พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นกลบเกลื่อนการกู้ยืมเงิน สิทธิในที่ดินยังเป็นของผู้กู้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การตอนแรกว่า ต. และจำเลยที่ 1 ไม่เคยขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ แต่สัญญาซื้อขายตามฟ้องเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ที่ ต. และจำเลยที่ 1 กู้เงินไปจากโจทก์ จึงเป็นคำให้การที่แสดงการปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ รวมทั้งอ้างเหตุแห่งการนั้น ว่าสัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การตอนหลังว่า สัญญาซื้อขายตามฟ้องมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ และตัดฟ้องโจทก์ว่าโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความนั้น ก็มิใช่ว่าเป็นคำให้การที่ยอมรับหรือถือว่า ต. และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์จริง จึงมิได้ขัดแย้งกันเองหรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงแสดงโดยชัดแจ้งว่าปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งหมด รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้ว ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธินำพยานเข้าสืบหักล้างสัญญาซื้อขายตามฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
การที่โจทก์ปล่อยปละละเลยให้เวลาล่วงเลยมานานเกือบ 20 ปี นับแต่ที่อ้างว่าซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาจาก ต. และจำเลยที่ 1 โดยมิได้จัดให้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียนในที่ดินพิพาททั้งสองซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติที่ไม่ดำเนินการปกป้องสิทธิของตนเองเช่นนั้น ถือได้ว่าเป็นข้อพิรุธของโจทก์อย่างยิ่ง ส่อแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์ทราบดีว่าตนมีสิทธิเพียงเข้าทำกินในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงต่างดอกเบี้ยเท่านั้นเอง การทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้องจึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงิน ทำให้นิติกรรมการซื้อขายดังกล่าวตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคแรก และต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง
แม้กรณีเช่นนี้จะมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อ ต.และจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาซื้อขายก็ตาม ย่อมถือได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้อง เป็นนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่าง ต. กับโจทก์ จึงมีผลบังคับกันได้
การที่ ต. และจำเลยที่ 1 มิได้ขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ แต่ ต. และจำเลยที่ 1 กู้เงินไปจากโจทก์และให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นการทำกินต่างดอกเบี้ย ต. และจำเลยที่ 1 มิได้สละการครอบครองให้แก่โจทก์แต่อย่างใด แม้ว่าโจทก์จะครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นระยะเวลานานเท่าใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองหรือได้กรรมสิทธิ์ เพราะยังถือได้ว่าโจทก์ครอบครองแทน ต. หรือทายาทของ ต. และจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดไป
การที่โจทก์ปล่อยปละละเลยให้เวลาล่วงเลยมานานเกือบ 20 ปี นับแต่ที่อ้างว่าซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาจาก ต. และจำเลยที่ 1 โดยมิได้จัดให้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียนในที่ดินพิพาททั้งสองซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติที่ไม่ดำเนินการปกป้องสิทธิของตนเองเช่นนั้น ถือได้ว่าเป็นข้อพิรุธของโจทก์อย่างยิ่ง ส่อแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์ทราบดีว่าตนมีสิทธิเพียงเข้าทำกินในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงต่างดอกเบี้ยเท่านั้นเอง การทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้องจึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงิน ทำให้นิติกรรมการซื้อขายดังกล่าวตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคแรก และต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง
แม้กรณีเช่นนี้จะมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อ ต.และจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาซื้อขายก็ตาม ย่อมถือได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้อง เป็นนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่าง ต. กับโจทก์ จึงมีผลบังคับกันได้
การที่ ต. และจำเลยที่ 1 มิได้ขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ แต่ ต. และจำเลยที่ 1 กู้เงินไปจากโจทก์และให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นการทำกินต่างดอกเบี้ย ต. และจำเลยที่ 1 มิได้สละการครอบครองให้แก่โจทก์แต่อย่างใด แม้ว่าโจทก์จะครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นระยะเวลานานเท่าใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองหรือได้กรรมสิทธิ์ เพราะยังถือได้ว่าโจทก์ครอบครองแทน ต. หรือทายาทของ ต. และจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8599/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัด และคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ที่ถูกห้ามตามกฎหมาย
