คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 860

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6662/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกแล้ว โจทก์คิดดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้เท่านั้น
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทข้อ 4 มี ข้อความว่า จำเลยที่ 1 จะผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาให้ลดลงเรื่อย ๆและให้หมดสิ้นภายในวันที่ 15 มกราคม 2531 แต่หลังจากครบกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันที่ 15 มกราคม 2531แล้ว ได้มีการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้ว จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2531 เป็นต้นไป แม้ต่อมาจำเลยที่ 1ได้สั่งจ่ายเช็ค แต่โจทก์ได้ปฎิเสธการจ่ายเงิน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำเงินตามเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีผู้ทรงเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีผู้ทรงเช็คดังกล่าวจึงได้นำเรียกเก็บเงินและโจทก์จ่ายเงินตามเช็คให้ผู้ทรงไปก็ตาม เมื่อปรากฎว่าจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ตามเช็คและโจทก์ยอมจ่ายเงินจำนวน 35,000 บาท ตามเช็คดังกล่าวไปเป็นการเฉพาะรายเท่านั้น กรณีจึงฟังไม่ได้ว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงกันโดยปริยายว่าจะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือเบิกเงินเกินบัญชีกันต่อไปอีก สัญญาบัญชีเดินสะพัดและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2531 เป็นต้นไป ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีข้อ 2 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี หลังจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราดังกล่าวต่อไปเท่านั้น โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่16 มีนาคม 2533 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเดินสะพัดทางบัญชี & อายุความหนี้
ข้อตกลงขอเปิดบัญชีเดินสะพัดระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เป็นข้อตกลงที่ให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกันโดยไม่มีกำหนดเวลา และลูกหนี้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2524 และมีการนำเงินเข้าออกสะพัดทางบัญชีกันตลอดมา แต่หลังจากวันที่ 5 ตุลาคม 2525 แล้ว ลูกหนี้ไม่เคยนำเงินเข้าบัญชีหรือถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวอีกเลย คงมีแต่รายการคิดคำนวณดอกเบี้ยตลอดมา ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และเจ้าหนี้ได้หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่เพียง 9,499.74บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2525 เป็นต้นไป แต่เจ้าหนี้เพิ่งมายื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2537 เกินกว่า 10 ปี เป็นหนี้ที่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 94 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อไม่มีการเดินบัญชีต่อ และเจ้าหนี้ฟ้องช้าเกินอายุความ
ข้อตกลงขอเปิดบัญชีเดินสะพัดระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เป็นข้อตกลงที่ให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกันโดยไม่มีกำหนดเวลา และลูกหนี้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2524 และมีการนำเงินเข้าออกสะพัดทางบัญชีกันตลอดมา แต่หลังจากวันที่ 5 ตุลาคม 2525 แล้ว ลูกหนี้ไม่เคยนำเงินเข้าบัญชีหรือถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวอีกเลยคงมีแต่รายการคิดคำนวณดอกเบี้ยตลอดมา ดังนี้ ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างกันต่อไป และเจ้าหนี้ได้หักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ปรากฎว่าลูกหนี้เป็นเจ้าหนี้อยู่เพียง 9,499.74 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2525เป็นต้นไป แต่เจ้าหนี้เพิ่งมายื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2537 เกินกว่า 10 ปี เป็นหนี้ที่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อมีการตกลงผ่อนชำระหนี้และปลดจำนอง การคิดดอกเบี้ยหลังวันดังกล่าวเป็นดอกเบี้ยธรรมดา
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้จึงใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา การที่โจทก์ตกลงกับจำเลยให้ชำระหนี้เพื่อลดหนี้ลงและปลดจำนองทรัพย์สินที่จำนองเป็นประกันไว้ไปบางรายการและได้มีการชำระหนี้บางส่วนตามที่ตกลงกันไว้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดบัญชีกันอีกต่อไป สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่มีการชำระหนี้บางส่วนนั้น หลังจากนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้น, การหักชำระหนี้จากเงินฝาก, เจตนาใช้สิทธิ
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกครบกำหนดแล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงต่ออายุสัญญาออกไปอีก 1 ปี หลังจากครบกำหนดที่ต่ออายุสัญญาคงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับต้นเงินเป็นประจำเดือนตลอดมา ไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดในบัญชีอันจะแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก และจำเลยผิดนัดไม่นำเงินส่วนที่เหลือหลังจากหักทอนบัญชีแล้วมาชำระ ทั้งโจทก์เพิกเฉยไม่นำเงินฝากประจำของจำเลยเข้าหักทอนบัญชีเดินสะพัดของจำเลยเสียเมื่อครบกำหนดต่ออายุสัญญาตามที่จำเลยได้ตกลงยินยอมไว้ตั้งแต่ตอนแรกที่ทำสัญญาคงปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาจนเกือบ 2 ปี โจทก์จึงนำเงินฝากประจำของจำเลยเข้าหักทอนบัญชี พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดต่ออายุสัญญาตามที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าว นับแต่นั้นเป็นต้นไปโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีก