พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4819/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องวินิจฉัยคดีตามพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นฟ้อง หากไม่เป็นไปตามนั้น ถือเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและอาจเพิกถอนได้
คดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลและศาลไม่ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดี นั้น ป.วิ.พ. มาตรา 131 และ มาตรา 133 บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งในวันที่สิ้นการพิจารณา โดยมาตรา 104 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ ทั้งมาตรา 87 (1) ยังบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องนำสืบ อันเป็นความหมายว่า การวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องประเด็นแห่งคดี ศาลต้องอาศัยพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีในคดีนั้น ๆ ด้วย ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ศาลต้องปฏิบัติ และต้องนำมาใช้กับคดีผู้บริโภคด้วย ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมและจำนองกับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้และบังคับเกี่ยวกับทรัพย์จำนองโดยนำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นในคำฟ้องและอ้างส่งเอกสารเป็นพยาน แต่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นกลับปรากฏตามคำพิพากษาว่า เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ศาลพิจารณาคำเบิกความพยานโจทก์ประกอบพยานเอกสารแล้วรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยใช้บริการสินเชื่อกับโจทก์และผิดสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าข้อที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดไม่ได้เป็นไปตามประเด็นในคำฟ้องและโดยอาศัยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในคดีนี้ แต่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ตามพยานหลักฐานซึ่งไม่ใช่พยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีนี้เลย การพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ทั้งยังเป็นข้อที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในการพิจารณาพยานหลักฐาน อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและมีเหตุให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 และเป็นผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกเพิกถอนไปในตัว
ความผิดระเบียบของกระบวนพิจารณาเพิ่งปรากฏหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่โจทก์จะยื่นคำร้องได้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมและจำนองกับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้และบังคับเกี่ยวกับทรัพย์จำนองโดยนำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นในคำฟ้องและอ้างส่งเอกสารเป็นพยาน แต่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นกลับปรากฏตามคำพิพากษาว่า เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ศาลพิจารณาคำเบิกความพยานโจทก์ประกอบพยานเอกสารแล้วรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยใช้บริการสินเชื่อกับโจทก์และผิดสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าข้อที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดไม่ได้เป็นไปตามประเด็นในคำฟ้องและโดยอาศัยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในคดีนี้ แต่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ตามพยานหลักฐานซึ่งไม่ใช่พยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีนี้เลย การพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ทั้งยังเป็นข้อที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในการพิจารณาพยานหลักฐาน อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและมีเหตุให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 และเป็นผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกเพิกถอนไปในตัว
ความผิดระเบียบของกระบวนพิจารณาเพิ่งปรากฏหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่โจทก์จะยื่นคำร้องได้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4407/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างว่าความ, การพิจารณาคดีหลังยกคำพิพากษา, กระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกค่าจ้างว่าความขาดอายุความแล้ว โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกเอาค่าจ้างว่าความยังไม่ขาดอายุความ จึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ประเด็นเรื่องอายุความจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลชั้นต้นจึงต้องดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่เฉพาะในประเด็นเรื่องค่าจ้างว่าความเท่านั้น
ศาลชั้นต้นสืบพยานจนเสร็จสิ้นกระแสความและมีคำพิพากษาแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อไปได้ โดยไม่ต้องกำหนดวันนัดพิจารณาอีก
จำเลยฎีกาโต้แย้งกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ประเด็นตามฎีกาของจำเลยมิได้มีผลเกี่ยวกับทุนทรัพย์ในคดี จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์จำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นสืบพยานจนเสร็จสิ้นกระแสความและมีคำพิพากษาแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อไปได้ โดยไม่ต้องกำหนดวันนัดพิจารณาอีก
จำเลยฎีกาโต้แย้งกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ประเด็นตามฎีกาของจำเลยมิได้มีผลเกี่ยวกับทุนทรัพย์ในคดี จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์จำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6153/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาคดีล้มละลายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเมื่อมีการประนอมหนี้
