คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 124

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4847/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการภาษีจากการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: การแก้ไขบัญชีรับ-จ่ายให้ถูกต้อง
การที่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเป็นเงินได้ของกองทรัพย์สินจำเลย จำเลยโดยผู้คัดค้านมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) เว้นแต่จะมีข้อตกลงเรื่องภาระภาษีเงินได้กันเป็นอย่างอื่น ที่ผู้คัดค้านกำหนดเงื่อนไขในการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์และข้อตกลงในหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมการโอนและค่าภาษีต่าง ๆ จากการขายทอดตลาดและมีสิทธินำใบเสร็จรับเงินที่มีรายการชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมาขอคืนภาษีภายใน 20 วัน นับแต่วันชำระราคาครบถ้วน หากไม่มาขอคืนภายในกำหนดจะถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ไม่ติดใจขอคืนภาษีนั้น ไม่มีลักษณะเป็นข้อตกลงเรื่องภาระภาษีเงินได้กันเป็นอย่างอื่น หากแต่เป็นเพียงเพื่อให้การจัดการทรัพย์สินของจำเลยดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและสะดวกรวดเร็วอันเป็นประโยชน์แก่ผู้คัดค้านที่ไม่จำต้องนำส่งหรือไปชำระภาษีดังกล่าวด้วยตนเองโดยผลักภาระให้ผู้ซื้อทรัพย์ไปชำระภาษีแล้วนำใบเสร็จรับเงินมาขอคืนเงินที่ชำระเป็นค่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากผู้คัดค้านเท่านั้น เมื่อผู้คัดค้านจำหน่ายทรัพย์ของจำเลยในคดีล้มละลายแล้ว ทรัพย์สินซึ่งเหลือจากที่กันไว้สำหรับค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ผู้คัดค้านต้องจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้โดยเร็วตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 124 ซึ่งผู้คัดค้านสามารถกันเงินในส่วนที่ผู้ซื้อทรัพย์จะมาขอรับเงินที่จ่ายเป็นค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืนได้ในชั้นทำบัญชีแสดงรายการรับ–จ่ายเงิน แล้วแจ้งให้ผู้ซื้อทรัพย์มารับเงินคืน หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่มารับเงินดังกล่าวคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ศาลสั่งปิดคดี เงินดังกล่าวก็จะตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 176 ผู้คัดค้านจะกำหนดเงื่อนไขหรือข้อตกลงในการขายทอดตลาดทรัพย์หรือหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์มารับเงินดังกล่าวคืนภายในกำหนดเวลาผิดแผกแตกต่างจากบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีจากการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทรัพย์สิน
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยในคดีล้มละลายเป็นเงินได้ของกองทรัพย์สินจำเลยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์และข้อตกลงในหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดเป็นผู้ชำระค่าภาษีต่างๆ แล้วนำใบเสร็จรับเงินมาขอรับเงินคืนภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์หรือภายใน 20 วัน นับแต่ชำระราคาครบถ้วน หากไม่มาขอคืนภายในกำหนดดังกล่าวถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ไม่ติดใจขอรับเงินดังกล่าวคืนนั้น เป็นเพียงเพื่อให้การจัดการทรัพย์สินของจำเลยดำเนินไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว เมื่อจำหน่ายทรัพย์สินแล้วทรัพย์สินซึ่งเหลือจากที่กันไว้สำหรับค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 124 การทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถกันเงินในส่วนที่ผู้ซื้อทรัพย์จะมาขอรับเงินที่จ่ายเป็นค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืนได้ แล้วแจ้งให้ผู้ซื้อทรัพย์ทราบ หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่มารับเงินดังกล่าวคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ศาลสั่งปิดคดีเงินดังกล่าวก็จะตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 176 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกำหนดเงื่อนไขหรือข้อตกลงในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์หรือหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์มารับเงินดังกล่าวคืนภายในกำหนดเวลาที่ผิดแผกแตกต่างจากบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการชำระหนี้เพื่อยกเลิกการล้มละลายของผู้มีส่วนได้เสีย
แม้คำร้องที่ผู้ร้องขอให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยอ้างว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้อายัดไว้มากกว่าหนี้ของเจ้าหนี้ที่เหลือหลายเท่าตัวผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องถูกเพิกถอนการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโอนกลับคืนเข้าไปเป็นกองทรัพย์สินของจำเลย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยได้ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องได้ขอวางเงินในจำนวนที่เพียงพอแก่การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รวมทั้งค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สิน และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตแล้ว การที่ผู้ร้องซึ่งต้องเสียสิทธิในที่ดินที่ได้รับซื้อฝากเพราะศาลฎีกาได้พิพากษาให้เพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 116 ให้กลับคืนสู่ฐานะเดิม ก็เพื่อให้ที่ดินเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา124 หากเจ้าหนี้ทั้งหลายได้รับชำระหนี้โดยครบถ้วนแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่มีความจำเป็นต้องรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยต่อไป ตลอดจนไม่ต้องเก็บรวบรวมที่ดินของผู้ร้องที่ถูกเพิกถอนนั้น ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียด้วยในการชำระหนี้จึงชอบที่จะเข้าชำระหนี้นั้นได้แม้จะเป็นการเข้าชำระหนี้โดยขืนใจจำเลยก็ตามตาม ป.พ.พ. มาตรา 314 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องเป็นผู้เข้าชำระหนี้ของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย รวมทั้งค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สิน ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะขอให้ศาลยกเลิกการล้มละลายของจำเลยเพราะเหตุที่หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 135 (3) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการชำระหนี้แทนบุคคลล้มละลายและการยกเลิกการล้มละลายเมื่อหนี้สินได้รับการชำระเต็มจำนวน
แม้คำร้องที่ผู้ร้องขอให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยอ้างว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่1ได้อายัดไว้มากกว่าหนี้ของเจ้าหนี้ที่เหลือหลายเท่าตัวผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องถูกเพิกถอนการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโอนกลับคืนเข้าไปเป็นกองทรัพย์สินของจำเลยผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยได้ก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นผู้ร้องได้ขอวางเงินในจำนวนที่เพียงพอแก่การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รวมทั้งค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วการที่ผู้ร้องซึ่งต้องเสียสิทธิในที่ดินที่ได้รับซื้อฝากเพราะศาลฎีกาได้พิพากษาให้เพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา116ให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมก็เพื่อให้ที่ดินเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อจัดการแบ่งในระหว่าง>เจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา124หากเจ้าหนี้ทั้งหลายได้รับชำระหนี้โดยครบถ้วนแล้วผู้คัดค้านที่1ก็ไม่มีความจำเป็นต้องรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยต่อไปตลอดจนไม่ต้องเก็บรวบรวมที่ดินของผู้ร้องที่ถูกเพิกถอนนั้นถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียด้วยในการชำระหนี้จึงชอบที่จะเข้าชำระหนี้นั้นได้แม้จะเป็นการเข้าชำระหนี้โดยขืนใจจำเลยก็ตามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา314วรรคสองเมื่อผู้ร้องเป็นผู้เข้าชำระหนี้ของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายรวมทั้งค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะขอให้ศาลยกเลิกการล้มละลายของจำเลยเพราะเหตุที่หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา135(3)ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6621/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เงินจากการขายทอดตลาดต้องส่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อแบ่งให้เจ้าหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดและขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยได้เงินจำนวน2,100,000บาทเมื่อวันที่27พฤษภาคม2534ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่22มิถุนายน2533การขายทอดตลาดดังกล่าวจึงเป็นการบังคับคดีในระหว่างที่จำเลยถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดซึ่งอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยเพื่อจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22,124เมื่อความปรากฏเช่นนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวมาเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายได้ตามมาตรา111ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินจากการขายทอดตลาดจึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ไว้ในฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยแต่โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยก็โดยยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27,91และมาตรา94เท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์อีกต่อไปดังนั้นเมื่อเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้รับชำระหนี้โดยเต็มจำนวนหมดแล้วเงินที่เหลืออยู่ย่อมต้องคืนให้แก่จำเลยในคดีล้มละลายต่อไปตามมาตรา132

