พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3960/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้และการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เจ้าหนี้ต้องพิสูจน์หนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางสั่งรับฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ย่อมเป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายที่จะสั่งคำร้องของ น. ที่จะเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ ศาลล้มละลายกลางไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาต
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญาขายลดตั๋วเงินซึ่งอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระเงินได้ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2532 แต่เจ้าหนี้กลับนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2543 จึงขาดอายุความในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกำหนด 3 ปี และมูลหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่มีกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001และมาตรา 193/30 แล้ว แม้ศาลล้มละลายจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยมิได้ยกเหตุเรื่องอายุความขึ้นมาวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ ก็หาใช่ว่าศาลล้มละลายได้ยอมรับรองว่าเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ไม่ อีกทั้งกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ในส่วนของการขอรับชำระหนี้เป็นกระบวนพิจารณาที่แยกต่างหากจากกระบวนพิจารณาคดีและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เมื่อในมาตรา 91,94,106,107 และ 108 ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลที่จะต้องพิจารณาในชั้นขอรับชำระหนี้อีกครั้งหนึ่งด้วยว่าหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่ แม้หนี้นั้นจะเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้นำมากล่าวอ้างฟ้องเป็นคดีล้มละลายจนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ก็หาผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตามไม่ เมื่อเป็นหนี้ที่ขาดอายุความจึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94(1)
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญาขายลดตั๋วเงินซึ่งอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระเงินได้ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2532 แต่เจ้าหนี้กลับนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2543 จึงขาดอายุความในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกำหนด 3 ปี และมูลหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่มีกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001และมาตรา 193/30 แล้ว แม้ศาลล้มละลายจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยมิได้ยกเหตุเรื่องอายุความขึ้นมาวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ ก็หาใช่ว่าศาลล้มละลายได้ยอมรับรองว่าเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ไม่ อีกทั้งกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ในส่วนของการขอรับชำระหนี้เป็นกระบวนพิจารณาที่แยกต่างหากจากกระบวนพิจารณาคดีและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เมื่อในมาตรา 91,94,106,107 และ 108 ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลที่จะต้องพิจารณาในชั้นขอรับชำระหนี้อีกครั้งหนึ่งด้วยว่าหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่ แม้หนี้นั้นจะเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้นำมากล่าวอ้างฟ้องเป็นคดีล้มละลายจนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ก็หาผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตามไม่ เมื่อเป็นหนี้ที่ขาดอายุความจึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3715/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างในฐานะผู้ว่าจ้าง ลูกจ้างกระทำละเมิด และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดที่ ป. กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นนายจ้างของ ป. โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ว่า ป. เป็นลูกจ้างของจำเลยกระทำไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของจำเลย
จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดีและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยดังกล่าวแล้ว คดีย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิพากษาคดีนี้ใหม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาใหม่เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว
จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดีและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยดังกล่าวแล้ว คดีย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิพากษาคดีนี้ใหม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาใหม่เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำหน่ายคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ศาลใช้ดุลพินิจชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าคดีนี้อันเป็นคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์และมีคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเพื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการทวงหนี้แก่จำเลยทั้งสอง ซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งให้งดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ คดีนี้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แม้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การยกข้อต่อสู้คดีหลายประการ แต่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาดในคดีล้มละลายการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวเท่ากับเป็นการให้โอกาสแก่จำเลยที่ 2 ได้ตกลงเจรจากับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของโจทก์แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องเสียหายไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจจำหน่ายคดีของโจทก์จึงเป็นการชอบด้วย พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 