พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทมาตรา 362 ประกอบมาตรา 365 กรณีความผิดทางอาญา ศาลต้องปรับบทให้ถูกต้อง
จำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2)(3)ประกอบด้วยมาตรา 362 การที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 โดยมิได้ปรับบทมาตรา 362 ด้วยนั้นย่อมไม่ถูกต้องเพราะมาตรา 365 มิได้บัญญัติความผิดไว้ชัดแจ้งในตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกและทำให้เสียหายซึ่งอสังหาริมทรัพย์: การปรับบทมาตรา 362 เพื่อใช้กับมาตรา 365
จำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2)(3) ประกอบด้วยมาตรา 362 เช่นนี้ ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 โดยมิได้ปรับบทมาตรา 362 มาด้วยย่อมไม่ถูกต้องเพราะมาตรา 365 มิได้บัญญัติความผิดไว้ชัดแจ้งในตัว.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกระทำความผิดพาตัวผู้เสียหายไปอนาจาร พยานผู้เสียหายให้การยืนยัน และผลกระทบจาก พ.ร.บ. ล้างมลทิน
โจทก์มีพยานคือผู้เสียหายเพียงปากเดียวที่เบิกความถึงการกระทำของจำเลย แต่ก็มีน้ำหนักน่าเชื่อเพราะเหตุเกิดเวลากลางวัน พยานมีโอกาสได้เห็นคนร้ายได้ชัดเจน และเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยมา ได้ให้ผู้เสียหายดูตัวผู้เสียหายก็ยืนยันในทันทีว่า จำเลยเป็นคนที่ร่วมกับคนร้ายช่วยฉุดพาผู้เสียหายลงเรือ ทั้งไม่มีเหตุที่จะพึงระแวงว่าผู้เสียหายปรักปรำใส่ร้ายจำเลย จึงเชื่อได้ว่าได้เบิกความไปตามที่ได้รู้เห็นจริง
คำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนไม่ได้รับสารภาพผิด เพียงแต่อ้างว่าจำเลยอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วยเท่านั้น คำให้การดังกล่าวย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ศาลจึงไม่ลดโทษให้
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา60 พรรษา พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ ซึ่งล้างมลทินโทษจำเลยที่เคยต้องคำพิพากษาและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษและกักกันจำเลยไม่ได้
ศาลล่างพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 โดยมิได้ระบุวรรคนั้น ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนไม่ได้รับสารภาพผิด เพียงแต่อ้างว่าจำเลยอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วยเท่านั้น คำให้การดังกล่าวย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ศาลจึงไม่ลดโทษให้
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมพรรษา60 พรรษา พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ ซึ่งล้างมลทินโทษจำเลยที่เคยต้องคำพิพากษาและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษและกักกันจำเลยไม่ได้
ศาลล่างพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 โดยมิได้ระบุวรรคนั้น ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้อื่น: การปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมายอาญา
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นจำเลยที่ 2 ร่วมข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้ตายก็ดี แต่โจทก์มีพยานแวดล้อมซึ่งล้วนแต่เห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดกับการตายและการพบศพของผู้ตาย เมื่อฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนแล้ว รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดจริง
ศาลล่างปรับบทลงโทษในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้ตายว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ตรี และมาตรา289 นั้นไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 277 ตรีมิใช่บทความผิด แต่เป็นบทที่ลงโทษให้หนักขึ้นแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 276 วรรคสองความผิดตามมาตรา 276 และมาตรา 289 ก็มีหลายวรรค ทั้งมาตรา 277ตรีก็เป็นบทลงโทษที่มีหลายอนุมาตรา ต้องปรับบทให้ถูกต้องชัดเจนโดยมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยว่าจำเลยที่ 1,2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรค 2 ให้ลงโทษตามมาตรา 277 ตรี(2) และมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4),(5) และ (7).(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ศาลล่างปรับบทลงโทษในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าผู้ตายว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 ตรี และมาตรา289 นั้นไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 277 ตรีมิใช่บทความผิด แต่เป็นบทที่ลงโทษให้หนักขึ้นแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 276 วรรคสองความผิดตามมาตรา 276 และมาตรา 289 ก็มีหลายวรรค ทั้งมาตรา 277ตรีก็เป็นบทลงโทษที่มีหลายอนุมาตรา ต้องปรับบทให้ถูกต้องชัดเจนโดยมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยว่าจำเลยที่ 1,2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรค 2 ให้ลงโทษตามมาตรา 277 ตรี(2) และมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4),(5) และ (7).(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าก่อนลักทรัพย์: ศาลฎีกายืนว่าเป็นการกระทำต่างกรรมกัน และต้องลงโทษตามมาตรา 83