คำร้องของโจทก์ที่โต้แย้งคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคสอง และมาตรา 201 วรรคหนึ่ง (เดิม) มิได้กล่าวอ้างว่า ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบ หรือฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายใด คงอ้างแต่เพียงว่า กรณีมีเหตุสุดวิสัยที่โจทก์ไม่สามารถมาศาลได้ โจทก์ไม่มีเจตนาที่จะละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งของศาล ขอให้ไต่สวนและกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ต่อไป เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์มิได้จงใจขาดนัดพิจารณา จึงถือได้ว่าคำร้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำขอให้พิจารณาคดีนี้ใหม่ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์เสียได้ โดยไม่ต้องทำการไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6079/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้ แม้จำเลยขอเลื่อนคดีในวันนัด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาแล้วสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ โดยไม่พิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เสียก่อนนั้น ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับว่า หากมีกรณีดังกล่าวศาลจะต้องสอบคำร้องขอเลื่อนคดีของอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อน จึงจะมีคำสั่งขาดนัดพิจารณาได้เพราะเท่ากับเป็นการแปลความเพิ่มหลักเกณฑ์ลงไปในมาตรา 197 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง การที่ศาลชั้นต้นจะสอบคำขอเลื่อนคดีของอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล หากศาลใช้ดุลพินิจสอบคำขอเลื่อนคดีแล้วมีคำสั่งให้เลื่อนคดี วันนัดดังกล่าวก็มิใช่วันสืบพยานตามกฎหมายอีกต่อไปและเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคสอง (เดิม) ประกอบกับมาตรา 201 วรรคหนึ่ง (เดิม) คำขอเลื่อนคดีของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ย่อมตกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4326/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: ผลกระทบจากการแต่งทนายและหน้าที่ในการติดตามวันนัด
จำเลยแต่งให้ ส. เป็นทนายความ และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้แทนจำเลย การที่ทนายจำเลยยื่นคำให้การ แก้คดีและลงลายมือชื่อรับทราบกำหนดวันเวลานัดชี้สองสถาน ไว้แล้ว จึงเป็นการกระทำแทนจำเลยโดยชอบ ถือว่าจำเลย ทราบวันเวลานัดชี้สองสถานแล้วด้วย ครั้นถึงกำหนดดังกล่าว จำเลยรวมทั้งทนายจำเลยไม่ไปศาล ศาลชั้นต้นจึงชี้สองสถาน และกำหนดวันเวลานัดสืบพยานโจทก์ไป การที่ไม่มีผู้ใด ฝ่ายจำเลยไปศาลในวันนัดชี้สองสถานซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 ตรี วรรคแรกให้ถือว่าจำเลยและทนายจำเลยได้ทราบกระบวนพิจารณาในวันนั้นแล้ว ซึ่งรวมถึงทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นด้วย เมื่อจำเลยและทนายจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดีในวันสืบพยานหรือก่อนวันนั้นจึงเป็นการขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ และไม่มีเหตุสมควรที่จะให้ พิจารณาใหม่ การที่ทนายจำเลยทั้งสองไม่แจ้งวันนัดให้จำเลย ทราบเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับทนายจำเลย จำเลยจะนำมาอ้าง เป็นเหตุว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7544/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณา: จำเลยไม่ทราบล่วงหน้าวันนัดสืบพยาน ทำให้คำสั่งขาดนัดไม่ชอบ
จำเลยไม่ไปศาลในวันที่ศาลชั้นต้นกำหนดนัดชี้สองสถานหรือนัดสืบพยานโจทก์ วันดังกล่าวมิใช่วันนัดสืบพยานโจทก์แต่เพียงอย่างเดียว การที่ศาลชั้นต้นงดชี้สองสถานและถือให้เป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ทันทีในวันนั้นจำเลยย่อมไม่มีโอกาสทราบล่วงหน้า ฉะนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยขาดนัดพิจารณาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5101/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณา: ผู้ร้องไม่ทราบวันนัดไต่สวน ไม่ถือว่าขาดนัดตามกฎหมาย
คำร้องที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องไม่ทราบวันนัดไต่สวนพยานผู้ร้องการที่ผู้ร้องไม่มาศาลในวันไต่สวนจะถือว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 ไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีของผู้ร้องจากสารบบความเป็นการไม่ชอบ เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่เกี่ยวกับการพิจารณาโดยขาดนัดในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม อันเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ผู้ร้องซึ่งได้รับความเสียหายต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ผู้ร้องทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น
กรณีที่จะถือว่าคู่ความฝ่ายใดขาดนัดพิจารณาได้ ต้องปรากฏว่าคู่ความฝ่ายนั้นทราบวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้วไม่มาศาล เมื่อตามคำร้องของผู้ร้องยังโต้เถียงข้อเท็จจริงอยู่ว่าผู้ร้องไม่ทราบกำหนดวันนัดไต่สวนสืบพยานผู้ร้องลายมือชื่อทราบวันนัดไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ร้องหรือทนายผู้ร้อง เช่นนี้คำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่การขอให้พิจารณาใหม่
