พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากทิ้งฟ้อง ศาลต้องใช้ดุลพินิจตามควรแก่กรณี ไม่ใช่บังคับจำหน่ายเสมอไป
อำนาจสั่งจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา132 นั้น กฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามสมควรแก่กรณี ไม่ใช่บังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไป ถ้าศาลใช้ดุลยพินิจไม่สั่งจำหน่ายก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตามประมวลกฎหมายวิพิจารณาความแพ่งมาตรา 133 หมายเหตุ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว สังประทับฟ้องให้โจทก์นำส่งหมายเรียกให้จำเลยหากขัดข้องให้แถลงศาลภายใน 3 วัน โจทก์ไม่ได้รายงานเหตุขัอข้องตามที่ศาลสั่ง ศาลชั้นต้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาศาลฎีการับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งทำสัญญาเช่า: ศาลพิจารณาแล้วยกฟ้อง หากแม้ข้อเท็จจริงเป็นจริงก็ไม่มีทางชนะคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2),133,139 นั้นเมื่อจำเลยยื่นคำให้การฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นสั่งว่า......ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยนั้นศาลได้พิจารณาแล้ว.......จึงพร้อมกันมีคำสั่งให้ยกฟ้องแย้งเสีย ค่าธรรมเนียมเป็นพับ เช่นนี้ เป็นปริยายว่าศาลชั้นต้นพิจารณาเสร็จแล้ว จึงชี้ขาดฟ้องแย้งโดยทำเป็นคำสั่งให้ยกฟ้องแย้งไม่ใช่สั่งให้คืนไปหรือไม่รับ ตามมาตรา 15
ฟ้องแย้งว่า โจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยไปพบเพื่อรับคำบอกกล่าวขับไล่ หรือทำสัญญาเช่าแล้วแต่กรณี จำเลยได้ทำหนังสือขอทำสัญญาเช่าแต่โจทก์เรียกเงินกินเปล่า 30,000 บาท กับชำระค่าเช่าที่ค้าง จำเลยขอให้ 25,000 บาท จึงไม่ตกลงกัน เช่นนี้นับว่ามิได้มีสัญญาต่อกัน จำเลยไม่มีอำนาจแห่งมูลหนี้ที่จะฟ้องแย้งให้โจทก์ทำสัญญาเช่า ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า เมื่อศาลเห็นว่าแม้เป็นจริงดังฟ้องแย้ง จำเลยก็ไม่มีทางชนะคดีตามฟ้องแย้ง ศาลยกฟ้องแย้งเสียเลยได้ (เฉพาะปัญหาที่ 2 เป็นมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2508)
ฟ้องแย้งว่า โจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยไปพบเพื่อรับคำบอกกล่าวขับไล่ หรือทำสัญญาเช่าแล้วแต่กรณี จำเลยได้ทำหนังสือขอทำสัญญาเช่าแต่โจทก์เรียกเงินกินเปล่า 30,000 บาท กับชำระค่าเช่าที่ค้าง จำเลยขอให้ 25,000 บาท จึงไม่ตกลงกัน เช่นนี้นับว่ามิได้มีสัญญาต่อกัน จำเลยไม่มีอำนาจแห่งมูลหนี้ที่จะฟ้องแย้งให้โจทก์ทำสัญญาเช่า ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า เมื่อศาลเห็นว่าแม้เป็นจริงดังฟ้องแย้ง จำเลยก็ไม่มีทางชนะคดีตามฟ้องแย้ง ศาลยกฟ้องแย้งเสียเลยได้ (เฉพาะปัญหาที่ 2 เป็นมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งทำสัญญาเช่า: ศาลพิจารณาแล้วยกฟ้อง หากจำเลยไม่มีทางชนะคดี แม้ข้อเท็จจริงเป็นไปตามฟ้องแย้ง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 131(2),133,139 นั้น เมื่อจำเลยยื่นคำให้การฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นสั่งว่า ......ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยนั้น ศาลได้พิจารณาแล้ว........จึงพร้อมกันมีคำสั่งให้ยกฟ้องแย้งเสียค่าธรรมเนียมเป็นพับ เช่นนี้ เป็นปริยายว่าศาลชั้นต้นพิจารณาเสร็จแล้วจึงชี้ขาดฟ้องแย้งโดยทำเป็นคำสั่งให้ยกฟ้องแย้ง ไม่ใช่สั่งให้คืนไปหรือไม่รับ ตามมาตรา 18
ฟ้องแย้งว่า โจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยไปพบเพื่อรับคำบอกกล่าวขับไล่ หรือทำสัญญาเช่าแล้วแต่กรณี จำเลยได้ทำหนังสือขอทำสัญญาเช่าแต่โจทก์เรียกเงินกินเปล่า 30,000 บาท กับชำระค่าเช่าที่ค้าง จำเลยขอให้ 25,000 บาท จึงไม่ตกลงกัน เช่นนี้ นับว่ามิได้มีสัญญาต่อกันจำเลยไม่มีอำนาจแห่งมูลหนี้ที่จะฟ้องแย้งให้โจทก์ทำสัญญาเช่า ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่าเมื่อศาลเห็นว่า แม้เป็นจริงดังฟ้องแย้ง จำเลยก็ไม่มีทางชนะคดีตามฟ้องแย้ง ศาลยกฟ้องแย้งเสียเลยได้.