คดีล้มละลายเรื่องนี้เสร็จการพิจารณาแล้ว อยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งในวันที่ 27 ตุลาคม 2547 ในวันนัด ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นครั้งแรกโดยแนบหนังสือแจ้งผลการอนุมัติของโจทก์ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2547 ที่อนุมัติให้นายชนัฏ เรืองกฤติยากรรมการบริษัทจำเลยชำระหนี้จำนวน 5,000,000 บาท ภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2547 โดยผ่อนชำระรวม 3 งวด เมื่อชำระหนี้ดังกล่าวแล้วให้ตัดภาระหนี้ที่เหลือพร้อมกับถอนฟ้องคดีนี้ รวมทั้งได้แนบหลักฐานการชำระหนี้แล้วจำนวน 500,000 บาท มาด้วย การที่จำเลยจะสามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้และชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นมิได้ขึ้นอยู่กับจำเลยเพียงฝ่ายเดียวแต่ขึ้นอยู่กับโจทก์ด้วย เมื่อโจทก์เพิ่งประชุมและมีมติก่อนวันนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลายกลางเพียง 12 วัน และฝ่ายจำเลยได้ชำระหนี้ตามที่โจทก์อนุมัติบางส่วนแล้ว ทั้งกำหนดเวลาชำระหนี้ตามที่โจทก์อนุมัติก็ไม่นานเกินสมควรและโจทก์มิได้คัดค้านการขอเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่ง ถือได้ว่ากรณีมีเหตุสมควรที่จะเลื่อนการพิพากษาหรือการทำคำสั่งออกไปได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 133 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีอุทธรณ์: การส่งสำเนาคำอุทธรณ์และผลของการไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาล
เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยภายใน 7 วัน หากไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ ถ้าไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ต่อมาเจ้าพนักงานศาลรายงานต่อศาลว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยตามภูมิลำเนาจำเลยไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าให้รอโจทก์แถลง แต่โจทก์ก็ไม่ได้แถลงว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งถ้อยคำสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพื่อพิจารณาสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าว แต่กลับพิจารณาพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาพิพากษาคดี และกรณีดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ใช้ดุลพินิจไม่จำหน่ายคดีฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายและเหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์: ศาลพิพากษายืนตามคำสั่งเดิม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และ 133 วางหลักไว้ว่าศาลจะต้องทำการนั่งพิจารณาต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดี โดยให้ศาลมีคำพิพากษาในวันที่เสร็จสิ้นการพิจารณานั่นเอง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและรอฟังคำพิพากษาวันนี้ และในวันนั้นศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดคดี ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว
เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายความว่ามีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นซึ่งจำเลยไม่สามารถป้องกันได้ ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ จำเลยอ้างเหตุในคำร้องว่า จำเลยเพิ่งทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งล่วงเลยเวลาที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์แล้ว ข้ออ้างของจำเลยถือเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง ไม่อาจถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยได้ ส่วนข้ออ้างที่ว่า เมื่อทราบคำพิพากษาแล้วได้ไปติดต่อขอคัดสำนวน กว่าจะคัดได้ก็เป็นเวลา 2 เดือน อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้วจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเช่นกัน
เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายความว่ามีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นซึ่งจำเลยไม่สามารถป้องกันได้ ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ จำเลยอ้างเหตุในคำร้องว่า จำเลยเพิ่งทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งล่วงเลยเวลาที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์แล้ว ข้ออ้างของจำเลยถือเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง ไม่อาจถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยได้ ส่วนข้ออ้างที่ว่า เมื่อทราบคำพิพากษาแล้วได้ไปติดต่อขอคัดสำนวน กว่าจะคัดได้ก็เป็นเวลา 2 เดือน อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้วจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา และเหตุผลความล่าช้าที่ไม่เข้าข่ายเหตุสุดวิสัย
วันนัดสืบพยาน จำเลยซึ่งต้องนำพยานเข้าสืบเป็นลำดับสุดท้ายไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลชั้นต้นจึงถือว่าไม่มีพยานมาสืบ สั่งงดสืบพยานให้คดีเสร็จการพิจารณา รอฟังคำพิพากษาในวันเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วในวันนั้น การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังพ้นกำหนดเวลา โดยอ้างว่าเพิ่งทราบคำพิพากษาเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาอุทธรณ์ไปแล้ว ถือเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง ไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ส่วนที่อ้างว่าเมื่อทราบแล้วจึงไปติดต่อคัดสำนวนใช้เวลาร่วมเดือนเศษก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ที่จะทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำร้อง ภายในกำหนดเวลาได้เช่นกัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องนั้น ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา และเหตุสุดวิสัย: ศาลพิพากษายืนตามคำสั่งเดิม