และคำสั่งดังกล่าวก็มิได้อยู่ในบังคับที่ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131และมาตรา 132 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีแพ่งที่จำหน่ายคดีเนื่องจากล้มละลาย ศาลต้องคืนค่าขึ้นศาลเพื่อบรรเทาภาระแก่โจทก์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยถูกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย บทบัญญัติของกฎหมายในมาตราดังกล่าวมีเจตนารมณ์ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร ซึ่งต่างจากกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลต้องมีคำสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด หรือในกรณีที่มีการถอนคำฟ้องหรือได้มีการ ตัดสินให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่ หรือเมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือ การประนีประนอม ยอมความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนแก่คู่ความได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์ทั้งสองกับ จำเลยทั้งหกเป็นพับจึงชอบแล้ว
อย่างไรก็ตาม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ ซึ่งเกิดจากเหตุที่จำเลยทั้งหก ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น โจทก์ทั้งสองก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายอีกด้วย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่คืน ค่าธรรมเนียมให้โจทก์ทั้งสองเลยนั้น น่าจะเป็นภาระแก่โจทก์ทั้งสองที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน คือ ค่าธรรมเนียมในการยื่นฟ้องคดีนี้และค่าธรรมเนียมในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งเป็นหนี้จำนวนเดียวกันที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งสอง
อย่างไรก็ตาม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ ซึ่งเกิดจากเหตุที่จำเลยทั้งหก ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น โจทก์ทั้งสองก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายอีกด้วย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่คืน ค่าธรรมเนียมให้โจทก์ทั้งสองเลยนั้น น่าจะเป็นภาระแก่โจทก์ทั้งสองที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน คือ ค่าธรรมเนียมในการยื่นฟ้องคดีนี้และค่าธรรมเนียมในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งเป็นหนี้จำนวนเดียวกันที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9752/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอปล่อยตัวจากการคุมขังผิดกฎหมายสิ้นสุดเมื่อมีการฟ้องคดีและจำเลยถูกขังตามหมายขังของศาล
สิทธิในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมหรือขังโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. 90 มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ผู้ถูกคุมขังยังถูกควบคุมหรือขังไวัโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ตามคำร้องอ้างเหตุการควบคุม พ. เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า ในชั้นฝากขัง พนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอฝากขัง พ. ต่อศาล แต่ปรากฏว่าพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ. เป็นจำเลยและจำเลยถูกขังตามหมายขังระหว่างพิจารณาของศาลแล้ว ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของผู้ร้องที่ว่า การควบคุม พ. ในชั้นสอบสวน ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะได้รับการวินิจฉัยต่อไป ทั้งประเด็นดังกล่าวย่อมเป็นข้อต่อสู้ของ พ. ที่จะได้รับการพิจารณาในชั้นรับฟังพยานหลักฐานของศาล ฎีกาของผู้ร้องจึงไม่มีประโยชน์แก่คดีที่จะได้รับการวินิจฉัยอีกต่อไป
ตามคำร้องอ้างเหตุการควบคุม พ. เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า ในชั้นฝากขัง พนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอฝากขัง พ. ต่อศาล แต่ปรากฏว่าพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ. เป็นจำเลยและจำเลยถูกขังตามหมายขังระหว่างพิจารณาของศาลแล้ว ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของผู้ร้องที่ว่า การควบคุม พ. ในชั้นสอบสวน ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะได้รับการวินิจฉัยต่อไป ทั้งประเด็นดังกล่าวย่อมเป็นข้อต่อสู้ของ พ. ที่จะได้รับการพิจารณาในชั้นรับฟังพยานหลักฐานของศาล ฎีกาของผู้ร้องจึงไม่มีประโยชน์แก่คดีที่จะได้รับการวินิจฉัยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8738/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานมีผลเพียงชี้แนะ ไม่เป็นคำสั่ง นายจ้างมีสิทธิไม่ปฏิบัติตาม และไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนคำเตือน
พนักงานตรวจแรงงานมีคำเตือนให้นายจ้างจัดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างโดยอาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 77 ซึ่งคำเตือน ดังกล่าวไม่ขัดแย้งกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงมีผลเป็นคำเตือนตามประกาศดังกล่าว ข้อ 77 และใช้บังคับได้ต่อไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 166 ทั้งคำเตือนดังกล่าวมิใช่คำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดของพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่บัญญัติให้นายจ้างต้องปฏิบัติตาม แต่มีผลเพียงเป็นการชี้แนะเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้น ถ้านายจ้างเห็นว่าไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้โดยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 146 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 8 การที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำเตือนและลูกจ้างขอหยุดพักผ่อนประจำปีตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน ยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของนายจ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ทั้งนายจ้างมิได้ฟ้องพนักงานตรวจแรงงานหรืออธิบดีกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงานเป็นจำเลย นายจ้างจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานและขอให้ สั่งว่าจำเลยไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7138/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาเช่าซื้อ ทำให้หนี้เดิมระงับ โจทก์ฟ้องซื้อขายจึงไม่มีผล
