พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9590/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องสถานะลูกจ้าง/ตัวแทน: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาจากสัญญาและพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยเจตนาที่แท้จริง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยให้การว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาตัวการตัวแทนขายประกัน ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จำเลยแถลงรับในรายงานกระบวนพิจารณาว่าโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตามสัญญาแต่งตั้งตัวแทน สาระสำคัญของนิติสัมพันธ์จึงต้องพิจารณาทั้งจากข้อความที่แถลงด้วยวาจาและข้อสัญญาที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรประกอบกัน หากขัดแย้งกันต้องพิจารณาถึงเจตนาที่แท้จริงเป็นสำคัญ ตามรายงานกระบวนพิจารณาจำเลยว่าจ้างโจทก์โดยอาศัยสาระสำคัญของข้อตกลงตามสัญญาแต่งตั้งตัวแทน ดังนั้นที่ศาลแรงงานภาค 4 พิจารณาข้อสัญญาตามสัญญาตั้งตัวแทนประกอบข้อเท็จจริงที่ได้จากคำเบิกความของพยานจึงไม่ขัดแย้งกับรายงานกระบวนพิจารณาที่บันทึกไว้
เป็นอำนาจของศาลแรงงานที่จะแสวงหาข้อเท็จจริงมาใช้พิจารณาพิพากษาคดีให้เกิดความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ที่ศาลแรงงานเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควรก็เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงและนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายโดยอาจนำ ป.วิ.พ. มาใช้โดยอนุโลม การนำ ป.วิ.พ. มาตรา 84 มาใช้โดยอนุโลมย่อมไม่เป็นการตัดอำนาจของศาลแรงงานที่จะใช้ดุลพินิจรับฟังพยานใดตามที่เห็นสมควรได้ ที่ศาลแรงงานภาค 4 รับฟังข้อเท็จจริงและพยานอื่นประกอบการวินิจฉัยประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่จึงไม่เป็นการสืบพยานนอกประเด็นและไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานโดยไม่ชอบ
เป็นอำนาจของศาลแรงงานที่จะแสวงหาข้อเท็จจริงมาใช้พิจารณาพิพากษาคดีให้เกิดความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ที่ศาลแรงงานเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควรก็เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงและนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายโดยอาจนำ ป.วิ.พ. มาใช้โดยอนุโลม การนำ ป.วิ.พ. มาตรา 84 มาใช้โดยอนุโลมย่อมไม่เป็นการตัดอำนาจของศาลแรงงานที่จะใช้ดุลพินิจรับฟังพยานใดตามที่เห็นสมควรได้ ที่ศาลแรงงานภาค 4 รับฟังข้อเท็จจริงและพยานอื่นประกอบการวินิจฉัยประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่จึงไม่เป็นการสืบพยานนอกประเด็นและไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานโดยไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7787/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารในคดีแรงงาน แม้ไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 หากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม และจำเลยไม่โต้แย้ง
แม้ศาลแรงงานภาค 7 จะวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.8 ถึง จ.12 ให้จำเลยที่ 2 ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 90 แต่เอกสารนั้นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีที่ทำให้แพ้ชนะคดีระหว่างคู่ความ และข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันนัดพิจารณาคดีทนายความจำเลยที่ 1 แถลงขอเลื่อนคดีเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารดังกล่าว ศาลแรงงานภาค 7 อนุญาตให้เลื่อนคดีไป ถึงวันนัดทนายความจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลแรงงานภาค 7 จึงมีอำนาจรับฟังเอกสารหมาย จ.8 ถึง จ.12 ได้ หากเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3003-3004/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง และอำนาจการสืบพยานของศาลแรงงาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่งและวรรคสอง บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยานเองไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลแรงงานเรียกมาตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเท่านั้น ดังนั้นการที่โจทก์ซักถามพยานได้ก็เนื่องจากโจทก์ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานภาค 2 นั่นเอง
โจทก์เป็นผู้ซักถามพยานโจทก์ด้วยตนเอง 6 ปาก แล้วตัวโจทก์เข้าเบิกความเป็นพยานปากสุดท้ายโดยศาลแรงงานภาค 2 เป็นผู้ซักถามโจทก์เอง เป็นกรณีศาลแรงงานภาค 2 อนุญาตให้โจทก์เข้าเบิกความเป็นพยานศาลได้โดยไม่ฟังว่าคำเบิกความของโจทก์ผิดระเบียบ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 114 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