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 4 นำพยานเข้าสืบเป็นลำดับสุดท้าย จำเลยที่ 4นำพยานเข้าสืบได้ 1 ปาก แล้วแถลงว่ายังติดใจสืบอีกเพียง 1 ปาก ขอเลื่อนคดีไปสืบพยานปากนี้ในนัดหน้า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยที่ 4 ในวันที่ 19ธันวาคม 2540 เวลา 8.30 นาฬิกา แต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยที่ 4 ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลชั้นต้นจึงถือว่าจำเลยที่ 4 ไม่มีพยานมาสืบให้งดสืบพยานจำเลยที่ 4 คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา นับเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับขั้นตอนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพราะจำเลยที่ 4 เป็นคู่ความที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเป็นลำดับสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่มีพยานมาสืบแล้วต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และมาตรา 133 วางหลักไว้ว่า ศาลจะต้องทำการนั่งพิจารณาต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดี โดยให้ศาลมีคำพิพากษาในวันที่เสร็จสิ้นการพิจารณา ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ 19 ธันวาคม 2540 ว่าคดีเสร็จการพิจารณาและรอฟังคำพิพากษา และในวันดังกล่าวศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดคดีย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในวันที่ 19 ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นเสร็จการพิจารณาถือว่าจำเลยที่ 4 ได้ทราบคำพิพากษาตั้งแต่วันนั้น จำเลยที่ 4 จึงชอบที่จะต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 19 มกราคม 2541 หรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นกำหนดเวลา หากยื่นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาต้องเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จำเลยที่ 4 ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2541 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 4เพิ่งทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อปลายเดือนมกราคม 2541 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่จำเลยที่ 4 จะยื่นอุทธรณ์ได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 4 เอง ไม่อาจถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยได้ ส่วนการที่จำเลยที่ 4 อ้างว่า เมื่อทราบคำพิพากษาแล้วได้ไปติดต่อขอคัดสำนวน กว่าจะคัดได้ก็ถึงเดือนมีนาคม2541 นั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยที่ 4 ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 19 มกราคม 2541
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และมาตรา 133 วางหลักไว้ว่า ศาลจะต้องทำการนั่งพิจารณาต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดี โดยให้ศาลมีคำพิพากษาในวันที่เสร็จสิ้นการพิจารณา ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ 19 ธันวาคม 2540 ว่าคดีเสร็จการพิจารณาและรอฟังคำพิพากษา และในวันดังกล่าวศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดคดีย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในวันที่ 19 ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นเสร็จการพิจารณาถือว่าจำเลยที่ 4 ได้ทราบคำพิพากษาตั้งแต่วันนั้น จำเลยที่ 4 จึงชอบที่จะต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 19 มกราคม 2541 หรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนสิ้นกำหนดเวลา หากยื่นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาต้องเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จำเลยที่ 4 ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2541 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 4เพิ่งทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อปลายเดือนมกราคม 2541 ซึ่งล่วงเลยเวลาที่จำเลยที่ 4 จะยื่นอุทธรณ์ได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 4 เอง ไม่อาจถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยได้ ส่วนการที่จำเลยที่ 4 อ้างว่า เมื่อทราบคำพิพากษาแล้วได้ไปติดต่อขอคัดสำนวน กว่าจะคัดได้ก็ถึงเดือนมีนาคม2541 นั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยที่ 4 ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 19 มกราคม 2541
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดไต่สวนและผลของการไม่มาศาล: ศาลย่อมถือว่าจำเลยทราบคำสั่งเมื่อทนายรับรอง และการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลย่อมมีผลทางกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์พร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ในวันที่ 7 ตุลาคม 2541 และทนายจำเลยได้ลงชื่อรับรองข้อความที่ว่าให้มาทราบคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในวันที่ 14 ตุลาคม 2541 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้เกษียณคำสั่งไว้ที่คำร้องว่า ให้รับคำร้อง และนัดไต่สวนวันที่ 14 ธันวาคม 2541 เวลา 8.30 นาฬิกา โดยบันทึกวันที่เกษียณคำสั่งในวันที่ 12 ตุลาคม 2541 ซึ่งเป็นการมีคำสั่งไว้ก่อนวันที่กำหนดให้จำเลยมาทราบคำสั่งศาล ย่อมมีผลว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลที่นัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในวันที่ 14 ธันวาคม 2541 ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2541 แล้ว แม้ในวันที่14 ตุลาคม 2541 จำเลยยังมิได้สาบานตัว ศาลก็กำหนดนัดวันไต่สวนคำร้องได้
จำเลยทราบกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์แล้วไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันนัดไต่สวนคำร้องว่า ให้งดการไต่สวน แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และมาตรา 133 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นให้งดการไต่สวน ก็ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา จึงมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยเสียได้ และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าหากจำเลยประสงค์ที่จะอุทธรณ์ ให้นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ซึ่งถือว่าจำเลยได้ทราบแล้วในวันดังกล่าว โดยศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบอีก การที่จำเลยมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไปวางศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาล ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์
จำเลยทราบกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์แล้วไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันนัดไต่สวนคำร้องว่า ให้งดการไต่สวน แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และมาตรา 133 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นให้งดการไต่สวน ก็ถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา จึงมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยเสียได้ และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าหากจำเลยประสงค์ที่จะอุทธรณ์ ให้นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ซึ่งถือว่าจำเลยได้ทราบแล้วในวันดังกล่าว โดยศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบอีก การที่จำเลยมิได้นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไปวางศาลภายในเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาล ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและการพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยไม่ต้องแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องข้อ 1 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาท แล้วต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่าเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2531 จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ เนื่องจากก่อนทำสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าวจำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าโจทก์อยู่จำนวน 33,000 บาทวันที่ 2 มีนาคม 2531 จำเลยได้มาขอกู้เงินโจทก์จำนวน20,000 บาท และได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว รวมกับหนี้ที่จำเลยค้างค่าสินค้าเป็นหนี้ทั้งสิ้น 53,000 บาท เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดว่าหนี้ตามสัญญากู้เงินมีมูลมาจากอะไรบ้างจึงเป็นการแก้ไขคำฟ้องโดยยังคงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไว้เหมือนเดิม คือจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาทไม่ใช่เป็นการถอนฟ้องในข้อ 1 เดิมทั้งหมดออกไปแล้วเอาข้อความใหม่เข้าแทน ศาลจึงอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยจำเลยทราบวันนัดโดยชอบแล้วเมื่อจำเลยไม่มาศาลในเวลานัด ศาลชั้นต้นจึงมี คำสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา ดังนี้ถือได้ว่าการพิจารณาคดี เป็นอันสิ้นสุดลง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาคดีไปในวันที่มีคำสั่ง นั้นได้โดยไม่ต้องแจ้งกำหนดวันเวลานัดฟังคำพิพากษาดังกล่าว ให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 133 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและการพิจารณาคดีเมื่อจำเลยไม่มาศาล ศาลมีอำนาจพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องข้อ 1 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาท แล้วต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่าเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2531 จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ เนื่องจากก่อนทำสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าวจำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าโจทก์อยู่จำนวน 33,000 บาท วันที่2 มีนาคม 2531 จำเลยได้มาขอกู้เงินโจทก์จำนวน 20,000 บาท และได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว รวมกับหนี้ที่จำเลยค้างค่าสินค้าเป็นหนี้ทั้งสิ้น 53,000 บาท เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดว่าหนี้ตามสัญญากู้เงินมีมูลมาจากอะไรบ้าง จึงเป็นการแก้ไขคำฟ้องโดยยังคงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไว้เหมือนเดิม คือจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาท ไม่ใช่เป็นการถอนฟ้องในข้อ 1 เดิมทั้งหมดออกไปแล้วเอาข้อความใหม่เข้าแทน ศาลจึงอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยจำเลยทราบวันนัดโดยชอบแล้วเมื่อจำเลยไม่มาศาลในเวลานัด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา ดังนี้ถือได้ว่าการพิจารณาคดีเป็นอันสิ้นสุดลง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาคดีไปในวันที่มีคำสั่งนั้นได้โดยไม่ต้องแจ้งกำหนดวันเวลานัดฟังคำพิพากษาดังกล่าวให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 133 อีก
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยจำเลยทราบวันนัดโดยชอบแล้วเมื่อจำเลยไม่มาศาลในเวลานัด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา ดังนี้ถือได้ว่าการพิจารณาคดีเป็นอันสิ้นสุดลง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาคดีไปในวันที่มีคำสั่งนั้นได้โดยไม่ต้องแจ้งกำหนดวันเวลานัดฟังคำพิพากษาดังกล่าวให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 133 อีก