คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 860

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักบัญชีเงินฝากและเช็คในบัญชีเดินสะพัดช่วงก่อนล้มละลาย ไม่ถือเป็นการโอนทรัพย์สินเพื่อเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายอื่น
จำเลยมีบัญชีเดินสะพัดกับธนาคารผู้คัดค้านและอยู่ในระหว่างบัญชียังเดินสะพัด การที่จำเลยนำเช็คของธนาคารอื่นมาเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อให้ธนาคารผู้คัดค้านเรียกเก็บเงินให้ภายในระยะเวลา 3 เดือนก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลาย ถือได้ว่าเป็นการนำเงินตามเช็คฝากเข้าบัญชีเดินสะพัดหาใช่จำเลยมีเจตนาชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้คัดค้าน ที่ธนาคารผู้คัดค้านเรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้วนำมาหักกับยอดหนี้ที่จำเลยเบิกเกินบัญชีอยู่ในขณะนั้น เป็นเพียงวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบัญชีตามปกติธรรมดาของธนาคาร กรณีมิใช่จำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการฝากเงินตามเช็คดังกล่าวไม่ได้
ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินฝากประจำของจำเลยไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของจำเลยภายในกำหนด 3 เดือนก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเพื่อเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารผู้คัดค้าน การกระทำของธนาคารผู้คัดค้านดังกล่าวเกิดจากข้อตกลงตามหนังสือยินยอมให้หักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับธนาคารผู้คัดค้าน โดยทำขึ้นก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายเกือบ 9 เดือน ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวลูกหนี้ยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินในบัญชีฝากประจำมาหักหนี้เบิกเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัด เมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องมีการตัดทอนบัญชีก่อนและโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือขอความยินยอมลูกหนี้เสียก่อน การที่ธนาคารหักหนี้ดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้ (อ้างฎีกา 2483/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักบัญชีเงินฝากและการโอนบัญชีเพื่อชำระหนี้ก่อนล้มละลาย ไม่ถือเป็นการเจตนาให้เจ้าหนี้ได้เปรียบ
จำเลยมีบัญชีเดินสะพัดกับธนาคารผู้คัดค้านและอยู่ในระหว่างบัญชียังเดินสะพัดการที่จำเลยนำเช็คของธนาคารอื่นมาเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อให้ธนาคารผู้คัดค้านเรียกเก็บเงินให้ภายในระยะเวลา3เดือนก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายถือได้ว่าเป็นการนำเงินตามเช็คฝากเข้าบัญชีเดินสะพัดหาใช่จำเลยมีเจตนาชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้คัดค้านที่ธนาคารผู้คัดค้านเรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้วนำมาหักกับยอดหนี้ที่จำเลยเบิกเกินบัญชีอยู่ในขณะนั้นเป็นเพียงวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบัญชีตามปกติธรรมดาของธนาคารกรณีมิใช่จำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา115เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการฝากเงินตามเช็คดังกล่าวไม่ได้ ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินฝากประจำของจำเลยไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของจำเลยภายในกำหนด3เดือนก่อนจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายเพื่อเป็นการชำระหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารผู้คัดค้านการกระทำของธนาคารผู้คัดค้านดังกล่าวเกิดจากข้อตกลงตามหนังสือยินยอมให้หักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับธนาคารผู้คัดค้านโดยทำขึ้นก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายเกือบ9เดือน ซึ่งตามข้อตกลงดังกล่าวลูกหนี้ยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินในบัญชีฝากประจำมาหักหนี้เบิกเกินบัญชีในบัญชีเดินสะพัดเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องมีการตัดทอนบัญชีก่อนและโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือขอความยินยอมลูกหนี้เสียก่อนการที่ธนาคารหักหนี้ดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้ในระหว่างระยะเวลา3เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา115เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่2453/2527).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีรับขนทางทะเล, การจำกัดความรับผิด, และผลของสัญญาประกันภัย
จำเลยเป็นบริษัทในต่างประเทศ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพเป็นกิจการของจำเลยจึงเป็นสาขาของจำเลยเมื่อสาขาดังกล่าวมี สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้นและได้ร่วมกระทำการ ในการขนส่งสินค้ารายพิพาท จึงถือว่าสำนักงานแห่งใหญ่ของ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพ เป็นภูมิลำเนาของจำเลยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71วรรคสอง โจทก์ย่อมฟ้องจำเลย ต่อศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ให้ยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์อุทธรณ์เรื่องอำนาจฟ้อง แม้จำเลย จะมิได้ยกประเด็นข้ออื่นขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ก็หาทำให้ ประเด็นดังกล่าวยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เพราะการที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วยังวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น