กรณีที่จะถือว่าคู่ความฝ่ายใดขาดนัดพิจารณาได้ ต้องปรากฏว่าคู่ความฝ่ายนั้นทราบวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้วไม่มาศาล เมื่อตามคำร้องของผู้ร้องยังโต้เถียงข้อเท็จจริงอยู่ว่าผู้ร้องไม่ทราบกำหนดวันนัดไต่สวนสืบพยานผู้ร้องลายมือชื่อทราบวันนัดไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ร้องหรือทนายผู้ร้อง เช่นนี้คำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่การขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6935/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณา: ศาลต้องพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีก่อน หากมีการยื่นคำร้องแล้ว การไม่มาศาลไม่ถือว่าขาดนัด
คดีนี้ศาลนัดสืบพยานสองนัดติดต่อกัน โดยนัดแรกนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน นัดต่อมานัดสืบพยานโจทก์ ก่อนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลย โจทก์ไม่มาศาล ศาลไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาเช่นนี้ ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง เพราะโจทก์ได้มีการร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่มาศาลไม่ได้ให้ศาลทราบก่อนลงมือสืบพยานแล้ว ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้องอันจะถือว่าเป็นการขาดนัดพิจารณา การที่ศาลไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ การพิจารณาคดีนี้จึงมิใช่การพิจารณาโดยขาดนัด การที่โจทก์ไม่มาศาลในนัดแรกจึงไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะสืบพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6273/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการพิจารณาใหม่: ศาลอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้หากโจทก์ไม่ได้จงใจขาดนัดและมีเหตุผลสมควร
วันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ไม่ไปศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลย ในวันเดียวกันโจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้พิจารณาใหม่ จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่า จำเลยไม่เห็นด้วยกับข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีโจทก์ใหม่ เพราะโจทก์จงใจขาดนัดและต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 แม้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะไม่มีผลเป็นอุทธรณ์เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย แต่ก็มีผลเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) แล้วจำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้ ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.00 นาฬิกา แต่โจทก์และทนายโจทก์มาศาลในวันนัดเวลาประมาณ 12.30 นาฬิกา เนื่องจากเสมียนทนายโจทก์บอกเวลานัดของศาลแก่ทนายโจทก์ผิดไปเป็นเวลา 13.30 นาฬิกา ทั้งตามคำร้องขอพิจารณาใหม่ โจทก์และทนายโจทก์ได้ลงชื่อในคำร้องที่ยื่นต่อศาลในวันเดียวกันแสดงว่าโจทก์และทนายโจทก์ไปศาลในวันนัดจริง แต่ไปไม่ตรงตามเวลาเพราะเสมียนทนายบอกเวลานัดพิจารณาคลาดเคลื่อนโจทก์จึงมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาและเมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่ต้องห้ามที่โจทก์จะขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 ประเด็นข้อพิพาทมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์กับเจ้าของรวมหรือเป็นของจำเลยเท่านั้น ศาลจึงไม่ต้องรับฟังเอกสารสำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดินของโจทก์กับเจ้าของรวม และหนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของรวมให้โจทก์ฟ้องคดี ส่วนแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ทำขึ้นตามคำสั่งศาล มิใช่เอกสารที่โจทก์เป็นฝ่ายอ้าง โจทก์จึงไม่ต้องเสีย ค่าอ้างเอกสารตามตาราง 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5413/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตเลื่อนคดีและการสืบพยาน: คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนไม่ใช่ขาดนัด
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีตามที่ทนายจำเลยขอและถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ คำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งที่แสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 197 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณา-พิจารณาใหม่: การขาดนัดต้องมีคำสั่งศาล การไม่มาศาลในวันสืบพยานครั้งแรกถือขาดนัด
การขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคสอง มีความหมายว่า ในวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานเป็นวันแรกในคดีนั้นไม่ว่าจะเป็นพยานฝ่ายใดและไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดมีหน้าที่นำสืบก่อน หากคู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลในวันนั้นไม่ว่าตนจะมีหน้าที่นำพยานเข้าสืบในวันนั้นหรือไม่ก็เป็นการขาดนัดพิจารณาปรากฏว่าในวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานโจทก์ครั้งแรก จำเลยที่ 1 มาศาลการที่จำเลยที่ 1 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลยครั้งต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณา คู่ความที่จะมีคำขอให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 ได้นั้น จะต้องปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งให้เป็นฝ่ายขาดนัดพิจารณาเสียก่อนเมื่อไม่ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณา ดังนี้สิทธิที่จะขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 ไม่อาจเกิดขึ้นได้.