คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 104

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 629 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการใช้ดุลพินิจของศาลในการงดสืบพยานที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญ
จำเลยเคยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายเรียกพยานปากอ.และ น.กรรมการของโจทก์มาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยแถลงศาลก่อนว่าพยานที่ขอออกหมายเรียกที่ประสงค์จะนำสืบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีอย่างไรแล้วจะพิจารณาสั่งต่อไป แต่จำเลยก็ไม่ได้แถลงถึงเหตุที่ต้องขอหมายเรียกพยานดังกล่าวให้ศาลชั้นต้นทราบ จนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างเหตุที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ออกหมายเรียก อ.และ น.มาเป็นพยานจำเลย และจำเลยไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา ซึ่งศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีโดยกำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อมสืบตามนัด เนื่องจากศาลเลื่อนคดีไปเป็นระยะเวลานานเกือบ 3 เดือน หากในวันนัดไม่สามารถนำพยานอื่นมาสืบได้ก็ให้นำตัวจำเลยเข้าสืบก่อน แต่ครั้นถึงกำหนด จำเลยก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกอ้างเหตุว่าประสงค์จะนำ อ.เข้าสืบเป็นพยานจำเลยปากแรกเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง แต่เกิดเหตุขัดข้องในด้านธุรการศาล เจ้าหน้าที่ศาลไม่สามารถนำหมายเรียกพยานบุคคลดังกล่าวมาให้ทนายจำเลยได้ และไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาล พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดี
ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยมิชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียงครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้ว จะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้น คือมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ เมื่อการขอเลื่อนคดี ตามคำร้อง และคำแถลงของทนายจำเลยต่อศาลชั้นต้นไม่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทั้งมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม พฤติการณ์จึงเป็นการประวิงคดี ชอบที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยโดยไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไป และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสอง คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณากำหนดนัดฟังคำพิพากษา จึงมีความหมายในตัวว่ากำหนดนัดสืบพยานจำเลยที่เหลือล่วงหน้าเป็นอันยกเลิกไปในตัว ศาลชั้นต้นหาจำต้องสั่งยกเลิกวันนัดสืบพยานจำเลยทั้งสองอีกไม่ กรณีมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 27ได้
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า อ.ไม่ใช่กรรมการผู้มีสิทธิมอบอำนาจกระทำการแทนโจทก์ หรือลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม อันมีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง ที่จะนำเข้าสู่ประเด็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ และข้อต่อสู้ของจำเลยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจในเรื่องวันที่ สถานที่ ที่ทำใบมอบอำนาจ และผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ และพยานร่วมกันลงชื่อตามวันและสถานที่ตามใบมอบอำนาจหรือไม่ ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ใบมอบอำนาจไม่สมบูรณ์และไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่จำเลยขอหมายเรียก อ.มาเบิกความเป็นพยานจำเลยในเรื่องอำนาจฟ้องเป็นพยานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดี จึงงดสืบพยานดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง และ มาตรา 104 แล้ว
คำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยไม่ได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยมาศาลไม่ได้ในวันนัดสืบพยานจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามทนายจำเลยถึงการไม่นำตัวจำเลยมาเบิกความเป็นพยาน ทนายจำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยติดธุระสำคัญไม่อาจมาศาลได้เท่านั้น ถือได้ว่าข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลชั้นต้นแล้วว่า คำร้องขอเลื่อนคดีและคำแถลงของทนายจำเลยไม่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้และไม่แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมประกอบกับศาลชั้นต้นได้กำชับให้นำตัวจำเลยเข้าเบิกความ หากไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาลในนัดก่อนหน้านี้แล้ว ศาลชั้นต้นหาจำต้องไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยอีกแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการใช้ดุลพินิจศาลในการงดสืบพยาน กรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและไม่มีเหตุจำเป็นในการขอเลื่อนคดี
จำเลยเคยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายเรียกพยานปาก อ. และ น. กรรมการของโจทก์มาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยแถลงศาลก่อนว่า พยานที่ขอออกหมายเรียกที่ประสงค์จะนำสืบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีอย่างไรแล้วจะพิจารณาสั่งต่อไป แต่จำเลยก็ไม่ได้แถลงถึงเหตุที่ต้องขอหมายเรียกพยานดังกล่าวให้ศาลชั้นต้นทราบ จนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างเหตุที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ออกหมายเรียก อ. และ น. มาเป็นพยานจำเลย และจำเลยไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา ซึ่งศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีโดยกำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อมสืบตามนัด เนื่องจากศาลเลื่อนคดีไปเป็นระยะเวลานานเกือบ 3 เดือน หากในวันนัดไม่สามารถนำพยานอื่นมาสืบได้ก็ให้นำตัวจำเลยเข้าสืบก่อน แต่ครั้นถึงกำหนดจำเลยก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกอ้างเหตุว่าประสงค์จะนำ อ. เข้าสืบเป็นพยานจำเลยปากแรกเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง แต่เกิดเหตุขัดข้องในด้านธุรการศาล เจ้าหน้าที่ศาลไม่สามารถนำหมายเรียกพยานบุคคลดังกล่าวมาให้ทนายจำเลยได้ และไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาล พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยมิชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียงครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้ว จะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้น คือมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ เมื่อการขอเลื่อนคดี ตามคำร้อง และคำแถลงของทนายจำเลยต่อศาลชั้นต้นไม่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทั้งมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม พฤติการณ์จึงเป็นการประวิงคดี ชอบที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลย โดยไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไป และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสอง คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณากำหนดนัดฟังคำพิพากษา จึงมีความหมายในตัวว่ากำหนดนัดสืบพยานจำเลยที่เหลือล่วงหน้าเป็นอันยกเลิกไปในตัว ศาลชั้นต้นหาจำต้องสั่งยกเลิกวันนัดสืบพยานจำเลยทั้งสองอีกไม่ กรณีมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ได้
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า อ. ไม่ใช่กรรมการผู้มีสิทธิมอบอำนาจกระทำการแทนโจทก์ หรือลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม อันมีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง ที่จะนำเข้าสู่ประเด็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ และข้อต่อสู้ของจำเลยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจในเรื่องวันที่ สถานที่ ที่ทำใบมอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจผู้รับมอบอำนาจ และพยานร่วมกันลงชื่อตามวันและสถานที่ตามใบมอบอำนาจหรือไม่ ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ใบมอบอำนาจไม่สมบูรณ์และไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่จำเลยขอหมายเรียก อ. มาเบิกความเป็นพยานจำเลยในเรื่องอำนาจฟ้องเป็นพยานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดี จึงงดสืบพยานดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง และมาตรา 104 แล้ว
คำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยไม่ได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยมาศาลไม่ได้ในวันนัดสืบพยานจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามทนายจำเลยถึงการไม่นำตัวจำเลยมาเบิกความเป็นพยาน ทนายจำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยติดธุระสำคัญไม่อาจมาศาลได้เท่านั้น ถือได้ว่าข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลชั้นต้นแล้วว่า คำร้องขอเลื่อนคดีและคำแถลงของทนายจำเลยไม่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้และไม่แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรม ประกอบกับศาลชั้นต้นได้กำชับให้นำตัวจำเลยเข้าเบิกความ หากไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาลในนัดก่อนหน้านี้แล้ว ศาลชั้นต้นหาจำต้องไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยอีกแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8640/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้อง, ตั๋วแลกเงิน,เลตเตอร์ออฟเครดิต,หน้าที่ตัวแทน,การปฏิบัติหน้าที่
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ เลตเตอร์ออฟเครดิต ++
++ ซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้หยิบยกข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำการเป็นตัวแทนของธนาคาร ซ. โจทก์จึงต้องฟ้องเรียกเงินที่จ่ายทดรองไปคืนจากธนาคารนั้นตามหลักเรื่องตัวการตัวแทนขึ้นต่อสู้ในคำให้การไว้ ดังนี้ข้อเท็จจริงที่จำเลยอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยนำเลตเตอร์ออฟเครดิตและเอกสารต่าง ๆ ตามที่เลตเตอร์ออฟเครดิตกำหนดไว้พร้อมทั้งตั๋วแลกเงินมามอบให้โจทก์เรียกเก็บค่าสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแทนจำเลยและขอรับเงินค่าสินค้าไปจากโจทก์ก่อน โดยโจทก์ไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมการเรียกเก็บเงินและไม่ได้หักส่วนลดเงินจำนวนที่นำเข้าบัญชีกระแสรายวันให้แก่จำเลยตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน โจทก์หักเพียงค่าอากรแสตมป์และค่าไปรษณียากรเท่านั้น ดังนั้น ตั๋วแลกเงินจึงเป็นเพียงเอกสารที่ใช้ประกอบการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารตัวแทนผู้ซื้อในต่างประเทศ กรณีจึงเป็นเรื่องที่พิพาทกันเกี่ยวกับเงินค่าสินค้าจำนวนตามที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งโจทก์ได้จ่ายทดรองให้แก่จำเลยไปก่อน แม้โจทก์เป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินและโจทก์เป็นผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินดังกล่าวก็ตาม ข้อความและการสลักหลังดังกล่าวเป็นเพียงระเบียบและวิธีการปฏิบัติตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในต่างประเทศเท่านั้น การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของจำเลยผู้ส่งสินค้า โจทก์จึงไม่เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินตามกฎหมาย
การที่โจทก์จ่ายเงินล่วงหน้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่จำเลยไปก่อนและกฎหมายมิได้กำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่
