คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 104

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 629 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินและผลกระทบต่อการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินสาธารณะ โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียน ป. อันเป็นสถานศึกษาในสังกัดของโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยแล้วโดยการครอบครองเกินกว่า 10 ปี ฉะนั้น การที่โจทก์นำสืบว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของใครและโจทก์ได้ที่ดินพิพาทมาโดยเจ้าของเดิมยกให้เพื่อใช้ใน กิจการของโจทก์นั้น เป็นการนำสืบถึงมูลเหตุซึ่งได้ที่ดินพิพาทมาเป็นของตน พร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของการยกให้ ไม่ใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
ทรัพย์สินของแผ่นดินมี 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาซึ่งเป็นของรัฐ กับสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ว่าใช้เพื่อสาธาณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ฉะนั้น ทรัพย์สิน ของแผ่นดินที่จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น จึงขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์สินนั้นเองว่าใช้เพื่อ สาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินพิพาทซึ่ง ช. ยกให้โจทก์ได้ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียน ป. และเนื่องจากโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินประเภทสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 เมื่อประเด็นในคดีมีว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามข้อต่อสู้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งกฎหมายห้ามมิให้จำเลยยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม มาตรา 1382 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ซื้อมีหน้าที่ตรวจสอบสภาพที่ดินก่อนประมูล เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องรับผิดชอบ
ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการขายทอดตลาดที่ดินได้ระบุที่ดินที่จะขายที่ดินระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจ เลขที่โฉนด แขวง เขต ที่ที่ดินตั้งอยู่ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยระบุเนื้อที่ตามโฉนดขนาดกว้างยาวของที่ดินทั้งสี่ด้าน รวมทั้งรายชื่อเจ้าของที่ดินทั้งสี่ทิศ กับระบุว่าเป็นที่ว่างเปล่ารถยนต์เข้าถึงทั้งได้ระบุการไป ให้ดูตามแผนที่สังเขปท้ายประกาศ กับมีคำเตือนผู้ซื้อว่า การรอนสิทธิค่าภาษีอากรต่าง ๆ เรื่องเขตเนื้อที่ กับระบุว่า การบอกประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง ดังนี้ ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวได้ระบุข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่จะขายพอสมควรแก่กรณีแล้ว หากผู้ซื้อมีความสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียดสิ่งใดเพิ่มเติม ก็ย่อมสามารถตรวจสอบสภาพที่ดินตลอดจนหลักฐานของทางราชการได้ก่อนทำการประมูล
ผู้ร้องได้ทราบข่าวการประกาศขายทอดตลาดที่ดินของเจ้าพนักงานบังคับคดีมาก่อน และผู้ร้องได้ซื้อประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีมาดูรายละเอียดจนทราบที่ตั้งของที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด กับผู้ร้องได้ขับรถยนต์ไปดูที่ดินเห็นที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ห่างจากถนนประมาณ 150 เมตร ตามแผนที่ท้ายประกาศ ก็เข้าใจว่าเป็นที่ดินแปลงที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้องทราบว่ามีการประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 จนถึงวันที่ประมูลที่ดินได้เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ผู้ร้องย่อมมีเวลาสามารถตรวจสอบที่ดินได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน การที่ผู้ร้องไม่ได้ทำการตรวจสอบสภาพที่ดิน ตำแหน่งที่ดินที่ขายทอดตลาดให้ดีก่อนทำการประมูล จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเอง เพราะตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ระบุคำเตือนผู้ซื้อไว้แล้วว่า เรื่องเขตเนื้อที่ ประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง เช่นนี้ฟังไม่ได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
