คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 860

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัด และการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังบอกเลิกสัญญา
โจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้จนลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น ดังนั้นแม้ผู้ค้ำประกันจะมิได้รับหนังสือทวงถาม ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่ และโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ค้ำประกัน
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้เพียงแค่วันที่ลงในหนังสือนั้น ต่อจากนั้นไปคงคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันการเบิกเงินเกินบัญชี, สิทธิเรียกร้องเจ้าหนี้, การคิดดอกเบี้ยหลังล้มละลาย, การเลิกสัญญา
โจทก์จำนองที่ดินไว้กับธนาคารจำเลยเป็นประกันสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท อ. หนี้ตามบัญชีเดินสะพัดระหว่างบริษัท อ. กับจำเลยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นหนี้ที่สั่งจ่ายเป็นเช็คเสมอไป หากเป็นหนี้ส่วนที่ตกลงให้มีบัญชีกันแล้ว จะเป็นหนี้ที่เกิดจากสัญญาหรือมูลอื่นก็ย่อมลงบัญชีกันได้ บริษัท อ. เคยยินยอมให้จำเลยเอาหนี้รับจำนำใบประทวนสินค้าที่บริษัท อ. เป็นลูกหนี้บริษัทในเครือเดียวกับธนาคารจำเลย รวมทั้งหนี้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการจำนำใบประทวนสินค้ามาลงในบัญชีเดินสะพัดที่บริษัท อ. เบิกเงินเกินบัญชี การลงบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการแจ้งยอดหนี้พร้อมทั้งรายการให้โจทก์ทราบตลอดมาทุกระยะโจทก์ก็ไม่คัดค้าน และโจทก์ในฐานะกรรมการจัดการของบริษัท อ.ยังได้ลงชื่อรับรอง ยอดหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดของบริษัทอ. อีกด้วยวิธีการที่จำเลยเอาหนี้ดังกล่าวมาลงในบัญชีนั้น เป็นวิธีการตามลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด หาอยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องแปลงหนี้ใหม่ไม่ เมื่อปรากฏว่าบริษัท อ. ยังเป็นลูกหนี้จำเลยอยู่โจทก์ก็ต้องรับผิดชำระหนี้แทนตามสัญญาจำนอง
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เป็นบทบังคับของกฎหมายพิเศษในเรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย มิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเหมือนคดีแพ่งสามัญ หาใช่เป็นบทบังคับของกฎหมายทั่วไปว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้วห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ฉะนั้น แม้บริษัท อ. ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์ผู้ทำสัญญาจำนองเป็นประกันโดยไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งธรรมดาให้รับผิดแทนลูกหนี้ จึงไม่อาจยกกฎหมายมาตรานี้ขึ้นต่อสู้เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยได้(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 229/2506)
เมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเดินสะพัดของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและคิดหักทอนบัญชีกันและถือได้ว่าเป็นการเรียกร้องเงินค้างชำระและลูกหนี้ผิดนัดในตัวแล้วจำเลยจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไปหาได้ไม่(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 658-659/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยธรรมดา
โจทก์ (ธนาคาร) ตกลงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์มีข้อสัญญาว่าจำเลยจะชำระดอกเบี้ยรายเดือน ถ้าไม่ชำระยอมให้เอาดอกเบี้ยทบต้นและจะชำระคืนใน 30 เมษายน 2495 ครั้งถึงกำหนดดังกล่าว โจทก์มีหนังสือไปทวงถามให้ชำระหนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน 2495 หลักจากนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: สิทธิคิดดอกเบี้ยสิ้นสุดเมื่อสัญญาหมดอายุ
โจทก์ (ธนาคาร) ตกลงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์มีข้อสัญญาว่าจำเลยจะชำระดอกเบี้ยรายเดือน ถ้าไม่ชำระยอมให้เอาดอกเบี้ยทบต้นและจะชำระเงินคืนใน 30 เมษายน 2495 ครั้นถึงกำหนดดังกล่าว โจทก์มีหนังสือไปทวงถามให้ชำระหนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน 2495 หลังจากนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: สิทธิคิดดอกเบี้ยสิ้นสุดเมื่อสัญญาหมดอายุ
โจทก์ (ธนาคาร) ตกลงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์มีข้อสัญญาว่าจำเลยจะชำระดอกเบี้ยรายเดือน. ถ้าไม่ชำระ.ยอมให้เอาดอกเบี้ยทบต้นและจะชำระเงินคืนใน 30เมษายน 2495 ครั้นถึงกำหนดดังกล่าว. โจทก์มีหนังสือไปทวงถามให้ชำระหนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดในวันที่30 เมษายน 2495. หลังจากนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658-659/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดและผลกระทบเมื่อมีการผิดนัดชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 655 กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นพิเศษ. ทั้งนี้ แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยทบต้นเข้าด้วยกันจะทำให้จำนวนดอกเบี้ยเกินร้อยละ15 ต่อปี ก็ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3.
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น. เป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ.
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด. ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859. และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้.ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไป.ทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด.
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา. แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว. การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว. ฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัด.จนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658-659/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด: ศาลฎีกาตัดสินข้อจำกัดเมื่อมีการเลิกสัญญาและผิดนัดชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 655 กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นพิเศษ ทั้งนี้ แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยทบต้นเข้าด้วยกันจะทำให้จำนวนดอกเบี้ยเกินร้อยละ15 ต่อปี ก็ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น เป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856, 859 และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไปทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658-659/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด: ข้อจำกัดหลังผิดนัดชำระหนี้ และการเลิกสัญญาระหว่างธนาคารกับลูกหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 655 กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นพิเศษ ทั้งนี้ แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยทบต้นเข้าด้วยกันจะทำให้จำนวนดอกเบี้ยเกินร้อยละ15 ต่อปี ก็ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้นเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไปทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้วการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้วฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511)
of 5