โจทก์ได้แจ้งเหตุขัดข้องที่รับเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่ได้เพื่อให้จำเลยดำเนินการแก้ไขความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแล้ว การกระทำของโจทก์จึงมิได้ปฏิบัติผิดหน้าที่อย่างร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7944/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลอนุญาตถอนฟ้อง & อำนาจฟ้อง: พิจารณาความสุจริต, ผลเสียคู่ความ, พยานหลักฐานเพียงพอ
แม้โจทก์จะมีสิทธิขอถอนฟ้องในเวลาใดก็ได้ก่อนศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษา แต่การที่ศาลดังกล่าวจะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาล โดยพิจารณาจากพฤติการณ์และ เหตุผลทั่วๆไปในคดี รวมทั้งพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์และผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่าย เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องคดีนี้เพราะโจทก์เข้าใจว่าจะต้องแพ้คดี ซึ่งหากศาลพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีแล้ว นอกจากโจทก์จะไม่ได้ค่าธรรมเนียมศาลที่ได้ชำระไว้คืนแล้ว ยังอาจจะต้องรับผิดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่จำเลยทั้งสามอีกด้วย ดังนั้นการขอถอนฟ้องของโจทก์จึงมิได้เป็นไปโดยสุจริต อาจทำให้จำเลยเสียเปรียบ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศกลางไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้เป็นอันดับแรก ซึ่งศาลต้องหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยก่อนประเด็น ข้อพิพาทข้ออื่น เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็ได้อ้างสำนวนคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งเป็นมูลคดีเดียวกันมาเป็นพยานของตน และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็เห็นว่าข้อเท็จจริงในคดีนี้และข้อเท็จจริงในคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งเพียงพอให้รับฟังได้เป็นยุติ และเพียงพอในการวินิจฉัยปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งจะทำให้คดีเสร็จไปได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นอีกต่อไป ศาลย่อมมีอำนาจงดสืบพยานและพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7944/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การงดสืบพยาน, คำพิพากษาศาล: ศาลมีอำนาจงดสืบพยานและพิพากษาคดีได้หากพยานหลักฐานเพียงพอและเชื่อมโยงกับประเด็นข้อพิพาท
แม้โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีของตนในเวลาใดก็ได้ก่อนศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาก็ตามแต่การที่ศาลดังกล่าวจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจ ของศาลโดยพิจารณาจากพฤติการณ์และเหตุผลทั่ว ๆ ไปในคดี รวมทั้ง พิจารณาถึงความสุจริต ในการดำเนินคดีของโจทก์ และผลได้ผลเสียของ คู่ความทุกฝ่ายด้วย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องคดีเพราะโจทก์เข้าใจว่าโจทก์จะต้องแพ้คดีซึ่งทนายโจทก์ย่อมทราบดีว่า หากศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ แพ้คดีแล้ว นอกจากโจทก์จะไม่ได้ค่าธรรมเนียมศาลที่ได้ชำระไว้คืนแล้ว ยังอาจจะต้องรับผิดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่จำเลยทั้งสามอีกด้วย พฤติการณ์การขอถอนฟ้องของโจทก์จึงมิได้เป็นไปโดยสุจริตอาจทำให้ จำเลยเสียเปรียบ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 กำหนดให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติ ได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้เป็นอันดับแรก ซึ่งศาลต้องหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยก่อนประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น เมื่อทั้ง โจทก์และจำเลยทั้งสามต่างก็ได้อ้าง สำนวนคดีแพ่งก่อนของ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ซึ่งเป็นมูลคดีเดียวกันมาเป็นพยานของตน และศาลได้มีคำสั่งให้รอการพิจารณาคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวต่อมาเมื่อคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาแล้วและศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ เห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดีนี้และข้อเท็จจริงในคดีแพ่งก่อนเพียงพอให้รับฟัง ได้เป็นยุติและเพียงพอในการวินิจฉัยปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งจะทำให้คดีเสร็จไปได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น อีกต่อไป ศาลก็ย่อมมีอำนาจงดสืบพยานและพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7493/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ป่วย vs. การพิสูจน์ข้อเท็จจริงทางการแพทย์: กรณีเงินทดแทนจากโรคประจำตัว
แม้บุคคลจะมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 31 และที่โจทก์ไม่ยินยอมให้คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจที่โรงพยาบาลศิริราชเป็นสิทธิของโจทก์ก็ตาม แต่การที่ศาลแรงงานอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ยอมให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจซึ่งเป็นพิรุธ มาเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักรับฟังว่าโจทก์มิได้ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบบิสซิโนซีสนั้นเป็นการรับฟังพยานหลักฐานของศาล มิใช่ศาลแรงงานปฏิเสธสิทธิที่โจทก์มีตามรัฐธรรมนูญ
พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 42 ให้อำนาจคณะกรรมการสั่งให้ผู้เกี่ยวข้องส่งเอกสารมาให้ มิใช่บังคับให้คณะกรรมการมีหน้าที่ต้องสั่งเรียกเอกสารเสมอไป เมื่อโจทก์ยืนยันไม่ยอมส่งประวัติและผลการตรวจของ แพทย์หญิง อ. ให้แก่สำนักงานประกันสังคม จึงไม่มีเหตุที่คณะกรรมการจะต้องออกคำสั่งเรียกให้ส่งเอกสารก่อนการพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างด้วยวาจาและสิทธิในการอ้างเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน นายจ้างต้องแจ้งเหตุขณะบอกเลิกจ้าง
การบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกสัญญาจ้างอาจทำเป็นหนังสือหรืออาจบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยวาจาก็ได้ แต่การบอกกล่าวล่วงหน้าที่ได้ทำเป็นหนังสือถูกจำกัดโดย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย ว่าไม่ให้ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 และ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีเหตุเลิกจ้างตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือ แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าถ้านายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา119 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ขึ้นอ้างเป็นข้อปฏิเสธไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้ลูกจ้างทราบขณะบอกเลิกจ้างด้วยวาจา
บทบัญญัติใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา17 วรรคสาม ที่ว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น คงมีความหมายเพียงว่า ในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องระบุเหตุดังกล่าวนั้นไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยมิฉะนั้นนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสามหาได้บังคับเด็ดขาดห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจาไม่ เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าขณะจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วถึงการกระทำความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 และในเรื่องนี้จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว จึงต้องให้มีการนำสืบพยานว่า ขณะที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งเหตุที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวแก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานงดสืบพยานโจทก์จำเลย และฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างด้วยวาจาและการแจ้งเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
การบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกสัญญาจ้างอาจทำเป็นหนังสือหรืออาจบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยวาจาก็ได้ แต่การบอกกล่าวล่วงหน้าที่ได้ทำเป็นหนังสือถูกจำกัดโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย ว่า ไม่ให้ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีเหตุเลิกจ้างตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือ แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าถ้านายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ขึ้นอ้างเป็นข้อปฏิเสธไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้ลูกจ้างทราบขณะบอกเลิกจ้างด้วยวาจา
บทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น คงมีความหมายเพียงว่า ในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องระบุเหตุดังกล่าวนั้นไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วย มิฉะนั้นนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม หาได้บังคับเด็ดขาดห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจาไม่ เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าขณะจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วถึงการกระทำความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 และในเรื่องนี้จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว จึงต้องให้มีการนำสืบพยานว่า ขณะที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจาจำเลยได้แจ้งเหตุที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวแก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานงดสืบพยานโจทก์จำเลย และฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812-3826/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อ ศาลต้องสืบข้อเท็จจริงว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสองหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อ ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่เพียงพอฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องใช้วินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างในกรณีนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสองหรือไม่ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าการที่จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิดจึงไม่ชอบ ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจากอัตราค่าจ้าง วันละ160 บาท เป็นวันละ 162 บาทแล้ว แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยคำนวณจากค่าจ้างวันละ160 บาทเป็นการไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812-3826/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการได้ ศาลต้องพิสูจน์ว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง
คดีแดงที่ 3812 - 3826/2542
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง หมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อ
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่เพียงพอฟังว่า โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องใช้วินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสองหรือไม่ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าการที่จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด จึงไม่ชอบ
ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจากอัตราค่าจ้างวันละ 160 บาท เป็นวันละ 162 บาทแล้ว แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยคำนวณจากค่าจ้างวันละ 160 บาทเป็นการไม่ถูกต้อง
of 63