หลังจากไต่สวนพยานผู้ร้องมาแล้ว 3 ปาก ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 ตามคำร้องและคำแถลงคัดค้านของผู้ร้อง แล้วศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานหลักฐานที่ผู้ร้องไต่สวนมาพอวินิจฉัยคำร้องได้แล้ว จึงให้งดการไต่สวนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจพิเคราะห์พยานหลักฐานในคดีประกอบกับข้อที่โจทก์ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายโดยฟังว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วจึงให้งดสืบพยาน คำสั่งศาลชั้นต้นในกรณีนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลขายทอดตลาดที่ดิน: ความรับผิดชอบของผู้ซื้อในการตรวจสอบสภาพที่ดิน และความชอบด้วยกฎหมายของการบังคับคดี
ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการขายทอดตลาด ที่ดินได้ระบุที่ดินที่จะขายที่ดินระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจ เลขที่โฉนด แขวง เขต ที่ที่ดินตั้งอยู่ซึ่งมีชื่อจำเลย เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยระบุเนื้อที่ตามโฉนดขนาดกว้างยาว ของที่ดินทั้งสี่ด้าน รวมทั้งรายชื่อเจ้าของที่ดินทั้งสี่ทิศ กับระบุว่าเป็นที่ว่างเปล่ารถยนต์เข้าถึงทั้งได้ระบุการไป ให้ดูตามแผนที่สังเขปท้ายประกาศ กับมีคำเตือนผู้ซื้อว่า การรอนสิทธิค่าภาษีอากรต่าง ๆ เรื่องเขตเนื้อที่ กับระบุว่า การบอกประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้อง ไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง ดังนี้ ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี ดังกล่าวได้ระบุข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่จะขายพอสมควร แก่กรณีแล้ว หากผู้ซื้อมีความสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียด สิ่งใดเพิ่มเติม ก็ย่อมสามารถตรวจสอบสภาพที่ดินตลอดจน หลักฐานของทางราชการได้ก่อนทำการประมูล ผู้ร้องได้ทราบข่าวการประกาศขายทอดตลาดที่ดินของเจ้าพนักงานบังคับคดีมาก่อน และผู้ร้องได้ซื้อประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีมาดูรายละเอียดจนทราบที่ตั้งของที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด กับผู้ร้อง ได้ขับรถยนต์ไปดูที่ดินเห็นที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ห่างจากถนนประมาณ 150 เมตร ตามแผนที่ท้ายประกาศ ก็เข้าใจว่าเป็นที่ดิน แปลงที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้อง ทราบว่ามีการประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537จนถึงวันที่ประมูลที่ดินได้เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ผู้ร้องย่อมมีเวลาสามารถตรวจสอบที่ดินได้อย่างละเอียดถี่ ถ้วน การที่ผู้ร้องไม่ได้ทำการตรวจสอบสภาพที่ดิน ตำแหน่งที่ดินที่ขายทอดตลาด ให้ดีก่อนทำการประมูล จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเอง เพราะตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ระบุคำเตือนผู้ซื้อ ไว้แล้วว่า เรื่องเขตเนื้อที่ ประเภทและสภาพของทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบ เป็นหน้าที่ ผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง เช่นนี้ฟังไม่ได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้ เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ หลังจากไต่สวนพยานผู้ร้องมาแล้ว 3 ปาก ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัย ชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ตามคำร้อง และคำแถลงคัดค้านของผู้ร้อง แล้วศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานหลักฐาน ที่ผู้ร้องไต่สวนมาพอวินิจฉัยคำร้องได้แล้ว จึงให้งดการไต่สวน คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจพิเคราะห์ พยานหลักฐานในคดีประกอบกับข้อที่โจทก์ขอให้วินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้นในข้อกฎหมายโดยฟังว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วจึงให้งดสืบพยาน คำสั่งศาลชั้นต้นในกรณีนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลขายทอดตลาด: ผู้ซื้อต้องตรวจสอบสภาพที่ดินเอง ศาลไม่รับเพิกถอนกรณีสำคัญผิด
ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการขายทอดตลาดที่ดินได้ระบุที่ดินที่จะขายที่ดินระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจเลขที่โฉนด แขวง เขต ที่ที่ดินตั้งอยู่ ซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยระบุเนื้อที่ตามโฉนดขนาดกว้างยาวของที่ดินทั้งสี่ด้าน รวมทั้งรายชื่อเจ้าของที่ดินทั้งสี่ทิศกับระบุว่าเป็นที่ว่างเปล่ารถยนต์เข้าถึง ทั้งได้ระบุการไปที่ดินตามแผนที่สังเขปท้ายประกาศ กับมีคำเตือนผู้ซื้อว่า การรอนสิทธิ ค่าภาษีอากรต่าง ๆ เรื่องเขตเนื้อที่การบอกประเภทและสภาพของทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเอง เห็นได้ว่า ประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวได้ระบุข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่จะขายพอสมควรแก่กรณีแล้ว หากผู้ซื้อมีความสงสัยหรือต้องการทราบรายละเอียดสิ่งใดเพิ่มเติม ก็ย่อมสามารถตรวจสอบสภาพที่ดินตลอดจนหลักฐานของทางราชการได้ก่อนทำการ ประมูล ผู้ร้องได้ทราบข่าวการประกาศขายทอดตลาดที่ดิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีมาก่อน และผู้ร้องได้ซื้อประกาศ เจ้าพนักงานบังคับคดีมาดูรายละเอียดจนทราบที่ตั้งของที่ดิน ดังกล่าว กับผู้ร้องได้ขับรถยนต์ไปดูที่ดิน เห็นที่ดิน แปลงหนึ่งห่างจากถนนประมาณ 150 เมตร ตามแผนที่ท้ายประกาศ ก็เข้าใจว่าเป็นที่ดินแปลงที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศ ขายทอดตลาดเมื่อผู้ร้องทราบว่า มีการประกาศขายทอดตลาด ที่ดินพิพาทตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 จนถึงวันที่ประมูลที่ดินได้เป็นเวลาเกือบ 6 เดือน ผู้ร้องย่อมมีเวลาสามารถตรวจสอบ ที่ดินได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน การที่ผู้ร้องไม่ได้ทำการ ตรวจสอบสภาพที่ดิน ตำแหน่งที่ดินที่ขายทอดตลาดให้ดีก่อน ทำการประมูล จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเองเพราะ ตามประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ระบุคำเตือนผู้ซื้อไว้แล้วว่า เรื่องเขตเนื้อที่ ประเภทและสภาพของทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่รับรองและไม่รับผิดชอบเป็นหน้าที่ผู้ซื้อที่จะต้องไปตรวจสอบสถานที่ด้วยตนเองเช่นนี้ฟังไม่ได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ หลังจากไต่สวนพยานผู้ร้องมาแล้ว 3 ปาก ศาลชั้นต้นตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่า โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ตามคำร้องและคำแถลงคัดค้านของผู้ร้องแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานที่ผู้ร้องไต่สวนมาพอวินิจฉัยคำร้องได้แล้ว จึงให้งดการไต่สวน คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว เป็นการใช้ดุลพินิจพิเคราะห์พยานหลักฐานในคดีประกอบกับข้อที่โจทก์ ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายโดยฟังว่าคดี พอวินิจฉัยได้แล้วจึงให้งดสืบพยาน คำสั่ง ศาลชั้นต้น ในกรณีนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชั่งน้ำหนักพยานในคดีบุกรุก การพิจารณาจากความสัมพันธ์ของพยานและข้อเท็จจริงจากการรังวัดที่ดิน
พยานบุคคลของโจทก์นอกจากเจ้าหน้าที่ที่ดินแล้วล้วน เป็นญาติกับโจทก์ทั้งสิ้นส่วนพยานจำเลยปากฉ.ไม่ปรากฏว่าเกี่ยวข้องเป็นญาติกับจำเลย ทั้งทนายโจทก์มิได้ถามค้าน ว่าเป็นญาติกับจำเลย คำเบิกความของฉ.จึงมีเหตุผลน่าเชื่อถือว่าคำเบิกความของพยานโจทก์ปากต่าง ๆ ที่เป็นญาติโจทก์ โจทก์เป็นชายอายุ 34 ปี จำเลยเป็นหญิงอายุ 29 ปีการที่จำเลยปลูกต้นไม้รุกล้ำที่โจทก์โดยโจทก์มิได้ห้ามปรามเพราะไม่รู้กฎหมายนั้นเป็นเรื่องผิดปกติวิสัย และเมื่อทำการรังวัดที่ดินของโจทก์แล้ว ปรากฏว่าเนื้อที่ดินเพิ่มขึ้นจากที่ ระบุในโฉนดอีก 77 ตารางวาจึงเป็นข้อเท็จจริงที่แจ้งชัดว่าจำเลยมิได้รุกล้ำที่ดินโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้พิจารณาใหม่ตามลำดับชั้น
การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกหนังสือที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกขึ้นมาวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวระบุไว้ชัดว่าโจทก์มอบที่ดินตามประกาศเรื่องมีผู้ขอจับจองที่ดินฉบับที่ 14/2494 ให้แก่กรมป่าไม้เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการและสาธารณชนโดยทั่วไปแล้ว เป็นการอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณสมบัติของแผ่นดินใช้ในราชการกรมป่าไม้ตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีนี้ทั้งที่ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย ทั้งหากฟังได้ว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของกรมป่าไม้ซึ่งถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตาม แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ ครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิได้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จะด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินตามฟ้องโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง หาได้ไม่ ส่วนปัญหาที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่และโจทก์ขาดสิทธิในการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยมาแม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปเสียเองก็ตาม แต่เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ทั้งผลการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีครอบครองที่ดิน: การอุทิศที่ดินให้กรมป่าไม้ และสิทธิของผู้ครอบครองเดิม
การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกหนังสือที่โจทก์ขอให้ศาล มีคำสั่งเรียกขึ้นมาวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวระบุไว้ชัดว่า โจทก์มอบที่ดินตามประกาศเรื่องมีผู้ขอจับจองที่ดินให้แก่ กรมป่าไม้เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการและสาธารณชนโดยทั่วไปแล้ว เป็นการอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณสมบัติของแผ่นดินใช้ในราชการ กรมป่าไม้ตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีนี้ ทั้งที่ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอ แก่การวินิจฉัยทั้งแม้หากฟังได้ว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของ กรมป่าไม้ซึ่งถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตาม แต่ใน ระหว่างราษฎรด้วยกันผู้ที่ครอบครองใช้ประโยชน์ อยู่ก่อนย่อมมีอำนาจฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิได้ดังนั้นศาลอุทธรณ์จะด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของผู้มี สิทธิครอบครองในที่ดินตามฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่ ปัญหาที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่และโจทก์ขาดสิทธิ ในการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ ยังไม่ได้วินิจฉัยมา แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมา เสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ไปเสียเองก็ตาม แต่เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ทั้งผลการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การกำจัด สิทธิฎีกาของคู่ความศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ พิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานในคดีแพ่งหลังมีคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว ศาลต้องเปิดโอกาสให้คู่ความสืบพยานเพื่อพิสูจน์ประเด็นที่ยังไม่ตัดสิน
คดีอาญาโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 และ 365 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินแปลงที่ 35 และแปลงที่ 36 เนื้อที่รวม 25 ไร่ 1 งาน 85 ตารางวา ซึ่งอยู่ภายในเขตที่ดินบางส่วนของนิคมสหกรณ์ที่กันไว้เป็น ที่สาธารณประโยชน์ ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันและโจทก์ได้ ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ตามกฎหมายแล้ว จำเลย ให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2498 และ ทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย แล้วก่อนที่ พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ และ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ฯ มีผลใช้บังคับ หากโจทก์ ได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ก็ขึ้นทะเบียนโดยมิชอบ คดีจึงมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าการกันที่ดินพิพาท และขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ถึงที่สุดว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินที่ไม่ได้จัดสรรให้ราษฎรเข้า ทำประโยชน์ หากแต่เป็นที่ดินที่สงวนไว้สำหรับพลเมือง ใช้ประโยชน์ร่วมกัน จึงยังคงเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดิน หาใช่เป็นที่ดินที่มีเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้เสียหายมีกรรมสิทธิ์ อย่างเอกชนไม่ คดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดดังกล่าวไม่มี ประเด็นโดยตรงว่า การกันที่ดินพิพาทและขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้น ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งจำเลยจึงมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามประเด็นดังกล่าวได้ และการพิจารณาคดีนี้ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษา คดีส่วนอาญา การที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกันที่ดินเป็นที่สาธารณประโยชน์: ศาลไม่ผูกพันคำพิพากษาคดีอาญา และจำเลยมีสิทธิสืบพยานในคดีแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินแปลงที่ 35และแปลงที่ 36 เนื้อที่รวม 25 ไร่ 1 งาน 85 ตารางวา ซึ่งอยู่ภายในเขตที่ดินบางส่วนของนิคมสหกรณ์อำเภอพนาที่โจทก์และสมาชิกนิคมสหกรณ์อำเภอพนาได้ร่วมกันกันไว้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน และโจทก์ได้ขึ้นทะเบียนคุมที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวเป็นที่สาธารณประโยชน์ตามกฎหมายแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ พ.