จำเลยกับพวกมีเจตนาแต่ต้นเพียงเพื่อจะฆ่าผู้ตายเพราะมีสาเหตุกันมาก่อน เมื่อฆ่าผู้ตายสำเร็จแล้วจึงพลอยถือโอกาสเอาปืนของผู้ตายไปด้วย การลักทรัพย์เป็นการกระทำโดยเจตนาที่เกิดขึ้นภายหลังอันเป็นคนละกรรมกับการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายซึ่งขาดตอนไปแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา288,335(7)
เมื่อวินิจฉัยว่าจำเลยร่วมกับพวกฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ คำพิพากษาจะต้องระบุมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาไว้ด้วย
เมื่อวินิจฉัยว่าจำเลยร่วมกับพวกฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ คำพิพากษาจะต้องระบุมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาไว้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าก่อนลักทรัพย์: ศาลฎีกาชี้ขาดเป็นคนละกรรม
จำเลยกับพวกมีเจตนาแต่ต้นเพียงเพื่อจะฆ่าผู้ตายเพราะมีสาเหตุกันมาก่อน เมื่อฆ่าผู้ตายสำเร็จแล้วจึงพลอยถือโอกาสเอาปืนของผู้ตายไปด้วย การลักทรัพย์เป็นการกระทำโดยเจตนาที่เกิดขึ้นภายหลังอันเป็นคนละกรรมกับการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายซึ่งขาดตอนไปแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา288, 335(7)
เมื่อวินิจฉัยว่าจำเลยร่วมกับพวกฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ คำพิพากษาจะต้องระบุมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาไว้ด้วย
เมื่อวินิจฉัยว่าจำเลยร่วมกับพวกฆ่าผู้ตายและลักทรัพย์ คำพิพากษาจะต้องระบุมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาไว้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จและหมิ่นประมาท: ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาที่อ้างอิงบทกฎหมายผิดพลาดได้
คำพิพากษาของศาลชั้นต้นใส่ชื่อกฎหมายที่ใช้ลงโทษจำเลยผิดพลาดไป โดยใช้ประมวลกฎหมายอาญาแทนที่จะเป็นกฎหมายลักษณะอาญาการที่ศาลฎีกาจะแก้ให้ถูกต้องย่อมไม่เป็นผลร้ายแก่จำเลย แม้โจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์และฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตามที่ถูกต้องได้
การที่เอาความที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จไปให้การต่อเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานนั่นเอง จะอ้างว่าเป็นเรื่องผู้บังคับบัญชาเรียกตนไปสอบถามเอง จึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2507)
การที่เอาความที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จไปให้การต่อเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานนั่นเอง จะอ้างว่าเป็นเรื่องผู้บังคับบัญชาเรียกตนไปสอบถามเอง จึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จและหมิ่นประมาท: ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลล่างให้ถูกต้องได้ แม้โจทก์มิได้ฎีกา
คำพิพากษาของศาลชั้นต้นใส่ชื่อกฎหมายที่ใช้ลงโทษจำเลยผิดพลาดไป โดยใช้ประมวลกฎหมายอาญาแทนที่จะเป็นกฎหมายลักษณะอาญา การที่ศาลฎีกาจะแก้ให้ถูกต้องย่อมไม่เป็นผลร้ายแก่จำเลย แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตามที่ถูกต้องได้
การที่เอาความที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จไปให้การต่อเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานนั่นเอง จะอ้างว่าเป็นเรื่องผู้บังคับบัญชาเรียกคนไปสอบถามเอง จึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จนั้นหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2507)
การที่เอาความที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จไปให้การต่อเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานนั่นเอง จะอ้างว่าเป็นเรื่องผู้บังคับบัญชาเรียกคนไปสอบถามเอง จึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จนั้นหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาในการลงโทษกระทงความผิดอื่น แม้ศาลชั้นต้นไม่ลงโทษ หากศาลฎีกายกฟ้องกระทงหลัก
เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯลฯไว้เพราะได้ลงโทษในกระทงหนักแล้ว คือ ความผิดฐานพยายามฆ่าคน หากศาลฎีกาวินิจฉัยฟังว่า จำเลยไม่ต้องรับโทษฐานพยายามฆ่าคน ดังนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะกำหนดโทษให้จำเลยต้องรับโทษในความผิดตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯลฯ ได้ ทั้งนี้โดยเห็นว่า เมื่อศาลชั้นต้นวางโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าคน นั้น คงจะได้พิจารณาว่า เป็นการลงโทษหนักอยู่แล้ว จึงวางแต่กระทงหนัก เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยไม่ต้องรับโทษฐานพยายามฆ่าคน ศาลฎีกาก็ควรวางโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่ได้รับอนุญาต (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2502)