คงคิดได้อย่างไม่ทบต้นเท่านั้น ทั้งโจทก์ชอบที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงโดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ในวันที่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงและเป็นวันที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ เมื่อได้ความว่าในวันที่สัญญาสิ้นสุดลงดังกล่าวโจทก์ได้นำเงินฝากประจำของจำเลยบางส่วนมาหักใช้หนี้โจทก์ อันเป็นการแสดงเจตนาใช้สิทธิตามที่ได้ตกลงกันไว้เพื่อระงับหนี้ที่มีอยู่แล้ว หนี้ที่เหลือโจทก์ก็ชอบที่จะนำเงินฝากประจำของจำเลยที่เหลือทั้งหมดมาหักใช้หนี้ หากมีหนี้คงเหลืออยู่อีกเท่าใด โจทก์ก็มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ในส่วนนั้นจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2982/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการคิดดอกเบี้ยหลังบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุด ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยให้การว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่มีตราสำคัญของโจทก์ประทับและผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เท่านั้น มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศมาเลเซีย จึงมีผลเท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศมาเลเซียตามฟ้องจริง โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ส่วนปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่สมบูรณ์เพราะเหตุอื่นและขัดต่อกฎหมายไทยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การว่า ได้ตกลงกับโจทก์คิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 14 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 14 ต่อปี ตามที่ตกลงไว้ จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยฎีกาว่าควรเสียดอกเบี้ยหลังจากบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงแล้วในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 จึงเป็นเรื่องนอกคำให้การและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2982/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจและอัตราดอกเบี้ย: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม โดยไม่รับวินิจฉัยประเด็นนอกคำให้การ
จำเลยให้การว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่มีตราสำคัญของโจทก์ประทับและผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เท่านั้น มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศมาเลเซีย จึงมีผลเท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศมาเลเซียตามฟ้องจริง โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ ส่วนปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่สมบูรณ์เพราะเหตุอื่นและขัดต่อกฎหมายไทยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยให้การว่า ได้ตกลงกับโจทก์คิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ14 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 14 ต่อปี ตามที่ตกลงไว้จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยฎีกาว่าควรเสียดอกเบี้ยหลังจากบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงแล้วในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 7 จึงเป็นเรื่องนอกคำให้การและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3287/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด, การต่ออายุสัญญา, ดอกเบี้ยทบต้น, การเลิกสัญญา, สิทธิเรียกร้อง
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ระบุว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้โจทก์ภายในวันที่ 9 มกราคม 2518 แต่เมื่อครบกำหนดแล้วมีการต่ออายุสัญญาต่อไปอีกจนถึงวันที่ 9 มกราคม 2519 และรับรองยอดเงินที่ค้างชำระกับให้สัญญาว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลใช้บังคับจนกว่าจำเลยจะได้ชำระเงินให้โจทก์เสร็จสิ้น แต่ก็ไม่มีข้อสัญญาว่าเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาแล้วสัญญาเป็นอันเลิกกันทันที แม้ผู้จำนองจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2521 เพื่อไถ่ถอนจำนอง บัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยก็ยังมีอยู่เพราะยังชำระหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดไม่หมดและไม่มีฝ่ายใดเลิก สัญญา ดังนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้จนถึงวันบอกเลิกสัญญา แต่หลังจากวันบอกเลิกสัญญาไปแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีก คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนองต่อดอกเบี้ยทบต้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ทำไว้ต่อธนาคารโจทก์ในวงเงิน 400,000 บาท โดยจำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยถือเอารายการบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองไว้เป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้น ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์มีจำนวนเกิน 400,000 บาท ในวันที่ 30 กันยายน 2525 จำเลยที่ 2 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้: การเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นเมื่อยอดหนี้ถึงวงเงินจำนอง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ทำไว้ต่อธนาคารโจทก์ในวงเงิน 400,000บาท โดยจำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยถือเอารายการบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองไว้เป็นวันเริ่มต้นของการคิดดอกเบี้ยทบต้น ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์มีจำนวนเกิน400,000 บาทในวันที่ 30 กันยายน 2525 จำเลยที่ 2 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันนั้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน.
of 5