(เฉพาะปัญหาที่ 2 เป็นมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2508).
ฟ้องแย้งว่า โจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยไปพบเพื่อรับคำบอกกล่าวขับไล่ หรือทำสัญญาเช่าแล้วแต่กรณี จำเลยได้ทำหนังสือขอทำสัญญาเช่าแต่โจทก์เรียกเงินกินเปล่า 30,000 บาท กับชำระค่าเช่าที่ค้าง จำเลยขอให้ 25,000 บาท จึงไม่ตกลงกัน เช่นนี้ นับว่ามิได้มีสัญญาต่อกันจำเลยไม่มีอำนาจแห่งมูลหนี้ที่จะฟ้องแย้งให้โจทก์ทำสัญญาเช่า ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่าเมื่อศาลเห็นว่า แม้เป็นจริงดังฟ้องแย้ง จำเลยก็ไม่มีทางชนะคดีตามฟ้องแย้ง ศาลยกฟ้องแย้งเสียเลยได้.
(เฉพาะปัญหาที่ 2 เป็นมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2508).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ขาดนัด และอำนาจศาลในการชี้ขาดคดีตามมาตรา 133
การจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา132 นั้นไม่เป็นบทบังคับเด็ดขาดศาลอาจชี้ขาดคดีตามมาตรา133 ก็ได้ แต่การจะชี้ขาดดังกล่าวจะทำได้ต่อเมื่อสิ้นการพิจารณา(มาตรา133) ถ้าเป็นเรื่องขาดนัดต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา201 คือศาลสั่งจำหน่ายคดีเว้นแต่จำเลยจะแจ้งต่อศาลว่าตนตั้งใจจะดำเนินคดีต่อไปและศาลได้มีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาแล้ว ทั้งมีการแสดงว่าการพิจารณาได้เสร็จสิ้นแล้วด้วย เมื่อท้องสำนวนไม่ปรากฏว่าศาลได้สั่งให้โจทก์ขาดนัดจำเลยแสดงความจำนงจะดำเนินคดีต่อไปและมีรายงานแสดงว่าการพิจารณาได้เสร็จสิ้นแล้วศาลก็ได้แต่สั่งจำหน่ายคดีจะตัดสินให้ยกฟ้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีขาดนัดและการชี้ขาดคดีตามประมวลวิ.แพ่ง ม.133 ต้องทำหลังสิ้นการพิจารณา
การจำหน่ายคดีตามประมวล วิ.แพ่ง ม.132 นั้นไม่เป็นบทบังคับเด็ดขาด ศาลอาจชี้ขาดคดีตาม ม.133 ก็ได้ แต่การจะชี้ขาดดังกล่าวจะทำได้ต่อเมื่อสิ้นการพิจารณา (ม.133) ถ้าเป็นเรื่องขาดนัดต้องดำเนินการตามประมวล วิ.แพ่ง ม.201 คือ ศาลสั่งจำหน่ายคดี เว้นแต่จำเลยจะแจ้งต่อศาลว่าตนตั้งใจจะดำเนินคดีต่อไปและศาลได้มีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาแล้ว ทั้งมีการแสดงว่าการพิจารณาได้เสร็จสิ้นแล้วด้วย เมื่อท้องสำนวนไม่ปรากฎว่า ศาลได้สั่งให้โจทก์ขาดนัด จำเลยแสดงความจำนงจะดำเนินคดีต่อไป และมีรายงานแสดงว่าการพิจารณาได้เสร็จสิ้นแล้ว ศาลก็ได้แต่สั่งจำหน่ายคดีจะตัดสินให้ยกฟ้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1669/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจใช้ดุลยพินิจ ไม่จำกัดเฉพาะการจำหน่ายคดี
การทิ้งฟ้องตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 174 นั้น ย่อมนำมาใช้บังคับแก่การทิ้งอุทธรณ์ได้โดยอนุโลม
(อ้างฎีกาที่ 679/2490)
ในกรณีที่โจทก์ทิ้งฟ้องตามมาตรา 174 นั้น ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตามมาตรา 132 แต่บทมาตรา 132 นี้ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่า ศาลต้องจำหน่ายคดีเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลยพินิจ ถ้าศาลไม่สั่งให้จำหน่ายคดีกรณีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตามมาตรา 133
(อ้างคำสั่งคำร้องที่ 57/2493)