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6621/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขัดแย้งกับคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดและขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยได้เงินจำนวน 2,100,000 บาท เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2534ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2533 การขายทอดตลาดดังกล่าวจึงเป็นการบังคับคดีในระหว่างที่จำเลยถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดซึ่งอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยเพื่อจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22,124 เมื่อความปรากฏเช่นนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวมาเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ได้ตามมาตรา 111 ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินจากการขายทอดตลาดจึงมิใช่เป็นการรับชำระหนี้ไว้ในฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย แต่โจทก์จะมีสิทธิ ได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยก็โดยยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27,91 และมาตรา 94เท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์อีกต่อไปดังนั้นเมื่อเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้รับชำระหนี้โดยเต็มจำนวนหมดแล้ว เงินที่เหลืออยู่ย่อมต้องคืนให้แก่จำเลยในคดีล้มละลายต่อไปตามมาตรา 132

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6621/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเจ้าหนี้และการจัดการทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดและขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยได้เงินจำนวน 2,100,000 บาทเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2534 ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2533 การขายทอดตลาดดังกล่าวจึงเป็นการบังคับคดีในระหว่างที่จำเลยถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดซึ่งอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยเพื่อจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22, 124 เมื่อความปรากฏเช่นนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวมาเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายได้ตามมาตรา 111 ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินจากการขายทอดตลาดจึงมิใช่เป็นการรับชำระหนี้ไว้ในฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
แม้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย แต่โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยก็โดยยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และมาตรา 94 เท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์อีกต่อไป ดังนั้นเมื่อเจ้าหนื้ที่ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้รับชำระหนี้โดยเต็มจำนวนหมดแล้ว เงินที่เหลืออยู่ย่อมค้องคืนให้แก่จำเลยในคดีล้มละลายต่อไปตามมาตรา 132

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6651/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการล้มละลายมีผลให้เจ้าหนี้หมดสิทธิเรียกร้องชำระหนี้ เนื่องจากจำเลยกลับสู่ฐานะเดิม
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายแล้ว คำสั่งนั้นมีผลทันที จำเลยย่อมหลุดพ้นการล้มละลาย หลุดพ้นคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดกลับคืนสู่ฐานะเดิม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยเพื่อแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22,124 ฎีกาของเจ้าหนี้ซึ่งโต้แย้งเกี่ยวกับการยื่นคำขอรับชำระหนี้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป ให้จำหน่ายคดีเจ้าหนี้เสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6651/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งยกเลิกการล้มละลายมีผลทันที เจ้าหนี้หมดสิทธิเรียกร้อง
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายแล้ว คำสั่งนั้นมีผลทันที จำเลยย่อมหลุดพ้นการล้มละลาย หลุดพ้นคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดกลับคืนสู่ฐานะเดิม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยเพื่อแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22, 124 ฎีกาของเจ้าหนี้ซึ่งโต้แย้งเกี่ยวกับการยื่นคำขอรับชำระหนี้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไปให้จำหน่ายคดีเจ้าหนี้เสียจากสารบบความ