คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 131

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489-1490/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตพิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้องผูกพันตามคำพิพากษา ศาลมิอาจแก้ไขขอบเขตใหม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้ายึดถือที่ดินตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง อันเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่อยู่ในเขตสุขาภิบาลโจทก์ ขอให้ขับไล่. โจทก์ได้คัดสำเนาประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งสุขาภิบาลพร้อมทั้งภาพถ่ายแสดงเขตสุขาภิบาลตามประกาศให้เห็นเส้นและหลักเขตสุขาภิบาลอย่างชัดเจน. มีมาตราส่วนที่สามารถวัดตรวจสอบได้อย่างละเอียด กับมีแผนที่วิวาทแสดงเขตที่จำเลยบุกรุกซึ่งวัดได้แน่นอน. สามารถเข้าใจได้ว่าที่พิพาทอยู่ตรงไหน จำเลยบางคนให้การปฏิเสธว่าแผนที่แสดงที่พิพาทผิดความจริง. บางคนไม่ปฏิเสธ. แต่ในชั้นพิจารณา ไม่มีจำเลยคนใดนำสืบถึงความไม่ถูกต้องของแผนที่วิวาทท้ายฟ้อง. ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยออกจากทางพิพาท ย่อมหมายถึงที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง.
ในชั้นบังคับคดี จำเลยอ้างว่าไม่สามารถปฏิบัติตามคำบังคับได้. เพราะการดำเนินคดีมิได้ทำแผนที่กลาง. ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์จำเลยชี้เขต แล้วมีคำสั่งกำหนดเขตที่พิพาทขึ้นใหม่ต่างไปจากที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง. คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143. ไม่มีผลใช้บังคับ. แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์คัดค้าน.ก็ยังมีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยตามแผนที่ท้ายฟ้องเพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำพิพากษาได้. กรณีมิใช่เป็นเรื่องแก้ไขคำสั่งเดิมที่ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489-1490/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้องมีผลบังคับใช้ การแก้ไขคำสั่งศาลชั้นต้นขัดต่อคำพิพากษาเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้ายึดถือที่ดินตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง อันเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่อยู่ในเขตสุขาภิบาลโจทก์ ขอให้ขับไล่ โจทก์ได้คัดค้านสำเนาประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งสุขาภิบาลพร้อมทั้งภาพถ่ายแสดงเขตสุขาภิบาลตามประกาศให้เห็นเส้นและหลักเขตสุขาภิบาลอย่างชัดเจน มีมาตราส่วนที่สามารถวัดตรวจสอบได้อย่างละเอียด กับมีแผนที่วิวาทแสดงเขตที่จำเลยบุกรุกซึ่งวัดได้แน่นอน สามารถเข้าใจได้ว่าที่พิพาทอยู่ตรงไหน จำเลยบางคนให้การปฏิเสธว่าแผนที่แสดงที่พิพาทผิดจากความจริง บางคนไม่ปฏิเสธ แต่ในชั้นพิจารณา ไม่มีจำเลยคนใดนำสืบถึงความไม่ถูกต้องของแผนที่วิวาทท้ายฟ้อง ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยออกจากทางพิพาท ย่อมหมายถึงที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง
ในชั้นบังคับคดี จำเลยอ้างว่าไม่สามารถปฏิบัติตามคำบังคับได้ เพราะการดำเนินคดีมิได้ทำแผนที่กลาง ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์จำเลยชี้เขต แล้วมีคำสั่งกำหนดเขตที่พิพาทขึ้นใหม่ต่างไปจากที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาแพ่ง มาตรา 143 ไม่มีผลบังคับใช้ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์คัดค้านก็ยังมีสิทธิขอห้ศาลบังคับจำเลยตามแผ่นที่ท้ายฟ้องเพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำพิพากษาได้ กรณีมิใช่เป็นเรื่องแก้ไขคำสั่งเดิมที่ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489-1490/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามแผนที่ในคำพิพากษา ศาลชั้นต้นแก้ไขเขตที่พิพาทไม่ได้ ขัดมาตรา 143
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้ายึดถือที่ดินตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง อันเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่อยู่ในเขตสุขาภิบาลโจทก์ ขอให้ขับไล่ โจทก์ได้คัดสำเนาประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งสุขาภิบาลพร้อมทั้งภาพถ่ายแสดงเขตสุขาภิบาลตามประกาศให้เห็นเส้นและหลักเขตสุขาภิบาลอย่างชัดเจน มีมาตราส่วนที่สามารถวัดตรวจสอบได้อย่างละเอียด กับมีแผนที่วิวาทแสดงเขตที่จำเลยบุกรุกซึ่งวัดได้แน่นอน สามารถเข้าใจได้ว่าที่พิพาทอยู่ตรงไหน จำเลยบางคนให้การปฏิเสธว่าแผนที่แสดงที่พิพาทผิดความจริง บางคนไม่ปฏิเสธ แต่ในชั้นพิจารณา ไม่มีจำเลยคนใดนำสืบถึงความไม่ถูกต้องของแผนที่วิวาทท้ายฟ้อง ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยออกจากทางพิพาท ย่อมหมายถึงที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง
ในชั้นบังคับคดี จำเลยอ้างว่าไม่สามารถปฏิบัติตามคำบังคับได้ เพราะการดำเนินคดีมิได้ทำแผนที่กลาง ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์จำเลยชี้เขต แล้วมีคำสั่งกำหนดเขตที่พิพาทขึ้นใหม่ต่างไปจากที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ไม่มีผลใช้บังคับ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์คัดค้าน ก็ยังมีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยตามแผนที่ท้ายฟ้องเพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำพิพากษาได้ กรณีมิใช่เป็นเรื่องแก้ไขคำสั่งเดิมที่ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง สัญญาขายฝากเป็นโมฆะ ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
ในกรณีที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้น ย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่จะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นจริงดังจำเลยกล่าวอ้างสัญญาขายฝากก็ใช้บังคับไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 เมื่อสัญญาขายฝากใช้บังคับไม่ได้แล้ว โจทก์ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตามสัญญาขายฝาก และไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย(เทียบตามนัยฎีกาที่ 295/2508)
