พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการส่งเอกสารตรวจพิสูจน์และการใช้ดุลพินิจของศาลในการพิจารณาคำร้อง
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 3 และคำร้องขอส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์ก่อนแถลงหมดพยาน จำเลยดังกล่าวย่อมมีสิทธิทำได้เพราะในส่วนของการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถยื่นได้ก่อนฝ่ายจำเลยจะสืบพยานเสร็จ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยดังกล่าวยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 3 จึงชอบแล้ว แต่การขอส่งพยานเอกสารดังกล่าวไปตรวจพิสูจน์เป็นคนละส่วนที่สามารถแยกพิจารณาจากกันได้ ทั้งผลการตรวจพิสูจน์เป็นเพียงความเห็นของผู้ตรวจพิสูจน์ที่ศาลต้องใช้ดุลพินิจในการรับฟังว่าสมควรเชื่อหรือไม่เพียงใด หาใช่บังคับให้ศาลต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามผลการตรวจพิสูจน์ จึงเป็นดุลพินิจศาลในการจะอนุญาตให้ส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์ตามคำร้องขอของคู่ความโดยพิจารณาว่าจะเป็นประโยชน์แก่คดีหรือไม่เพียงใด และต้องพิจารณาความเหมาะสมโดยคำนึงถึงคู่ความทุกฝ่ายด้วย หาใช่พิจารณาความต้องการของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เอกสารปลอมและผลต่อการกู้ยืมเงิน สัญญาที่ไม่สมบูรณ์ทำให้สิทธิเรียกร้องตกไป
เมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้ว โจทก์แถลง ขอส่งสัญญากู้เงินเอกสารฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าข้อความหมึกสีดำกับข้อความหมึกสีน้ำเงิน เป็นลายมือของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต พันตำรวจโทก. ผู้เชี่ยวชาญ ของ ศาล ได้ ตรวจ พิจารณา แล้ว ลงความเห็นว่า ไม่ใช่ ลายมือ ของ บุคคล คนเดียวกัน การ ที่ ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ มี การ ตรวจ พิสูจน์ เอกสาร โดย ผู้เชี่ยวชาญ ตาม ความประสงค์ ของ โจทก์ และ ผู้เชี่ยวชาญ ของ ศาล ได้ ตรวจ และ ทำ ความเห็น โดย ละเอียด ชัดแจ้ง แล้ว เพียงแต่ ผู้เชี่ยวชาญ แสดงความเห็น ไม่ สม ความประสงค์ ของ โจทก์ ย่อม ไม่ เป็น เหตุ พอ ที่ จะ ให้ ผู้เชี่ยวชาญ อื่น ตรวจ พิสูจน์ เอกสาร อีก เพราะ เป็น การ ตรวจ พิสูจน์ ซ้ำ ไม่มี ผล เปลี่ยนแปลง จาก เดิม เป็นการฟุ่มเฟือย และ ประวิง คดี ให้ ล่าช้า จึงชอบ ที่ ศาล จะ มี คำสั่งยกคำร้อง ของ โจทก์ ที่ ขอ ให้ ส่ง เอกสาร ไปให้ ผู้เชี่ยวชาญ อื่นตรวจ พิสูจน์ ใหม่ ดังกล่าว จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อ ในสัญญากู้ฉบับพิพาทในช่องผู้กู้และเขียนข้อความอื่นซึ่ง เขียนด้วยหมึกสีดำส่วนจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินจำเลยไม่ได้เขียนแต่มีการกรอกข้อความที่ระบุจำนวนเงินเป็น 250,000 บาทกำหนดเวลาใช้คืน และดอกเบี้ย ซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินเพิ่มเติมขึ้นโดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินฉบับพิพาทจึงเป็นเอกสารปลอมถือว่าการกู้ยืมเงินคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจพิสูจน์เอกสารและการพิสูจน์การกู้ยืมเงินในสัญญาที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
เมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้ว โจทก์แถลงขอส่งสัญญากู้เงินเอกสารฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าข้อความหมึกสีดำกับข้อความหมึกสีน้ำเงินเป็นลายมือของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต พันตำรวจโท ก. ผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจพิจารณาแล้วลงความเห็นว่า ไม่ใช่ลายมือของบุคคลคนเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้มีการตรวจพิสูจน์เอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญตามความประสงค์ของโจทก์ และผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจและทำความเห็นโดยละเอียดชัดแจ้งแล้ว เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นไม่สมความประสงค์ของโจทก์ ย่อมไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์เอกสารอีกเพราะเป็นการตรวจพิสูจน์ซ้ำ จึงไม่น่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากเดิม เป็นการฟุ่มเฟือย และประวิงคดีให้ล่าช้า จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์ใหม่อีก
จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ฉบับพิพาทในช่องผู้กู้และเขียนข้อความอื่นซึ่งเขียนด้วยหมึกสีดำส่วนจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินจำเลยไม่ได้เขียน แต่มีการกรอกข้อความที่ระบุจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืน และดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินซึ่งจำนวนเงินเกินไปจากความจริง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินฉบับพิพาทจึงเป็นเอกสารปลอม ถือว่าการกู้ยืมเงินคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์ได้
จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ฉบับพิพาทในช่องผู้กู้และเขียนข้อความอื่นซึ่งเขียนด้วยหมึกสีดำส่วนจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินจำเลยไม่ได้เขียน แต่มีการกรอกข้อความที่ระบุจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืน และดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินซึ่งจำนวนเงินเกินไปจากความจริง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินฉบับพิพาทจึงเป็นเอกสารปลอม ถือว่าการกู้ยืมเงินคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เอกสารและการกู้ยืมเงินที่เป็นเอกสารปลอม ศาลพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
เมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้วโจทก์แถลงขอส่งสัญญากู้เงินเอกสารฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าข้อความหมึกสีดำกับข้อความหมึกสีน้ำเงินเป็นลายมือของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต พันตำรวจโทก. ผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจพิจารณาแล้วลงความเห็นว่า ไม่ใช่ลายมือของบุคคลคนเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้มีการตรวจพิสูจน์เอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญตามความประสงค์ของโจทก์ และผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจและทำความเห็นโดยละเอียดชัดแจ้งแล้ว เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นไม่สมความประสงค์ของโจทก์ ย่อมไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์เอกสารอีกเพราะเป็นการตรวจพิสูจน์ซ้ำจึงไม่น่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากเดิม เป็นการฟุ่มเฟือย และประวิงคดีให้ล่าช้า จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์ใหม่อีก จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อ ในสัญญากู้ฉบับพิพาทในช่องผู้กู้และเขียนข้อความอื่นซึ่งเขียนด้วยหมึกสีดำส่วนจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินจำเลยไม่ได้เขียนแต่มีการกรอกข้อความที่ระบุจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินซึ่งจำนวนเงินเกินไปจากความจริง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินฉบับพิพาทจึงเป็นเอกสารปลอม ถือว่าการกู้ยืมเงินคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6228/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาซื้อขายเนื่องจากจำเลยปกปิดข้อบกพร่องของทรัพย์ที่ขัดขวางการใช้ประโยชน์ได้
ศาลมีอำนาจที่วินิจฉัยว่าลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่โดยไม่จำต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์และไม่จำเป็นที่ผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อในวันที่ลงในหนังสือมอบอำนาจอาจมีการลงลายมือชื่อไว้ก่อนได้และแม้ขณะลงลายมือชื่อดังกล่าวจะมิได้กรอกข้อความให้ครบถ้วนแต่เมื่อได้กรอกข้อความให้ครบถ้วนก่อนฟ้องคดีตรงตามความประสงค์ของผู้มอบอำนาจแล้วย่อมเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ใช้ได้ โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินและอาคารจากจำเลยเพื่อดำเนินกิจการโรงแรมแต่จำเลยไม่ได้บอกให้โจทก์ทราบถึงคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนส่วนที่ผิดแบบออกไปทำให้โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์อันเป็นสาระสำคัญเป็นเหตุให้สัญญาจะซื้อขายเป็นโมฆียะโจทก์ขึงมีสิทธิบอกล้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตรวจพิสูจน์เอกสาร: ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจแบ่งความรับผิดค่าธรรมเนียม แม้ไม่ได้กำหนดในตารางค่าฤชาธรรมเนียม
กรณีที่ต้องนำสืบความเห็นผู้เชี่ยวชาญ เมื่อจำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์เอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญไปเท่าใด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรับผิดในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ เพราะเป็นค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1219(2)แม้จะมิได้กำหนดไว้ในตาราง 1 ถึง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่ก็ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมอื่นที่กฎหมายบังคับให้ต้องเสียตามมาตรา 161 วรรคสอง จำเลยขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อว่า เป็นลายมือชื่อของคนคนเดียวกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์ดังจำเลยแถลงไว้ ถือว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 แล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลอุทธรณ์ก็มี อำนาจที่จะสั่งแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียมส่วนใดส่วนหนึ่งได้ถ้าหากเห็นเป็นการสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคแรกและมาตรา 167 วรรคแรก การที่ศาลอุทธรณ์ให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมของผู้เชี่ยวชาญจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ลายมือชื่อในพินัยกรรม: ศาลพิจารณาจากหลักวิชาการและลักษณะลายมือชื่อเพื่อวินิจฉัยความถูกต้องของพินัยกรรม
การที่ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมแล้วลงความเห็นว่า ลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของส. นั้น เป็นการแสดงความเห็นตามหลักวิชาการ หาได้รับฟังถ้อยคำจากบุคคลใดมากล่าว ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจึงมิใช่พยานบอกเล่าแต่ศาลก็มิได้รับฟังคำเบิกความของผู้เชี่ยวชาญเป็นหลักในการวินิจฉัยเสมอไป หากแต่รับฟังประกอบดุลพินิจของศาลเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์การกู้ยืมเงินจากลายมือชื่อและพยานหลักฐานประกอบอื่น การปิดอากรแสตมป์
ศาลฎีกาเปรียบเทียบลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสัญญากู้กับลายมือชื่อของจำเลยที่เคยลงไว้ในสมุด จ่ายเงินเดือน เงินค่าครองชีพ สมุด รายงาน เงินคงเหลือประจำวัน รวมทั้งจดหมายที่จำเลยอ้างความจำเป็นในการขอกู้ยืมเงินจากโจทก์แล้ว เห็นได้ด้วยตาเปล่าว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน เชื่อ ว่าเป็นลายมือเขียนของบุคคลเดียวกัน โจทก์มีฐานะดีกว่าจำเลย เป็นครูโรงเรียนเดียวกัน ไม่มีเหตุผลใด ที่จะปลอมสัญญากู้ขึ้นมาฟ้องจำเลยด้วยเงินไม่กี่หมื่นบาทอันเป็นการเสี่ยงต่ออาญาบ้านเมืองและถูกไล่ออกจากราชการ ส่วนเอกสารที่จำเลยอ้างว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยที่แท้จริงก็มีรอยขูดลบแล้วลงลายมือชื่อใหม่ มีลักษณะผิดเพี้ยนอันเป็นการผิดปกติรับฟังไม่ได้ พยานหลักฐานจากโจทก์มีน้ำหนักดีกว่าเชื่อ ว่าโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปตามฟ้องจริง สัญญากู้ปิดอากรแสตมป์ไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์เพื่อมิให้นำไปใช้ได้อีก แม้ไม่ได้ลงวันเดือนปีไว้ที่อากรแสตมป์ก็ตามถือว่าเป็นการปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามป.รัษฎากร มาตรา 103 แล้ว จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตแก้ฟ้อง, อำนาจศาลในการสั่งตรวจเอกสาร, และสิทธิทายาทรับมรดก
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา
ในกรณีที่ศาลเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเอกสารในสำนวน และศาลเห็นสมควร ศาลก็ย่อมใช้อำนาจของศาลเองที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 ส่งเอกสารนั้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ได้โดยไม่จำต้องให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยื่นบัญชีระบุพยานหรือระบุชื่อผู้เชี่ยวชาญ
จำเลยเป็นพี่ชายเจ้ามรดก ส่วนโจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก จำเลยเป็นทายาทลำดับหลังโจทก์ ไม่มีสิทธิรับมรดกรายนี้จำเลยจึงยกอายุความมรดก 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกไม่ได้.
ในกรณีที่ศาลเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเอกสารในสำนวน และศาลเห็นสมควร ศาลก็ย่อมใช้อำนาจของศาลเองที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 ส่งเอกสารนั้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ได้โดยไม่จำต้องให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยื่นบัญชีระบุพยานหรือระบุชื่อผู้เชี่ยวชาญ
จำเลยเป็นพี่ชายเจ้ามรดก ส่วนโจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก จำเลยเป็นทายาทลำดับหลังโจทก์ ไม่มีสิทธิรับมรดกรายนี้จำเลยจึงยกอายุความมรดก 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งคำสั่งศาล การตรวจเอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญ และสิทธิในการรับมรดก
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา ในกรณีที่ศาลเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเอกสารในสำนวน และศาลเห็นสมควร ศาลก็ย่อมใช้อำนาจของศาลเองที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99ส่งเอกสารนั้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ได้ โดยไม่จำต้องให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยื่นบัญชีระบุพยานหรือระบุชื่อผู้เชี่ยวชาญ จำเลยเป็นพี่ชายเจ้ามรดก ส่วนโจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก จำเลยเป็นทายาทลำดับหลังโจทก์ ไม่มีสิทธิรับมรดกรายนี้ จำเลยจึงยกอายุความมรดก 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกไม่ได้