิกความต่อไปเท่านั้น ซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารและการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายชื่อพยานในคดีแพ่ง
เอกสารซึ่งเป็นเอกสารโต้ตอบกันระหว่างโจทก์และจำเลย ระบุถึงความชำรุดบกพร่องโดยตัวแทนของโจทก์และจำเลย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับโจทก์ส่งมอบรองเท้าพิพาทไม่ครบตามแบบ ที่จำเลยกำหนด จึงเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีอันเป็นข้อที่ทำให้แพ้ชนะระหว่างคู่ความ แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 90 แต่จำเลยได้ใช้เอกสารดังกล่าวในการถามค้านพยานปากแรกของโจทก์ โจทก์ย่อมมีโอกาสที่จะหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งเอกสารดังกล่าวได้ การไม่ส่งสำเนาเอกสารของจำเลยไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2)
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสาร ดังกล่าวถูกต้อง ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติม ซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้ แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่ง ไม่รวม อ. ด้วย อันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้ และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้ การที่จำเลยนำ อ. เข้าเบิกความจึงชอบแล้ว
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสาร ดังกล่าวถูกต้อง ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติม ซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้ แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่ง ไม่รวม อ. ด้วย อันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้ และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้ การที่จำเลยนำ อ. เข้าเบิกความจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีหลายครั้งโดยมีเหตุผลอันสมควร ศาลต้องพิจารณาเหตุผลประกอบการตัดสินว่าเป็นการประวิงคดีหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองมีทุนทรัพย์ถึง 2,560,462.57 บาท แม้จะปรากฏว่ามีการเลื่อนคดีติดต่อกัน ตั้งแต่นัดแรกจนถึงวันนัดสุดท้าย รวม 7 นัด เป็นเวลา 1 ปีเศษ แต่ทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีเนื่องจากไม่มีพยานมาศาลในนัดที่สองเพียงนัดเดียว ส่วนนัดแรกเหตุเลื่อนคดีก็เนื่องมาจากทนายจำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 2 ขออนุญาตยื่นคำให้การส่วนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งที่สาม ทนายโจทก์คนใหม่ติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งนับว่ามีเหตุจำเป็น เพราะทนายโจทก์คนใหม่เพิ่งได้รับการแต่งตั้ง การนัดความในวันดังกล่าวทนายโจทก์คนใหม่มิได้มีส่วนรับรู้ด้วย การเลื่อนคดีในนัดสืบพยานโจทก์ครั้งที่สี่ที่พยานโจทก์มาศาลก็เนื่องมาจากทนายจำเลยทั้งสองเพิ่งมาแถลงต่อศาลในวันนัดว่ายังไม่ได้รับสำเนาเอกสารบางฉบับซึ่งเป็นเอกสารสำคัญจากโจทก์หากไม่มีเหตุดังกล่าวก็คงจะมีการสืบพยานโจทก์ไปได้ ศาลชั้นต้นเห็นว่าการส่งสำเนาเอกสารยังไม่เรียบร้อยจึงให้เลื่อนคดีไป เมื่อถึงในวันนัดครั้งที่ห้าทนายโจทก์ขอถอนตัวเนื่องจาก มีความคิดเห็นไม่ตรงกับโจทก์และไม่สามารถตกลงกันเรื่องค่าทนายความได้ นัดนี้ทนายจำเลยที่ 2 ขอเลื่อนคดีเช่นกันโดยอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นและมีนัดที่ต่างจังหวัด การเลื่อนคดีในนัดนี้จึงไม่ใช่ความผิดของโจทก์ ส่วนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งที่หก ซึ่งทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีเนื่องจากเพิ่งได้รับการแต่งตั้งและยังไม่ได้รับเอกสารจากโจทก์ และวันนัดสืบพยานครั้งที่เจ็ดทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีเนื่องจากเอกสารสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันยังไม่ได้รับคืนจากทนายโจทก์คนเดิมและยังติดตามตัวทนายโจทก์คนเดิมไม่พบ กรณีดังกล่าวแม้จะนับได้ว่าเป็นความบกพร่องของ ทนายโจทก์ที่ไม่จัดเตรียมเอกสารให้เรียบร้อยก่อนวัดนัดก็ตาม แต่เมื่อเอกสารที่ต้องการใช้อยู่กับทนายโจทก์คนเดิม และเหตุที่ไม่ได้เอกสารมาก็เนื่องจากติดตามตัวทนายโจทก์คนเดิมไม่ได้ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวยังไม่พอฟังว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ล่าช้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็ค: ภาระการพิสูจน์และเหตุยกเว้นความรับผิด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง,914และมาตรา 989 วรรคหนึ่ง บุคคลผู้ลงลายมือชื่อในเช็คจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค ภาระการพิสูจน์ว่าเช็คพิพาทไม่มีลูกหนี้ต่อโจทก์จึงตกแก่จำเลยผู้สั่งจ่ายแต่ทางนำสืบของจำเลยไม่ปรากฏเหตุผลให้รับฟังได้ว่า หากจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อการร่วมลงทุนในบริษัท ย. เหตุใดเมื่อบริษัทเลิกกิจการ จำเลยจึงไม่ทวงเช็คพิพาทคืนจากโจทก์และในทางนำสืบของจำเลยก็ระบุว่านาย ข. กรรมการบริษัทดังกล่าวถูกโจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คซึ่งสั่งจ่ายให้ไว้แก่โจทก์เช่นเดียวกับจำเลยในวิสัยเช่นนี้ จำเลยก็ชอบที่จะสืบนาย ข. หรือกรรมการอีก 3 คน เป็น พยานสนับสนุนข้อต่อสู้ฝ่ายตนแต่จำเลยหากระทำไม่ ฉะนั้นพยานหลักฐาน จำเลยจึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอให้มีน้ำหนักรับฟังได้ว่า จำเลยไม่มีมูลหนี้ ตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ตามหน้าที่ที่จำเลยมีภาระการพิสูจน์