โจทก์เป็นผู้ซักถามพยานโจทก์ด้วยตนเอง 6 ปาก แล้วตัวโจทก์เข้าเบิกความเป็นพยานปากสุดท้ายโดยศาลแรงงานภาค 2 เป็นผู้ซักถามโจทก์เอง เป็นกรณีศาลแรงงานภาค 2 อนุญาตให้โจทก์เข้าเบิกความเป็นพยานศาลได้โดยไม่ฟังว่าคำเบิกความของโจทก์ผิดระเบียบ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 114 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8077-8078/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการนำ ป.วิ.พ. มาอนุโลมใช้ในคดีแรงงาน และการรับฟังพยานนอกเหนือจากคำให้การเดิม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลแรงงานเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เอง และตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน (ฉบับที่ 3) ข้อ 6 ได้กำหนดวิธีการยื่นบัญชีระบุพยานของศาลแรงงานเป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) และมาตรา 88 มาอนุโลมใช้ในการดำเนินคดีแรงงาน ส่วนบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม ใช้บังคับแก่กรณีที่นายจ้างซึ่งเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง หากไม่ได้ระบุเหตุผลที่อ้างว่าลูกจ้างกระทำความผิดที่จะเป็นไปตามกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 119 (1) ถึง (6) ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างให้ลูกจ้างทราบแล้ว จะยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้เท่านั้น ไม่บังคับรวมถึงการนำพยานมาเบิกความในชั้นพิจารณาคดีที่จะเกินกว่าที่พยานนั้นเคยให้ถ้อยคำในชั้นสอบสวนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับพยานหลักฐานและการบังคับใช้สัญญาค้ำประกันในคดีแรงงาน
แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารรายงานการเก็บเงินจากต่างจังหวัดเป็นพยาน แต่โจทก์นำเอกสารดังกล่าวเข้าสืบประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ และศาลแรงงานกลางยอมให้โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าวและรับไว้เป็นพยาน ถือเป็นพยานที่ศาลแรงงานกลางเรียกมาสืบเพื่อความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง
เมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จะนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอน แก้ไขข้อความในเอกสารนั้นไม่ได้ แต่สำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงิน มิใช่พยานหลักฐานที่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีเอกสารมาแสดง จึงไม่ต้องห้ามที่จะนำพยานบุคคลมานำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร และการที่โจทก์เบิกความรับว่าสำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงินไม่มีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้า แม้จะเบิกความว่าตามปกติต้องมีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าอยู่ในสำเนา ก็ไม่ได้นำสืบว่ามีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าในเอกสาร จึงมิใช่การนำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร ไม่เป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)
สัญญาค้ำประกันระบุข้อความว่า "ผู้ค้ำประกันขอทำสัญญาฉบับนี้ไว้ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการค้ำประกันในความเสียหาย หรือความผิดใดที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นไม่ว่าโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายหรือต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดแก่บุคคล นิติบุคคลอื่น ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต" แม้ช่องว่างที่เว้นไว้หลังข้อความว่า ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ จะไม่ได้เขียนข้อความว่า โจทก์ แต่เมื่ออ่านข้อความตอนต้นว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เพื่อความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมหมายความได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ชำระค่าเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
เมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จะนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอน แก้ไขข้อความในเอกสารนั้นไม่ได้ แต่สำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงิน มิใช่พยานหลักฐานที่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีเอกสารมาแสดง จึงไม่ต้องห้ามที่จะนำพยานบุคคลมานำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร และการที่โจทก์เบิกความรับว่าสำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงินไม่มีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้า แม้จะเบิกความว่าตามปกติต้องมีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าอยู่ในสำเนา ก็ไม่ได้นำสืบว่ามีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าในเอกสาร จึงมิใช่การนำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร ไม่เป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)
สัญญาค้ำประกันระบุข้อความว่า "ผู้ค้ำประกันขอทำสัญญาฉบับนี้ไว้ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการค้ำประกันในความเสียหาย หรือความผิดใดที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นไม่ว่าโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายหรือต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดแก่บุคคล นิติบุคคลอื่น ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต" แม้ช่องว่างที่เว้นไว้หลังข้อความว่า ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ จะไม่ได้เขียนข้อความว่า โจทก์ แต่เมื่ออ่านข้อความตอนต้นว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เพื่อความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมหมายความได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ชำระค่าเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066-3189/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง: การลดชั่วโมงทำงาน และการรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติมในคดีแรงงาน
ระเบียบว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของจำเลยฉบับที่ถูกยกเลิกและฉบับใหม่ต่างก็กำหนดให้พนักงานอื่นนอกจากที่ได้ระบุไว้อันหมายถึงพนักงานฝ่ายบริการภาคพื้นซึ่งรวมโจทก์กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ตลอดมาตั้งแต่ปี 2521 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้จำเลยจะให้โจทก์กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง แต่จำเลยก็ไม่ได้ประกาศหรือออกระเบียบใหม่ให้ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง นับเป็นเรื่องที่จำเลยให้ประโยชน์แก่โจทก์กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 โดยให้ทำงานต่ำกว่าชั่วโมงทำงานที่กำหนดไว้ในสภาพการจ้าง จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ให้ประโยชน์นั้นต่อไปโดยให้โจทก์กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง เต็มตามสภาพการจ้างที่ได้กำหนดไว้ได้ ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
แม้จำเลยอ้างส่งเอกสารหมาย ล. 10 โดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่การที่ศาลแรงงานกลางรับเอกสารหมาย ล. 10 ไว้และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษาแสดงว่าศาลแรงงานกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟังเอกสารหมาย ล. 10 โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคหนึ่ง
แม้จำเลยอ้างส่งเอกสารหมาย ล. 10 โดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่การที่ศาลแรงงานกลางรับเอกสารหมาย ล. 10 ไว้และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษาแสดงว่าศาลแรงงานกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟังเอกสารหมาย ล. 10 โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9196-9215/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน: การนำสืบพยานและรับฟังหลักฐานที่ยืดหยุ่นกว่าคดีแพ่ง
ตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 บัญญัติให้ถือว่าคดีแรงงานมีลักษณะพิเศษกว่าคดีแพ่งทั่วไป โดยประสงค์จะให้ข้อพิพาทระงับไปด้วยความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง และมาตรา 39 วรรคหนึ่ง บัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบไว้ โดยศาลแรงงานจะระบุให้โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้โดยไม่คำนึงว่าฝ่ายนั้น ๆ จะมีภาระการพิสูจน์อย่างเช่นคดีแพ่งทั่วไป ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยเป็นฝ่ายนำพยานเข้าสืบก่อน และให้โจทก์นำพยานเข้าสืบในภายหลัง จึงชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้ว
ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร และให้ถือว่าเป็นพยานของศาลทั้งศาลแรงงานมีอำนาจซักถามพยานไม่ว่าพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเองหรือที่คู่ความอ้างก็ตาม และในการบันทึกคำเบิกความของพยาน ศาลแรงงานอาจจะบันทึกข้อความแต่โดยย่อก็ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 ประกอบ มาตรา 46 ซึ่งแตกต่างจากคดีแพ่งโดยทั่วไป การที่ศาลแรงงานกลางจดบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาตามที่โจทก์แถลงพร้อมทั้งแนบเอกสารเช่นใบเสร็จรับเงินเดือนและอื่น ๆ โดยทนายจำเลยตรวจดูแล้วไม่โต้แย้งคัดค้าน โจทก์ไม่สืบพยานและขอให้ศาลแรงงานกลางตัดสินคดีตามคำฟ้อง คำให้การและบันทึกรายการกับเอกสารที่โจทก์เสนอต่อศาล จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางรับบันทึกรายการต่าง ๆ ของโจทก์ที่ยื่นเสนอต่อศาลไว้เป็นพยานหลักฐานของศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่งแล้ว แม้ศาลแรงงานกลางจะบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาโดยให้ถือว่าบันทึกรายการดังกล่าวเป็นคำเบิกความของโจทก์ซึ่งเป็นการเกินเลยไปและไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม กรณีไม่อาจถือว่าการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นการขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร และให้ถือว่าเป็นพยานของศาลทั้งศาลแรงงานมีอำนาจซักถามพยานไม่ว่าพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเองหรือที่คู่ความอ้างก็ตาม และในการบันทึกคำเบิกความของพยาน ศาลแรงงานอาจจะบันทึกข้อความแต่โดยย่อก็ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 ประกอบ มาตรา 46 ซึ่งแตกต่างจากคดีแพ่งโดยทั่วไป การที่ศาลแรงงานกลางจดบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาตามที่โจทก์แถลงพร้อมทั้งแนบเอกสารเช่นใบเสร็จรับเงินเดือนและอื่น ๆ โดยทนายจำเลยตรวจดูแล้วไม่โต้แย้งคัดค้าน โจทก์ไม่สืบพยานและขอให้ศาลแรงงานกลางตัดสินคดีตามคำฟ้อง คำให้การและบันทึกรายการกับเอกสารที่โจทก์เสนอต่อศาล จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางรับบันทึกรายการต่าง ๆ ของโจทก์ที่ยื่นเสนอต่อศาลไว้เป็นพยานหลักฐานของศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่งแล้ว แม้ศาลแรงงานกลางจะบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาโดยให้ถือว่าบันทึกรายการดังกล่าวเป็นคำเบิกความของโจทก์ซึ่งเป็นการเกินเลยไปและไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม กรณีไม่อาจถือว่าการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นการขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐาน