พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษจำคุกอย่างเดียวตาม ป.อ. มาตรา 20 ไม่จำเป็นต้องระบุในคำพิพากษา
ป.อ. มาตรา 20 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีที่ความผิดที่กฎหมายกำหนด ให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว โดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่เป็นบทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติเป็นบทความผิดและบทกำหนดโทษ ที่ศาลจะต้องระบุตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7) แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ได้อ้าง ป.อ.มาตรา 20 ด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21554/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกโดยไม่ลงโทษปรับตาม ป.อ.มาตรา 20 ไม่ถือเป็นข้อผิดพลาดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 186(7)
ป.อ. มาตรา 20 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีบรรดาความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่บทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติเป็นบทความผิดหรือบทกำหนดโทษ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้ปรับบทดังกล่าวแล้วลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21427/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกอย่างเดียวตาม ป.อ.มาตรา 20 ไม่จำเป็นต้องปรับบทมาตราดังกล่าว
ป.อ. มาตรา 20 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในกรณีที่ความผิดที่กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ มิใช่เป็นบทมาตราที่กฎหมายบัญญัติเป็นบทความผิดหรือบทกำหนดโทษ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้ปรับบทดังกล่าวแล้วลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียว ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6387/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของคำพิพากษาอาญา: การระบุมาตราผิดและวิธีการลดมาตราส่วนโทษ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยศาลชั้นต้นได้พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 48 และมาตรา 73 เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ระบุอ้างบทมาตราที่เป็นบทความผิดและบทกำหนดโทษยกขึ้นปรับแก่คดีตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(7)ประกอบมาตรา 214 บัญญัติไว้ถูกต้องแล้ว คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามวรรคใดนั้นเป็นเพียงการไม่สมบูรณ์ชัดเจนเท่านั้น ไม่ทำให้เป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76คือการลดอัตราโทษขั้นสูงและขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่จำเลยกระทำโดยลดลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งแล้วจึงกำหนดโทษที่จะลงในระหว่างนั้น มิใช่ให้ศาลกำหนดโทษที่จะลงไว้ก่อนแล้วจึงลดจากโทษที่ได้กำหนดไว้ จึงต่างกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54 ซึ่งเป็นเรื่องการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลงจากโทษที่ได้กำหนดแล้ว และการลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 มิใช่เป็นบทมาตราซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดหรือบทกำหนดโทษแม้ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทที่ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 2ว่าเป็นมาตรา 76 ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6290/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราและการกระทำความรุนแรงทางเพศ ศาลแก้ไขบทมาตราที่ใช้ลงโทษให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก,277 ทวิ,297, 364,365,80 การกระทำ ของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงลงโทษ ฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราซึ่งเป็นบทหนัก และศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนโดยไม่ได้ระบุว่าลงโทษตามบทมาตราใด เมื่อ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องโดยเจตนาแท้จริง เพื่อข่มขืนกระทำชำเราเป็นสำคัญเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยพิพากษาก็เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276วรรคแรก ประกอบมาตรา 80,277 ทวิ(1),297,364,365(3)เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษ ตามมาตรา 276 วรรคแรก ประกอบมาตรา 80,277 ทวิ(1) ซึ่งเป็น บทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6290/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อความสงบทางเพศและการกระทำความผิดต่อเนื่อง ศาลแก้ไขโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 276 วรรคแรก, 277 ทวิ, 297, 364, 365, 80 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงลงโทษฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราซึ่งเป็นบทหนัก และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยไม่ได้ระบุว่าลงโทษตามบทมาตราใด เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องโดยเจตนาแท้จริงเพื่อข่มขืนกระทำ-ชำเราเป็นสำคัญเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 276วรรคแรก ประกอบมาตรา 80, 277 ทวิ (1), 297, 364, 365 (3) เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 276วรรคแรก ประกอบมาตรา 80, 277 ทวิ (1) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำไม้กับความผิดฐานพยายามทำไม้ และการจ่ายสินบนรางวัลตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(5) บัญญัติว่า"ทำไม้" หมายความว่า ตัด ฟัน กานโค่นลิดเลื่อนผ่าถาก ทอน ขุดชักลากไม้ในป่าหรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ " ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำไม้โดยการตัด ฟัน พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มิได้ให้ความหมายพิเศษของคำว่า ตัด ฟัน และการกระทำอื่น ๆ อันเป็นการทำไม้ไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำเหล่านั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525ได้ให้ความหมายของคำว่า "ตัด" ว่า ทำให้ขาดด้วยของมีคม ทอนคำว่า "ฟัน" หมายถึง เอาของมีคมเช่นดาบฟันลงไป เช่น ฟันคลื่นคือเอาหัวเรือตัดคลื่นไป "กาน" หมายถึงตัดเพื่อให้แตกใหม่ "โค่น"หมายถึง ล้มหรือทำให้ล้มอย่างต้นไม้ล้ม ทลายลง "ลิด" หมายถึงเด็ดหรือตัดเพื่อแต่ง "เลื่อย" หมายถึง ตัดด้วยเลื่อย ความหมายของคำว่า "ทำไม้" ไม่ว่าด้วยวิธี ตัด ฟัน กานโค่นลิด เลื่อย ผ่าถาก ทอน ขุด ชักลาก หรือนำไม้ออกจากป่า ล้วนแต่ทำให้เห็นว่าต้องเป็นการทำให้ต้นไม้ขาดจากลำต้นหรือจากพื้นดินที่ต้นไม้นั้นปลูกอยู่ทั้งสิ้น ซึ่งวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ที่ห้ามมิให้ทำไม้โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และถือเป็นความเป็นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 และ 73 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้นก็เพื่อมิให้มีการทำลายป่าและเพื่อรักษาทรัพยากรและความสมดุล ทางธรรมชาติไว้ เมื่อปรากฏว่าต้นยางที่จำเลยตัดมีขนาดเส้นรอบวงของลำต้นตรงที่ถูกตัดถึง 1.80 เมตร และสูง 16 เมตร มีร่องรอยการตัดด้วยเลื่อยเพียง 2 รอย สึกเพียง 1 นิ้ว และยาว 5 นิ้วเท่านั้น ต้นยางดังกล่าวมิได้โค่นล้มหรือตายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิดฐานทำไม้แต่กระทำไปไม่ตลอดเป็นความผิดฐานพยายามทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ มิใช่ความผิดสำเร็จ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบ จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของค่าปรับตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ปรากฏว่า พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายสินบนกับรางวัลและปรากฏตามพระราชบัญญัติ ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489มาตรา 7 และ 8 ว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาลซึ่งคดีนี้ไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายของกลางได้ ทั้งให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางที่ศาลสั่งริบ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ในราชกิจจานุเบกษาซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขอแก้ไขเพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้แล้วประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามาจึงยังไม่ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3112/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างมาตรากฎหมายในคำพิพากษา: ศาลอุทธรณ์ไม่ต้องระบุซ้ำหากศาลชั้นต้นระบุไว้แล้ว
แม้ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโดยไม่ได้ระบุมาตราที่ยกขึ้นปรับก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดโดยระบุมาตรานั้นไว้แล้วจึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ได้ระบุอ้างมาตราที่ยกขึ้นปรับแก่คดีโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186(7) ประกอบมาตรา 214 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองกัญชาเพื่อจำหน่ายและการปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ ศาลฎีกาไม่อนุญาตฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริง
จำเลยฎีกาว่า ตามฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่าจำเลยมีกัญชาน้ำหนักเพียง 15.90 กรัม แต่ตามมาตรา 26 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2523 กำหนดว่าต้องมีกัญชาไว้ในครอบครองมีปริมาณถึง 10 กิโลกรัม ขึ้นไป จึงจะให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 26 วรรคสอง และ 76 วรรคสอง นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าจำเลยมีกัญชาจำนวน15.90 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 76 วรรคสองดังกล่าวหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงไม่อาจฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ต้องห้ามตามมาตรา 218 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าจำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายสถานเดียว อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 76 วรรคสองเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าวแล้วจึงไม่จำเป็นต้องปรับบทลงโทษจำเลยฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 26 วรรคแรก และ76 วรรคแรก อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองกัญชาเพื่อจำหน่าย: ศาลฎีกาไม่รับฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริง และพิจารณาความผิดฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น
จำเลยฎีกาว่า ตามฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่าจำเลยมีกัญชาน้ำหนักเพียง 15.90 กรัม แต่ตามมาตรา 26 วรรคสอง แห่งพ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 กำหนดว่าต้องมีกัญชาไว้ในครอบรองมีปริมาณถึง 10 กิโลกรัม ขึ้นไป จึงจะให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 26 วรรคสอง และ 76 วรรคสอง นั้นเป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าจำเลยมีกัญชาจำนวน 15.90กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 76 วรรคสองดังกล่าวหรือไม่จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อปรากฎว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงไม่อาจฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ต้องห้ามตามมาตรา 218 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าจำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายสถานเดียว อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 76 วรรคสองเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องปรับบทลงโทษจำเลยฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 26 วรรคแรก และ 76 วรรคแรก อีก
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าจำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายสถานเดียว อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 76 วรรคสองเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องปรับบทลงโทษจำเลยฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 26 วรรคแรก และ 76 วรรคแรก อีก