พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่เกี่ยวข้องกับการส่งสำเนาอุทธรณ์, ประเด็นสาระแห่งคดี, และผลของการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอม
เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยศาลอุทธรณ์จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์ว่าโจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องนั้นหรือไม่ ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือจะสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลชั้นต้นอย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์สั่งเพียงว่า "รวม" จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 131(1) เมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาเสร็จไปแล้ว การที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยย่อมจะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะไม่มีผลทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลง ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วหากต่อมาในชั้นพิจารณาและพิพากษาคดี ศาลอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ของโจทก์ไม่เป็นสาระแก่คดีก็พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 การบังคับคดีจะต้องเป็นไปตามคำพิพากษา รายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นจดไว้ในวันทำคำพิพากษาตามยอมให้โจทก์จำเลยและจำเลยร่วมนั้น แม้จะมีถ้อยคำที่แตกต่างไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็ไม่มีผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ จำเลยและจำเลยร่วมตลอดจนคำพิพากษาตามยอมเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่าข้อความที่ศาลชั้นต้นบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอน จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: จำเลยต้องดำรงตำแหน่งขณะเกิดเหตุ หากมิได้ดำรงตำแหน่ง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้ฟ้องโดยระบุตำแหน่ง
แม้ในช่องคู่ความในคำฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เป็นจำเลยโดยมิได้ระบุตำแหน่ง แต่ในคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 1ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นผู้ออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารและมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์โจทก์ตามลำดับ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเก้า ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 มิได้ดำรงตำแหน่งตามฟ้องส่วนจำเลยที่ 2 ก็พ้นจากตำแหน่งก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องได้ เพราะมิได้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการได้ และย่อมมีผลไปถึงจำเลยอื่นด้วย เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น คำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และคำร้องขอแก้ฟ้องเลื่อนจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องตรงกับตำแหน่งผู้มีอำนาจตามกฎหมาย การฟ้องจำเลยที่พ้นตำแหน่งแล้วเป็นอันขาดอำนาจฟ้อง
แม้ในช่องคู่ความในคำฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เป็นจำเลยโดยมิได้ระบุตำแหน่ง แต่ในคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นผู้ออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารและมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์โจทก์ตามลำดับ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเก้า ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 มิได้ดำรงตำแหน่งตามฟ้องส่วนจำเลยที่ 2 ก็พ้นจากตำแหน่งก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องได้ เพราะมิได้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการได้ และย่อมมีผลไปถึงจำเลยอื่นด้วย
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น คำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และคำร้องขอแก้ฟ้องเลื่อนจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องนี้
เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 มิได้ดำรงตำแหน่งตามฟ้องส่วนจำเลยที่ 2 ก็พ้นจากตำแหน่งก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องได้ เพราะมิได้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการได้ และย่อมมีผลไปถึงจำเลยอื่นด้วย
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น คำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และคำร้องขอแก้ฟ้องเลื่อนจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: โจทก์ไม่ขอผลตามกฎหมายแรงงาน กลับเรียกร้องสินจ้างอื่น ศาลฎีกายืนตามศาลล่าง
คำฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ที่ว่าด้วยการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง อาจขอให้ศาลสั่งนายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือให้ ใช้ค่าเสียหายแทนการขอกลับเข้าทำงาน แต่คดีนี้แม้โจทก์บรรยายฟ้องอ้างเหตุตามบทบัญญัติดังกล่าวแต่โจทก์มิได้ขอผล ตามมาตรา 49 กลับยอมรับการสิ้นภาวะเป็นลูกจ้างและไม่ติดใจเรียกค่าเสียหายตามที่มาตรา 49 ให้สิทธิไว้คง ติดใจเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 และเรียกค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานกับขอ เงินบำเหน็จและเงินค่าตำแหน่งอันเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมิได้เกี่ยวด้วยการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมดังนั้นการที่จะพิจารณาว่าจำเลย เป็นผู้มีอำนาจเลิกจ้างและการเลิกจ้างได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาจ้างแรงงาน ที่การลงโทษโจทก์ถึงไล่ออกต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของนายจ้างก่อนหรือไม่ก็หาเป็นประโยชน์แห่งคดีโจทก์ไม่ที่ศาลแรงงานกลางไม่ได้ กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและไม่วินิจฉัยความสองข้อนั้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: โจทก์ไม่ขอรับเข้าทำงาน กลับเรียกร้องค่าชดเชยอื่น ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงานกลาง
คำฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 49 ที่ว่าด้วยการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างอาจขอให้ศาลสั่งนายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือให้ ใช้ค่าเสียหายแทนการขอกลับเข้าทำงานแต่คดีนี้แม้โจทก์บรรยายฟ้องอ้างเหตุตามบทบัญญัติดังกล่าวแต่โจทก์มิได้ขอผล ตาม มาตรา 49. กลับยอมรับการสิ้นภาวะเป็นลูกจ้างและไม่ ติดใจเรียกค่าเสียหายตามที่มาตรา 49 ให้สิทธิไว้คง ติดใจเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582และเรียกค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานกับขอ เงินบำเหน็จและเงินค่าตำแหน่งอันเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมิได้เกี่ยวด้วยการ เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมดังนั้นการที่จะพิจารณาว่าจำเลย เป็นผู้มีอำนาจเลิกจ้างและการเลิกจ้างได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาจ้างแรงงาน ที่การลงโทษโจทก์ถึงไล่ออกต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารของนายจ้างก่อนหรือไม่ก็หาเป็นประโยชน์แห่งคดีโจทก์ไม่ที่ศาลแรงงานกลางไม่ได้ กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและไม่วินิจฉัยความสองข้อนั้นจึง ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาคดีขัดทรัพย์: การพิจารณาคำร้องขอต้องมีองค์คณะตามกฎหมาย
คดีร้องขัดทรัพย์ซึ่งมีทุนทรัพย์เกินกว่าห้าหมื่นบาท ผู้พิพากษานายเดียวตรวจคำร้องขอแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอ เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 21(2) เพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) และเป็นกรณีที่ต้องมีผู้พิพากษาเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาอย่างน้อยสองนาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22, 23 เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีขัดทรัพย์โดยผู้พิพากษานายเดียวไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีทุนทรัพย์เกินห้าหมื่น
คดีร้องขัดทรัพย์ซึ่งมีทุนทรัพย์เกินกว่าห้าหมื่นบาทผู้พิพากษานายเดียวตรวจคำร้องขอแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอ เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 21(2) เพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) และเป็นกรณีที่ต้องมีผู้พิพากษาเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาอย่างน้อยสองนาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22,23 เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ ให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3877/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, ผู้ถือหุ้นฟ้องแทนบริษัท, ความรับผิดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์, การพิพากษายกฟ้องตามมาตรา 131
เมื่อพิจารณาคำฟ้องแล้ว หากศาลเห็นว่าแม้เป็นจริงดังคำฟ้องโจทก์ก็ไม่มีทางชนะคดี ศาลก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องไปได้เลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ล้มละลายฟ้องธนาคารจำเลยให้รับผิด อ้างว่าผิดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ทำไว้กับบริษัทกับไม่ออกเอกสารให้บริษัทไปออกสินค้าจากท่าเรือ ดังนี้ เป็นเรื่องบริษัทจะฟ้องร้องโจทก์จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1169 มาฟ้องร้องเสียเองไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้กรมบังคับคดีจำเลยรับผิด โดยมิได้บรรยายถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักว่าจะต้องรับผิดในฐานะใดข้ออ้างนี้เป็นคนละเรื่องกับความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ มาตรา 147 ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เว้นแต่จะได้กระทำโดยเจตนาร้ายหรือโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเมื่อคำฟ้องไม่ได้แสดงว่าได้มีการกระทำดังกล่าว จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ล้มละลายฟ้องธนาคารจำเลยให้รับผิด อ้างว่าผิดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ทำไว้กับบริษัทกับไม่ออกเอกสารให้บริษัทไปออกสินค้าจากท่าเรือ ดังนี้ เป็นเรื่องบริษัทจะฟ้องร้องโจทก์จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1169 มาฟ้องร้องเสียเองไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้กรมบังคับคดีจำเลยรับผิด โดยมิได้บรรยายถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักว่าจะต้องรับผิดในฐานะใดข้ออ้างนี้เป็นคนละเรื่องกับความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ มาตรา 147 ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เว้นแต่จะได้กระทำโดยเจตนาร้ายหรือโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเมื่อคำฟ้องไม่ได้แสดงว่าได้มีการกระทำดังกล่าว จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3877/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น, ความรับผิดของจำเลยในคดีล้มละลาย, และการพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อพิจารณาคำฟ้องแล้ว หากศาลเห็นว่าแม้เป็นจริงดังคำฟ้องโจทก์ก็ไม่มีทางชนะคดี ศาลก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องไปได้เลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ล้มละลายฟ้องธนาคารจำเลยให้รับผิด อ้างว่าผิดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ทำไว้กับบริษัท กับไม่ออกเอกสารให้บริษัทไปออกสินค้าจากท่าเรือ ดังนี้ เป็นเรื่องบริษัทจะฟ้องร้องโจทก์จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1169 มาฟ้องร้องเสียเองไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้กรมบังคับคดีจำเลยรับผิด โดยมิได้บรรยายถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักว่าจะต้องรับผิดในฐานะใดข้ออ้างนี้เป็นคนละเรื่องกับความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ มาตรา 147 ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เว้นแต่จะได้กระทำโดยเจตนาร้ายหรือโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เมื่อคำฟ้องไม่ได้แสดงว่าได้มีการกระทำดังกล่าว จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ล้มละลายฟ้องธนาคารจำเลยให้รับผิด อ้างว่าผิดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ทำไว้กับบริษัท กับไม่ออกเอกสารให้บริษัทไปออกสินค้าจากท่าเรือ ดังนี้ เป็นเรื่องบริษัทจะฟ้องร้องโจทก์จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1169 มาฟ้องร้องเสียเองไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้กรมบังคับคดีจำเลยรับผิด โดยมิได้บรรยายถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักว่าจะต้องรับผิดในฐานะใดข้ออ้างนี้เป็นคนละเรื่องกับความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ มาตรา 147 ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เว้นแต่จะได้กระทำโดยเจตนาร้ายหรือโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เมื่อคำฟ้องไม่ได้แสดงว่าได้มีการกระทำดังกล่าว จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของธนาคารและกระทรวงการคลังต่อความเสียหายจากบริษัทเงินทุน กรณีล้มละลาย ไม่ถือว่าละเมิด
อำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจำเลยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 นั้น มีขอบเขตของการควบคุมเพื่อตรวจตราดูแลให้บริษัทเงินทุนได้ดำเนินงานให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศของกระทรวงการคลัง ไม่มีหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องดำเนินงานหรือกระทำการช่วยเหลือชี้ช่องในการบริหารงาน ให้แก่คณะกรรมการของบริษัทเงินทุนการกระทำของบริษัทเงินทุน เช่นการเพิ่มทุนก็ดี ราคาหุ้นของบริษัทสูงมากอย่างรวดเร็วก็ดี ให้กู้ยืมโดยไม่มีหลักประกันก็ดี หรือหนี้สูญจำนวนมากก็ดี จึงทำให้ ฐานะของบริษัทเงินทุนทรุดหนักจนไม่อาจแก้ไขได้นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยทั้งสองยอมรับหรือสมยอมให้บริษัทกระทำการดังกล่าวหรือ ประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดความเสียหาย ของโจทก์ที่เป็นลูกค้าที่ฝากเงินไว้กับบริษัทหากจะมีก็เกิดจาก การกระทำของบริษัทเงินทุน มิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสอง จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิด
การที่ศาลชั้นต้นตรวจพิเคราะห์คำฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดจึงมีคำสั่งยกฟ้องโจทก์ให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับนั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) มีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์ตาม มาตรา 151
การที่ศาลชั้นต้นตรวจพิเคราะห์คำฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดจึงมีคำสั่งยกฟ้องโจทก์ให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับนั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) มีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์ตาม มาตรา 151