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างสัญญาขายฝาก ย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญาขายฝาก และมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ และเมื่อไม่ได้พิพาทกันเรื่องการบังคับจำนอง จึงยังไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าสัญญาจำนองนั้นจะมีผลบังคับได้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองทำให้สัญญาขายฝากเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์และสิทธิฟ้องขับไล่
ในกรณีที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้น ย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่จะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นจริงดังจำเลยกล่าวอ้างสัญญาขายฝากก็ใช้บังคับไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 เมื่อสัญญาขายฝากใช้บังคับไม่ได้แล้วโจทก์ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตามสัญญาขายฝาก และไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย(เทียบตามนัยฎีกาที่ 295/2508)
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างสัญญาขายฝาก ย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญาขายฝาก และมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ และเมื่อไม่ได้พิพาทกันเรื่องการบังคับจำนอง จึงยังไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าสัญญาจำนองนั้นจะมีผลบังคับได้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง สัญญาขายฝากเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์และสิทธิฟ้องขับไล่
ในกรณีที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้น. ย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่จะทำสัญญาจำนองกัน. หากเป็นจริงดังจำเลยกล่าวอ้างสัญญาขายฝากก็ใช้บังคับไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118. เมื่อสัญญาขายฝากใช้บังคับไม่ได้แล้ว.โจทก์ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตามสัญญาขายฝาก. และไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย(เทียบตามนัยฎีกาที่ 295/2508).
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างสัญญาขายฝาก. ย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญาขายฝาก และมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่. และเมื่อไม่ได้พิพาทกันเรื่องการบังคับจำนอง. จึงยังไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าสัญญาจำนองนั้นจะมีผลบังคับได้หรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเรียกเงินชำระหนี้แทนกันตามสัญญาตัวแทน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนจำเลย เป็นฟ้องในมูลหนี้ตามสัญญาตัวแทน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
หมายเหตุ คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกฟ้องโจทก์โดยยังไม่ได้สำเนาฟ้องให้จำเลย จำเลยยังไม่ได้ยื่นคำให้การ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจำเลยฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องชำระหนี้แทนกัน: สัญญาตัวแทนไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนจำเลย เป็นฟ้องในมูลหนี้ตามสัญญาตัวแทนแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
หมายเหตุ คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกฟ้องโจทก์โดยยังไม่ได้สำเนาฟ้องให้จำเลยจำเลยยังไม่ได้ยื่นคำให้การ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจำเลยฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่รับฟ้องไม่ถือเป็นคำพิพากษา ฟ้องซ้ำต้องห้ามเฉพาะคำพิพากษาถึงที่สุด
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรค 3, 18 วรรค 2, 3 และ 5 จะเห็นระบบการดังนี้คือ ในชั้นตรวจคำฟ้องหรือคำคู่ความนั้น ศาลอาจจะกระทำได้เพียง 3 ประการ คือ สั่งรับ สั่งไม่รับ และสั่งคืนไป เท่านั้น เมื่อสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณาแล้วก็จะพิพากษายกฟ้องไม่ได้
คำว่า "ให้ยกเสีย" ในมาตรา 172 กับคำว่า "มีคำสั่งไม่รับ" ในมาตรา 18 กฎหมายประสงค์ให้มีผลอย่างเดียวกัน เพราะคำว่า "ให้ยกเสีย" ตามมาตรา 172 จะถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามมาตรา 131 ไม่ได้
ในคดีก่อน ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษารายเดียวสั่งในคำฟ้องว่า ไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะฟ้องจำเลยในคดีนี้ได้ ไม่รับฟ้องไว้พิจารณา ให้ยกฟ้องโจทก์ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งเหมือนให้ยกเสียตามมาตรา 172 ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามความในมาตรา 18 เพราะไม่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามมาตรา 131 ่เลย เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ในเรื่องเดียวกันอีก จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่รับฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้อง ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี ฟ้องซ้ำไม่มี
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรค 318 วรรค 2,3 และ 5 จะเห็นระบบการดังนี้ คือ ในชั้นตรวจคำฟ้องหรือคำคู่ความนั้นศาลอาจกระทำได้เพียง 3 ประการ คือ สั่งรับ สั่งไม่รับ และสั่งคืนไปเท่านั้นเมื่อสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณาแล้วก็จะพิพากษายกฟ้องไม่ได้
คำว่า'ให้ยกเสีย' ในมาตรา 172 กับคำว่า'มีคำสั่งไม่รับ' ในมาตรา 18 กฎหมายประสงค์ให้มีผลอย่างเดียวกันเพราะคำว่า 'ให้ยกเสีย' ตามมาตรา 172 จะถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามมาตรา 131 ไม่ได้
ในคดีก่อน ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษานายเดียวสั่งในคำฟ้องว่า ไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะฟ้องจำเลยในคดีนั้นได้ ไม่รับฟ้องไว้พิจารณา ให้ยกฟ้องโจทก์ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งเสมือนว่าให้ยกเสียตามมาตรา 172 ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามความในมาตรา 18 เพราะไม่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี ตามมาตรา 131 เลยเมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ในเรื่องเดียวกันอีก จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
of 12