พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล, การรับรองพยาน, และการเปลี่ยนแปลงตั๋วสัญญาใช้เงินในคดีแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามความตกลงการขายลดตั๋วเงินกับโจทก์โดยกำหนดวงเงินสินเชื่อตามสัญญาซึ่งมีจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม โดยได้กล่าวถึงรายละเอียดของตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับว่า เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินเลขที่เท่าใด จำนวนเงินเท่าใด อัตราดอกเบี้ยเท่าใด ถึงกำหนดใช้เงินเมื่อใด ฉบับใดที่จำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินให้โจทก์บางส่วนแล้ว และจำเลยที่ 1 เริ่มผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดตั้งแต่เมื่อใด และเมื่อครบกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ชำระต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน คงค้างชำระต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่พิพาทเป็นเงินเท่าใด ซึ่งเป็นสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์แล้ว ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดที่จำเลยที่ 1 ใช้เงินแก่โจทก์แล้วหรือเมื่อถึงกำหนดใช้เงินแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ให้โจทก์แทนแล้วนั้นไม่จำต้องกล่าวในฟ้องอีก เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว นอกจากนี้จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องโจทก์เพียงฉบับเดียว ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินอีก 5 ฉบับ จำเลยไม่ปฏิเสธ แสดงว่าจำเลยทั้งสามเข้าใจฟ้องของโจทก์ดีแล้วไม่ได้หลงข้อต่อสู้ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา172 วรรคสอง จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงการขายลดตั๋วเงินและสัญญาวงเงินสินเชื่อกับโจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ในกรุงเทพมหานคร มูลคดีจึงเกิดในเขตอำนาจของศาลแพ่ง จำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่ง-ธนบุรี จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินที่จังหวัดระยองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1โจทก์จึงอาจยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามได้ที่ศาลแพ่งหรือศาลแพ่งธนบุรีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และถ้าถือว่าฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ตามที่จำเลยทั้งสามฎีกา โจทก์ก็อาจยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดระยองได้อีกศาลหนึ่ง เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้นขึ้นไป และคดีนี้เป็นเรื่องฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์โดยจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกันและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคำฟ้องที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งซึ่งมีเขตศาลดังที่กล่าวข้างต้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 5 ดังนี้ ศาลแพ่งไม่จำต้องใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็มีอำนาจรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาได้
เอกสารหมาย จ.34 เป็นใบแจ้งหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน5 ฉบับเดิม โดยหักจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนออกแล้วการที่จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมาย จ.14 มอบแก่โจทก์โดยระบุจำนวนเงินเท่ากับยอดหนี้ในเอกสารหมาย จ.34 ให้โจทก์ไว้ จึงถือได้ว่าเป็นการออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์เพื่อชำระหนี้แทนตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมที่ถึงกำหนดใช้เงินแล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้รับเงินจากโจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมายจ.14 ตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมาย จ.14 ก็มีมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน5 ฉบับเดิม และแม้โจทก์จะไม่มีหลักฐานการคืนตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมแก่จำเลยที่ 1 มาแสดง พยานหลักฐานโจทก์ก็รับฟังได้ และเมื่อจำเลยที่ 1ต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.14 แก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่อาจนำตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมมาฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 อีก
นับตั้งแต่วันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกถึงวันนัดครั้งสุดท้ายเป็นเวลา 7 เดือนเศษ พยานจำเลยทั้งสามมีจำเลยที่ 2 เบิกความเพียงปากเดียวยังไม่สิ้นกระแสความ ส่วนจำเลยที่ 3 ยังไม่ได้เข้าเบิกความเพราะจำเลยที่ 2และที่ 3 ต่างขอเลื่อนคดี อ้างเหตุเจ็บป่วยบ้าง มีธุรกิจต้องเดินทางไปต่างประเทศบ้าง และเปลี่ยนทนายจำเลยบ้าง หลายครั้งหลายหน ทั้ง ๆ ที่ทนายจำเลยทั้งสามได้ให้คำรับรองต่อศาลว่าจะนำพยานมาสืบให้เสร็จ หากไม่มีพยานมาศาลไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ การขอเลื่อนคดีของจำเลยทั้งสามมีพฤติการณ์ประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีอีก และถือว่าหมดพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
ในระหว่างพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นโจทก์ได้ร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามฉ้อโกงโจทก์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการพิจารณาสำนวนสอบสวนแล้วมีคำสั่งไม่ฟ้อง แต่เมื่อคดีนี้ไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาและข้อเท็จจริงตามสำนวนสอบสวนก็ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความในชั้นศาลปัญหาว่าจำเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด ย่อมอาศัยข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยทั้งสามนำสืบในคดีนี้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงในสำนวนสอบสวนคดีอาญา การที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมอ้างผลคดีอาญาในสำนวนการสอบสวนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงการขายลดตั๋วเงินและสัญญาวงเงินสินเชื่อกับโจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ในกรุงเทพมหานคร มูลคดีจึงเกิดในเขตอำนาจของศาลแพ่ง จำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่ง-ธนบุรี จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินที่จังหวัดระยองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1โจทก์จึงอาจยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามได้ที่ศาลแพ่งหรือศาลแพ่งธนบุรีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และถ้าถือว่าฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ตามที่จำเลยทั้งสามฎีกา โจทก์ก็อาจยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดระยองได้อีกศาลหนึ่ง เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้นขึ้นไป และคดีนี้เป็นเรื่องฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์โดยจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกันและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคำฟ้องที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งซึ่งมีเขตศาลดังที่กล่าวข้างต้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 5 ดังนี้ ศาลแพ่งไม่จำต้องใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็มีอำนาจรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาได้
เอกสารหมาย จ.34 เป็นใบแจ้งหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน5 ฉบับเดิม โดยหักจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนออกแล้วการที่จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมาย จ.14 มอบแก่โจทก์โดยระบุจำนวนเงินเท่ากับยอดหนี้ในเอกสารหมาย จ.34 ให้โจทก์ไว้ จึงถือได้ว่าเป็นการออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์เพื่อชำระหนี้แทนตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมที่ถึงกำหนดใช้เงินแล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้รับเงินจากโจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมายจ.14 ตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมาย จ.14 ก็มีมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน5 ฉบับเดิม และแม้โจทก์จะไม่มีหลักฐานการคืนตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมแก่จำเลยที่ 1 มาแสดง พยานหลักฐานโจทก์ก็รับฟังได้ และเมื่อจำเลยที่ 1ต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.14 แก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่อาจนำตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมมาฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 อีก
นับตั้งแต่วันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกถึงวันนัดครั้งสุดท้ายเป็นเวลา 7 เดือนเศษ พยานจำเลยทั้งสามมีจำเลยที่ 2 เบิกความเพียงปากเดียวยังไม่สิ้นกระแสความ ส่วนจำเลยที่ 3 ยังไม่ได้เข้าเบิกความเพราะจำเลยที่ 2และที่ 3 ต่างขอเลื่อนคดี อ้างเหตุเจ็บป่วยบ้าง มีธุรกิจต้องเดินทางไปต่างประเทศบ้าง และเปลี่ยนทนายจำเลยบ้าง หลายครั้งหลายหน ทั้ง ๆ ที่ทนายจำเลยทั้งสามได้ให้คำรับรองต่อศาลว่าจะนำพยานมาสืบให้เสร็จ หากไม่มีพยานมาศาลไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ การขอเลื่อนคดีของจำเลยทั้งสามมีพฤติการณ์ประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีอีก และถือว่าหมดพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
ในระหว่างพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นโจทก์ได้ร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามฉ้อโกงโจทก์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการพิจารณาสำนวนสอบสวนแล้วมีคำสั่งไม่ฟ้อง แต่เมื่อคดีนี้ไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาและข้อเท็จจริงตามสำนวนสอบสวนก็ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความในชั้นศาลปัญหาว่าจำเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด ย่อมอาศัยข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยทั้งสามนำสืบในคดีนี้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงในสำนวนสอบสวนคดีอาญา การที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมอ้างผลคดีอาญาในสำนวนการสอบสวนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน: นับจากวันตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน หรือวันที่โจทก์รับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
แม้พิจารณาตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมายจ.8จ.9จ.11ถึงจ.17และจ.41ซึ่งถึงกำหนดใช้เงินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2531ถึงเดือนพฤษภาคม2531เป็นหลักและโจทก์ผู้รับเงินซึ่งนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายลดแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ชำระเงินคืนแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนกำหนดเมื่อวันที่9กุมภาพันธ์2531และโจทก์ไปขอรับชำระหนี้ในคดีที่บริษัทผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินถูกฟ้องล้มละลายเมื่อวันที่27ตุลาคม2531ก็ตามอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14(3)ซึ่งเป็นระยะเวลา8เดือนเศษกรณีระหว่างโจทก์กับบริษัทเป็นเรื่องระหว่างผู้ออกตั๋วกับผู้รับเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา982อายุความฟ้องบริษัทคือมาตรา1001ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลา3ปีนับแต่วันตั๋วนั้นถึงกำหนดใช้เงินอันมีผลไปถึงผู้ค้ำประกันด้วยและแม้โจทก์จะสลักหลังตั๋วนำไปขายลดแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยและโจทก์ใช้เงินคืนแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมรับตั๋วคืนมาถึงวันที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเกินกว่า6เดือนก็ตามก็เป็นกรณีที่โจทก์ปฏิบัติตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งสินค้าออก(ฉบับที่2)พ.ศ.2529อันเป็นการอนุเคราะห์ผู้ส่งออกให้ได้รับเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียงร้อยละ7ต่อปีตามที่ปรากฏในตั๋วสัญญาใช้เงินโจทก์ไม่ใช่ผู้สลักหลังผู้เข้าถือเอาตั๋วสัญญาใช้เงินและใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1003ซึ่งมีอายุความ6เดือนคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องตั๋วสัญญาใช้เงินและการสะดุดหยุดของอายุความในคดีล้มละลาย
แม้พิจารณาตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.8 จ.9 จ.11ถึง จ.17 และ จ.41 ซึ่งถึงกำหนดใช้เงินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2531 ถึงเดือนพฤษภาคม 2531 เป็นหลัก และโจทก์ผู้รับเงินซึ่งนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายลดแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ชำระเงินคืนแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนกำหนดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2531 และโจทก์ไปขอรับชำระหนี้ในคดีที่บริษัทผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินถูกฟ้องล้มละลายเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2531 ก็ตาม อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (3) ซึ่งเป็นระยะเวลา 8 เดือนเศษกรณีระหว่างโจทก์กับบริษัทเป็นเรื่องระหว่างผู้ออกตั๋วกับผู้รับเงิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 982 อายุความฟ้องบริษัทคือมาตรา 1001 ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลา3 ปี นับแต่วันตั๋วนั้นถึงกำหนดใช้เงิน อันมีผลไปถึงผู้ค้ำประกันด้วย และแม้โจทก์จะสลักหลังตั๋วนำไปขายลดแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย และโจทก์ใช้เงินคืนแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมรับตั๋วคืนมาถึงวันที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเกินกว่า 6 เดือนก็ตาม ก็เป็นกรณีที่โจทก์ปฏิบัติตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งสินค้าออก (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2529อันเป็นการอนุเคราะห์ผู้ส่งออกให้ได้รับเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียงร้อยละ 7 ต่อปีตามที่ปรากฏในตั๋วสัญญาใช้เงิน โจทก์ไม่ใช่ผู้สลักหลังผู้เข้าถือเอาตั๋วสัญญาใช้เงินและใช้เงิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1003 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7582/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะนิติกรรมกู้ยืมเงินผ่านตัวกลางเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดทางกฎหมายบริษัทเงินทุน ผู้รับเงินต้องคืน
จำเลยที่1ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ไม่สามารถให้บริษัทภ.กู้ยืมเงินได้อีกเพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟ้องซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา35แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา8แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522พ.ศ.2526แต่จำเลยที่1และบริษัทภ.กลับหลีกเลี่ยงโดยให้ผู้คัดค้านทั้งแปดเป็นตัวกลางกู้ยืมเงินจากจำเลยที่1แล้วนำเงินไปให้บริษัทภ.กู้ยืมต่ออีกทอดหนึ่งโดยวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อนด้วยการอาวัลและออกตั๋วสัญญาใช้เงินกล่าวคือให้ผู้คัดค้านทั้งแปดออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามจำนวนเงินที่กู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่จำเลยที่1และบริษัทก.ออกตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่จำนวนเงินและวันถึงกำหนดใช้เงินตรงกันและดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ1ให้ผู้คัดค้านทั้งแปดแล้วจำเลยที่1ตกลงยอมรับชำระหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านทั้งแปดด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ. ซึ่งผู้คัดค้านทั้งแปดสลักหลังให้โดยจำเลยที่1ตกลงยอมสละสิทธิที่จะเรียกร้องเงินใดๆจากผู้คัดค้านทั้งแปดแม้จะเรียกเก็บเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัทภ.ไม่ได้เฉพาะตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.ที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านที่1จำเลยที่1ยินยอมตนเข้าผูกพันอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นเช่นนี้ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่1และผู้คัดค้านทั้งแปดจะมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือให้บริษัทภ.ได้ผู้ยืมเงินจากจำเลยที่1ได้อีกซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ฝ่าฝืนต้องห้ามชัดแจ้งโดยพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา35ที่แก้ไขใหม่อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการกระทำทั้งหลายของจำเลยที่1ผู้คัดค้านทั้งแปดและบริษัทภ.จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150นิติกรรมที่จำเลยที่1อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.ต่อผู้คัดค้านที่1และที่จำเลยที่1ทำข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องใดๆให้ผู้คัดค้านที่2ถึงที่8ซึ่งสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.หลุดพ้นจากการชำระหนี้ย่อมไม่มีผลบังคับซึ่งไม่จำต้องเพิกถอนและต้องถือว่าบริษัทภ.เป็นบุคคลที่ได้รับเงินของจำเลยที่1ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางทำให้จำเลยที่1เสียเปรียบซึ่งมีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นแก่จำเลยที่1หาใช้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งแปดที่จะต้องคืนแก่จำเลยที่1แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7582/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงกฎหมายธุรกิจเงินทุนโดยใช้ตัวกลางและอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินทำให้โมฆะ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ไม่สามารถให้บริษัท ภ.กู้ยืมเงินได้อีกเพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522มาตรา 35 แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 พ.ศ.2526 แต่จำเลยที่ 1 และบริษัท ภ.กลับหลีกเลี่ยงโดยให้ผู้คัดค้านทั้งแปดเป็นตัวกลางกู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 แล้วนำเงินไปให้บริษัท ภ.กู้ยืมต่ออีกทอดหนึ่ง โดยวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อนด้วยการอาวัลและออกตั๋วสัญญาใช้เงิน กล่าวคือให้ผู้คัดค้านทั้งแปดออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามจำนวนเงินที่กู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่จำเลยที่ 1 และบริษัท ภ.ออกตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ จำนวนเงินและวันถึงกำหนดใช้เงินตรงกัน และดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ 1 ให้ผู้คัดค้านทั้งแปด แล้วจำเลยที่ 1 ตกลงยอมรับชำระหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านทั้งแปดด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ. ซึ่งผู้คัดค้านทั้งแปดสลักหลังให้โดยจำเลยที่ 1 ตกลงยอมสละสิทธิที่จะเรียกร้องเงินใด ๆ จากผู้คัดค้านทั้งแปด แม้จะเรียกเก็บเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัท ภ.ไม่ได้ เฉพาะตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.ที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1จำเลยที่ 1 ยินยอมตนเข้าผูกพันอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น เช่นนี้ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านทั้งแปดจะมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือให้บริษัทภ.ได้ผู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 ได้อีก ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ฝ่าฝืนต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 35 ที่แก้ไขใหม่ อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การกระทำทั้งหลายของจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านทั้งแปดและบริษัท ภ.จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 นิติกรรมที่จำเลยที่ 1 อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.ต่อผู้คัดค้านที่ 1 และที่จำเลยที่ 1 ทำข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องใด ๆให้ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.หลุดพ้นจากการชำระหนี้ย่อมไม่มีผลบังคับซึ่งไม่จำต้องเพิกถอน และต้องถือว่าบริษัท ภ.เป็นบุคคลที่ได้รับเงินของจำเลยที่ 1 ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางทำให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ ซึ่งมีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นแก่จำเลยที่ 1 หาใช่เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งแปดที่จะต้องคืนแก่จำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน การให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม และการวินิจฉัยนอกประเด็น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 985 วรรคแรก มิได้บัญญัติให้นำมาตรา 928 ซึ่งอยู่ในเรื่องการรับรองตั๋วแลกเงินมาใช้บังคับในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินด้วย จะนำมาตรา 928 ใช้บังคับแก่ตั๋วสัญญาใช้เงินได้เพียงกรณีเดียว คือ กรณีตามมาตรา 986 วรรคสองซึ่งบัญญัติไว้ว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็นตามมาตรา 913(4) ผู้ทรงจะต้องนำยื่นให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้เพื่อรับรองการจ่ายเงินภายในเวลาดังกำหนดไว้ในมาตรา 928 แต่เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามตามมาตรา 913(3) ตอนต้น บทบัญญัติว่าด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีบทบัญญัติบังคับไว้อย่างกรณีตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ภายหลังได้เห็น จึงต้องถือว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามมีความหมายและผลบังคับต่างกับตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้เห็นฉะนั้น โจทก์ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 วรรคแรก ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว ดังนั้นหากคดีฟังได้ว่า โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทและจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลใช้เงินตามตั๋วแล้วจำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดใช้เงินได้ บทกฎหมายเกี่ยวกับอายุความเป็นบทตัดสิทธิของเจ้าหนี้จึงต้องแปลโดยเคร่งครัด เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001บัญญัติว่า ในคดีฟ้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้น ๆ ถึงกำหนดใช้เงินเช่นนี้จะแปลว่ากำหนดสามปีต้องนับแต่วันที่ออกตั๋วนั้นไม่ได้ เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม วันที่โจทก์ทวงถาม จำเลยทั้งสองให้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคือวันที่4 กันยายน 2528 จึงเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินเพราะก่อนวันที่โจทก์ทวงถามจำเลยทั้งสองยังไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท เพียงแต่ว่าโจทก์มีสิทธิจะเรียกร้องทวงถามให้ใช้เงินได้ทันทีและจำเลยทั้งสองก็มีสิทธิจะชำระเงินได้ทันทีโดยโจทก์ไม่ต้องทวงถามเท่านั้นตามหลักทั่วไปในมาตรา 203 และเมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันอาทิตย์ที่4 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยตามมาตรา 161 เดิม โจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 5 กันยายน 2531จึงยังไม่พ้นเวลาสามปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีโดยมิได้ยกประเด็นว่าตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีมูลหนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ และศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้ การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไม่มีมูลหนี้จึงถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วสัญญาใช้เงินชำระหนี้เดิมเป็นหนี้ใหม่ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากเงินต้น
แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาทจะออกเพื่อชำระดอกเบี้ยของหนี้เดิมที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ก่อนก็ตาม เมื่อจำเลยได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้นั้น จำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงกลายเป็นหนี้ใหม่และเป็นต้นเงินไปเสียแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากเงินจำนวนหนี้ หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่สร้างหนี้ใหม่ได้ แม้เป็นดอกเบี้ยหนี้เดิม
แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาทจะออกเพื่อชำระดอกเบี้ยของหนี้เดิมที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ก่อนก็ตาม เมื่อจำเลยได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้นั้น จำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงกลายเป็นหนี้ใหม่ และเป็นต้นเงินไปเสียแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากเงินจำนวนนี้ หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันตั๋วสัญญาใช้เงิน: เจตนาค้ำประกันทุกฉบับ แม้ไม่มีระบุระยะเวลา
การที่จำเลยที่ 1 นำตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่มาเปลี่ยนกับตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรกที่จำเลยที่ 1 ออกให้ไว้แก่โจทก์นั้นไม่ใช่การชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรก หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรกยังไม่ระงับเพราะยังไม่มีการชำระเงินเพียงแต่เปลี่ยนไปผูกพันกันตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่เท่านั้น จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ออกไว้ให้แก่โจทก์ในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาทโดยไม่ระบุว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดและไม่ได้ระบุระยะเวลาไว้ และยังตกลงยินยอมให้หนังสือสัญญาค้ำประกันมีผลใช้บังคับได้ตลอดไป จนกว่าธนาคารจะบอกเลิกเพิกถอนการอำนวยสินเชื่อ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 เจตนาค้ำประกันหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่จำกัดจำนวนฉบับและไม่จำกัดระยะเวลาตลอดไปภายในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับสุดท้ายที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน การขยายเวลาผ่อนผันหนี้ ทำให้จำเลยยังคงมีภาระผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ได้เข้าอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัท ว. ออกให้แก่บริษัท ท. โดยจำเลยในฐานะผู้จัดการของบริษัท ว. ได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ว่า หากโจทก์ได้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว จำเลยยอมชดใช้เงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ต่อมาเมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด บริษัท ว. ขอยืดเวลาการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาต่อบริษัท ท. ผู้ทรงออกไปรวม 2 ครั้งโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ใหม่ทั้งสองครั้ง โจทก์ได้เข้าอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับนั้นตามคำขอร้อง ของ บริษัท ว.ครั้นตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับหลังสุดถึงกำหนด โจทก์ได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่บริษัท ท. ตามที่ได้รับการทวงถามดังนี้ เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับที่ออกใหม่มีมูลหนี้มาจากตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรก และตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์มีใจความว่า จำเลยยอมรับผิดชดใช้เงินที่โจทก์จ่ายไปในการที่โจทก์อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ว. ในวงเงินที่กำหนดเท่านั้น หาได้ระบุวันออกตั๋วและวันถึงกำหนดใช้เงินไว้ไม่ อีกทั้งสัญญาค้ำประกันก็ระบุว่าหากโจทก์ผ่อนผันเวลาการชำระหนี้ให้แก่ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยตกลงด้วยในการผ่อนผันเวลาทุกครั้ง โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในการที่โจทก์เข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับหลังสุดด้วย.