ต่อไปอีกก็โดยมีความประสงค์ว่าหากศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องจะได้วินิจฉัยประเด็นอื่นไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบ ที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไปการที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ และจำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมาศาลฎีกาจึงสมควร วินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัด ความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิ ของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัย ทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบ เพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อนมิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้นเป็นวิธีปฏิบัติ เพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็น สาระสำคัญก็ได้หาเป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขนส่งทางทะเล, การจำกัดความรับผิด, และผลของสัญญาประกันภัย
จำเลยเป็นบริษัทในต่างประเทศ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพเป็นกิจการของจำเลย จึงเป็นสาขาของจำเลย เมื่อสาขาดังกล่าวมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้น และได้ร่วมกระทำการ ในการขนส่งสินค้ารายพิพาท จึงถือว่าสำนักงานแห่งใหญ่ของสายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพ เป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 วรรคสอง โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ให้ยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เรื่องอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ยกประเด็นข้ออื่นขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ก็หาทำให้ประเด็นดังกล่าวยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เพราะการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วยังวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไปอีกก็โดยมีความประสงค์ว่าหากศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง จะได้วินิจฉัยประเด็นอื่นไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ และจำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมา ศาลฎีกาจึงสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัดความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบเพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อน มิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้น เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็นสาระสำคัญก็ได้หา เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: ค้ำประกันเฉพาะจำนวนเงินที่ระบุในสัญญา ไม่จำกัดจำนวน
สัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยทำต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันหนี้ของ ส. จำนวนเงิน 50,000 บาท ซึ่งตกลงยอมค้ำประกันการชำระหนี้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิงและถึงแม้ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาที่กล่าวแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม อันทำให้ธนาคารไม่ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาที่กล่าวแล้วเต็มจำนวนและตามกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาก็ดี ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะต้องชำะหนี้ตามสัญญาดังกล่าวนั้นทันที หมายความถึงรับผิดชำระหนี้จำนวน 50,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ยเท่านั้นหาใช่จำเลยยอมรับผิดชำระหนี้แทน ส. ลูกหนี้โดยไม่จำกัดจำนวนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1755/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, อายุความดอกเบี้ย, สิทธิเรียกร้องหนี้, การต่ออายุสัญญา, สัญญาค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์เป็นข้อตกลงที่จะให้มีบัญชีเดินสะพัด เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือในระหว่างที่สัญญายังดำเนินอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่หักทอนบัญชีและมีการผิดนัดแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้อีก กำหนดเวลาที่จำเลยอ้างในการเริ่มนับอายุความ เป็นกำหนดเวลาใช้คืนเงินกู้ที่เบิกโดยบัญชีเดินสะพัด อันเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่เบิกเงินไปหาใช่อายุของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงโดยเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดไม่เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อหักทอนบัญชีให้จำนวนหนี้ลดลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ หาขาดอายุความไม่ ข้อตกลงในการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีข้อความว่าให้สัญญาสิ้นสุดลงเมื่อใด เมื่อยังไม่มีการบอกเลิกสัญญาต้องถือว่ามีการต่ออายุออกไปโดยปริยาย โจทก์ยังมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2176/2522) จำเลยเป็นหนี้โจทก์มานานหลายปี จำนวนหนี้และดอกเบี้ยสูงขึ้น เป็นลำดับ เมื่อโจทก์เรียกร้องให้ชำระหนี้ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ ขอชำระหนี้ แต่ขอลดเงินค่าดอกเบี้ย และว่ากิจการของจำเลยต้องเลิกโดยฉับพลัน ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้เพราะหนี้สินมากหากโจทก์ยอม ลดหย่อนหนี้ให้ก็จะไปกู้ยืมเงินจากพี่น้องมาชดใช้เท่ากับจำเลยไม่มีเงินพร้อมที่จะชำระหนี้เมื่อโจทก์ทวงถามให้ชำระหนี้จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ระบุว่า จำเลยยอมรับผิดชำระหนี้เงินกู้รวมทั้งดอกเบี้ยอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับผู้กู้ จนกว่าผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ฉะนั้น จำเลยจะต้องรับผิดค่าดอกเบี้ยในต้นเงินที่ตนทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, อายุความ, และความรับผิดของลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์เป็นข้อตกลงที่จะให้มีบัญชีเดินสะพัด เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ ในระหว่างที่สัญญายังดำเนินอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่หักทอนบัญชีและมีการผิดนัดแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้อีก