ศ.2498 และทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยเมื่อ พ.ศ.2503 ก่อนที่พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ในท้องที่อำเภอพนา จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2519 มีผลใช้บังคับหากตัวแทนโจทก์ได้ขึ้นทะเบียนคุมที่ดินทั้งสองแปลงให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ก็ขึ้นทะเบียนโดยมิชอบ จึงมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้คือ การกันที่ดินพิพาทและขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาคดีส่วนอาญาถึงที่สุดแล้ว อ้างเหตุผลที่ยกฟ้องในฐานความผิดตาม ป.อ.มาตรา 362 และ365 ว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินที่ไม่ได้จัดสรรให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์ เป็นที่ดินที่สงวนไว้สำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินตามฟ้องจึงยังคงเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดิน หาใช่เป็นที่ดินที่มีเอกชนเป็นเจ้าของหรือกรมส่งเสริมสหกรณ์ผู้เสียหายมีกรรมสิทธิ์อย่างเอกชนไม่ คดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดดังกล่าวไม่มีประเด็นโดยตรงว่า การกันที่ดินพิพาทและขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้น ในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่ง จำเลยจึงมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามประเด็นดังกล่าวได้ และการพิจารณาคดีนี้ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและการโต้แย้งดุลพินิจศาลแรงงานในการรับฟังพยานหลักฐาน
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ใบสำคัญการรับเงินค่าชดเชยเอกสารหมาย ล.2 โจทก์เป็นผู้ทำและกรอกข้อความเองทั้งหมดพอตีความในเนื้อความดังกล่าวได้ว่า โจทก์มีเจตนายอมรับในการที่จำเลยเลิกจ้างและค่าชดเชยที่จำเลยเสนอให้แม้เอกสารหมาย ล.2 ไม่มีข้อความว่าโจทก์ยอมสละสิทธิเรียกเงินไว้ก็ตาม แต่ที่โจทก์ยอมทำเอกสารหมาย ล.2ตามข้อเสนอของจำเลยย่อมตีเจตนาของโจทก์ได้ว่าโจทก์ยอมรับค่าชดเชยที่จำเลยเสนอและโจทก์ยอมสละสิทธิเรียกร้องเงินอื่นอีก และการแถลงรับข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงาน ซึ่งโจทก์รับว่าได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ไม่โต้เถียงเกี่ยวกับการสละสิทธิเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยอีกตามที่จำเลยอ้าง แสดงว่าข้อกล่าวอ้างของ จำเลยดังกล่าวนั้นมีจริงเมื่อโจทก์ไม่ปฏิเสธโดยชัดแจ้งต้องถือว่าโจทก์ยอมรับนั้น ศาลแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่าเอกสารหมาย ล.2 ไม่ปรากฏข้อความว่าโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยทั้งสิ้นดังที่จำเลยให้การ แม้โจทก์จะแถลงรับว่าโจทก์ได้รับเงินค่าชดเชยตามที่จำเลยจ่าย3 เดือน โดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างเดือนละ 10,224 บาทก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ส่วนที่ขาดและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า อุทธรณ์จำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการ รับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไป ตามนั้น ซึ่งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวอนุโลม ใช้กับคดีแรงงานด้วยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ดังนี้การที่ศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความประกอบเอกสาร ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ แล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับเพียงพอที่จะฟังเป็นยุติ และพอวินิจฉัยได้แล้วจึงสั่งงดสืบพยานแล้ววินิจฉัย คดีตามที่คู่ความรับกัน ถือได้ว่าศาลแรงงานได้ใช้ดุลพินิจ วิเคราะห์พยานหลักฐานในการรับฟังข้อเท็จจริง ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแล้ว
of 63