จำเลยได้ทำสัญญาขายรถยนต์ให้แก่โจทก์ โจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาบางส่วน ส่วนที่เหลือผ่อนชำระเป็นเวลา 48 เดือน ต่อมาโจทก์และจำเลยได้ตกลงเปลี่ยนสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าซื้อโดยบันทึกสัญญาไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีแสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยว่า ต้องการจะเปลี่ยนจากสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาเช่าซื้อและคู่สัญญามีเจตนาตกลงเลิกสัญญาซื้อขายกัน แล้วสมัครใจเข้าทำสัญญาเช่าซื้อและจะปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป สัญญาซื้อขายจึงสิ้นผลผูกพันโจทก์และจำเลยนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่าซื้อ ทำให้หนี้ตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นอันระงับไป ด้วยการแปลงหนี้ใหม่ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายรถยนต์ แต่คำฟ้องของโจทก์บรรยายเกี่ยวกับการซื้อขายรถยนต์เท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงสัญญาเช่าซื้อ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาซื้อขายซึ่งระงับไปแล้วด้วยการแปลงหนี้ใหม่จากจำเลยได้ ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ ตัดสิทธิโจทก์ที่จะทำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้นอกศาลของผู้ค้ำประกันและการยกฟ้องคดี การไต่สวนข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาท
จำเลยทั้งหกให้การต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งหกเสร็จสิ้น ในวันนัดอ่าน คำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 จำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ไม่คัดค้าน แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แถลงคัดค้านว่าทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เสียเปรียบและยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ 10,000,000 บาท ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกันในวงเงิน 400,000 บาท หากจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ชำระเงินให้โจทก์ 10,000,000 บาท จริง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมพ้นความรับผิดไปด้วย ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 10,000,000 บาท ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นนัดอ่านคำพิพากษา เป็นการกล่าวอ้างว่ามีการชำระหนี้นอกศาลและเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวมาให้ศาลไต่สวนเพื่อวินิจฉัยยกฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ไม่ได้ ทั้งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ตามคำคัดค้านของจำเลยที 2 และที่ 3 แล้ว ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าไม่มีเหตุที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5418/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การชำระหนี้ครบถ้วนในคดีหย่า ทำให้ไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินสินสมรสได้อีก
ในคดีก่อนศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ที่ดินแปลงพิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ หากแต่เป็นทรัพย์สินที่โจทก์กับ ธ. ซึ่งเป็นสามีซื้อมาในระหว่างสมรสแล้วใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นน้อง ธ. ไว้แทนจึงเป็นสินสมรส เมื่อโจทก์กับ ธ. หย่ากันจึงต้องแบ่งที่ดินแปลงพิพาทให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ถ้าไม่ยอมแบ่งก็ให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ซึ่งในการแบ่งทรัพย์สินที่ดินแปลงนี้ก็มีปัญหาขึ้นมาสู่ศาลในชั้นบังคับคดีและศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า เมื่อโจทก์ขอแบ่งสินสมรสโดยระบุจำนวนราคาสินสมรสมาในคำฟ้องและ ธ. ยอมแบ่งสินสมรสตามจำนวนเงินที่ระบุมาในคำฟ้องแก่โจทก์ ถือได้ว่า ธ. ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่อาจที่จะร้องขอให้ขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาได้อีกต่อไป ในคดีนี้โจทก์มาฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสในคดีเดิมให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ดังนี้ แม้โจทก์จะชนะคดีนี้ในชั้นฎีกา โจทก์ก็ไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ที่พิพาทได้ คดีของโจทก์จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป แต่การจะจำหน่ายคดีไปโดยให้คงคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทคืนโจทก์กึ่งหนึ่งไว้ก็เป็นการไม่ชอบเพราะเท่ากับให้โจทก์บังคับคดีเอาแก่ที่พิพาทได้อีก จึงเห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และคำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับคำฟ้องกรณีคำฟ้องไม่สมบูรณ์และการแก้ไขคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อไม่ปรากฏว่าคำฟ้องมีข้อบกพร่องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ศาลภาษีอากรกลางก็ต้องจดแจ้งแสดงการรับคำคู่ความนั้นไว้ การที่ศาลภาษีอากรกลางให้โจทก์ทำคำฟ้องใหม่โดยไม่ปรากฏเหตุดังที่กล่าวข้างต้นจึงไม่ชอบ
ศาลภาษีอากรกลางเพียงแต่ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์เท่านั้น หาได้มีคำสั่งยกคำฟ้องหรือไม่รับคำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นพร้อมกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ คำฟ้องเดิมของโจทก์ยังคงมีอยู่เช่นเดิม
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่ามีข้อความในลักษณะเป็นการขอแก้ไขโดยสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือลดจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมที่ศาลจะพิจารณาสั่งให้แก้ไขคำฟ้องได้ชอบที่จะให้โจทก์ยื่นคำร้องใหม่ให้ถูกต้อง
ศาลภาษีอากรกลางเพียงแต่ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์เท่านั้น หาได้มีคำสั่งยกคำฟ้องหรือไม่รับคำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นพร้อมกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ คำฟ้องเดิมของโจทก์ยังคงมีอยู่เช่นเดิม
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่ามีข้อความในลักษณะเป็นการขอแก้ไขโดยสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือลดจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมที่ศาลจะพิจารณาสั่งให้แก้ไขคำฟ้องได้ชอบที่จะให้โจทก์ยื่นคำร้องใหม่ให้ถูกต้อง