กำหนดเวลาที่จำเลยอ้างในการเริ่มนับอายุความ เป็นกำหนดเวลาใช้คืนเงินกู้ที่เบิกโดยบัญชีเดินสะพัด อันเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่เบิกเงินไป หาใช่อายุของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงโดยเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดไม่ เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อหักทอนบัญชีให้จำนวนหนี้ลดลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียดอกเบี้ยจากจำเลยได้ หาขาดอายุความไม่
ข้อตกลงในการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีข้อความว่าให้สัญญาสิ้นสุดลงเมื่อใด เมื่อยังไม่มีการบอกเลิกสัญญา ต้องถือว่ามีการต่ออายุออกไปโดยปริยายโจทก์ยังมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2176/2522)
จำเลยเป็นหนี้โจทก์มานานหลายปี จำนวนหนี้และดอกเบี้ยสูงขึ้นเป็นลำดับ เมื่อโจทก์เรียบร้องให้ชำระหนี้ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ขอชำระหนี้ แต่ขอลดเงินค่าดอกเบี้ย และว่ากิจการของจำเลยต้องเลิกโดยฉับพลัน ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้เพราะหนี้สินมาก หากโจทก์ยอมลดหย่อนหนี้ให้ก็จะไปกู้ยืมเงินจากพี่น้องมาชดใช้ เท่ากับจำเลยไม่มีเงินพร้อมที่จะชำระหนี้เมื่อโจทก์ทวงถามให้ชำระหนี้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ระบุว่า จำเลยยอมรับผิดชำระหนี้เงินกู้รวมทั้งดอกเบี้ยอย่างลูกหนี้รวมกันกับผู้กู้ จนกว่าผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ฉะนั้นจำเลยจะต้องรับผิดค่าดอกเบี้ยในต้นเงินที่ตนทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3544/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นจากการเบิกเงินเกินบัญชีและการจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญาจำนองมีข้อความว่า หากเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชี ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยเป็นรายเดือนโดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีของธนาคาร และข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชีธนาคารโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้ทันทีที่ค้างชำระทุกคราวไปดอกเบี้ยที่ทบเข้านี้ก็กลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดเวลาชำระอย่างเดียวกันตราบใดที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่ยุติลง ดอกเบี้ยที่ค้างชำระจะมีได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น
จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1จำนวน 100,000 บาท ในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เกินจำนวน 100,000 บาทอยู่แล้วจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยทบต้นเพียงต้นเงิน 100,000 บาทนับแต่วันทำสัญญาจำนองเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3544/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นจากการจำนองประกันการเบิกเงินเกินบัญชี, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญาจำนองมีข้อความว่า หากเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชี ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยเป็นรายเดือนโดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีของธนาคาร และข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชีธนาคาร โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้ทันทีที่ค้างชำระทุกคราวไปดอกเบี้ยที่ทบเข้านี้ก็กลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดเวลาชำระอย่างเดียวกันตราบใดที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่ยุติลง ดอกเบี้ยที่ค้างชำระจะมีได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น
จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน 100,000 บาท ในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เกินจำนวน 100,000 บาทอยู่แล้วจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยทบต้นเพียงต้นเงิน 100,000 บาท นับแต่วันทำสัญญาจำนองเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัด และการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังบอกเลิกสัญญา
โจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้จนลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น ดังนั้นแม้ผู้ค้ำประกันจะมิได้รับหนังสือทวงถาม ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่ และโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ค้ำประกัน
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้เพียงแค่วันที่ลงในหนังสือนั้น ต่อจากนั้นไปคงคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา
of 5