คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 284

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำนวณจากจำนวนข้อหา, การร้องเรียนต่อผู้ว่าจ้างชอบธรรม, เบิกความไม่เป็นเท็จ ไม่เป็นการละเมิด
ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. เรื่อง ค่าขึ้นศาล ไม่ได้บัญญัติว่าคดีหนึ่งเสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้นในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ ดังนี้ การเรียกค่าขึ้นศาลจึงต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกัน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาข้อหาหนึ่ง และฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดอีกข้อหาหนึ่ง เป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 2 ข้อหาและแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้ง 2 ข้อหา
ปัญหาว่าการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งมอบลิฟต์และติดตั้งลิฟต์ให้แก่โจทก์ และตามสัญญาโจทก์มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 ได้ แต่โจทก์ไม่ได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยที่ 1 สิทธิตามสัญญาจึงเป็นอันระงับสิ้นไปนั้นเมื่อเป็นข้อที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลล่างจะต้องวินิจฉัยและประเด็นดังกล่าวไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การที่โจทก์อ้างว่าถูกยึดและอายัดทรัพย์ในคดีแพ่งเนื่องจากการเบิกความเท็จของจำเลยที่ 2 และการที่จำเลยทั้งสองร้องเรียนโจทก์ต่อส.ผู้ว่าจ้างโจทก์เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ และจำเลยทั้งสองสมคบกับ ย.หน่วงเหนี่ยวการทำงานของโจทก์ ทำให้โจทก์ทำงานไม่ทันตามกำหนดเวลาจนถูกส.บอกเลิกสัญญานั้น เมื่อปรากฏว่าก่อนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ และจำเลยที่ 2ได้เบิกความในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์โจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบลิฟต์และติดตั้งลิฟต์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายลิฟต์เรียบร้อยแล้ว และโจทก์ได้รับเงินจาก ส.ในงานส่วนติดตั้งลิฟต์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงได้ร้องเรียนต่อ ส. ส.ได้เรียกโจทก์และจำเลยที่ 1 ไปไกล่เกลี่ย โจทก์ตกลงจ่ายงินค่าลิฟต์ให้แก่จำเลยที่ 1 แต่ในที่สุดก็ไม่จ่าย ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนโจทก์ต่อ ส. จึงเป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่จะกระทำได้โดยชอบธรรม หาเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ไม่ และการที่จำเลยที่ 2 เบิกความในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ไปตามที่จำเลยที่ 2 รู้เห็นและเข้าใจ และหาเป็นความเท็จไม่ ส่วนคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ที่แม้เป็นการเบิกความลอย ๆ ไม่ยืนยันว่าเป็นผู้รู้เห็นในเรื่องการขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบริเวณก่อสร้าง แต่โจทก์ก็นำสืบรับว่าโจทก์ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบริเวณก่อสร้างจริง สำหรับในเรื่องเสนอขายเครื่องมือเครื่องจักร แก่ธนาคาร ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 อาจเข้าใจเอาเองเพราะเป็นข้อที่ทราบกันทั่วไป คำเบิกความของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นเท็จ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีค่าอุปการะเลี้ยงดูรายเดือน เจ้าพนักงานบังคับคดีมีสิทธิยึดเฉพาะงวดที่ถึงกำหนดชำระ
เมื่อตามคำพิพากษากำหนดให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู เป็นรายเดือนจำเลยจึงไม่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ทั้งหมดในทันที เพียงแต่ต้องชำระให้เฉพาะงวดที่ถึงกำหนดเท่านั้น ดังนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีสิทธิอายัดและยึดถือเงินบำเหน็จของ จำเลยในส่วนที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็ก: อายัดเงินบำเหน็จได้เฉพาะส่วนที่ถึงกำหนดชำระ
คำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้กำหนดให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย ส. ให้แก่โจทก์เดือนละ 1,500 บาท นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเป็นต้นไป จนกว่าเด็กชาย ส. จะบรรลุนิติภาวะ จำเลยจึงไม่จำต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กชายส.ให้แก่โจทก์ทั้งหมดในทันที แต่ต้องแบ่งชำระให้โจทก์เป็นงวดรายเดือนเฉพาะงวดที่ถึงกำหนดชำระ ดังนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีสิทธิอายัดเงินบำเหน็จของจำเลยมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้เพียงงวดที่ถึงกำหนดชำระแล้วเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5768/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: จำเลยไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นแล้วยื่นคำร้องใหม่ไม่ได้
ในชั้นบังคับคดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าการประมูลซื้อทรัพย์เป็นไปโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยประเด็นตามคำร้องของจำเลยแล้ว จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของจำเลยดังกล่าวใหม่ กรณีเช่นนี้หาได้มีบทกฎหมายรับรองให้จำเลยมีสิทธิจะกระทำได้ไม่ เพราะมิใช่การขาดนัดพิจารณาซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง,207 และ 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5768/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอให้พิจารณาคำร้องซ้ำ เมื่อศาลวินิจฉัยแล้วและมีสิทธิอุทธรณ์ได้
ในชั้นบังคับคดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าการประมูลซื้อทรัพย์เป็นไปโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยประเด็นตามคำร้องของจำเลยแล้วจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของจำเลยดังกล่าวใหม่ กรณีเช่นนี้หาได้มีบทกฎหมายรับรองให้จำเลยมีสิทธิจะกระทำได้ไม่ เพราะมิใช่การขาดนัดพิจารณาซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา197 วรรคสอง, 207 และ 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหนี้มรดก: ทายาทผู้รับมรดกมีหน้าที่ชำระหนี้ของกองมรดก แม้จะมีการยกทรัพย์สินให้ก่อนเสียชีวิต
