คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 ม. 16 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21697/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลพลเรือนในการชันสูตรพลิกศพผู้ต้องขังทหาร: คดีไม่อยู่ในอำนาจหากผู้กระทำผิดเป็นทหาร
ศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมีอำนาจทำการไต่สวนและมีคำสั่งในการชันสูตรพลิกศพต่อเมื่อคดีนั้นอยู่ในอำนาจของศาลนั้น และการไต่สวนและมีคำสั่งนั้นเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. กรณีไม่อาจนำ ป.วิ.อ. ใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 45 ได้ เพราะตามคำร้องผู้กระทำความผิดต่อผู้ตายเป็นพลทหารกองประจำการ ซึ่งต้องถูกฟ้องยังศาลทหารตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 13 และมาตรา 16 (3) คดีของผู้กระทำความผิดดังกล่าวจึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือน แม้การไต่สวนและทำคำสั่งในการชันสูตรพลิกศพของศาลชั้นต้นไม่ใช่การฟ้องคดีต่อผู้กระทำให้ตายดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างในฎีกา แต่ก็เป็นวิธีการพิเศษที่บัญญัติให้ศาลต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 150 วรรคห้า และวรรคสิบเอ็ด ดังนี้ ศาลพลเรือนจะรับไต่สวนและทำคำสั่งในการชันสูตรพลิกศพได้ก็เฉพาะแต่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลพลเรือน มิใช่ว่าเมื่ออัยการจังหวัดทหารบกเพชรบูรณ์เห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารและต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือน แล้วอัยการจังหวัดทหารบกเพชรบูรณ์ส่งสำนวนการสอบสวนให้ผู้ร้องเพื่อดำเนินการตาม ป.วิ.อ. ซึ่งผู้ร้องจะส่งสำนวนกลับคืนไปยังอัยการจังหวัดทหารบกเพชรบูรณ์ไม่ได้ จะทำให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนต้องไต่สวนและมีคำสั่งในการชันสูตรพลิกศพคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: การพิจารณาคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับทหาร การเปลี่ยนแปลงสถานะทางทหารหลังฟ้อง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งมีอาชีพรับราชการทหารกับพวกคือสิบเอก ส. ร่วมกันกระทำผิดฆ่าผู้ตาย ผู้ตายได้ใช้อาวุธปืนยิงสิบเอก ส. ถึงแก่ความตาย ก็ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าตามฟ้องสิบเอก ส. เป็นนายทหารประทานประจำการ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 16(3) เพราะยศทหารมิได้ใช้เฉพาะทหารประจำการเท่านั้น และการที่ผู้ตายใช้อาวุธปืนยิงสิบเอก ส. อาจเป็นการป้องกันโดยชอบไม่มีความผิดก็ได้ จึงถือว่าผู้ตายกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยทั้งสองไม่ได้ แม้ต่อมาโจทก์นำสืบได้ความว่าขณะถูกโจทก์กล่าวหาว่ากระทำผิด สิบเอก ส. รับราชการทหาร เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังจากเมื่อศาลพลเรือนได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้วว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ซึ่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 15 วรรคสอง ให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ แม้โจทก์จะมิได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับสิบเอก ส. ขึ้นฎีกา แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจศาลซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างยศทหารและอำนาจศาล
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งมีอาชีพรับราชการทหารกับพวกคือสิบเอก ส.ร่วมกันกระทำผิดฆ่าผู้ตาย ผู้ตายได้ใช้อาวุธปืนยิงสิบเอก ส.ถึงแก่ความตาย ก็ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าตามฟ้องสิบเอก ส.เป็นนายทหารประทวนประจำการ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16 (3) เพราะยศทหารมิได้ใช้เฉพาะทหารประจำการเท่านั้น และการที่ผู้ตายใช้อาวุธปืนยิงสิบเอก ส.อาจเป็นการป้องกันโดยชอบไม่มีความผิดก็ได้ จึงถือว่าผู้ตายกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยทั้งสองไม่ได้ แม้ต่อมาโจทก์นำสืบได้ความว่าขณะถูกโจทก์กล่าวหาว่ากระทำผิด สิบเอก ส.รับราชการทหาร เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังจากเมื่อศาลพลเรือนได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้วว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ซึ่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 15 วรรคสอง ให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ แม้โจทก์จะมิได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับสิบเอก ส.ขึ้นฎีกา แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจศาลซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีอาญาเกี่ยวกับอาวุธของนายทหารประทวนอยู่ในอำนาจศาลทหาร
จำเลยรับราชการเป็นนายทหารประทวนประจำการ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 16(3) ศาลจังหวัดไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร-ศาลพลเรือน: กรณีทหารเรือกระทำผิดต่อพลเรือนและประเด็นภูมิลำเนาในการฟ้องคดีแพ่ง
ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นทหารเรือประจำการจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร แม้จำเลยจะได้กระทำความผิดอาญาต่อพลเรือนก็ต้องฟ้องจำเลยที่ศาลทหารตามที่บังคับไว้ในพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498
คดีแพ่งที่ต้องเสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่ 2 แห่ง คือ ที่จังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมแห่งหนึ่งกับที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีอันเป็นถิ่นที่ทำการงานเป็นปกติอีกแห่งหนึ่ง โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดราชบุรี จึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) แล้ว