คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 197 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5834/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุขาดนัดชัดเจน การไม่ดำเนินการยื่นขอเลื่อนคดีเป็นสาระสำคัญ
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยทั้งสองกล่าวเพียงว่า วันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยทั้งสองไม่มาศาลเพราะป่วยกะทันหัน และให้เสมียนทนายมาขอเลื่อนคดี แต่เสมียนทนายไม่ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีให้โดยไม่ทราบสาเหตุ (ซึ่งจำเลยจะนำเสมียนทนายนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป) และปรากฏว่าจำเลยทั้งสองยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่หลังวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าว 3 เดือน น่าจะทราบเหตุที่เสมียนทนายไม่ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีให้แล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่กล่าวถึงสาเหตุที่เสมียนทนายไม่ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีให้ทั้งที่การมิได้ร้องขอเลื่อนคดีเป็นสาระสำคัญประการหนึ่งแห่งการขาดนัดพิจารณา คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นคำขอที่มิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่ได้ขาดนัดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5768/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอให้พิจารณาคำร้องซ้ำ เมื่อศาลวินิจฉัยแล้วและมีสิทธิอุทธรณ์ได้
ในชั้นบังคับคดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าการประมูลซื้อทรัพย์เป็นไปโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยประเด็นตามคำร้องของจำเลยแล้วจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของจำเลยดังกล่าวใหม่ กรณีเช่นนี้หาได้มีบทกฎหมายรับรองให้จำเลยมีสิทธิจะกระทำได้ไม่ เพราะมิใช่การขาดนัดพิจารณาซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา197 วรรคสอง, 207 และ 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5768/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: จำเลยไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นแล้วยื่นคำร้องใหม่ไม่ได้
ในชั้นบังคับคดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าการประมูลซื้อทรัพย์เป็นไปโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยประเด็นตามคำร้องของจำเลยแล้ว จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของจำเลยดังกล่าวใหม่ กรณีเช่นนี้หาได้มีบทกฎหมายรับรองให้จำเลยมีสิทธิจะกระทำได้ไม่ เพราะมิใช่การขาดนัดพิจารณาซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง,207 และ 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4297/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีและการขาดนัดพิจารณา: ศาลแพ่งมีอำนาจอนุญาตเลื่อนคดีได้ แม้ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน
วันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน จำเลยมาศาล ส่วนโจทก์ไม่ได้ไปศาลเจ้าของคดีตามนัด แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลแพ่งอันเป็นศาลที่โจทก์และทนายโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ อ้างเหตุว่าทนายโจทก์ป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์และความเห็นของแพทย์แนบไปด้วยศาลแพ่งจึงสั่งให้โจทก์เลื่อนคดีและได้แจ้งให้ศาลเจ้าของคดีทราบอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลแพ่งมีอำนาจทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลเสียก่อนลงมือสืบพยานไม่ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง แม้โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ก่อนวันสืบพยาน 3 วันก็ตาม เมื่อปรากฏว่าศาลเจ้าของคดีสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาก่อนทราบคำสั่งของศาลแพ่งดังกล่าว จึงเป็นการสั่งไปโดยผิดหลง ศาลเจ้าของคดีมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5040/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลยทำให้จำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสอง
ทนายจำเลยมาศาลภายหลังที่ศาลได้ทำการชี้สองสถานและกำหนดวันเวลานัดสืบพยานโจทก์โดยทนายจำเลยมิได้ตรวจดูรายงานกระบวนพิจารณาเพียงแต่สอบถามวันเวลานัดสืบพยานโจทก์จากเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย ต้องถือว่าจำเลยทราบกระบวนพิจารณาและวันนัดสืบพยานโจทก์ของศาลแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5040/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ: ความประมาทเลินเล่อของทนาย และผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183
ในวันนัดชี้สองสถานทนายจำเลยมาศาลเมื่อศาลนัดสืบพยานโจทก์ไปแล้ว จำเลยเพียงแต่สอบถามวันนัดจากเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ ไม่ได้ตรวจดู สำนวนว่าศาลนัดสืบพยานโจทก์วันเวลาใดให้แน่ชัด จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย และตามป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสอง บัญญัติให้คู่ความมาศาลในวันชี้สองสถานถ้า คู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลให้ถือว่าทราบกระบวนพิจารณาของศาลในวันนั้นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ จำเลยจะอ้างว่าฟังเวลาจากเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ ผิดไปหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5040/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลยทำให้จำเลยทราบวันนัดสืบพยานแล้วถือว่าขาดนัดจงใจ
ทนายจำเลยมาศาลภายหลังที่ศาลได้ทำการชี้สองสถานและกำหนดวันเวลานัดสืบพยานโจทก์โดยทนายจำเลยมิได้ ตรวจดูรายงานกระบวนพิจารณาเพียงแต่สอบถามวันเวลานัดสืบพยานโจทก์จากเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์จึงเป็นความ ประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย ต้องถือว่าจำเลยทราบกระบวนพิจารณาและวันนัดสืบพยานโจทก์ของศาลแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1382/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการพิจารณาคดีโดยขาดนัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยทราบนัดโดยชอบแล้ว ไม่มาศาลในวันสืบพยานและไม่แจ้งเหตุขัดข้องถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโดยสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาคดีไปในวันเดียวกันนั้น จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนทนายและการขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยยังไม่ได้แต่งตั้งทนายใหม่
ทนายจำเลยขอถอนตัว ศาลชั้นต้นได้แจ้งให้จำเลยทราบคำขอนั้นแล้ว จึงได้มีคำสั่งอนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตัว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ถูกต้องแล้วโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยได้แต่งตั้งทนายเข้ามาก่อนวันศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทนายคนเดิมขอถอนตัวหรือไม่แต่อย่างใด
ศาลชั้นต้นได้นัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม2529 แต่ถึงวันนัดได้มีการเลื่อนวันนัดออกไป และมีการเลื่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ออกไปอีกหลายครั้งโดยไม่มีการสืบพยานโจทก์เลยจนกระทั่งได้มีการสืบพยานโจทก์ครั้งรแกในวันที่ 18มีนาคม 2529 ถือได้ว่าวันสืบพยานคือวันที่ 18 มีนาคม 2529 เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่มาศาล และศาลได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1ที่ 2 ขาดนัดพิจารณาจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 แล้ว.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลต้องพิจารณาเหตุขอเลื่อนคดีและการป่วยของทนายความ
ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9 นาฬิกา ในวันนัด ศาลออกนั่งพิจารณาคดีเวลา 9.25 นาฬิกา โจทก์ไม่มาศาล ศาลจึงมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีโจทก์ ต่อมา โจทก์ยื่นคำร้องว่า วันนัดสืบพยานทนายโจทก์ป่วยได้มอบให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่นต่อศาลเมื่อเวลา 9.25 นาฬิกา ที่มาถึงศาลช้ากว่าเวลานัดเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ประกอบทั้งทนายโจทก์และเสมียนทนายเข้าใจเรื่องเวลานัดของศาลผิดไปว่าเป็นเวลา 9.30 นาฬิกา ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการไต่สวนและยกคำร้องของโจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบ เพราะหากเป็นจริงตามคำร้องของโจทก์ กรณีก็ยังไม่ถนัดที่จะถือว่าโจทก์มิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลก่อนลงมือสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง และหากฟังได้ว่าทนายโจทก์ป่วยจริง ก็เป็นเหตุที่ศาลต้องให้เลื่อนการพิจารณาคดีไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
of 4