พ.บิดาจำเลยเป็นหนี้กู้ยืมโจทก์ เมื่อ พ.ตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทจะต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ แต่ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกของ พ. ที่ตกทอดได้แก่จำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้หนี้ดังกล่าว ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่า จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่นาของ พ.ที่นำมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินโจทก์ ให้จำเลยใช้หนี้กู้ยืมแก่โจทก์ตามฟ้องจำเลยจึงเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้จำเลยจะอ้างว่ายึดทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้ก็แต่ในกรณีที่จำเลยไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับมรดกของ พ.เท่านั้น ดังนั้น แม้ พ.จะยกที่พิพาทอีก 2 แปลง ให้จำเลยก่อนตาย ซึ่งทำให้ไม่เป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ พ.ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ จำเลยและผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นสามีภรรยาและเป็นเจ้าของร่วมกันในที่พิพาทไม่อาจขอให้ปล่อยที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหนี้มรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ที่ทายาทได้รับเป็นมรดกเพื่อชำระหนี้
พ.บิดาจำเลยเป็นหนี้กู้ยืมโจทก์เมื่อพ.ตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทจะต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ แต่ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกของ พ. ที่ตกทอดได้แก่จำเลย โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้หนี้ดังกล่าว ศาลพิพากษาคดี ถึงที่สุดว่า จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่นาของ พ. ที่นำมาเป็นหลักประกัน การกู้ยืมเงินโจทก์ ให้จำเลยใช้หนี้กู้ยืมแก่โจทก์ตามฟ้อง จำเลย จึงเป็น ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อ จำเลย ไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดี ยึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้จำเลย จะ อ้างว่า ยึดทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้ก็แต่ในกรณีที่จำเลยไม่ได้เป็น ผู้ที่ได้รับมรดกของ พ.เท่านั้นดังนั้นแม้พ. จะยกที่พิพาทอีก 2 แปลง ให้จำเลยก่อนตาย ซึ่งทำให้ไม่เป็นทรัพย์สินในกองมรดก ของ พ.ก็ตามโจทก์ก็มีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ ได้จำเลยและผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นสามีภรรยาและเป็นเจ้าของ ร่วมกัน ในที่พิพาทไม่อาจขอให้ปล่อยที่พิพาทได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัว: ความรับผิดของลูกหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน แม้ชื่อสัญญาจะเป็นค้ำประกัน
แม้สัญญาระบุชื่อว่าสัญญาค้ำประกัน แต่ข้อความในสัญญามีว่าจำเลยที่ 3 จ้างโจทก์ประกันตัวจำเลยที่ 1 ไปจากศาลแล้วจำเลยที่ 3 จะปฏิบัติตามนัดทุกครั้ง โดยการมอบตัวจำเลยที่ 1 ณ สถานที่ส่งตัว ถ้าจำเลยที่ 3 ไม่สามารถส่งตัวจำเลยที่ 1 ได้เพราะจำเลยที่ 1 หลบหนีเป็นเหตุให้โจทก์ถูกปรับเป็นเงินมากน้อยเท่าใด จำเลยที่ 3 ยอมชดใช้เงินแทนโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้ เป็นสัญญาต่างตอบแทนธรรมดาที่ใช้บังคับกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ชำระหนี้คือส่งตัวจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยตรง หาใช่เป็นการผูกพันตนเข้าชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้อันเป็นการค้ำประกันไม่ ฉะนั้นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 ว่าไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689, 700 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในลักษณะ 11 เรื่องค้ำประกันจะนำมาใช้กับคดีนี้หาได้ไม่
จำเลยทั้งสามทำสัญญากับโจทก์ยอมชดใช้เงินค่าปรับที่โจทก์ต้องชำระต่อศาลฐานผิดสัญญาประกันรายเดียวกัน โดยจำเลยทั้งสามจะต้องชำระให้โจทก์สิ้นเชิง จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดชำระหนี้รายนี้
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วนั้น แม้โจทก์แก้ฎีกายอมรับว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วบางส่วนแต่ก็เป็นการได้รับชำระหนี้ชั้นบังคับคดี หาเป็นเหตุให้หนี้ที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามสัญญา ลดลงไม่ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเต็มจำนวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4531/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเกินจำนวนหนี้ เจ้าหนี้ต้องรับผิดค่าธรรมเนียมถอนการยึด
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 มาขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้เสมอ
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินของจำเลย ที่ 1 ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้มีราคาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษากว่าสิบเท่าเศษ โจทก์นำยึดทรัพย์สิน ของจำเลยที่ 1 มากเกินความจำเป็นจำเลยที่ 1 จึงย่อมมีอำนาจ ร้องขอให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 แต่พอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 วรรคแรก
โจทก์นำยึดทรัพย์สินเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดี ซึ่งมิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติเรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 284 วรรคสอง ชดใช้ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขาย หรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4531/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ยึดทรัพย์เกินจำเป็น เจ้าหนี้ต้องรับผิดค่าธรรมเนียม
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 มาขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้เสมอ
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินของจำเลยที่1ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้มีราคาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ ให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษากว่าสิบเท่าเศษ โจทก์นำยึดทรัพย์สิน ของจำเลยที่ 1 มากเกินความจำเป็นจำเลยที่ 1 จึงย่อมมีอำนาจ ร้องขอให้ ยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 แต่พอสมควรได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284วรรคแรก
โจทก์นำยึดทรัพย์สินเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดี ซึ่งมิใช่กรณี ที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติเรื่องการบังคับคดี ตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 284 วรรคสอง ชดใช้ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขาย หรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้
of 7