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วนำเจ้าพนักงานไปส่งหมายนัดแก้อุทธรณ์ให้โจทก์เกินกำหนด 15 วันไป 1 วันนั้นศาลอาจเห็นว่า เป็นพฤติการณ์ที่ยังไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของจำเลยได้
(อ้างฎีกาที่ 679/2490)
ในกรณีที่โจทก์ทิ้งฟ้องตามมาตรา 174 นั้น ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตามมาตรา 132 แต่บทมาตรา 132 นี้ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่า ศาลต้องจำหน่ายคดีเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลยพินิจ ถ้าศาลไม่สั่งให้จำหน่ายคดีกรณีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตามมาตรา 133
(อ้างคำสั่งคำร้องที่ 57/2493)
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วนำเจ้าพนักงานไปส่งหมายนัดแก้อุทธรณ์ให้โจทก์เกินกำหนด 15 วันไป 1 วันนั้นศาลอาจเห็นว่า เป็นพฤติการณ์ที่ยังไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1669/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจของศาลในการจำหน่ายคดี
การทิ้งฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174นั้น ย่อมนำมาใช้บังคับแก่การทิ้งอุทธรณ์ได้โดยอนุโลม(อ้างฎีกาที่ 679/2490)
ในกรณีที่โจทก์ทิ้งฟ้องตามมาตรา 174 นั้น ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตามมาตรา 132 แต่บทมาตรา 132 นี้ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่า ศาลต้องจำหน่ายคดีเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ ถ้าศาลไม่สั่งให้จำหน่ายคดีกรณีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตามมาตรา 133 (อ้างคำสั่งคำร้องที่ 57/2493)
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วนำเจ้าพนักงานไปส่งหมายนัดแก้อุทธรณ์ให้โจทก์เกินกำหนด 15 วันไป 1 วันนั้น ศาลอาจเห็นว่า เป็นพฤติการณ์ที่ยังไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของจำเลยได้
ในกรณีที่โจทก์ทิ้งฟ้องตามมาตรา 174 นั้น ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตามมาตรา 132 แต่บทมาตรา 132 นี้ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่า ศาลต้องจำหน่ายคดีเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ ถ้าศาลไม่สั่งให้จำหน่ายคดีกรณีก็ต้องชี้ขาดตัดสินไปตามมาตรา 133 (อ้างคำสั่งคำร้องที่ 57/2493)
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วนำเจ้าพนักงานไปส่งหมายนัดแก้อุทธรณ์ให้โจทก์เกินกำหนด 15 วันไป 1 วันนั้น ศาลอาจเห็นว่า เป็นพฤติการณ์ที่ยังไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกตั้งใหม่: ศาลไม่ต้องชี้ขาดความชอบด้วยกฎหมายหากมีพระราชกฤษฎีกา
การร้องคัดค้านการเลือกตั้งก็เพื่อให้ศาลฎีกาสั่งเลือกตั้งในเขตนั้นใหม่ ถ้ามี พระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งในเขตนั้นแล้วศาลไม่ต้องชี้ขาดในประเด็นที่ว่าการเลือกตั้งครั้งก่อนจะเป็นโดยชอบหรือไม่กรณีเช่นนี้ศาลต้องยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เมื่อมี พ.ร.ฎ.ให้เลือกตั้งใหม่แล้ว ศาลไม่ต้องวินิจฉัยการเลือกตั้งเดิม
การร้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งเลือกตั้งในเขตต์นั้นใหม่ ถ้ามี พ.ร.ฎ. ให้มีการเลือกตั้งในเขตต์นั้นแล้ว ศาลไม่ต้องชี้ขาดในประเด็นที่ว่าการเลือกตั้งครั้งก่อนจะเป็นโดยชอบหรือไม่กรณีเช่นนี้ศาลต้องยกคำร้อง